รู้จากตำราความรู้เอาไปละกิเลสไม่ได้

ในห้อง 'ทุกข์และปัญหาชีวิต' ตั้งกระทู้โดย Muang99, 9 กรกฎาคม 2014.

  1. Muang99

    Muang99 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    4,311
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +6,524
    ประสบการณ์ทำงานของผม (ส่วนที่ 4)

    [​IMG]

    ช่วงครึ่งปีแรกที่ผมทำงานที่ DEC ผมออกต่างจังหวัดบ่อย การทำงานต่างจังหวัด ต้องเตรียมพร้อมให้ดี เช่น เรื่องของอะไหล่สำรอง อาทิเช่น คีย์บอร์ด, สาย Network, เครื่องมือทำงาน, แผ่นดิสก์ ไว้สะแกน TEST (สมัยก่อนแผ่นดิสก์ TEST นั้นใช้แบบแผ่นขนาด 8-12.5 นิ้ว เป็นแผ่นขนาดใหญ่ไล่ๆ กะแผ่นเสียงในสมัยก่อน), แผนที่ และอื่นๆ อีกสิ่งก็คือเรื่องเสื้อผ้า และสิ่งที่ขาดไม่ได้จริงๆ ก็คือเงินติดกระเป๋า

    การออกต่างจังหวัดบ่อย ได้เรียนรู้อะไรมากพอสมควรเช่น การเข้าพักที่โรงแรม ตั้งแต่ผมเกิดจนเรียนจบปวส. ก็ยังไม่เคยพักที่โรงแรม เมื่อได้ทำงานที่ DEC และได้ออกต่างจังหวัด จึงได้มีโอกาสพักโรงแรม

    โรงแรมที่ผม-เพื่อนพนักงานและคนขับรถ เข้าพัก มักเป็นโรงแรมจิ้งหรีด หรือโรงแรมระดับ 1-2 ดาว แบบถูกๆ ค่าห้องคืนละ 200-300 บาท พออยู่ได้ ความสะอาดพอใช้-ปานกลาง ที่นอนพอใช้ได้ พื้นห้องก็งั้นๆ ไม่สะอาดนัก ห้องน้ำก็พอใช้ได้

    การเข้าพักโรงแรมแบบนี้ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะบริษัทกำหนดการเข้าพัก โดยเบิกได้เต็มที่ในระดับที่กำหนด เข้าพักแบบนี้ คงมีหวังผลเรื่องส่วนต่างบ้าง เขาทำกันมานานแล้ว ผมเป็นพนักงานใหม่ ก็ต้องตามเขา แต่อย่าไปรู้เลย เพราะการออกต่างจังหวัดมันเหนื่อยหรือลำบากกว่าการทำงานที่กรุงเทพฯ

    การออกต่างจังหวัดบ่อย มันเหงานะครับ เวลากลางคืน บางครั้งก็ไปทานอาหารที่ห้องอาหารของโรงแรม อาจมีเรียกนักร้องมานั่งคุยบ้าง โดยติดแบงค์ 20 หรือ 50 หรือตามสะดวก ให้นักร้อง เมื่อเขาร้องเพลงเสร็จ ก็จะมานั่งคุยเป็นเพื่อน

    การออกต่างจังหวัด ก็ได้เปิดหู เปิดตา ได้เห็นสถานที่ต่างๆ ตามต่างจังหวัดที่ยังไม่เคยเห็น ได้เห็นสภาพเศรษฐกิจ ความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ และการใช้ชีวิตของคนในพื้นที่ ที่แตกต่างกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 กรกฎาคม 2016
  2. Muang99

    Muang99 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    4,311
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +6,524
    คาถาดูเลข

    สมัยก่อนผมเคยไปเรียนวิชากับอาจารย์ฤาษีท่านหนึ่ง ท่านได้สอนวิชาการดูเลขให้

    ท่านเล่าประสบการณ์ว่า สมัยที่ท่านบวชเป็นพระสงฆ์ ได้สวดคาถานี้ และดูเลข สามารถเห็นล่วงหน้า และถูกต้องแม่นย้ำติดๆ กัน 7 งวด

    คร่าวๆ ที่ผมยังพอจำได้ คาถาดังกล่าว มีคำว่า สะหันส.. เทวินโท วิโสทา..
     
  3. Muang99

    Muang99 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    4,311
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +6,524
    บูชาพระเครื่อง-วัตถุมงคล ต้องปฏิบัติตัวเป็นคนดีเสียก่อน พระหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ท่านถึงจะช่วยได้

    [​IMG]

    อ่านข้อคิดดีๆ จากหลวงปู่เรือง แล้วจะเข้าใจ

    "คราวนี้ยังไม่ทันขออะไร ท่านก็พูดขึ้นมาก่อน “เรื่องบางเรื่อง บางครั้งมันเป็นวิบากกรรม พระอรหันต์ยังช่วยไม่ได้ แล้วฉันจะช่วยอย่างไร เธอต้องเสวยผลกรรมก่อน แล้วกรรมจะค่อยๆ บรรเทาเอง เธอเข้าใจผิดแล้วที่คิดว่าไปหาพระหาเจ้าท่านจะช่วยเธอได้ทุกรูป บางรูปท่านรู้แต่ท่านก็ไม่สามารถช่วยเธอได้เพราะอะไร....
    เพราะว่าหากไม่มี บุพกรรม ต่อกันมาแต่อดีตชาติ หรือกรรมที่เกี่ยวเนื่องกันมา ท่านก็จะไม่สามารถช่วยเหลืออะไรเธอได้ แต่หากท่านกับเธอเคยมีบุพกรรมต่อกันมาท่านก็อาจจะสงเคราะห์บรรเทาทุกข์หรือ กรรมของเธอได้ด้วยกระแสบารมีธรรมที่ท่านได้สร้างสมปฏิบัติมา โดยใช้วัตถุมงคลที่ท่านได้อธิษฐานจิตมาเป็นสื่อกลาง แต่เหนืออื่นใดเธอต้องปฏิบัติตัวเป็นคนดีเสียก่อน พระหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ท่านถึงจะช่วยได้"

    เครดิต : ข้อคิดดีๆ จากหลวงปู่เรือง อาภัสโร และคุณภักดีภูริ

    [​IMG]

    ธรรมะโดยครูบาเจ้าหน่อแก้วฟ้า

    "ครูบาพ่อเคยกล่าวไว้ว่า เมื่อเรามีความเคารพศรัทธาเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย เชื่อในบารมีธรรมของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ และด้วยบุญบารมีของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ พระรัตนตรัยและบุญของเราเองนั้น ประกอบกับเมื่อยังไม่ถึงแก่อายุขัย อำนาจพุทธคุณในวัตถุมงคลนั้นๆย่อมคุ้มครองปกปักรักษาผู้ประพฤติธรรมให้แคล้วคลาดรอดพ้นจากภัยอันตรายและอุปสรรคต่างๆทั้งหลายไปได้"


    ธรรมะโดยพระอาจารย์สมบัติ จิตตปัญโญ

    อานุภาพวัตถุมงคล จากพลังจิตอธิษฐาน
    พระอาจารย์สมบัติกล่าวให้ทราบถึงที่มาขอพลังคุ้มครองให้รับรู้ว่า

    “สิ่งที่ปลุกเสกลงไปในวัตถุมงคล เมื่อคราวเกิดอุบัติเหตุสิ่งนี้จะเป็นสื่อพลังช่วยคุ้มครองร่างผู้ประสบอุบัติเหตุไว้ได้ วัตถุมงคลนั้นเป็นนิมิตหมายสื่อให้เหล่าเทพเทวดารับรู้เพื่อช่วยคุ้มครองช่วยเหลือให้แคล้วคลาดรอดปลอดภัยจากอันตราย”

    การได้ดีตกยาก เจ็บไข้ได้ป่วยของมนุษย์และสัตว์ ส่วนหนึ่งเกิดจาก ผลกรรมในอดีตชาติ และปัจจุบันชาติ อีกส่วนหนึ่งได้รับเหตุปัจจัยกระทบจากสิ่งรอบข้าง อีกส่วนหนึ่งเกิดจากการกระทำของสิ่งลี้ลับที่ เรามองไม่เห็น เช่น เทวดาช่วยเหลือ เทวดาให้โทษ ผีให้โทษ เจ้ากรรมนายเวรที่เคียดแค้น ชิงชังให้โทษ

    คนเราทุกคนจะมีเทวดาประจำตัวทั้งเทวดาที่เป็นพระภูมิเจ้าที่ก็ดีนั้นจะคอยติดตามรักษา เทวดานี่เองคือผู้ที่ชอบช่วยเหลือให้เราประสบความสำเร็จ หรือช่วยปกป้องคุ้มครองให้เรารอดพ้นจากภัยอันตรายที่น่าหวาดเสียวได้อย่างอัศจรรย์ ซึ่งบางทีเราก็ยกให้เป็นคุณงามความดีของวัตถุมงคลที่แขวนคอเสียก็มี เด็กน้อยบางคนไม่มีวัตถุมงคลแขวนคอเลย แต่ตกบ้านตกเรือนด้วยความซุกซน แต่ไม่ได้รับอันตราย เพราะเหมือนมีใครมาอุ้มไว้ก่อนตกพื้น บุคคลบางคนไม่มีวัตถุมงคลติดตัวเลยแต่สามารถหลุดพ้นจากอุบัติเหตุ และการดักทำร้ายของศัตรูมาได้ อย่างปาฏิหาริย์ นั่นคือการปกป้องรักษาจากเทวดาประจำตัวเขาและหรือ ญาติในโลกทิพย์ของเขา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กรกฎาคม 2016
  4. Muang99

    Muang99 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    4,311
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +6,524
    การเป็นเจ้าของเวบธรรมะได้พูดคุยกับผู้คนหลากหลาย

    มีผู้คนติดต่อมาหาผมอยู่พอสมควรในแต่ละเดือน

    บางคนติดต่อหาผม เพราะต้องการเช่าบูชาวัตถุมงคล

    บางคนติดต่อมาเพราะต้องการขอความช่วยเหลือ ค่าอาหาร/เงินกินข้าว

    บางคนติดต่อมาเพราะเกี่ยวกับเรื่อง....

    และมีประเภทนานๆ ที เป็นบุคคลที่มีคุณวิเศษ ซึ่งคงมีเหตุปัจจัยในบางอย่าง ทำให้ได้พูดคุยกัน

    ประเภทที่มีคุณวิเศษ ส่วนหนึ่งใช้ชีวิตลำพัง เก็บตัว มีในสิ่งที่คนธรรมดาไม่มี บางคนมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คอยดูแลและติดต่อกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้ บางคนก็ทำงานใหญ่พอควร ที่เกี่ยวกับงานที่มีมูลค่าสูงเป็นร้อยล้านหรือพันล้านบาท เมื่อทำงานใหญ่ ก็รู้จักการทำบุญใหญ่ด้วยนะ

    การที่บุคคลที่มีบางสิ่งคล้ายกัน ก็อาจมีสิ่งดลให้ได้รู้จักกัน

    การดำเนินชีวิตของมนุษย์ จะมีสิ่งที่มองดูเราก็คือสิ่งศักดิ์สิทธิ์

    บางคนเป็นคนที่ดีมาก มีจิตคิดจะให้ ไม่ยึดติด มีความโกรธเหลือน้อย กามราคะไม่มีหรือเหลือน้อย มองโลกสวย และรู้จักการให้อภัย

    บางคนก็ดีพอควร มีจิตให้บ้างในบางครั้ง มีความอยากพอควร อาจมีความโกรธบ้างบางครั้ง ราคะปานกลาง ใครด่ามาก็เฉยบ้าง ด่ากลับบ้าง

    บางคนก็พอใช้ได้ ให้บ้าง เอาบ้าง อยากได้เงินจิงๆ โมโหแรงบางครั้ง ยึดมั่นถือมั่นในบางครั้ง ราคะพอควร ไม่ยอมใคร อย่าด่า ไม่งั้นมีเรื่อง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กรกฎาคม 2016
  5. Muang99

    Muang99 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    4,311
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +6,524
    รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง

    คำกล่าว "รู้เขา รู้เรา ..." ใช้ในทางโลกได้เท่านั้น ญาณที่ส่งออกนอกมากไปก็ไม่ดี ถ้าให้ดีที่สุดก็คือไม่ส่งออกนอก ให้รู้สภาวะะแห่งตน

    หลวงปู่ดุลย์ สอนว่า จิตที่ส่งออกนอกเป็นสมุทัย (เหตุให้เกิดทุกข์) ผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอกเป็นทุกข์ (ผลคือทุกข์)
     
  6. Muang99

    Muang99 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    4,311
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +6,524
    ไม่รู้หนทางแห่งตนเอง

    มีผู้คนมากมาย และรวมทั้งผม ในบางครั้งก็คิดไม่ออก ในหนทางแห่งตน

    ผู้คนมีมากมาย บางคนมีหน้าที่ที่จะต้องทำ เพราะเบื้องบนได้กำหนดมาแล้ว แต่คนส่วนใหญ่นั้นใช้ชีวิตทั่วไป ตื่นเช้า ก็ทำมาหากิน หาเงิน

    บางคนไม่รู้หนทางแห่งตน ที่พึ่งอย่างหนึ่ง ก็คือการพึ่งหมอดูคู่หมอเดา

    หลวงพ่อจรัญท่านไม่แนะนำให้ลูกศิษย์ไปดูดวง-ตรวจกรรม ท่านแนะนำให้ปฏิบัติ เพื่อให้รู้เอง เห็นเอง

    การที่คนๆ หนึ่ง มีอะไรแปลกๆ อาจจะร้อนลุ่ม หรือสับสน มันอาจมีที่มา อาทิ ไปรับความคิดหรือจิตของคนอื่น, ญาติในโลกทิพย์เดือนร้อน, ไม่ได้ดั่งใจในสิ่งที่คุ้มครอง, ถูกครอบงำโดยบางสิ่ง เป็นต้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กรกฎาคม 2016
  7. Muang99

    Muang99 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    4,311
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +6,524
    ให้ความช่วยเหลือค่าอาหาร เงินกินข้าว หรืออื่นๆ ที่จำเป็น (โครงการบุญครั้งที่ 3)

    ได้ช่วยเหลือไปแล้วจำนวน 2 ท่าน ผู้ผ่านการพิจารณาได้รับเงินช่วยเหลือในเดือนกรกฎาคม 2559

    1.คุณอภิชญา จำนวนเงิน 800 บาท (ใช้ทุนของท่านผู้ใจบุญ จำนวน 500 บาท และทุนของผม จำนวน 300 บาท)
    2.คุณนิยะดา จำนวนเงิน 700 บาท (ใช้ทุนของท่านผู้ใจบุญ จำนวน 500 บาท และทุนของผม จำนวน 200 บาท)

    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : เมตตาโฮมเพจ : คาถาเงินล้าน, วิธีทำให้ค้าขายดี, บทเบิกบุญ, คาถาบูชาพระสังกัจจายน์, คำอธิษฐา��


    การช่วยเหลือคน เพราะว่าเคยลำบากมาก่อน รู้และเข้าใจเวลาที่คนลำบาก ไม่มีเงินซื้อข้าว ไม่มีเงินค่ารถหรืออื่นๆ ปัจจุบันเงินแสนผมยังไม่มี เงินเดือนก็ไม่มี อาศัยรายได้ส่วนหนึ่งจากการให้เช่าบูชาพระเครื่องวัตถุมงคล ทุกวันนี้ผมก็ยังต่อสู้ชีวิต

    เรื่องการช่วยเหลือคน เวลาโทรไปคุยที ก็รับรู้ปัญหาต่างๆ อาจทำให้เครียดตามไปด้วย ทั้งๆ ที่มันไม่ใช่เรื่องของผมเลย แต่อยากช่วย เลยต้องไปรับรู้ปัญหาของคนอื่น

    ได้ช่วยคนให้เขามีเงินกินข้าวได้ 3-5 วัน ก็นับว่าเป็นบุญแล้วครับ อดีตผมต่อสู้ชีวิตสุดๆ ปัจจุบันเวลาตักอาหารเข้าปาก ได้ระลึกถึงความดีที่ได้ช่วยคน ก็ดีใจ ผมเคยคิด เมื่อผมพอมีเงินบ้าง คนที่ผมสามารถช่วยได้และไม่ใช่คนโกหกหลอกลวง ผมช่วยให้เขามีกิน แม้ช่วยได้สัก 10 คน ก็ไม่เสียดายในชีวิตที่ได้เกิดมา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กรกฎาคม 2016
  8. Muang99

    Muang99 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    4,311
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +6,524
    ข้อบ่งชี้ในการใช้สมุนไพรถั่งเช่า

    1. กระตุ้นการใช้ออกซิเจนสูงขึ้นกว่า 40% จึงถือว่าเป็นอาหารธรรมชาติที่มีคุณสมบัติพิเศษกว่าอาหารอื่นใด เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับปอดและทางเดินหายใจ อันได้แก่ โรคหืด แพ้อากาศ เสมหะมาก และโรคปอด รวมทั้งมะเร็งปอดด้วย

    2. รักษาโรคหัวใจ (การเต้นของหัวใจผิดปกติ ความปิดปกติของลิ้นหัวใจ)

    3. ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลให้อยู่ในระดับปกติ โดยไปช่วยปรับระดับ LDLให้ต่ำลง และปรับระดับ HDL ให้สูงขึ้น เพื่อป้องกันไม่
    ให้คอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และ LDL ไปพอกตามผนังเส้นเลือด ทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือดได้

    4. ช่วยบำรุงตับ โดยสารต่างๆของเห็ดถั่งเช่า จะไปช่วยในการสร้างเซลใหม่ให้แก่ตับแทนบางส่วนที่ตายหรือแข็งตัวไป (Cirrhosis)

    5. ช่วยเพิ่มจำนวนเชื้ออสุจิที่แข็งแรงมีมากขึ้น เหมาะสำหรับผู้ชายที่มีลูกได้ยาก หากบริโภคเห็ดถั่งเช่าเป็นประจำ

    6. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทาน โดยมีความสามารถในการสร้าง Killer cells ได้สูงถึง 400% เมื่อรับประทานวันละ 1-1.5 กรัมต่อวันติดต่อกันเพียง 3-4 วันเท่านั้น ใกล้เคียงกับเห็ดกระดุมบราซิล ด้วยเหตุนี้ จึงนิยมใช้เห็ดชนิดนี้ผสมกับเห็ดกระดุมบราซิลและเห็ดอื่นๆที่มีสาร Polysaccharides สูง เพื่อใช้ป้องกันและรักษาโรคมะเร็ง

    7. ผ่อนคลายความเหมื่อยล้า (Fatigue) ได้อย่างรวดเร็วและยอดเยี่ยม ผู้ที่ใช้พลังงานมาก หรืออ่อนเพลียจากการที่พักผ่อนไม่พอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออักเสบ ผู้สูงอายุที่กล้ามเนื้อไม่ทำงาน นั่ง นอน หรือเดินลำบาก เห็ดถั่งเช่า สามารถช่วยบรรเทาปัญหาต่างๆได้อย่างดีและรวดเร็ว พร้อมทั้งเสริมสร้างการสร้างเซลใหม่ เพื่อซ่อมแซมส่วนต่างๆที่สึกหรอ จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยพักฟื้น และทำให้ผิวหนังเต่งตึงเป็นหนุ่มสาวใหม่ขึ้นได้อีก

    8. ช่วยกำจัดสารอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี

    9. ต่อต้านสารปฏิชีวนะ(Antibiotic) ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ที่เป็นสาเหตุโรคปอดเป็นจุด และวัณโรคได้เป็นอย่างดี

    10. สาร Cyclosporin ซึ่งเป็นสารที่ช่วยทำให้ภูมิต้านทานไม่ไปทำอันตรายต่อการปลุกถ่ายอวัยวะใหม่ จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยที่เปลี่ยนถ่ายอวัยวะ เช่น เปลี่ยนหัวใจ เปลี่ยนไตและเปลี่ยนตับ รวมทั้งการตัดลำไส้และต่อใหม่ อันเนื่องจากมะเร็งลำไส้

    สารสำคัญและฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

    Cordycepin : เพิ่มประสิทธิภาพการไหลเวียนของเลือด,ต้านเชื้อแบคทีเรียก่อโรค

    Adenosine : ต้านการแข็งตัวของเลือด ต้านลิ่มเลือด

    Cordycepic Acid : เพิ่มเมตาโบริซึมของร่างกาย ,ป้องกันเลือดออกในสมอง, ลิ่มเลือด,โรคหัวใจขาดเลือด และหอบหืด

    SOD : ต้านอนุมูลอิสระ ทำให้แก่ช้า ,ต้านการอักเสบ

    Polysaccharides : เพิ่มภูมิคุ้มกัน และมีความน่าจะเป็นในการลดการโตของเนื้องอกและเซลล์มะเร็ง, ลดระดับน้ำตาลในเลือดและโคเลสเตอรอล, ไตรกลีเซอไรด์ (ไขมันในเลือด) กระตุ้นเซลล์ให้ตื่นตัวและซ่อมแซมเซลล์ที่เสียหาย, ยืดอายุและชะลอความเสื่อมของเซลล์,
    ช่วยในการเผาผลาญอาหารของเซลล์, ยกระดับภูมิคุ้มกันของเซลล์ ทำลายและยับยั้งอนุมูลอิสระ แบคทีเรีย และไวรัส

    Sterol : ป้องกันไตอักเสบเรื้อรัง , ป้องกันโรคหอบหืด , เพิ่มประสิทธิภาพการบีบตัวของหัวใจ

    สรรพคุณถั่งเช่า เห็ดถั่งเช่า

    1.สรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง เพิ่มภูมิต้านทานโรค ทำให้ร่างกายสดชื่น ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย
    2.ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยชะลอความแก่ชราและความเสื่อมของเซลล์ต่างๆในร่างกาย
    3.ช่วยในด้านอารมณ์ ช่วยระงับประสาท ทำให้จิตใจสงบ ลดอาการหงุดหงิดง่าย
    4.ช่วยเพิ่มความจำ ป้องกันโรคความจำเสื่อม ช่วยลดการตายของเซลล์ในมอง
    5.ตังถั่งเช่า สรรพคุณช่วยบำรุงหลอดเลือด
    6.ช่วยบำรุงปอด ช่วยบรรเทาอาการเจ็บหน้าอก
    7.ช่วยในเรื่องระบบทางเดินหายใจ แก้อาการไอเรื้อรัง รักษาถุงลมโป่งพอง ช่วยบำบัดโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
    8.ช่วยบรรเทาและรักษาอาการของโรคหอบหืด
    9.ช่วยแก้วัณโรค ถุงลมโป่งพองหรืออาการผิดปกติในระบบปอดและหัวใจ
    10.ช่วยละลายเสมหะ หยุดอาการเลือดออกทางเสมหะ
    11.เชื่อว่ามันช่วยรักษามะเร็ง ช่วยต่อต้านเซลล์มะเร็งและลดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งได้
    12.ช่วยลดความดันโลหิต อาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว
    13.ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยให้ร่างกายของผู้ป่วยเบาหวานไวต่ออินซูลินมากขึ้น ช่วยจัดการน้ำตาลในร่างกายได้ดีขึ้น
    14.ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด และรักษาสมดุลของคอเลสเตอรอลในหลอดเลือด
    15.ช่วยต่อต้านไม่ให้เกิดไขมันแข็งตัวจากการถูกออกซิไดซ์โดยอนุมูลอิสระ
    16.ช่วยป้องกันไขมันเลว (LDL) ไม่ให้เกาะในหลอดเลือด
    17.ช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนของเลือดให้คล่องตัว ช่วยขยายหลอดเลือด และเพิ่มปริมาณของเลือดที่เข้าไปหล่อเลี้ยงปอดและหัวใจ เพิ่มระดับออกซิเจนและช่วยในเรื่องระบบไหลเวียนโลหิต บรรเทาอาการขาดออกซิเจน
    18.ช่วยบำรุงและเพิ่มประสิทธิภาพของตับและไตให้ดีขึ้น
    19.จากงานวิจัยพบว่าถั่งเช่าช่วยให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้องรัง มีอาการดีขึ้นมากถึง 51% หลังจากรักษาด้วยถั่งเช่าเพียง 1 เดือน 20.สรรพคุณของถั่งเช่า ช่วยรักษาคนไข้ที่ธาตุหยางพร่องในไต (หรืออาการปวดหลัง กลัวหนาว หัวเข่าเย็น หรือปัสสาวะบ่อย)
    21.มีฤทธิ์ในการช่วยยับยั้งพิษจากแบคทีเรีย รวมไปถึงแบคทีเรียวัณโรคด้วย
    22.ถั่งเช่า สรรพคุณช่วยลดการอักเสบ
    23.สรรพคุณ ถั่งเช่าช่วยห้ามเลือด
    24.สำหรับนักกีฬาสมุนไพรชนิดนี้จะช่วยเพิ่มสมรรถนะของนักวิ่งให้ดียิ่งขึ้น
    25.ประโยชน์ถั่งเช่าสำหรับสตรี ใช้เป็นยาบำรุงช่วยทำให้มีบุตรง่ายขึ้น ช่วยปรับประจำเดือน ทำให้เลือดลมเดินดีขึ้น

    https://www.facebook.com/thungthungcao/posts/355008764622967
     
  9. Muang99

    Muang99 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    4,311
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +6,524
    สาวลาออกมาดูแลลูกป่วย หารายได้เสริมปลูกเมล่อนขายในโซเชี่ยล ขายดีจนต้องจองล่วงหน้า


    [​IMG]

    นครราชสีมา 31 ก.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้มีแม่บ้านพลทหารในสังกัดค่ายสุรธรรมพิทักษ์ จ.นครราชสีมา ซึ่งลาออกจากงานประจำมาดูแลลูกที่ป่วยหนัก โดยใช้เวลาว่างจากการดูแลลูกมาปลูกเมล่อนขายผ่านโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ค สร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัวเป็นอย่างดี

    จากการลงพื้นที่ไปที่แปลงเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ภายในกองพลทหารช่าง 202 ค่ายสุรธรรมพิทักษ์ อ.เมือง จ.นครราชสีมา พบนางเบญจมาศ สังฆมณี อายุ 42 ปี ซึ่งเป็นภรรยาของจ.ส.อ.นิกรกิจ สังฆมณี สังกัดกองพลทหารช่าง 202 พบว่าบริเวณดังกล่าวได้มีการทำเป็นโรงเรือนปิด 1 โรง ภายในมีการปลูกเมล่อนในระบบน้ำหยดซึมนับร้อยต้น ซึ่งกำลังออกลูกใกล้ถึงเวลาเก็บผลผลิตอยู่เป็นจำนวนมาก

    [​IMG]

    นางเบญจมาศเปิดเผยว่า ก่อนหน้านั้นตนได้ลาออกจากงานประจำในโรงงาน เพื่อมาดูแลลูกสาวที่ป่วย ซึ่งทำให้ครอบครัวต้องขาดรายได้ เพราะลำพังเงินเดือนของสามีก็ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในครอบครัว จึงใช้เวลาว่างจากการดูแลบุตรไปสมัครเข้าเรียนหนังสือที่ กศน.อำเภอเมืองนครราชสีมา ในระดับชั้นมัธยมปลาย ซึ่งทางศูนย์ กศน.ก็ได้พาไปศึกษาดูงานที่ฟาร์มของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี หรือ มทส. และเกิดมีความสนใจเรื่องการปลูกเมล่อนขาย เนื่องจากเป็นผลไม้ที่กำลังได้รับความนิยมในประเทศไทย รวมทั้งยังเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อย ซึ่งเหมาะกับการปลูกในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาก

    ต่อมาจึงได้ปรึกษาสามี คือจ.ส.อ.นิกรกิจ สังฆมณี เพื่อขออนุญาตผู้บังคับบัญชา ขอใช้พื้นที่บริเวณแปลงเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ของกองพลทหารช่าง 202 เพื่อใช้ทำโรงเรือนปลูกเมล่อน ซึ่งก็ได้รับอนุญาตด้วยดี จึงได้เริ่มลงทุนสร้างโรงเรือน เป็นจำนวนเงินประมาณ 30,000 บาท ใช้พื้นที่ 6 X 10 เมตร หลังจากนั้นก็ได้สั่งซื้อเมล็ดพันธุ์เมล่อนมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา ในราคาเมล็ดละ 8 บาท ล็อตละ 300 เมล็ด เป็นเมล็ดเมล่อนพันธุ์เท็นชิ กับฮาโรน่า ซึ่งมีกลิ่นหอม รสชาติ หวาน กรอบ และอร่อยมาก

    เริ่มปลูกชุดแรกเมื่อต้นปี 2559 โดย 1 โรงเรือน สามารถปลูกได้จำนวน 170 ต้น ใช้ระบบน้ำหยดซึม 2 เวลา เช้า-เย็น ซึ่งประหยัดน้ำมาก เพียงแค่วันละ 40 ลิตร นอกจากนั้นก็จะมีค่าปุ๋ยสัปดาห์ละ 500 บาท ใช้เวลาตั้งแต่เตรียมแปลง จนถึงเก็บผลผลิต เป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยแต่ละรุ่นสามารถเก็บผลผลิตได้ประมาณ 1,200 กิโลกรัม น้ำหนักผลเมล่อนเฉลี่ยลูกละ 1.5 กิโลกรัม

    [​IMG]

    จากนั้นนำมาประกาศขายให้กับเพื่อนๆ ในเฟชบุ๊ค และไลน์ ในราคากิโลกรัมละ 120 บาท ปรากฏว่าขายดีมาก จนเพื่อนๆ ต้องสั่งจองล่วงหน้าตั้งแต่ลูกเมล่อนยังไม่โตเต็มที่ สร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัวต่อรุ่นประมาณ 15,000 บาท ทำให้ตอนนี้ต้องขออนุญาตผู้บังคับบัญชา ขอใช้พื้นที่เพื่อสร้างโรงเรือนเพิ่มอีก 1 โรง เพื่อปลูกเมล่อนขายให้เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า และวางแผนว่าหากมีผลผลิตจำนวนมาก ก็จะนำไปฝากขายที่ฟาร์ม มทส.อีกด้วย

    ที่มา : http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1469947481
     
  10. Muang99

    Muang99 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    4,311
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +6,524
    [​IMG]

    เมื่อวันที่ 28-29 สิงหาคม 2552 ที่ผ่านมา ฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้จัดงานพิธีสมโภชและพุทธาภิเษกพระพุทธสิริสัตตราช หรือหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ ขึ้น ณ สำนักวัฒนธรรม (ริมบึงสีฐาน) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
    ซึ่งหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ (จำลอง) สร้างจากหินแกรนิต และถือเป็นองค์จำลองที่สร้างขึ้นเป็นองค์ที่ 107

    พรรษาที่ 2 พ.ศ.2502
    นิมิตเริ่มต้นที่จะได้ หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์

    ขณะที่หลวงปู่สอ ฝึกสมาธิอยู่ที่วัดป่าบ้านตาด ท่านเห็นงูใหญ่สีทองเลื้อยเข้ามาในกุฏิ นึกว่าจะมากินท่าน ท่านจึงปลงจิตสู่กรรม คือ ถ้าเคยสร้างกรรมไม่ดีกับงูในอดีตชาติก็ขอให้ทำร้ายหรือกินก็ยอม แต่ถ้าไม่เคยมีเวรต่อกันก็ขอให้หนีไป
    แต่งูกับเลื้อยใกล้ท่านดันตัวท่านลอยขึ้นไปขดลำตัวให้ท่านนั่ง แล้วเข้าไปอยู่ในตัวท่าน เลยเอื้อมมือไปจับดู รู้สึกหัวงูทะลุออกด้านหลังและแผ่ปกคลุมอยู่คล้ายกับนาคปรก แล้วก็งูก็เลื้อยออกไปทางเดิม
    นิมิตชัดเจนต่างจากทั่วไป เพราะเหมือนเหตุการณ์เกิดขึ้นจริงเพราะสัมผัสได้


    ในพรรษาที่ 6 พ.ศ.2506
    วันหนึ่งขณะเดินดูรอบวัดได้ยินเสียงในตัวท่านว่า
    "สัญลักษณ์ของท่านจะตกทอดจากอากาศ ในพรรษาที่8ขึ้น9ค่ำเดือน9 บางคนที่เขาเก็บไว้จะนำมาถวายภายหลัง"


    ในพรรษาที่ 8 พ.ศ.2508
    ขณะนั่งผักผ่อนท่านนึกถึงนิมิตที่เกิดขึ้น"อะไรหนอ คือสัยลักษณ์ของเราที่จะได้มาในวันนี้"
    ท่านก็ได้ยินเสียงเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ดังลั่นในวัดเห็นเครื่องบินจริง ๆ เห็นคนนั่งในเครื่องบินเป็นพระอินทร์ ดูจากลักษณะการแต่งกายชุดเขียวมีผ้าเฉลียงบ่าสีเขียวใส่กำไลแขน ในมือถือพิณสามสาย หลวงปู่ระลึกถึงพุทธประวัติ ตอนที่บำเพ็ญทุกกิริยาทรมานวรกายเพื่อให้ตรัสรู้ธรรมไม่ได้สักทีเพราะตึงเกินไป ได้มีพระอินทร์ดีดพิณถวายเพื่อเตือนสติ ถ้าสายพิณตึงหย่อนเกินไปก็ไม่ไพเราะและพิณเสียหายได้ แต่เมื่อปรับระดับกลางก็น่าฟังสำเร็จประโยชน์ พระองค์จึงเลิกทรมานตนเองบำรุงวรกายให้มีกำลังแล้วดำเนินความเพียรทางจิตจนบรรลุ

    พระอินทร์ได้เดินเข้าไปใต้กุฎิหลวงปู่ แล้วก็หายไปไร้ร่องรอยทั้งพระอินทร์และเครื่องบินที่จอด
    ขณะกำลังคิดอยู่นั้นได้ยินเสียงรถเข้ามาในวัด จิตบอกท่านว่า"มาแล้วนะ มาแล้ว"
    ไม่นานก็เห็นรถบรรทุกวิ่งเข้ามาจอดในบริเวณที่เครื่องบินลงจอดพอดี

    เห็นคน 2 คน ฝ่ายชายถือขันดอกไม้มาหาท่าน ฝ่ายหญิงถือห่อผ้าขาวนั่งในรถ ทั้งสองเป็นสามีภรรยากัน เขาเดินมากราบท่านบนกุฏิ แล้วเอาพระพุทธรูปที่อยู่กับภรรยามาถวาย
    สิ่งที่ปรากฎ คือ พระพุทธรูปปางนาคปรกแบบโบราณ จิตท่านบอกว่า ..ใช่แล้ว!

    ผู้ชายได้เล่าให้ฟังว่า เขาได้พระพุทธรูปองค์นี้จากพี่ชายก่อนแต่งงาน พอแต่งงานมีครอบครัว ภรรยาของตนฝันแทบทุกคืนว่า พระพุทธรูปองค์นี้ท่านสั่งให้เอาท่านไปถวายหลวงพ่อวัดป่า จนกระทั่งเมื่อคืนได้บอกบังคับว่าพระพุทธรูปไม่ใช่ของพวกเธอ เป็นของหลวงพ่อวัดป่าให้เอาไปถวายเช้าวันพรุ่งนี้
    ไม่ทราบว่าสืบทอดกันมาอย่างไรเท่าที่จำได้จากปู่ พ่อและพี่ชาย
    จนตกมาเป็นสมบัติของหลวงปู่สอ

    หลวงปู่สอเอาไปให้อาจารย์มหาบัวดู ท่านว่า ของดีรักษาให้ดี

    ให้หลวงปู่ขาวดู ท่านบอกว่าเป็นของดีจริง ๆ รักษาไว้ให้ดี
    หลวงปู่ขาวขอเอาไว้ภาวนาดูประมาณ 1 อาทิตย์
    แล้วเล่าให้ฟังว่า ตกกลางคืนจะมีแสงสว่างรุ่งเรืองออกมาจากองค์พระ
    มอบคืนหลวงปู่สอพร้อมพูดว่า"พระพุทธรุปนี้เป็นของดีจริง ๆนะ ดูลักษณะท่านซิปกป้องคุ้มครอง ต่อไปภายหน้าบ้านเมืองจะได้พึ่งพาอาศัยท่าน ให้รักษาไว้ให้ดี ๆ"

    หลวงปู่ฝั้นท่านบอกว่า "ดีจริง ๆ หายากนะ พระที่เกิดจากสมาธิอย่างนี้ ร้อยองค์พันองค์ก็ไม่มีองค์หนึ่งนะ"

    พระพุทธรูปองค์นี้สื่อความหมายกับหลวงปู่ได้ จะบอกหรือตักเตือนเทศน์เหมือนอาจารย์หวังดีต่อศิษย์ ท่านอาราธนาใส่ย่ามไปธุดงค์ไปไหนต่อไหนเป็นเวลาประมาณ 20 ปี

    ในคราวได้มาใหม่ ๆ หลวงปู่สอท่านเรียนถามท่านชื่ออะไรท่านบอกว่าท่านเป็นสัจธรรม ให้เรียกชื่อท่านว่า หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์

    ลักษณะพระพุทธรูปเจ็ดกษัตริย์
    เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก สูงประมาณ 15 นิ้ว
    หล่อแบบโบราณเนื้อสัมฤทธิ์หนักประมาณ 10 กล.
    สันนิษฐานของเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร อายุ 800 ปีเศษ ซึ่งใกล้เคียงกับที่หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์บอกหลวงปู่ เข้ามาในไทยครั้งแรกที่จ.นครปฐม จะมีอยู่ 2 องค์
    องค์หนึ่งอยู่ในเจดีย์นครปฐม ส่วนอีกองค์ก็อยู่กับหลวงปู่สอ วัดป่าบ้านหนองแสง ต.สิงห์ อ.เมือง
    จ.ยโสธร




    เรื่องราวหลวงปู่สอ พันธุโล

    * หลวงปู่เคยทำความเพียรอดข้าวอดน้ำ 15 วัน ชนิดเอาชีวิตเป็นเดิมพัน คือตั้งจิตอธิฐานว่า จะนั่งทำสมาธิเป็นเวลา 15 วัน โดยไม่ลุกไปไหน ไม่ฉันอาหาร ถ้าไม่เกิดความรู้หรือธรรมมะอย่างใดอย่างหนึ่ง จะไม่ยอมลุกจากที่นั่งเป็นอันขาด แม้ตายก็ยอมตาย"

    วันแรกที่นั่งอยู่เปียกแฉะด้วยเหงื่อกาฬที่ไหลออกมา ภาษาพระป่าเรียกว่า"ยางตาย" พราะไม่ใช่เหงื่อธรรมดาแต่เกิดจากการต่อสู้ชนิดเอาเป็นเอาตายจริง ๆ
    ผ่านไป 5-6 วันจิตใจที่ถ้อถอยกลับกล้าแข็งยิ่งขึ้นถึงจะเมื่อยล้าบ้าง จนครบ 15 วัน
    หลังจากทำสำเร็จ 2 วันต่อมา รู้สึกว่ามีพระมานั่งที่ไหล่ทั้งสองข้างแล้วเทศน์อบรมสั่งสอนตลอดเวลา ไปกราบเรียนถามอาจารย์มหาบัวท่านก็เคยเป็นเหมือนกัน 1 ปี แล้วก็หายไป หลวงปู่สอก็ปล่อยให้เป็น 3 ปีจึงหาย

    หลวงปู่เคยอดอาหาร 1 เดือนแทนที่จิตใจจะท้อถอยหรือกลัวเจ็บปวดกลัวตาย จิตใจกลับมีแต่ความสบายไม่กังวล ขณะเดียวกันเวลาจิตสงบก็สงบอย่างแนบแน่นเป็นเวลาหลายชั่วโมง ประหนึ่งว่า
    โลกไม่มีร่างกายก็ไม่มีความรู้สึก เมื่อจิตถอนออกมาก็ใช้ปัญญาสัจธรรมความจริงที่มีอยู่จนบรรเทาความหลงได้

    * เกี่ยวกับการตายของมนุษย์บาปบุญ
    คืนหนึ่งหลวงปู่นั่งสมาธิมีเสียงคนเดินมาท่ามกลางความมืดยามวิกาลแล้วพูดว่า"หลวงพ่อเอาห่อบังสุกุลให้ผมหน่อย"
    สำเนียงแข็งและห้วนคงไม่ใช้มนุษย์แน่ หลวงปู่ตอบว่า"อาตมาให้เณรเอาไปเก็บที่โรงครัวให้ไปเอาเอง"
    ผีบอก"ไม่ไป หลวงพ่อไปเอาให้หน่อย"
    เมื่อเห็นว่าพูดกันไม่รู้เรื่องหลวงปู่เลยลุกไปบอกให้ลูกศิษย์ไปเอาแล้ววางไว้หน้ากฏิ

    ทันใดนั้น... ก็ปรากฏเงาตะคุ่มเดินเข้ามาผีหยิบเอาห่อบังสุกุลเดินหายไปในความมืด
    แต่ที่น่าแปลกที่ห่อบังสุกุลยังคงอยู่ที่เดิม

    หลวงปู่เล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่า ผีตนนั้นคือเปรต ตนนี้ก่อนตายเคยเป็นมนุษย์ เป็นคนชอบทำบาปไม่สนใจการทำบุญให้ทาน เมื่อตายก็มาเป็นเปรต แม้ญาติพี่น้องจะทำบุญให้ก็ไม่ได้รับ เพราะไม่อยู่ในสถานะที่จะรับได้ จึงต้องอยู่ในความทุข์ทรมานตามผลกรรม

    หลวงปู่บอกว่า เปรตหรือผีไม่ใช่สิ่งน่ากลัวเพราะเขาไม่ดุร้ายอะไร ธรรมชาติเขาเป็นเช่นนั้น คืออยู่กับผลกรรมของตัวเองเราจึงไม่ควรกลัวผีอีกต่อไป

    หลวงปู่สอเคยปรารภให้ศิษย์ฟังว่าท่านจะมรณภาพเมื่ออายุ 80 ปี หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ได้บอกท่าน
    แต่ลูกศิษย์หลายคนเคยกราบเรียนถามว่า"หลวงปู่คงไม่มรณภาพอายุ 80 ปีแล้วใช่ไหม"
    หลวงปู่ตอบว่า" ไม่ เทวดา นิมนต์ไว้เขายังไม่อยากให้ตาย ยังอยากให้ทำประโยชน์ต่อไปอีก"

    [​IMG]

    หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์(พระพุทธสิริสัตตราช )

    เป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะแปลก คือ
    มีพญางูใหญ่ 7 ตัว 7 หัว แผ่คลุมองค์พระซึ่ง
    ไม่เหมือนกับโดยทั่วไปที่มีพญานาค 1 ตัว 7 หัวบ้าง 5 หัว
    องค์พระคล้ายศิลปะเชียงแสนหรือทางเวียงจันทน์

    ด้านหลังเป็นนาค 7 ตัว

    [​IMG]

    พุทธานุภาพและพุทธคุณหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์

    พุทธศาสนิกชนจำนวนมากที่เคารพศรัทธาใน หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ได้สร้าง
    หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์จำลองเพื่อนำไปประดิษฐานที่ต่าง ๆ เพื่อหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ไปประดิษฐานที่ใดความสงบร่มเย็นจักได้ครอบคลุมสถานที่นั้น จังหวัดนั้นและใกล้เคียง

    โดยมีความเชื่อมั่นว่าพุทธานุภาพจะช่วยให้ปัญหาสำคัญของประเทศ เช่น เศรษฐกิจตกต่ำ ภัยแล้ง
    คลี่คลาย ดังที่เคยปรากฏสมัยพุทธกาล
    ด้วยภาวะที่เดือดร้อนทุกหย่อมหญ้าผู้คนต่างมีจิตใจถดถอย สลดหดหู่ จึงได้สร้างหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์จำลองให้อธิษบานบารมีให้ชีวิตประจำวันคิดดีทำดีประสบแต่สิ่งที่ดีงาม มีความร่มเย็นถั่วกัน
    เมื่อสุขทุกครอบครัวเมืองก็เจิญรุ่งเรือง ชาติก็สันติสุข สงบร่มเย็น

    ประโยชน์ต่อเนื่องหลายประการโดยเฉพาะก่อเกิดความอุดมสมบูรณ์ด้านน้ำฝนตามเขื่อนต่าง ๆ จึงปรากฏหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์จำลองตามเขื่อนหลายแห่ง

    เมื่อพ.ศ. 2541 การสร้างหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์บารมีของท่านจะช่วยให้ค่าเงินบาทดีขึ้นอัตตราต่อบาทจะลดลงจะลดเหลือ 30 บาทกว่า
    เป็นที่น่าอัศจรรย์ เมื่อเริ่มเททองหลวงพ่อเจ็ดจำลองกษัตริย์องค์แรก อัตตราแลกเปลี่ยนลดลงจาก 40 กว่าบาท จนมาแตะที่ 30 กว่าบาท ดังที่หลวงปู่ท่านกล่าวไว้

    หรือกรณีไฟป่าครั้งร้ายแรงเกิดขึ้นเช่นที่ ภูเรือ ห้วยขาแข้ง อินทนนท์ เมื่อกราบขอบารมีหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ ภายใน 1-2 วัน ฝนก็ตกลงมาดับไฟได้อย่างน่าอัศจรรย์ หลวงปู่กล่าวว่า หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์เป็นสัญลักษณ์แห่งฝนและความร่มเย็น
    หลวงปู่มั่น ภูริทัตตะมหาเถระยกย่องว่า "เป็นพระสำคัญจะปกป้องคุ้มครอง ให้ความร่มเย็นเป็นสุขแก่บ้านเมือง"


    ผู้ที่ได้รับพระไปบูชาจำนวนมากต่างเล่าว่า ได้ปรากฏกำลังใจในการสู้วิกฤตเศรษฐกิจ ประสบผลสำเร็จด้านธุรกิจการค้า มีงานทำ
    มีโชคลาภ กิจการที่ใกล้จะล้มละลายก็กลับพลิกฟื้น มีงานป้อนไม่ขาดสาย
    มีการดำรงชีพที่สะดวกสบายขึ้นอย่างอัศจรรย์

    ปรากฏการณ์

    - วัดเวฬุวัน ต.นิคม อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธิ์ ระหว่างประกอบพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาติภายในเศียรหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์จำลอง อัศจรรย์บนท้องฟ้ามีเมฆไหล 4 ทิศรวมกันแยกออกเป็นเหมือนเศียรพญางู 7 ตัว เรียงกันเหนือมณฑลพิธี

    - งูเหลือมใหญ่เข้ามาภายในพิธีหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์จำลอง บริเวณบ้านเรือนไทย ลาดพร้าว งูจะมาปรากฏเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับงานบุญหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์เท่านั้น

    - ผู้ได้รับหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ไปบูชามีจำนวนมากพอควรที่เกี่ยวข้องหรือพบเห็นงู ถ้าไม่พบงูจริงก็จะฝันเห็น

    - ที่เขื่อนภูมิพล จ.ตาก 4 ต.ค. 2542 หลวงปู่สอไปถึงประกอบพิธีแล้ว ระหว่างนั่งผักผ่อนได้มีนกจำนวนมาก 300-500 ตัวขึ้นไป บินมารอบบริเวณประดิษฐานหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ พร้อมส่งเสียงลั่น คล้ายยินดีปรีดา ฝูงนกบินวนอยู่นานประมาณ 20 นาที ก็ค่อยหายไป
    ท่านว่า"นกมาแสดงความชื่นชมยินดีกับพวกเรา"
    ตั้งแต่นั้นมา น้ำเต็มเขื่อนเป็นประวัติการณ์


    สำหรับผู้มีหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ท่านจะช่วยเหลือนั้นจะต้อง

    1 มีสัจจะ
    2 มีศีลธรรม
    3 ห้ามฆ่างูเบียดเบียนงูทุกชนิด เพราะงูเป็นสัญลักษณ์ท่าน
    นอกนั้นก็มีองค์ประกอบอื่น เช่น มีบุญเก่า รู้จักทำบุญทำทานตลอดชีวิต


    * เอื้ออำนวยให้เกิดโชคลาภ
    มีโยมที่เป็นลูกศิษย์ประสบปัญหามีการฟ้องร้องคดีกับญาติพี่น้อง
    "อย่าเป็นคดีความกันเลย เขาอยากได้ที่ดินมรดกก็ให้เขาไปเถอะ หลวงพ่อจะช่วยเหลือเอง"
    ก็ปฎิบัติตาม หลังจากนั้นเวลานั่งสมาธิหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์จะมาให้กำลังใจเสมอ แนะนำกิจการที่เหมาะสมต้องกู้เงินธนาคารซื้อที่สร้างบ้าน แม้มีเพียงเงินเดือนน้อยนิด แต่ด้วยความดีมีศีลธรรมและยึดมั่นเขาก็ได้ผ่านปัญหา การเงินการงานดีขึ้น
    มีคนมาขอซื้อที่ที่ซื้อมีถนนตัดผ่าน
    ปัจจุบันเขามีตึกอาชีพมั่นคง มีความสุข ความอบอุ่น เป็นผู้นำเพื่อนญาติมิตรบำเพ็ญบุญมาตลอด


    * ให้การค้าขายประสพความสำเร็จ
    หลายคนที่ได้เหรียญหรือพระกริ่งหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ไปสักการะบูชา และเป็นคนมีศีลธรรม เมื่อตั้งจิตอธิษฐานขอพึ่งบารมีท่าน ไม่นานก็รับผลสำเร็จ

    เช่น แม่ค้าขายอาหารโดนพิษเศรษฐกิจเล่นงานหนัก รถก็ถูกยึด ค้าขายไม่ดี ทุกข์ใจมากหันไปดื่มเหล้า
    มีคนแนะนำไปกราบอธิษฐานหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ที่บ้านเรือนไทย
    ก็มีกำลังใจ มีความอบอุ่นใจ มีที่พึ่งทางใจ

    หลังจากนั้นก็ค้าขายดีมากขึ้น จากที่ท้อแท้ ทุกข์ใจและไม่ค่อยทำบุญทำทานและชอบดื่มเหล้าประจำ เปลี่ยนตัวเองใหม่ ไหว้พระสวดมนต์ ทำบุญทำทานประจำ ฟังธรรม พยายามงดเว้นดื่มเหล้า
    ปัจจุบันซื้อรถใหม่ มีโชคลาภ

    อีกท่านได้บริจาคสร้างหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์และวิหารตลอดมา และนำอาหารบริการในงาน ได้รับหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ไปบูชาที่บ้านและติดตัวเสมอ
    หลังจากนั้นค้าขายดีขึ้นมีกำไรมากขึ้น สามารถเก็บเงินใช้หนี้หมดภายในเวลาไม่ถึงปี
    ซื้อรถใหม่เกือบล้านได้

    โดยอธิษฐานขอว่า"แม้จะไม่มีโชคอย่างอื่น ก็ขอให้ลูกหลานค้าขายดี ๆ หมดหนี้สินภายใน 1 ปี และมีเงินเหลือสำหรับใช้จ่ายในครอบครัว"
    คงด้วยบุญที่มีศีลธรรมทำบุญทำทานเสมอและชวนหมู่คณะไปร่วมทำบุญเสมอศรัทธาหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์คุณพระรัตนตรัยจึงประสพความสำเร็จ


    * ช่วยให้แคล้วคลาดปลอดภัย
    รถเสียหลักพลิกคว่ำลงข้างทาง คนขับรถระลึกถึงหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ที่ติดตัวไป รถพังหลังคายุบเหลือแต่ด้านคนขับไม่เป็นไร คนขับเลือดหยดเดียวก็ไม่มีความเจ็บปวดก็ไม่มี

    หลายรายก็ห้อยหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์แล้วปลอดภัยจากอุบัติเหตุ

    รายคนขับรถบรรทุกหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์จำลองไปกรุงเทพ เกิดหลับในหลายนาที ช่วงนั้นมีเสียงกระซิบว่า"ให้ชะลอรถและชิดซ้าย" ก็ปฏิบัติตาม สะดุ้งตื่น ถ้าไม่ทำตามเกิดอุบัติเหตุแน่นอน


    *ช่วยบรรเทาทุกข์จากโรคภัยไข้เจ็บ
    มีคนเคยได้พระกริ่งหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ไปบูชาเคยพ้นทุกข์จากโรคนิ่วในไต
    ปวดมากนัดหมอเตรียมห้องผ่าตัด
    เขาได้อธิษฐานหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ที่ห้อยคอและกำพระไว้แน่นว่า" ขออย่าให้ลูกเป็นอะไรมากเลย ขออย่าให้ต้องผ่าตัดเลย ขอให้หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ช่วยด้วยเถิด"
    ปรากฏว่าไม่นานอาการปวดก็ลดลงพอไปโรงพยาบาลอาการหายไป แวะไปห้องน้ำปัสสาวะเม็ดนิ่วก็ตกออกมาไม่ต้องผ่าตัด

    อีกท่านหนึ่งเป็นผู้บำเพ็ญบุญมานาน เธอชักชวนหมู่คณะไปล้างครัวห้องน้ำในวัด มีความศรัทธาหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์และหลวงปู่สอ เธอสุขภาพไม่แข็งแรง โรคภัยรุมเร้า
    อานิสงค์การทำความสะอาดต่าง ๆภายในวัดอาจช่วยให้โรคบรรเทาหรือหายได้

    มีอยู่คืนหนึ่งฝันว่ามีคนเข้ามาหาพูดว่า "จะมาช่วยรักษาโรคให้นะ เดี๋ยวก็หาย"เสร็จแล้วเขาก็เอาไม้สีฟันใส่ในโรคดึงออกมาแล้วพูดว่า"หายแล้วนะ"
    ตอนเช้าไปปัสสาวะมีสีเขียวปนเลือดออกมา แต่ไม่ตกใจกลับแช่มชื่นเบิกบานใจเป็นพิเศษ
    จากที่เป็นโรคตับจะมีชีวิตอยู่ได้แค่ประมาณ 5-6ปี จากจะต้องเปลี่ยนตับ
    ได้หายเป็นปกติ เพราะพุทธานุภาพหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์และหลวงปูสอ


    * ช่วยให้ปลอดภัยจากไฟไหม้บ้าน
    บ้านพักโดนไฟไหม้จึงอัญเชิญองค์หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์จำลอง 9 นิ้วลงมาอธิฐานทำน้ำมนต์ โดยเอาน้ำสรงองค์พระเสร็จแล้วก็เอาใส่ภาชนะไปพรมรอบบ้านพัก ไฟก็จะค่อย ๆ ดับลง และเปลี่ยนทิศไปทางอื่น

    อีกรายมีพระกริ่งหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ อยู่วันหนึ่งไฟไหม้รถจักรยานยนต์ ตัวเองติดอยู่ในบ้าน จึงอธิฐานกับหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ที่ห้อยอยู่ประตูกุญแจว่า "ขอหลวงพ่อช่วยลูกด้วย ขออย่าให้รถระเบิด และอย่าให้ไฟไหม้เข้ามาในบ้านเลย" ชาวบ้านก็พากันวิ่งมาช่วยแต่เข้าบ้านไม่ได้เจ้าของบ้านไม่เปิดประตู เขาลังเลว่าจะเปิดประตู ทันใดนั้นมีเสียงกระซิบที่หูว่า "อย่าเปิดประตูนะ! เดี๋ยวจะไม่ปลอดภัย!" ไม่นานเขาก็ค่อยเปิดประตู เอาผ้าชุบน้ำคลุมรถ ชาวบ้านก็หาเชือกมาดึงรถออกจากตัวบ้าน รถก็ระเบิดแต่ไม่มีใครเป็นอันตราย

    * ช่วยตักเตือนให้ละชั่วทำดี

    * พระโดนขโมยได้คืน พระวัดใกล้เคียงโดนขโมยถามหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ท่านบอก 15 วันจะได้คืนให้ไปตามทางจ.หนองคายก็จะได้คืน มีคนยึดได้แล้ว เมื่อไปตามก็ได้คืนตำรวจยึดได้

    *ช่วยให้ฝนตกที่เขื่อนสิริกิต์

    ที่มา : ความศักดิ์สิทธิ์.. หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2016
  11. Muang99

    Muang99 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    4,311
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +6,524
    [​IMG]

    คำอธิษฐานบูชาพระพุทธสิริสัตตราช
    (หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์)


    (นะโม 3 จบ)

    ยัมปะเนตัง พุทธะสิริสัตตะราชาติ สะวะหะเยนะ ปัญญาตัง,
    ตะเมวะ อารัทธวิริเยนะ พันธุลัตเถเรนะ อาภุชังคะนิมิตเตนะ ลัทธัง,
    มะยัมปะนะ อัตตะโน อัตตะโน วิภูติง อาสิงสะมานา สักกัจจัง อิมะเมวะ

    พุทธะสิริสัตตะราชะ ปฏิมัง อภิปูเชมะ,
    อิมัสสานุภาเวนะ มหานิสังโส, มหาโภโค,
    มหาลาโภ นิรันตะระเมวะ อัมหากัง โหตุ


    << คำแปล >>

    ก็พระพุทธรูปนี้ใด, ที่พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย
    ทราบทั่วกันโดยชื่อว่า พระพุทธสิริสัตตะราช
    พระพุทธรูปนั้นแล, อันพระเถระผู้มีนามว่า
    พันธุละ ผู้ปรารภความเพียร
    ได้มาแล้ว โดยนิมิตซึ่งเกิดขึ้นจากการนั่งสมาธิ
    ก็ข้าพเจ้าทั้งหลาย, หวังความเจริญรุ่งเรืองแก่ตนฯ
    จึงขอบูชาเป็นพิเศษ ซึ่งพระพุทธปฏิมานามว่า
    พุทธสิริสัตตราช นี้แล โดยความเคารพ,

    ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธสิริสัตตราชนี้,
    ขออานิสงค์ใหญ่โภคะเป็นอันมาก ลาภมากมูล,
    จึงมีแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย
    ตลอดนิจนิรันดร์กาลนั่นเทอญฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 สิงหาคม 2016
  12. Muang99

    Muang99 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    4,311
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +6,524
    เอาไว้ช่วงสะดวก หรือหลังหมดสมาชิก Premium อาจมาเขียนประสบการณ์การเป็นสมาชิก Premium
     
  13. Muang99

    Muang99 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    4,311
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +6,524
    [​IMG]

    9 ผลไม้กินทั้งเปลือก มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

    หลายคนเคยชินกับการปอกผลไม้ แล้วทิ้งเปลือกไป แต่รู้หรือไม่ว่ามีผลไม้บางชนิดที่สามารถกินได้ทั้งเปลือกแถมดีต่อสุขภาพด้วย

    1. กีวี
    เปลือกแข็ง ๆ ของกีวีมีประโยชน์มหาศาล มีทั้งวิตามินหลายชนิด และใยอาหาร รวมทั้งเป็น Probiotic อาหารของจุลินทรีย์สุขภาพในร่างกายของเรา ช่วยย่อยอาหารได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมีเอนไซม์แอกทินิดินซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ช่วยย่อยโปรตีนได้ดีขึ้น มาธาร์ โรเบิร์ต ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการกล่าวว่า เปลือกของกีวีมีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ สูงกว่าเนื้อของมันเองถึง 3 เท่าและมีคุณสมบัติในการต้านเชื้อโรคที่ทำให้ท้องร่วงอย่างเชื้อ อีโคไล อีกด้วย

    2. แอปเปิ้ล
    เปลือกแอปเปิ้ลนั้นอุดมไปด้วย ไฟเบอร์ช่วยการย่อยอาหาร และสารต้านอนุมูลอิสระ สารฟลาโวนอยด์ที่ช่วยกำจัดสารพิษในร่างกาย สารเควอซิทิน ที่ช่วยป้องกันการแข็งตัวของโรคหลอดเลือดหัวใจ สาร Triterpenoids ที่มีสารต้านมะเร็งสูง และสารแอนติออกซิแดนท์โพลีฟีนอล ป้องกันการเจริญของเซลล์มะเร็งอีกด้วย นักวิจัยพบว่าสารต่อต้านอนุมูลอิสระจะรวมกันอยู่ตามเปลือกมากกว่าในเนื้อถึง 5 เท่า ช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ซึ่งเป็นปัญหาต้นๆ ของโรคในปัจจุบัน

    3. มันเทศ
    การกินมันเทศโดยไม่ปอกเปลือกจะได้รับสารอาหารมากขึ้นโดยเฉพาะเบตาแคโรทีนและเส้นใยอาหารชนิดไม่ละลายน้ำที่พบมากบริเวณเปลือก เบตาแคโรทีนในมันเทศไม่เพียงเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพดวงตาและผิวพรรณ แต่ยังทำงานร่วมกับสารแคโรทีนอยด์อีกหลายชนิด สามารถลดความเสี่ยงของโรคข้ออักเสบได้ นอกจากนั้น อีกกว่าครึ่งของเส้นใยในมันเทศคือ เพกติน เส้นใยที่ละลายน้ำได้ ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยควบคุมคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด มันเทศจึงเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพหัวใจอีกด้วย

    4. กล้วย
    เปลือกกล้วยนั้นก็มีคุณค่าทางอาหารทัดเทียมกับเนื้อกล้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นวิตามินบี 6 วิตามินบี 12 แมกนีเซียม และโพแทสเซียม อีกทั้งยังมีไฟเบอร์ที่มีสูงกว่าในเนื้อกล้วย สามารถช่วยระบบขับถ่าย นอกจากนี้ในเปลือกกล้วยก็ยังมีสารทริปโตเฟน (Tyrptophan) ที่ช่วยสร้างเสริมสารเซโรโทนินในร่างกาย ส่งผลทำให้อารมณ์ดีขึ้น ลดความเสี่ยงโรคซึมเศร้าได้อีกด้วย

    5. แก้วมังกร
    เปลือกแก้วมังกรมี สารเบต้าไซยานีน ช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของเซลเนื้องอก สารแอนโทไซยานีน ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ชะลอริ้วรอยความแก่ ชะลอการเสื่อมสภาพของเซลสมอง ป้องกันการเกิดสมองเสื่อม นอกจากนั้นยังอุดมด้วยวิตามิน เอ, บี1, บี2, ซี, ธาตุเหล็ก และแร่ธาติอื่นๆ จะกินสดๆ หรือคั้นปั่นเป็นเครื่องดื่ม หรือประยุกต์ใส่ในอาหารเช่น ยำต่างๆ ได้ทั้งนั้น

    6. มะม่วง
    เปลือกมะม่วงจะช่วยควบคุมระดับของน้ำตาลในเลือด และลดระดับคอเลสเตอรอลได้ เปลือกมะม่วงอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งจะช่วยป้องกันการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ ที่จะนำไปสู่การก่อมะเร็ง การกินเปลือกมะม่วงจะช่วยลดความเสี่ยงในการอักเสบของ 3 โรคได้เป็นอย่างดี ได้แก่ โรคไขข้อ โรคเบาหวาน และโรคอัลไซเมอร์ นอกจากนั้นบริเวณเปลือกของมะม่วงยังอุดมไปด้วยสารเบต้าแคโรทีน และวิตามิน A ซึ่งนับเป็นสารอนุมูลอิสระที่เป็นเกราะป้องกันเรติน่า (จอตา) ไม่ให้เสื่อมสภาพอีกด้วย

    7. ฝรั่ง
    ฝรั่งสามารถกินได้โดยไม่ปอกเปลือก เพราะในเปลือกฝรั่งมีแร่ธาตุและวิตามินสูง ทั้งวิตามินซี และวิตามินอี

    8. ฟักทอง
    เปลือกฟักทองสามารถกระตุ้นการหลั่งอินซูลินในร่างกาย ซึ่งช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันการเกิดเบาหวาน ความดันโลหิต บำรุงตับ บำรุงไต บำรุงดวงตา และสร้างเซลล์ใหม่ทดแทนเซลล์ที่ตายไปให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    9. ส้มกัมควอท (Gumquat) หรือ ส้มจี๊ด หรือส้มกิมจ๊อของคนจีน เป็นส้มกินเปลือกได้
    เปลือกหนา เนื้อนุ่ม มีน้ำมันระเหยจากเปลือกส้มมาก อันมีสรรพคุณทางยาที่สำคัญ ช่วยให้เจริญอาหาร ช่วยขับลม ช่วยย่อย ช่วยให้ระบบลำไส้ปกติ ป้องกันโรคมะเร็งในลำไส้ รักษาโรคกระเพาะอาหาร ช่วยระบบขับถ่ายและมีวิตามินซีสูงมาก

    ประโยชน์มากมายขนาดนี้ มาลองกินผลไม้พร้อมเปลือกกันเถอะ

    Cr : Lineกลุ่มสาระเพื่อสุขภาพดี
     
  14. Muang99

    Muang99 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    4,311
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +6,524
    การได้ทำบุญที่ห้องประชาสัมพันธ์ นานๆ ก็พบเจอในบางอย่าง

    เมื่อนานมาแล้ว ได้เคยทำบุญที่กระทู้หนึ่ง บอกบุญโดยสมาชิกท่านหนึ่ง


    เมื่อบารมียังไม่ถึง ก็ไขว้คว้ามายังไม่ได้

    การเป็นเจ้าของเวบธรรมะได้ ต้องมีบารมี คนทั่วไปส่วนใหญ่ไม่มีบารมี เป็นเจ้าของเวบธรรมะ

    อาศัยบารมีเจ้าของเวบธรรมะ บางทีบางสิ่งผมเองก็มองข้าม หรือยังไม่ถึงเวลาที่จะไขว้คว้าได้ คนมาอ่านที่เวบ ก็จะยังไม่ได้อ่านกัน เมื่อเวลาวาสนามาถึง สามารถไขว้คว้าได้ ก็จะนำลงให้อ่านกัน การทำหน้าที่เจ้าของเวบธรรมะ ก็เป็นช่วงเวลาหนึ่ง ตามธรรมะจัดสรร

    บทสวดเมตตาใหญ่หรือมหาเมตตาใหญ่ เป็นบทหนึ่งที่ผมเคยนำไปลงที่เวบผม เมื่อนานมาแล้ว

    เมตตาพรหมวิหาระภาวนา (มหาเมตตาใหญ่)
    http://metharung.blogspot.com/2015/02/blog-post_74.html

    อานิสงส์การสวดมหาเมตตาใหญ่ : ถ้าท่านสวด ณ ที่ใด จะสามารถป้องกันภัยธรรมชาติ ณ บ้านนั้น ตำบลนั้น อำเภอนั้น (ถ้าสวดกันทั้งหมู่บ้านจักป้องกันภัยธรรมชาติได้)
    ถ้าผู้สวดเป็นผู้มีกำลังสมาธิปานกลางก็สามารถส่งกำลังเมตตา ได้มากถึง ๑ โยชน์ (๑๖ กิโล) ไปทุกทิศ
    ถ้าผู้สวดเป็นผู้มีกำลังสมาธิมากก็สามารถส่งกำลังเมตตา ได้ถึงชั้นเทวดา และชั้นภพเบื้องล่าง ได้


    พระคาถาเมตตาหลวง เป็นบทย่อของบทมหาเมตตาใหญ่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 สิงหาคม 2016
  15. Muang99

    Muang99 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    4,311
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +6,524
    [​IMG]

    หลวงปู่มั่น ภูริฑัตโต ​

    “พระคาถาเมตตาหลวง” พระคาถาบทนี้ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านมักจะใช้ภาวนาเจริญเมตตา ไปยังสรรพสัตว์ไม่มีประมาณ ให้หมู่มนุษย์ และเทวดาได้รับความร่มเย็นเป็นสุขโดยทั่วกัน

    พระคาถาบทนี้ หลวงปู่ขาว อนาลโย แห่งวัดถ้ำกลองเพล ได้รับถ่ายทอดไว้ และได้มอบให้กับพระญาณสิทธาจารย์ หรือหลวงปู่เมตตาหลวง (สิงห์ สุนทโร) แห่งวัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เพื่อใช้เป็นบทเจริญเมตตาต่อสรรพสัตว์ทั่วทุกทิศานุทิศ

    พระคาถาเมตตาหลวงนี้เป็นการเจริญกรรมฐานที่มีอานิสงส์ ทำให้จิตตั้งมั่นได้ถึงระดับ อัปปนาสมาธิ คือ เมตตา กรุณา มุฑิตา จิตสามารถตั้งมั่นในระดับฌาณ ๓ ส่วน อุเบกขา จิตสามารถตั้งมั่นในฌาณ ๔ ในหมวดกรรมฐาน ๔๐ กอง บทนี้เรียกว่า พรหมวิหาร ๔ หรือ อัปปมัญญา ๔

    [​IMG]
    หลวงปู่ขาว อนาลโย

    [​IMG]
    พระญาณสิทธาจารย์หรือ หลวงปู่เมตตาหลวง​

    พระคาถานี้ศิษย์ของหลวงปู่มั่น ภูริฑัตโต ใช้แสดงโปรดเทวดา และพระคาถานี้ไม่มีศิษย์รูปใดของหลวงปู่มั่น จดจำได้นอกจาก หลวงปู่ขาว อนาลโย เพียงรูปเดียวที่สามารถจดจำได้ และต่อมาได้ถ่ายทอดให้ พระญาณสิทธาจารย์หรือ หลวงปู่เมตตาหลวง

    พระคาถาเมตตาหลวง ประกอบด้วย บทเมตตา กรุณา มุฑิตา และอุเบกขา และแผ่เมตตาเป็น ๓ สถาน คือ แผ่แบบ อโนทิศ , โอทิศ และ ทิสาผรณะ คือ แผ่เมตตามิได้เฉพาะก็ดี เฉพาะก็ดี แผ่ทั่วทิศทั้ง ๑๐ ก็ดี มีเมตตาจิตให้เป็นประโยชน์แก่สรรพสัตว์ทั้งปวงเบื้องบนถึงภวัคคพรหมเป็นที่สุด เบื้องต่ำตลอดอเวจีนรก โดยปริมณฑลทั่วอนันตสัตว์อันอยู่ในอนันตจักรวาล

    อธิบายเพิ่มเติม
    การแผ่ให้แบบอโนทิศ หรือไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ ได้แก่

    ๑. สัตตา [สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง] : อันว่าสัตว์ทั้งหลายอันยังข้องอยู่ในรูปปาทิขันธ์ด้วยฉันทราคะ

    ๒. ปาณา [สัตว์มีลมปราณ(ลมหายใจ)ทั้งปวง] : อันว่าสัตว์อันมีชีวิตอยู่ด้วยอัสสาสะ ปัสสาสะ (ลมหายใจเข้า – ออก) มีปัญจขันธ์ (ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) บริบูรณ์ทั้งปวงบทประกอบเหมือนกันเป็นอาการอัน ๑

    ๓. ภูตา [ภูติผีทั้งปวง] : อันว่าสัตว์ทั้งหลายอันเกิดใน จตุโวการภพมีขันธ์ ๕ ประการ คือ รูปพรหม แลสัตว์อันเกิดในเอกโวการภพมีขันธ์ ๑ คือ สัญญีสัตว์เป็นอาการอัน ๑

    ๔. ปุคคะลา [บุคคลทั้งปวง] : อันว่าสัตว์อันจะไปสู่นรกทั้งปวงเป็นอาการ ๑

    ๕. อัตตะภาวะปะริยาปันนา [สัตว์ในร่างกายเรา] : อันว่าสัตว์อันนับเข้าในอาตมาภาพ เหตุอาศัยขันธ์ทั้ง ๕

    อธิบายเพิ่มเติม
    การแผ่ให้แบบโอทิศ หรือเฉพาะเจาะจงเป็นส่วนว่าหญิงชายมีอาการ ๗ ได้แก่

    ๖. อิตถิโย [สตรีเพศ]
    ๗. ปุริสา [บุรุษเพศ]
    ๘. อะริยา [พระอริยะเจ้า]
    ๙. อะนะริยา [ไม่ใช่อริยะเจ้า คือ ปุถุชน]
    ๑๐. เทวา [เทวดา]
    ๑๑. มนุสสา [สัตว์ผู้มีใจสูง / มนุษย์]
    ๑๒. วินิปาติกา [สัตว์นรก อสุรกาย]

    และแผ่ไป ทิสาผรณะ หรือ แผ่ไปสิบทิศน้อยใหญ่ มีอาการ ๑๐ ได้แก่


    ๑. ทิศบูรพา (ตะวันออก)
    ๒. ทิศปัจฉิม (ตะวันตก)
    ๓. ทิศอุดร (เหนือ)
    ๔. ทักษิณ (ใต้)
    ๕. ทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้)
    ๖. ทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ)
    ๗. ทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ)
    ๘. ทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้)
    ๙. ทิศเบื้องล่าง
    ๑๐. ทิศเบื้องบน

    คำลงท้ายแบบย่อของแต่ละบทจะมีความแตกต่างกัน ขอยกตัวอย่างให้เห็นคร่าว ๆ ซึ่งท่านสามารถเข้าไปอ่านเรื่องเต็มได้ที่ พระคาถาเมตตาหลวง ค่ะ (คำลงท้ายอาจเปลี่ยนแปลงไวยกรณ์ไปตามแต่กาล)

    คำลงท้ายของแต่ละบทแยกไว้ตามหัวข้อ (ยกมาสั้น ๆ ค่ะ)

    ๑. บทเมตตา : ใช้คำลงท้าย “อะเวรา อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ”

    แปลว่า : อย่าจองเวรกัน อย่าผูกพยาบาทอาฆาตกัน อย่าเบียดเบียนกัน อย่าข่มเหงรังแกกัน อย่ามีความทุกข์กายทุกข์ใจ จงรักษาตนให้เป็นสุข

    ๒. บทกรุณา : ใช้คำลงท้าย “สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ”

    แปลว่า : จงพ้นจากความเสื่อมลาภ เสื่อมยศนินทา และความทุกข์ ทั้งปวง

    ๓. บทมุทิตา : ใช้คำลงท้าย “ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ”

    แปลว่า : อย่าวิบัติ กลาดเกลื่อนจากสมบัติ จากยศ จากความสรรเสริญ และจากความสุขที่ได้แล้ว

    ๔. บทอุเบกขา : ใช้คำลงท้าย “กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะพันธู กัมมะปะฏิสะระณา ยัง กัมมัง กะริสสันติ กัลยานัง วาปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ”

    แปลว่า : มีกรรมเป็นของๆคน มีกรรมเป็นผู้ให้ผล มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย

    ที่กล่าวทั้งหมดด้านบนคือ ประวัติบางส่วนของบทเมตตาหลวงอย่างย่อ ๆ ค่ะ ต่อไปจะขอนำประวัติของ "พระคาถาเมตตาใหญ่" ที่หลวงพ่อจรัญ บันทึกเรื่องราวไว้ค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 สิงหาคม 2016
  16. Muang99

    Muang99 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    4,311
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +6,524
    [​IMG]

    พระคาถาเมตตาใหญ่
    พระธรรมสิงหบุราจาย์ วัดอัมพวัน​

    จะขอเล่าต่อ ในส่วนของ “พระคาถาเมตตาใหญ่” หรือ "พระคาถาอภิมงคลคาถา" ที่ หลวงพ่อจรัล วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี ได้เมตตานำมาเผยแพร่อย่างกว้างขวาง ข้าพเจ้าได้ย่อความ จาก หนังสือกฎแห่งกรรม เล่ม ๑ :: ภาคธรรมปฏิบัติ :: เรื่อง พิกุลเทพสถิต โดย พระครูภาวนาวิสุทธิ์ (ตำแหน่งท่านในขณะนั้น) (สามารถอ่านได้ที่ พิกุลเทพสถิต) เพื่อให้ผู้อ่านทราบถึงประวัติเมตตาใหญ่ที่เทวดานำมาสอน ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่า บทนี้เทวดาท่านชอบสวดจริง ๆ ค่ะ

    คัดย่อพิกุลเทพสถิต

    จากหนังสือหลวงพ่อจรัญเล่าให้ฟังว่า มีแม่ชีท่านหนึ่งชื่อ แม่ชีก้อนทอง ปานเณร อายุ ๗๐ ปี มาขอปฏิบัติธรรมที่วัดอัมพวัน และหลวงพ่อเมตตารับไว้โดยให้อยู่ที่ศาลาพัก หลวงพ่อได้เมตตาสอนกรรมฐาน โดยกำหนดให้เดินจงกรม เมื่อเดินจงกรมแล้วก็นั่ง พองหนอยุบหนอ ตั้งสติไว้

    ในช่วงเวลา ๑ เดือน แม่ชีก็มาสอบอารมณ์กับหลวงพ่อทุกวัน แล้วมาเช้าวันหนึ่งแม่ชีก็เล่าให้หลวงพ่อฟังว่า มีเทวดามาชวนสวดมนต์ทุกวัน หลวงพ่อก็แจ้งว่าให้กำหนด “เห็นหนอ ๆ ” …..

    พอผ่านมาอีกคืนหนึ่งแม่ชีก็เล่าว่า กำหนดเห็นหนอ ๆ แล้ว แต่เทวดาไม่ไป หลวงพ่อจึงให้สอบถามว่าเทวดาอยู่ที่ไหน แม่ชีก็บอกว่าเทวดาอยู่ที่ต้นพิกุล หลวงพ่อสงสัยว่ามาได้อย่างไร แม่ชีก็เล่าอย่างที่เทวดาบอกว่า โดนสาปมาจากสวรรค์เพราะผิดประเวณีนางฟ้า ให้มาอยู่ที่ต้นพิกุลนี้ ๑๐๐ ปี ตรงกับวันที่เท่านั้นเวลา ๙.๔๕ น. ครบ ๑๐๐ ปี หลวงพ่อก็จดไว้

    และหลวงพ่อถามแม่ชีต่อว่าเทวดามาชวนสวดมนต์กี่โมง แม่ชีก็ตอบว่า ๑๒.๐๑ นาที เทวดามาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเวลานี้[1] หลวงพ่อได้สอบถามข้อสงสัยโดยให้แม่ชีถามเทวดา สรุปความย่อ ๆ มาดังนี้ ถ้าบ้านไหนสวดมนต์ไหว้พระ เอาใจใส่สวดมนต์ จะดีทั้งครอบครัว บ้านนั้นจะมีเทวดาเข้าไปสวดมนต์ เทวดาแนะนำให้สวด “มหาเมตตาใหญ่” บทใหญ่เลยยิ่งดี

    เทวดามาชวนแม่ชีสวดมนต์อยู่ ๑ ปี หลวงพ่อลองให้แม่ชีสวด มหาเมตตาใหญ่ ให้ฟัง หลวงพ่อก็พยายามไปหาหนังสือสวดมนต์บทนี้ ก็ไม่มี แต่มีคนแนะนำให้ไปหาพระครูปลัดท่านหนึ่งที่วัดสุทัศน์ กรุงเทพมหานคร เพื่อไปพิสูจน์บทสวดมนต์ที่แม่ชีสวด ซึ่งตรงกับหนังสือทุกตัว แม่ชีอ่านหนังสือไม่ออกนะคะ แต่ท่องได้ครบ

    แล้วเวลากาลต่อมา แม่ชีก้อนทองยังมีเกร็ดพิเศษอีกหลายอย่าง เทวดาบอกไว้ว่าอยากคุยกับเทวดาให้สวดบทเมตตาใหญ่นี้ค่ะ ขอจบลงแบบคร่าว ๆ ดังนี้ค่ะ

    ในปัจจุบันหลวงพ่อจรัญ จัดพิมพ์หนังสือ พระคาถาเมตตาใหญ่ นี้ โดยใช้ชื่อว่า “พระคาถาอภิมหามงคลคาถาเมื่อสวดแล้วจะแคล้วคลาดปลอดภัยจากภัยธรรมชาติ ให้สวดกันให้มาก

    [1] พุทธกิจ ๕ ประการ : (งานของพระพุทธเจ้าประจำวัน) ๑. เช้าโปรดสัตว์ บิณฑบาต ๒. เย็นทรงแสดงธรรมโปรดมหาชน ๓. ค่ำโอวาทสั่งสอนพระภิกษุสงฆ์ ๔. เที่ยงคืน แก้ปัญหาเทวดา ๕. ใกล้รุ่ง ตรวจดูอุปนิสัยเวไนยสัตว์ที่จะเสด็จไปโปรดในวันใหม่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 สิงหาคม 2016
  17. Muang99

    Muang99 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    4,311
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +6,524
    พระคาถาเมตตาใหญ่พิสดาร
    อ.เสริมศิลป์ ขอนวงค์ กลุ่มแสงธรรมประทีป เจโตวิมุตติ

    จากบทเดิมที่หลายท่านทราบว่ามาจาก เทวดาพา "แม่ชีก้อนทอง ปานเณร" สวดทุกคืน และ "หลวงพ่อจรัญ" ท่านไปเสาะหาต้นฉบับที่วัดมหาธาตุ แต่ไม่พบ จึงไปสอบถามเจ้าคุณท่านหนึ่งที่วัดสุทัศน์ มีแต่เฉพาะบทเมตตาเท่านั้น ในส่วนฉบับจริงและเต็ม ๆ นั้นมี ทั้ง เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ยาวมากๆ สวดครั้งละ ๓ - ๔ ชั่วโมง (รวมบทแปลด้วย) จาก วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม "หลวงพ่อเมตตาหลวง"

    ได้สอบถามที่มาของ พระคาถาเมตตาใหญ่พิสดาร อาจารย์เล่าให้ฟังว่า อาจารย์รู้จักบทนี้มาหลายปีค่ะ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๙ ในงานศพหลวงปู่แหวน เนื่องการรถไฟรับเป็นเจ้าภาพอาหารในงานศพ ขณะที่ช่วยงานนั้น หลวงปู่เมตตาหลวง ก็เรียกอาจารย์เข้าไปหา แล้วก็มอบหนังสือสวดมนต์เล่มเล็ก ๆ ให้

    “เอ้า! ไอ้หนุ่มเอานี่ไปสวด”

    เป็นหนังสือพระคาถาเมตตาหลวงเล่มเล็ก ๆ แต่เมื่ออาจารย์เห็น ก็ไม่อยากสวดเพราะยาวมาก อาจารย์ขณะนั้นสวดมนต์ไม่เก่งอย่างนี้ค่ะ จึงไม่ได้สวด จนกระทั่งมาปี พ.ศ.2545 ก้มีคนนำบทสวดมนต์นี้มาให้ดูแต่เป็น บทเมตตาอย่างเดียว เป็นหนังสือทีจัดพิมพ์เพื่อแจกที่วัดอัมพวัน ค่ะ

    อาจารย์ก็เริ่มสนใจที่จะสวดมนต์บทนี้ ก็หัดสวด แรก ๆ นั้นอาจารย์สวดแบบอ่าน ไม่ได้ใส่ทำนอง และไม่สวดเร็วเป็นจังหวะหนักแน่นอย่างปัจจุบัน จนกระทั่งมีสิ่งมาดลใจให้สวดมนต์เป็นทำนอง จังหวะ และเร็วขึ้น อย่างที่สวดในปัจจุบัน อาจารย์จะเน้นให้สวดอย่างมีสติ มีสมาธิ และสวดอย่างนอบน้อมศรัทธาต่อพระพุทธองค์

    และเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๔๘ อาจารย์ได้ไปเจอบทสวดมนต์แผ่เมตตาแบบละเอียดในชั้นภพต่าง ๆ ที่วัดเก่าแก่แห่งหนึ่ง เป็นบทแผ่เมตตาของครูเจ้าท่านหนึ่ง อาจารย์เห็นว่าละเอียด จึงนำมารวมกับบทเมตตาใหญ่ เพิ่มในส่วน ของโอทิศ คือ บทเฉพาะเจาะจงเป็นส่วนว่าหญิงชายเพิ่มเข้าไปอีก ขออธิบายอย่างคร่าว ๆ ดังนี้

    บทสวดเมตตาใหญ่ แบบพิสดาร จำนวนบุคคลที่แผ่เมตตาให้ละเอียดมากยิ่งขึ้น

    เดิมที่มีอยู่
    (๑) อิตถิโย = ผู้หญิง (๒) ปุริสา =ผู้ชาย (๓) อะริยา =พระอริยะ (๔) อะนะริยา = ปุถุชน
    (๕) เทวา = เทวดา (๕) มนุสสา = มนุษย์ (๖) วินิปาติกา = ผู้มีอัตตภาพ

    ในส่วนพิสดารได้เพิ่มบท โอทิศ หรือ บทเฉพาะเจาะจงเป็นส่วนว่าหญิงชาย คือ เพิ่มชนิดและแยกชั้นของเทวดา ชั้นของภพเบื้องล่างให้ละเอียดมากขึ้น ไปอีก ๓๑ ประเภท (สีน้ำเงินคือส่วนที่เพิ่มขึ้นมา)( สีแดงคือของเดิม )

    (๑) อิตถิโย = ผู้หญิง (๒) ปุริสา =ผู้ชาย (๓) อะริยา =พระอริยะ (๔) อะนะริยา = ปุถุชน

    (๕) จาตุมมหาราชิกาเทวา = เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา
    (๖) ตาวะติงสาเทวา = เทวดาชั้นดาวดึงส์
    (๗) ยามาเทวา = เทวดาชั้นยามา
    (๘) ตุสิตาเทวา = เทวดาชั้นดุสิต
    (๙) นิมมานะระตีเทวา = เทวดาชั้นนิมมานะระดี
    (๑๐) ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีเทวา = เทวดาชั้นปะระนิมมิตะวะสะวัตตี
    (๑๑) อินทา
    (๑๒) พรหมา
    (๑๓) จตุโลกะปาลา (๑๔) ยมมะราชา (๑๕) ยะมะปาลา (๑๖) สิริคุตตะระอะมัจจา =สิริคุตตะระอำมาตย์

    (๑๗) ยักษา (๑๘) ยักษี (๑๙) กุมภัณฑา
    (๒๐) ครุทธา (๒๑) กินนรา (๒๒) กินนะรี (๒๓) นาคา (๒๔) นาคี
    (๒๕) มนุสสา = มนุษย์ (๒๖) อะมะนุสสา (๒๗) วิริยะปาติกา (๒๘) มิตตา (๒๙) อมิตตา (๓๐) มัชฌะตา = ผู้เป็นกลาง ๆ

    (๓๑) ติรัจฉา (๓๒) เปติกา (๓๓) เปตา (๓๔) อสุระกายา (๓๕) เปตาวัตถุโย (๓๖) เปตวิเสยยา (๓๗) วินิปาติกา = ผู้มีอัตตภาพ

    อาจารย์เสริมศิลป์ได้นำบทพิสดารมาให้ คุณพัทธยา รวบรวมเรียบเรียง และ มีพระครูศรีธรรมวิภัช สุนฺทรธมฺโม (พระมหาบุญมั่น : เปรียญ ๗ ประโยค) เจ้าอาวาสวัดห้วยหม้าย อ.สอง จ.แพร่ ตรวจสอบไวยกรณ์อีกครั้ง จนมาเป็นบทสวด "พระคาถาเมตตาใหญ่พิสดาร" ในปัจจุบันค่ะ

    อานิสงส์ : ถ้าท่านสวด ณ ที่ใด จะสามารถป้องกันภัยธรรมชาติ ณ บ้านนั้น ตำบลนั้น อำเภอนั้น (ถ้าสวดกันทั้งหมู่บ้านจักป้องกันภัยธรรมชาติได้)
    ถ้าผู้สวดเป็นผู้มีกำลังสมาธิปานกลางก็สามารถส่งกำลังเมตตา ได้มากถึง ๑ โยชน์ (๑๖ กิโล) ไปทุกทิศ
    ถ้าผู้สวดเป็นผู้มีกำลังสมาธิมากก็สามารถส่งกำลังเมตตา ได้ถึงชั้นเทวดา และชั้นภพเบื้องล่าง ได้

    (เรื่องเล่าจากผู้สวด : จดหมายจากอเมริกา - บ้านไม่พังจาก พายุแคทรีน่า เพราะบทสวดมนต์บท เมตตาใหญ่ )

    ที่มา : เมตตาพรหมวิหาระภาวนา (มหาเมตตาใหญ่) แบบพิสดาร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 สิงหาคม 2016
  18. Muang99

    Muang99 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    4,311
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +6,524
    เมตตาพรหมวิหาระภาวนา (มหาเมตตาใหญ่)

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)

    เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเมฯ

    ตัตตระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติ ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะวะโต ปัจจัสโสสุงฯ

    ภะคะวา เอตะทะโวจะ เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเส วิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ

    วัตถุกะตายะ อะนุฏฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขาฯ กะตะเม เอกาทะสะ

    (๑) สุขัง สุปะติ (๒) สุขัง ปะฏิพุชฌะติ (๓) นะ ปาปะกัง สุปินัง ปัสสะติ (๔) มะนุสสานัง ปิโย โหติ (๕) อะมะนุสสานัง ปิโย โหติ (๖) เทวะตา รักขันติ (๗) นาสสะ อัคคิ วา วิสัง วา สัตถัง วา กะมะติ (๘) ตุวะฏัง จิตตัง สะมาธิยะติ (๙) มุขะวัณโณ (๑๐) อะสัมมุฬฬะโห กาลัง กะโรติ (๑๑) อุตตะริง อัปปะฏิวิชฌันโต พรหมมะโลกูปะโค โหติฯ

    เมตตายะภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฏิฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ อิเม เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขาฯ

    อัตถิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ

    อัตถิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ

    อัตถิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ

    กะตีหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ

    กะตีหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ

    กะตีหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ

    ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ

    สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ

    ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ

    กะตะเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ

    (๑) สัพเพ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๒) สัพเพ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๓) สัพเพ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๔) สัพเพ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๕) สัพเพ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติ

    อิเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ

    กะตะเมหิ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ

    (๑) สัพเพ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๒) สัพเพ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๓) สัพเพ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๔) สัพเพ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๕) สัพเพ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๖) สัพเพ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๗) สัพเพ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตูติ

    อิเมหิ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ

    กะตะเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ


    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ


    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๘) สัพเพ ทักขินายะ อะนุทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปาณา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ


    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ภูตา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ


    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุคคะลา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ


    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อัตตะภาวะปะริยาปันนา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ


    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อิตถิโย อะเวรา อัพยาปัชฌา อานีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ


    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวราอัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุริสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ


    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะริยาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ


    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุฯ

    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะนะริยา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ


    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ เทวา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ


    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ มะนุสสาอะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะทิสายะ มะนุสสา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ


    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานังปะริหะรันตุฯ

    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ วินิปาติกา อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติฯ

    อิเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ

    สัพเพสัง สัตตานัง ปีฬะนัง วัชเชตวา

    อะปีฬานะยะอุปะฆาตัง วัชเชตวา

    อะนุปิฆาเตนะ สันตาปัง วัชเชตวา

    อะสันตาเปนะปะริยาทานัง วัชเชตวา

    อะปะริยาทาเนนะ วิเหสัง วัชเชตวา

    อะวิเหสายะสัพเพ สัตตา อะเวริโน โหนตุ มา เวริโน สุขิโน โหนตุ มา ทุกขิโน สุขิตัตตา โหนตุมา

    ทุกขิตตาติ อิเมหิ อัฏฐะหากาเรหิ สัพเพ สัตตา เมตตายะตีติ เมตตา ตัง ธัมมัง เจตะยะตีติ

    เจโต สัพพะพะยาปะทะปะริยุฏฐาเนหิ มุจจะตีติ เมตตา จะเจโตวิมุตติ จาติ เมตตาเจโตวิมุตติฯ
    เมตตา พรหมะวิหาระภาวะนานิฏฐิตา.

    http://metharung.blogspot.com/2015/02/blog-post_74.html

    ** เมตตาพรหมวิหาระภาวนา (มหาเมตตาใหญ่) หรือพระคาถาอภิมงคลคาถา ฉบับนี้เป็นแบบของหลวงพ่อจรัญ

    ประสบการณ์สวดมนต์มหาเมตตาใหญ่

    บทสวดมนต์มหาเมตตาใหญ่นั้นมีความศักดิ์สิทธิ์มากบทหนึ่ง ผม(เจ้าของเวบเมตตาโฮมเพจ) ได้เคยสวดมนต์มหาเมตตาใหญ่ รู้สึกว่าในวันนั้นจะมีความรู้สึกสบายใจ มีความใจเย็น ไม่รุ่มร้อน ส่วนพระคาถาเมตตาหลวง (ซึ่งเป็นบทมนต์ที่หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านมักจะใช้ภาวนาเจริญเมตตาไปยังสรรพสัตว์ไม่มีประมาณ หมู่มนุษย์และเทวดาได้รับความร่มเย็นเป็นสุขโดยทั่วกัน พระคาถาเมตตาหลวง หลวงปู่ขาว อนาลโย แห่งวัดถ้ำกลองเพล ได้รับถ่ายทอดไว้ และได้มอบให้กับพระญาณสิทธาจารย์หรือหลวงปู่เมตตาหลวง(สิงห์ สุนทโร) แห่งวัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม อำเภอปากช่อง จ.นครราชสีมา)

    เมื่อเปรียบเทียบกับการสวดมหาเมตตาใหญ่กับพระคาถาเมตตาหลวง จากประสบการณ์ของผมพบว่า การสวดมนต์มหาเมตตาใหญ่ จะทำให้ทั้งวันทั้งคืนนั้น มีความสบายใจ ใจเย็น ส่วนการสวดพระคาถาเมตตาหลวง จะทำให้มีความสบายใจ ใจเย็น อยู่ประมาณครึ่งวัน


    ปาฏิหาริย์ของการสวดมนต์ บทมหาเมตตาใหญ่ของท่านอื่นๆ สามารถไปอ่านได้ที่ :
    1.ปาฏิหาริย์ของการสวดมนต์ บท มหาเมตตาใหญ่ ดร.ณัฐพล

    2."บทมหาเมตตใหญ่นี้ เราถือว่าเป็นบทที่สวดท่องแล้วเห็นผลเร็วมาก

    เมื่อหลายปีก่อนเราได้ท่องบทมหาเมตตาใหญ่นี้เพราะมีสิ่งมารบกวนมาก คิดว่าแผ่เมตตาธรรมดาคงเอาไม่อยู่ เอามหาเมตตาใหญ่นี้เลยดีกว่า พอดูบทสวดแล้ว โอแม่เจ้า ยาวเวอร์ ไม่เคยสวดบทยาวขนาดนี้มาก่อนเลย แต่ก็ตั้งใจสวด สวดอยู่ประมาณเดือนหนึ่งได้วันละรอบ วันที่ครบหนึ่งเดือนพอดี ขณะก่อนตื่นเราได้ยินเสียงผู้หญิง 2 ตนยืนคุยกันเหมือนตั้งใจให้เราได้ยินอยู่ข้างเตียงนอนว่า "นั้นนะ คนนั้น เขาสวดท่องอยู่คนเดียว แต่เกิดมีความสุขสบายกันทั้งเมือง" อีกคนก็พูดตอบว่า "จริงด้วยๆ ดีเน้อ" ได้ยินแค่นั้นก็ตื่นขึ้นมา คิดสงสัยว่า เอ๊ะ... อนุภาพของภาคาครอบคุมทั้งเมืองเลยหรือ..." http://goo.gl/gVrSJU
     
  19. Muang99

    Muang99 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    4,311
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +6,524
    บทสวดมนต์เมตตาใหญ่พิสดาร ฉบับสมบูรณ์

    -1-
    เมตตาพรัหมะวิหาระภาวนา
    เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง
    วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเมฯ
    ตัตระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติฯ
    ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง ภะคะวา
    เอตะทะโวจะ เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ
    ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ
    อะนุฏฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ เอกาทะสานิสังสา
    ปาฏิกังขาฯ กะตะเม เอกาทะสะฯ
    (๑ ) สุขัง สุปะติ (๒) สุขัง ปะฏิพุชฌะติ
    (๓) นะ ปาปะกัง สุปินัง ปัสสะติ
    (๔) มะนุสสานัง ปิโย โหติ
    (๕) อะมะนุสสานัง ปิโย โหติ
    (๖) เทวะตา รักขันติ
    (๗) นาสสะ อัคคิ วา วิสัง วา สัตถัง วา กะมะติ
    (๘) ตุวะฏัง จิตตัง สะมาธิยะติ
    (๙) มุขะวัณโณ วิปะสี ทะติ
    (๑๐) อะสัมมุฬโห กาลัง กะโรติ
    (๑๑) อุตตะริง อัปปะฏิวิชฌันโต พรัหมะโลกูปะโค โหติฯ
    เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ
    พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฏฐิตายะ

    -2-
    ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ อิเม เอกาทะสานิสังสา
    ปาฏิกังขาฯ
    อัตถิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
    อัตถิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
    อัตถิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
    กะตีหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
    กะตีหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
    กะตีหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
    ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
    สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
    ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
    กะตะเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา
    เมตตาเจโตวิมุตติ
    (๑) สัพเพ สัตตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปาณา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ ภูตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    -3-
    (๔) สัพเพ ปุคคะลา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ อัตตะภาวะปะริยาปันนา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตูติฯ
    อิเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
    กะตะเมหิ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
    (๑) สัพพา อิตถิโย
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปุริสา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อะริยา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ อะนะริยา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ จาตุมมหาราชิกาเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ตาวะติงสาเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    -4-
    (๗) สัพเพ ยามาเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ตุสิตาเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ นิมมานะระตีเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพ ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๑) สัพเพ อินทา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๒) สัพเพ พรหมา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๓) สัพเพ จตุโลกะปาลา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๔) สัพเพ ยมมะราชา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๕) สัพเพ ยะมะปาลา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๖) สัพเพ สิริคุตตะระอะมัจจา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    -5-
    (๑๗) สัพเพ ยักขา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๘) สัพเพ กุมภัณฑา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๙) สัพเพ ครุทธา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒๐) สัพเพ กินนรา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒๑) สัพพา กินนะรี
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒๒) สัพเพ นาคา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒๓) สัพเพ มะนุสสา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒๔) สัพเพ อะมะนุสสา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒๕) สัพเพ วิริยะปะติกา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒๖) สัพเพ มิตตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    -6-
    (๒๗) สัพเพ อมิตตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๒๘) สัพเพ มัชฌะตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒๙) สัพเพ ติรัฉฉา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓๐) สัพเพ เปติกา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓๑) สัพเพ เปตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓๒) สัพเพ อะสุระกายา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓๓) สัพเพ เปตาวัตถุโย
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓๔) สัพเพ เปตวิเสยยา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓๕) สัพเพ วินิปาติกา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    อิเมหิ สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
    กะตะเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ

    -7-
    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ สัตตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ สัตตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ สัตตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ สัตตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ สัตตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ สัตตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ สัตตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ สัตตา
    อะเวรา อพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ สัตตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ สัตตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    -8-
    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปาณา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปาณา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปาณา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปาณา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปาณา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปาณา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปาณา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปาณา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปาณา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปาณา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

    -9-
    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ภูตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ภูตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ภูตา
    อะเวรา อพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ภูตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ภูตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ภูตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ภูตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ภูตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ภูตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ภูตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

    -10-
    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุคคะลา
    อะเวรา อพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุคคะลา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปุคคะลา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปคคะลา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุคคะลา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุคคะลา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

    -11-
    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อัตตภาวะปะริยาปันนา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อัตตภาวะปะริยาปันนา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อตตภาวะปะริยาปันนา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อัตตภาวะปะริยาปันนา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อัตตภาวะปะริยาปันนา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อัตตภาวะปะริยาปันนา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อัตตภาวะปะริยาปันนา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อัตตภาวะปะริยาปันนา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อัตตภาวะปะริยาปันนา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อตตภาวะปะริยาปันนา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

    -12-
    (๑) สัพพา ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อิตถิโย
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพพา ปัจฉิมายะ ทิสายะ อิตถิโย
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพพา อุตตะรายะ ทิสายะ อิตถิโย
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพพา ทักขิณายะ ทิสายะ อิตถิโย
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพพา ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพพา ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพพา อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อิตถิโย
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๘) สัพพา ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อตถิโย
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพพา เหฏฐิมายะ ทิสายะ อิตถิโย
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพพา อุปะริมายะ ทิสายะ อิตถิโย
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    -13-
    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปุริสา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปุริสา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปุริสา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปุริสา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปุริสา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปุริสา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปุริสา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปุริสา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปุริสา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปุริสา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    -14-
    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะริยา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะริยา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะริยา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะริยา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะริยา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะริยา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะริยา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะริยา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะริยา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะริยา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    -15-
    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะนะริยา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะนะริยา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะนะริยา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะนะริยา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะนะริยา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะนะริยา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะนะริยา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    -16-
    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ จาตุมมหาราชิกาเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ จาตุมมหาราชิกาเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ จาตุมมหาราชิกาเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ จาตุมมหาราชิกาเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ จาตุมมหาราชิกาเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ จาตุมมหาราชิกาเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ จาตุมมหาราชิกาเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ จาตุมมหาราชิกาเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ จาตุมมหาราชิกาเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ จาตุมมหาราชิกาเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    -17-
    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ตาวะติงสาเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ตาวะติงสาเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ตาวะติงสาเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ตาวะติงสาเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ตาวะติงสาเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ตาวะติงสาเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ตาวะติงสาเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ตาวะติงสาเทวา
    อะเวรา อพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ตาวะติงสาเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ตาวะติงสาเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    -18-
    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ยามาเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ยามาเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ยามาเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ยามาเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ยามาเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ยามาเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ยามาเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ยามาเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ยามาเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ยามาเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    -19-
    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ตุสิตาเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ตุสิตาเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ตุสิตาเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ตุสิตาเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ตุสิตาเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ตุสิตาเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ตุสิตาเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ตุสิตาเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ตุสิตาเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ตุสิตาเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    -20-
    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ นิมมานะระตีเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ นิมมานะระตีเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ นิมมานะระตีเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ นิมมานะระตีเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ นิมมานะระตีเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ นิมมานะระตีเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ นิมมานะระตีเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ นิมมานะระตีเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ นิมมานะระตีเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ นิมมานะระตีเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    -21-
    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีเทวา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    -22-
    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อินทา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อินทา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อินทา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อินทา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อินทา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อินทา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อินทา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อินทา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อินทา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อินทา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    -23-
    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ พรหมา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ พรหมา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ พรหมา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ พรหมา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ พรหมา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ พรหมา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ พรหมา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ พรหมา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ พรหมา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ พรหมา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    -24-
    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ จตุโลกะปาลา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ จตุโลกะปาลา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ จตุโลกะปาลา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ จตุโลกะปาลา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ จตุโลกะปาลา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ จตุโลกะปาลา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ จตุโลกะปาลา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ จตุโลกะปาลา
    อะเวรา อพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ จตุโลกะปาลา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ จตุโลกะปาลา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    -25-
    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ยมมะราชา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ยมมะราชา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ยมมะราชา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ยมมะราชา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ยมมะราชา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ยมมะราชา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ยมมะราชา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ยมมะราชา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ยมมะราชา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ยมมะราชา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    -26-
    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ยะมะปาลา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ยะมะปาลา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ยะมะปาลา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ยะมะปาลา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ยะมะปาลา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ยะมะปาลา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ยะมะปาลา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ยะมะปาลา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ยะมะปาลา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ยะมะปาลา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    -27-
    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ สิริคุตตะระอะมัจจา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ สิริคุตตะระอะมัจจา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทสายะ สิริคุตตะระอะมัจจา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ สิริคุตตะระอะมัจจา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ สิริคุตตะระอะมัจจา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ สิริคุตตะระอะมัจจา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ สิริคุตตะระอะมัจจา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ สิริคุตตะระอะมัจจา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ สิริคุตตะระอะมัจจา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ สิริคุตตะระอะมัจจา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    -28-
    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ยักขา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ยักขา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ยักขา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ยักขา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ยักขา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ยักขา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ยักขา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ยักขา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ยักขา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ยักขา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    -29-
    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ กุมภัณฑา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ กุมภัณฑา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ กุมภัณฑา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ กุมภัณฑา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ กุมภัณฑา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ กุมภัณฑา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ กุมภัณฑา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ กุมภัณฑา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ กุมภัณฑา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ กุมภัณฑา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    -30-
    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ครุทธา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ครุทธา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ครุทธา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ครุทธา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ครุทธา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ครุทธา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ครุทธา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ครุทธา
    อะเวรา อพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ครุทธา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ครุทธา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    -31-
    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ กินนรา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ กินนรา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ กินนรา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ กินนรา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ กินนรา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ กินนรา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ กินนรา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ กินนรา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ กินนรา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ กินนรา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    -32-
    (๑) สัพพา ปุรัตถิมายะ ทิสายะ กินนะรี
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพพา ปัจฉิมายะ ทิสายะ กินนะรี
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพพา อุตตะรายะ ทิสายะ กินนะรี
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพพา ทักขิณายะ ทิสายะ กินนะรี
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพพา ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ กินนะรี
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพพา ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ กินนะรี
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพพา อุตตะรายะ อะนุทิสายะ กินนะรี
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพพา ทักขิณายะ อะนุทิสายะ กินนะรี
    อะเวรา อพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพพา เหฏฐิมายะ ทิสายะ กินนะรี
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพพา อุปะริมายะ ทิสายะ กินนะรี
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    -33-
    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ นาคา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ นาคา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ นาคา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ นาคา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ นาคา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ นาคา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ นาคา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ นาคา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ นาคา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ นาคา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    -34-
    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ มะนุสสา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ มะนุสสา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ มะนุสสา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ มะนุสสา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ มะนุสสา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ มะนุสสา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ มะนุสสา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    -35-
    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะมะนุสสา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะมะนุสสา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะมะนุสสา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะมะนุสสา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะมะนุสสา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะมะนุสสา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะมะนุสสา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะมะนุสสา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะมะนุสสา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะมะนุสสา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    -36-
    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ วิริยะปะติกา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ วิริยะปะติกา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ วิริยะปะติกา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ วิริยะปะติกา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ วิริยะปะติกา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ วิริยะปะติกา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ วิริยะปะติกา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ วิริยะปะติกา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ วิริยะปะติกา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ วิริยะปะติกา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    -37-
    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ มิตตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ มิตตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ มิตตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ มิตตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ มิตตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ มิตตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ มิตตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ มิตตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ มิตตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ มิตตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    -38-
    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะมิตตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะมิตตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะมิตตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะมิตตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะมิตตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะมิตตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะมิตตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะมิตตา
    อะเวรา อพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะมิตตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะมิตตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    -39-
    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ มัชฌะตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ มัชฌะตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ มัชฌะตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ มัชฌะตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ มัชฌะตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ มัชฌะตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ มัชฌะตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ มัชฌะตา
    อะเวรา อพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ มัชฌะตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ มัชฌะตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    -40-
    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ ติรัฉฉา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ ติรัฉฉา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ ติรัฉฉา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ ติรัฉฉา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ ติรัฉฉา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ ติรัฉฉา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ ติรัฉฉา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ ติรัฉฉา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ ติรัฉฉา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ ติรัฉฉา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    -41-
    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ เปติกา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ เปติกา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ เปติกา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ เปติกา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ เปติกา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ เปติกา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ เปติกา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ เปติกา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ เปติกา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ เปติกา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    -42-
    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ เปตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ เปตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ เปตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ เปตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ เปตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ เปตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ เปตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ เปตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ เปตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ เปตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    -43-
    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ อะสุระกายา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ อะสุระกายา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ อะสุระกายา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ อะสุระกายา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ อะสุระกายา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ อะสุระกายา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ อะสุระกายา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ อะสุระกายา
    อะเวรา อพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ อะสุระกายา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ อะสุระกายา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    -44-
    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ เปตาวัตถุโย
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ เปตาวัตถุโย
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ เปตาวัตถุโย
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ เปตาวัตถุโย
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ เปตาวัตถุโย
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ เปตาวัตถุโย
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ เปตาวัตถุโย
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ เปตาวัตถุโย
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ เปตาวัตถุโย
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ เปตาวัตถุโย
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    -45-
    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ เปตวิเสยยา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ เปตวิเสยยา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ เปตวิเสยยา
    อะเวรา อพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ เปตวิเสยยา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ เปตวิเสยยา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ เปตวิเสยยา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ เปตวิเสยยา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ เปตวิเสยยา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ เปตวิเสยยา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ เปตวิเสยยา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    -46-
    (๑) สัพเพ ปุรัตถิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๒) สัพเพ ปัจฉิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๓) สัพเพ อุตตะรายะ ทิสายะ วินิปาติกา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๔) สัพเพ ทักขิณายะ ทิสายะ วินิปาติกา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๕) สัพเพ ปุรัตถิมายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๖) สัพเพ ปัจฉิมายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๗) สัพเพ อุตตะรายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๘) สัพเพ ทักขิณายะ อะนุทิสายะ วินิปาติกา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๙) สัพเพ เหฏฐิมายะ ทิสายะ วินิปาติกา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    (๑๐) สัพเพ อุปะริมายะ ทิสายะ วินิปาติกา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    -47-
    สัพเพ สัตตา สัพเพ ปาณา สัพเพ ภูตา
    สัพเพ ปุคคะลา สัพเพ อัตตะภาวะปริยาปันนา
    ะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    สัพพา อิตถิโย สัพเพ ปุริสา สัพเพ อะริยา
    สัพเพ อะนะริยา สัพเพ จาตุมมหาราชิกาเทวา
    สัพเพ ตาวะติงสาเทวา สัพเพ ยามาเทวา สัพเพ ตุสิตาเทวา
    สัพเพ นิมมานะระตีเทวา สัพเพ ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีเทวา
    สัพเพ อินทา สัพเพ พรหมา สัพเพ จตุโลกะปาลา
    สัพเพ ยมมะราชา สัพเพ ยะมะปาลา
    สัพเพ สิริคุตตะระอะมัจจา สาสะนัง อนุรักขันตุ
    วรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    อะเ
    สัพเพ ยักขา สัพเพ กุมภัณฑา สัพเพ ครุทธา
    สัพเพ กินนรา สัพพา กินนะรี สัพเพ นาคา สัพเพ มะนุสสา
    สัพเพ อะมะนุสสา สัพเพ วิริยะปะติกา สัพเพ มิตตา
    สัพเพ อมิตตา สัพเพ มัชฌะตา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ
    สัพเพ ติรัฉฉา สัพเพ เปติกา สัพเพ เปตา
    สัพเพ อะสุระกายา สัพเพ เปตาวัตถุโย สัพเพ เปตวิเสยยา
    สัพเพ วินิปาติกา
    อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

    -48-
    อิมัสมิง จะอาราเม สัพเพ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา
    อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    อิมัสมิง ชมภูทีเป สัพเพ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา
    อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    อิมัสมิง มังคลาจักกะวาเฬ สัพเพ สัตตา อะเวรา
    อัพยาปัชฌา อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ
    ทะสา สุทิสา สุรัฐธิตายะ สัพเพ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา
    ะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุฯ

    อิเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
    สัพเพสัง สัตตานัง ปีฬะนัง วัชเชตวา อะปีฬะนายะ อุปะฆาตัง
    วัชเชตวา อะนุปะฆาเตนะ สันตาปัง วัชเชตวา อะสันตาเปนะ
    ปะริยาทานัง วัชเชตวา อะปะริยาทาเนนะ วิเหสัง วัชเชตวา
    อะวิเหสายะ สัพเพ สัตตา อะเวริโน โหนตุ มา เวริโน สุขิโน
    โหนตุ มา ทุกขิโน สุขิตัตตา โหนตุ มา ทุกขิตัตตาติ อิเมหิ
    อัฏฐะหากาเรหิ สัพเพ สัตเต เมตตายะตีติ เมตตาตัง ธัมมัง
    เจตะยะตีติ เจโต สัพพะพยาปาทะปะริยุฏฐาเนหิ มุจจะตีติ
    วิมุตติ เมตตา จะ เจโตวิมุตติ จาติ เมตตาเจโตวิมุตติฯ
    เมตตาพรัหมะวิหาระภาวนา นิฏฐิตา

    http://www.mettajetovimuti.org
     
  20. Muang99

    Muang99 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    4,311
    กระทู้เรื่องเด่น:
    6
    ค่าพลัง:
    +6,524
    คนสวดมนต์บทใหญ่ๆ หรือบทยาวๆ ได้ต้องมีบารมีพอสมควร บางคนบารมีไม่ค่อยถึง สวดไม่จบก็หลับหรือเลิกกลางคัน

    สวดมนต์คือยาทา วิปัสสนาคือยากิน
     

แชร์หน้านี้

Loading...