ร่วม เสวนา กันครับว่า...จิตสงบ กับ จิตตั้งมั่น เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย รีล มาดริด, 31 กรกฎาคม 2012.

  1. นพณัฐ

    นพณัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    587
    ค่าพลัง:
    +4,499
    เป็นผู้หลักการเยอะ เยอะ แล้วก็ เยอะ มีกระทู้ไหนบ้างที่คุณเธอจะไม่ขัด
     
  2. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    คุน จขกท. คิดว่า จิตควรสงบก่อน หรือตั้งมั่นก่อนดี หรือคิดว่าเปนคำที่มีลักษณะอาการใกล้เคียงกันอย่างที่คุณเทวดาหรือคุณพลศักดิ์ฯว่าไว้ดี

    สงบ สงบจากอะไร ? เพราะปราศจากอุปกิเลสและนิวรณ์ที่จรมาใช่หรือปล่าว
    ตั้งมั่น ตั้งมั่นบนอะไร? หรือเพราะจิตมั่นสงบแบบเปนขั้นบันได ให้จิตเกาะตามราวเปนขั้นขึ้นไป?? พอถึงเอกัคตา แล้วก้โละมันทิ้งซะ ยังงี้ป่าว??
    แต่ถ้าเปนส่วนในการการปฏิบัติตามสายวิปัสสนา เขาจะเอาสติยัดเข้า คือสมาธิที่มันนิ่งลึกเข้าไปแล้ว สามารถถอยสมาธิออกมาได้ แล้วเอาสตินี้ยัดเข้าเพื่อควบคุมจิตเปนการกำหนดจิตทางหนึ่งและเกิดผลดีด้วย แล้วจะสามารถกำหนดหรือร้ทันอารมณ์ปัจจุบันที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะดีใจ เสียใจ หรือเฉยๆ ทุกข์ใจ เป็นต้น
    ดังนั้นเมื่อไม่ได้อย่ในสมาธิแล้ว เวลาเกิดเวทนาอารมณ์ทางใดทางหนึ่งจิตจะไม่ส่ายมาก เรียกว่า สติดีทั้งในและนอกสมาธิ
     
  3. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ฮ่า...ฮ่า...ฮ่า....เชิญหลงผิดติดอยู่กับความเขลา แห่งอวิชชากันไปเถิดขอรับ
    ข้าพเจ้าไปไกลเกินกว่าที่พวกคุณจะคิดถึงแล้วขอรับ
     
  4. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817
    อพิโธ่...คุณเข้าใจผิดแล้วขอรับ การขัด กับการให้ความรู้ที่ถุกต้องแต่พวกคุณหลงติดอยู่กับอวิชชา ทำให้เกิดทิฏฐิ มันคนละอย่างกันนะขอรับ
    จิตตั้งมั่น กับ จิตสงบ กับ สมาธิ ก็คือ สิ่งสิ่งเดียวกันนั่นแหละ
    จะอธิบายแบบพิศดารก็ยังได้เลย
    ที่พวกคุณหลงผิด เพราะไปติดหลงในข้อ มรรค อันมีองค์ ๘ ละซิ รู้กันมาผิดๆ เข้าใจกันมาผิดๆ ก็เท่านั้น ข้าพเจ้าไม่บังคับใครให้เชื่อข้าพเจ้าดอกขอรับ
    ไม่เชื่อก็เสื่อม เชื่อ ก็ดีไป ก็เท่านั้นแหละขอรับ
     
  5. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    ที่ว่าไปหลงติดในข้อ มรรค อันมีองค์ 8 ชี้ให้ด้วยครับว่า
    หลงติดอย่างไร รู้กันมาผิดๆ อย่างไรรู้ผิด อย่างไรรู้ถูกครับ
    ช่วงนี้ผมกำลังอ่านหัวข้อที่ลุงเทวดาเขียนอยู่ครับ
     
  6. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817
    คำว่า "ไม่ถูกต้อง" อาจจะไม่ผิดก็ได้ เพราะความเข้าใจของพวกคุณ และเจ้าของกระทู้ เป้นความเข้าใจ ตามความหมายทางภาษาไทย ไม่ใช่เข้าใจตามภาษาในหลักศาสนา หรือในหลักความเป็นจริงแห่งสรีระร่างกาย
    ถ้าจะกล่าวอย่างให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้น ก็หมายความว่า "พวกคุณ ไม่ได้รู้เรื่อง ระบบแห่งสรีระร่างกาย ไม่ได้รู้เรื่อง ของ คำว่า สมาธิ จิตสงบ จิตตั้งมั่น เลยแม้แต่น้อย ไม่อย่างนั้นพวกคุณจะไม่เข้าใจผิด
    ความเข้าใจของข้าพเจ้า มาจากการ วิจัย ศึกษา ค้นคว้า ทดลองปฏิบัติ ไม่ได้มาจากการจำหรือการอ่านแต่เพียงอย่างเดียว แต่ได้มาจากทุกอย่างรอบด้าน ดังนั้น ความรู้ ความเข้าใจของข้าพเจ้าจึงเป็นความรู้ความเข้าใจที่ ถ้าอธิบายให้พวกคุณ ไม่ใช่แต่เพียงพวกคุณดอกขอรับ ผู้ที่อยู่ในแวดวงศาสนาทุกแขนงทุกตน ก็จะเกิดความเข้าใจ อย่างถ่องแท้
    เพราะเจ้าของกระทู้นำคำว่า "จิตตั้งมั่น" มาเป็นหัวข้อเสวนา โดยไม่ได้ศึกษามาก่อน ในทุกด้าน อาจจะเป็นเพราะนำมาจาก มรรค อันมีองค์ ๘ จึงเกิดความเข้าใจผิด คิดว่า
    จิตตั้งมั่น แตกต่าง กับ จิตสงบ และ สมาธิ
    เชิญตามสบายขอรับ รู้ไป ก็ไม่ได้เงิน รู้ไปก็ไม่ได้ร่ำรวยอะไร รู้ไป ก็ได้แต่ความคิด การระลึกนึกถึง อารมณ์ ความรู้สึก ก็เท่านั้น
    ฮ่า..ฮ่า...ฮ่า...
     
  7. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ไกลจริงๆครับ ไกลเกินกว่าจะเยียวยา ไม่สามารถรักษาให้หายได้

    แค่จิตที่ตั้งมั่นเป็นปกติยังไม่เข้าใจ ยังจะมาบอกว่าผู้อื่นหลงผิด

    สาธุครับ
     
  8. ^ _ ^

    ^ _ ^ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    62
    ค่าพลัง:
    +50
  9. นพณัฐ

    นพณัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    587
    ค่าพลัง:
    +4,499
    ว่าแล้วววไง คุณ telwada
    เชิญขัดให้ตามสบาย ความรู้ผมมีน้อยนิดต้องขอโทษด้วย
    แต่ก็ขอขอบคุณนะ ที่ทำให้ผมเห็น โทสะ ของตัวเองได้ชัดเจน
     
  10. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817
    เฮ้อ...คุณขอรับ คุณไม่อ่านกระทู้ที่เจ้าของกระทู้ตั้งขึ้นมาหรือขอรับ ที่เขาตั้งขึ้นมา ก็เพราะเขาไปหลงติด เข้าใจผิด เกี่ยวกับคำว่า "จิตตั้งมั่น"ที่มีอยู่ใน มรรคอันมีองค์ ๘ เพราะเขาเข้าใจว่า "จิตตั้งมั่นฯ"ในมรรคอันมีองค์ ๘ นั้น มีความหมายถึง "ความตั้งใจที่จะกระทำการใด กระทำการหนึ่ง "
    โดยที่เขาไม่ได้รู้ ไม่ได้ศึกษาว่า คำว่า "จิตสงบ ,จิตตั้งมั่น ,สมาธิ" แท้จริงแล้ว ก็คือ สภาพสภาวะจิตใจแบบเดียวกัน อันเดียวกัน เป็นสิ่งสิ่งเดียวกัน ขอรับ
     
  11. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817
    คุณขอรับ กรุณาอย่าได้สบประมาทข้าพเจ้า จะดีที่สุด เพราะแม้คุณจะอยู่ห่างไกลข้าพเจ้า แม้ข้าพเจ้าจะไม่เห็นตัวของคุณ แต่บาปกรรมคือ การกระทำที่ไม่ดี สามารถตอบสนองคุณได้โดยที่ไม่มีคำว่าปรานีนะขอรับ (นี้ไม่ใช่คำขู่นะขอรับ แต่เป็นคำเตือนขอรับ)
    คุณไปศึกษา เกี่ยวกับสมาธิ หรือ จิตตั้งมั่น หรือ ความตั้งมั่นแห่งจิตใจ หรือ ความสงบแห่งจิต ให้ละเอียดถ่องแท้ก่อนเถอะขอรับ อย่าทำตัวเป็นพวกอวดรู้อวดฉลาด ระดับสมองสติปัญญาของคุณมันก็แค่ขี้ฝุ่น......เท่านั้นขอรับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 สิงหาคม 2012
  12. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ในขณะนั่งกรรมฐาน มีจิตที่สงบเป็นสมาธิ เรียกว่า " จิตสงบ "

    เลิกนั่งกรรมฐาน มีจิตที่สงบนิ่งเป็นนิสัย เรียกว่า " จิตตั้งมั่น "

    สีแดงนั้นเป็นคำสบประมาทอย่างชัดเจน หรือ คุณจะบอกว่าไม่ใช่ครับ

    การตักเตือน กลับคำสบประมาท แตกต่างกันเป็นอย่างมากนะครับ

    ผมได้อธิบายแบบชัดเจนแล้ว เพราะผู้ปฎิบัติมากมายที่พอเลิกนั่งกรรมฐาน

    แล้วกลับมามีจิตที่ปรุงแต่ง กลับไปสู่การปรุงแต่ง จิตก็ไม่สงบนิ่ง

    ความแตกต่างเกิด ณ จุดนี้ หรือ คุณจะบอกว่าไม่ใช่ครับ

    สาธุครับ
     
  13. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817
    เออ..เหรอ...แล้วคุณได้คิดพิจารณาตามไปด้วยไหมละว่า คุณเห็นโทสะ ของตัวคุณเอง และคุณเกิดโทสะในตัวคุณ เพราะเหตุใด ถ้าคุณไม่รู้ ข้าพเจ้าจะบอกให้
    ถ้าหากจะกล่าวตามหลักศาสนา นั่นก็เป็นเพราะ ความเขลา ความไม่รู้ อวิชชาของคุณตัวคุณ แต่มีทิฎฐิ คิดว่า ความไม่รู้ ความเขลา ความเป็นอวิชชา ในตัวคุณ เป็นสิ่งที่ดีที่ถูก
    ถ้าหากจะกล่าวตามหลักภาษาไทยโดยทั่วไป ก็เรียกว่า "โง่ แล้ว อวดรู้ อวดฉลาด"ไม่มีหัวคิด มีสมองเอาไว้ กิน ... ..... นอน ...เท่านั้นแหละขอรับ
     
  14. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ผู้มีธรรม จะไม่สบประมาทผู้อื่น การสนทนาทางธรรมย่อมมีสิ่งที่รู้ และ ไม่รู้

    สิ่งที่เรารู้เขาอาจไม่รู้ แต่สิ่งที่เราไม่รู้เขาอาจจะรู้ ไม่มีใครรู้ทุกอย่างบนโลกใบนี้

    ผู้ที่ยกตนเองว่าอยู่ในที่สูง เป็นผู้ที่มองไม่เห็นตนเอง ดั่งคำที่ว่า

    " รู้หมดทุกอย่าง ยกเว้นรู้ตนเอง "

    สาธุครับ
     
  15. คนไม่รุ้

    คนไม่รุ้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    175
    ค่าพลัง:
    +116
    กาลครั้งหนึง นานมาแล้ว..
     
  16. ปุณบพิธ

    ปุณบพิธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,102
    ค่าพลัง:
    +2,134
    ผมว่า ผู้ที่ถ่ายทอดธรรมได้ดีที่สุด คือผู้ที่สอนโดยไม่คิดถึงตัวเอง คิดถึงแต่ประโยชน์ของผู้ฟังนะครับ เมื่อนั้นแล้ว จะไม่ยึดติดกับหลักเกณฑ์ใดๆ ของภาษา ไม่ยึดติดกับวิธีการสอน ไม่ยึดติดกับคำชมเชยใดๆ ขอแค่สื่อธรรมให้ผู้ฟังเข้าใจได้ครบตามความหมายที่ต้องการสื่อ.... ดีกว่าไหมครับ?
     
  17. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    อนุโมทนาครับ เป็นสิ่งที่ควรเจริญครับ

    สาธุครับ
     
  18. ^ _ ^

    ^ _ ^ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    62
    ค่าพลัง:
    +50
    ความหมายของคำว่า “สมาธิ”
    สมาธิ ในความหมายของพจนานุกรม แปลว่า ที่ตั้งมั่นแห่งจิต แต่สมาธิในความหมายของการฝึกปฏิบัติ คือ การทำใจนิ่ง ๆ ว่าง ๆ เฉย ๆ ร่างกายยิ่งเคลื่อนไหวยิ่งแข็งแรง แต่จิตใจหากหยุด นิ่ง เฉยได้แล้วจะยิ่งมีพลัง



    สมาธิสามารถอธิบายเพิ่มเติมได้เป็น ๔ ลักษณะ ดังนี้

    ๑. จิตที่มีความตั้งมั่น คือ จิตแน่วแน่จดจ่ออยู่กับสิ่งที่ตนกระทำ เช่น ขณะที่นักเรียนกำลังฟังครูอธิบายด้วย
    ความตั้งใจ นักเรียนได้ยินทุกคำพูดของครู ไม่ตกหล่น เป็นต้น

    ๒. จิตมีความสงบ คือ จิตหลุดพ้นจากอกุลมูล ได้แก่ โลภะ โทสะ และโมหะ ซึ่งเกิดจากการกำหนดให้จิตแน่วแน่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เมื่อปราศจากสิ่งขุ่นมัวก็จะทำสิ่งใดได้สำเร็จ

    ที่มาของภาพ : กิจกรรมเข้าค่ายพุทธบุตรโรงเรียนนายางวิทยา

    ๓. จิตเกิดพลังความคิด คือ ผลของการฝึกจิตให้แน่วแน่อยู่กับการพูดและการคิดและการคิดจึงเกิดการเห็นด้วยปัญญา

    ๔. จิตมีความรู้สภาพ คือ ความตื่นตัว และรู้ตัวอยู่ตลอดเวลาว่าตนกำลังทำอะไร กำลังคิดอะไรจึงสามารถบังคับจิตใจตนเองได้ ในคำสอนของพระพุทธศาสนา เรียกว่า สติปัฏฐาน คือ การตั้งมั่นแห่งสติ ซึ่งมีวิธีการฝึกสติให้อยู่กับเรื่องหนึ่งเรื่องใด เพื่อให้เกิดสมาธิหมายความว่า มีสติอยู่ขณะใด สมาธิก็เกิดขึ้นขณะนั้น



    ลักษณะของจิตที่เป็นสมาธิ

    จิตที่เป็นสมาธิ มีลักษณะสำคัญ ดังนี้

    ๑. แข็งแรง คือ ไม่สับสน เปรียบเสมือนกระแสน้ำที่ควบคุมให้ไหลพุ่งไปในทางเดียวย่อมมีกำลังกว่าน้ำที่ถูกปล่อยให้ไหลไปหลายทาง

    ๒. ราบเรียบ สงบนิ่ง เปรียบเสมือนสระน้ำหรือบึงใหญ่ที่มีน้ำนิ่งไม่มีลมพัดไม่มีสิ่งใดรบกวนให้กระเพื่อมไหว

    ๓.ใสกระจ่าง ไม่ขุ่นมัว มองเห็นอะไรได้ชัด เปรียบเสมือนน้ำสงบนิ่งไม่มีคลื่น ฝุ่นละอองที่ตกตะกอนกันหมด

    ๔. นุ่มนวล ควรแก่การงาน เพราะไม่ตึงเครียด ไม่กระด้าง ไม่เร่าร้อน ไม่กระวนกระวาย


    จุดประสงค์ของการทำสมาธิ

    พระพุทธเจ้าทรงแสดงจุดประสงค์ไว้ ๔ ประการ ดังนี้

    ๑.เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน คือ การทำจิตใจให้สงบเยือกเย็น เป็นความสุขที่ประณีต แม้แต่พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์นิยมเข้าสมาธิในโอกาสว่างเพื่อเป็นการพักผ่อน

    ๒.เพื่อให้ได้ญาณทัศนะ คือ การฝึกจิตจนได้ฌานแล้วเกิดความรู้พิเศษที่ไม่ต้องอาศัยประสาทสัมผัส เช่น การแสดงฤทธิ์ ตาทิพย์ หูทิพย์ อ่านใจผู้อื่นได้ ระลึกได้

    ๓.เพื่อให้มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ คือ สติเมื่อเข้าคู่กับสัมปชัญญะ หมายถึง ระลึกก่อนพูด การทำสัมปชัญญะรู้ตัวในขณะที่กำลังพูด ถ้าทำสมาธิอยู่เสมอจิตจะมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ รู้เท่าทันความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ สามารถตัดความคิดที่ชั่ว ทำความคิดที่ดีให้เจริญ

    ๔.เพื่อทำลายอาสวะ คือ ทำกิเลสให้สิ้น ได้แก่ การใช้สมาธิเป็นประโยชน์ในทางปัญญา เป็นอุปกรณ์ในการเจริญวิปัสสนา คือ เมื่อได้บรรลุสมาธิเพียงขั้นต้นเท่าที่จำเป็นในการปฏิบัติหรือได้บรรลุฌาน ๔ แล้ว ใช้สติจับยึดสิ่งที่ต้องการกำหนด อันได้แก่ อารมณ์ วิปัสสนา เช่น ขันธ์ ๕ เป็นต้น แล้วใช้ปัญญาพิจารณาตรวจสอบจนสามารถกำจัดอาสวะได้ มีการเปรียบเทียบไว้ว่า สมาธิเป็นเสมือน
    การลับมีดให้คม วิปัสสนา อันได้แก่ การใช้ปัญญาพิจารณา เป็นเสมือนการใช้มีดนั้นฟันต้นไม้ คือ กิเลสให้ขาดลงได้



    ประโยชน์ของสมาธิ

    สมาธิมีประโยชน์ทั้งต่อร่างกายและจิตใจ โดยสามารถสรุปได้ ๓ ประการ ดังนี้

    ๑. ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

    ๑.๑ ทำให้จิตใจสบาย คือ จิตที่เป็นสมาธิจะทำให้ผ่อนคลายหายเครียด คลายวิตกกังวล

    ๑.๒ ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน คือ จิตที่มีสมาธิจะแน่วแน่ในการทำกิจการ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่วอกแวก ไม่เลื่อนลอย ทำงานอย่างรอบคอบ ไม่ผิดพลาด มีความระมัดระวัง

    ๑.๓ เสริมสุขภาพและป้องกันโรคได้ เนื่องจาก กายกับจิตมีความสัมพันธ์กัน คนทั่วไปเมื่อไม่สบายกาย จิตก็อ่อนแอเศร้าหมองไปด้วย เมื่อเสียใจท้อแท้ ร่างกายจะทรุดหนักลงไปด้วย ผู้ที่มีสมาธิเป็นผู้มีใจสบาย ย่อมบรรเทาโรคทางกายได้ ทำให้ผิวพรรณผ่องใสสุขภาพดี มีภูมิป้องกันโรคได้ทางกายได้หลาย เช่น โรคนอนไม่หลับ โรคปวดศีรษะ โกรธง่าย กลัดกลุ้ม กังวลใจ เป็นต้น

    ๒. ประโยชน์ในทางพัฒนาบุคลิกภาพให้เป็นผู้มีบุคลิกภาพดีงาม เพราะสมาธิทำให้เป็นผู้มีจิตใจดีงาม เช่น เข็มแข็งหนักแน่น มั่นคง สงบ เยือกเย็น สุภาพ นิ่มนวลสดชื่น เบิกบาน มีเมตตากรุณา รู้จักมองตนเองและผู้อื่นตามความเป็นจริง มีจิตพร้อมและง่ายต่อ
    การปลูกฝังคุณธรรมตลอดเวลา

    ๓. ประโยชน์ที่เป็นจุดหมายของพระพุทธศาสนา สมาธิเป็นการเตรียมจิตให้พร้อมที่จะใช้ปัญญาพิจารณาให้รู้แจ้งสภาวธรรม เช่น ขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง ซึ่งจะนำไปสู่ความหลุดพ้นจากกิเลสได้ในที่สุด และแม้ยังไม่สามารถจะหลุดจากกิเลสได้หมดก็สามารถข่มกิเลสที่อยู่ในสมาธิ


    www.kruanchalee.com -

    อนุโมทนาครับ:VO
     
  19. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817
    เพ้อเจ้อ...จ้อไม่เข้าที จะนั่งฯ หรือเลิกนั่ง ก็เรียกว่า สมาธิ หรือ จิตตั้งมั่นเหมือนกันนั่นแหละ (ในที่นี้หมายเอาเฉพาะ คำว่า สมาธิ หรือ จิตตั้งมั่น) ทำเป็นอวดรู้ อวดฉลาด ไม่ศึกษาให้เกิดความรู้ความเข้าใจให้มากเถอะขอรับ
    คุณขอรับ คุณยังมีความรู้น้อย แต่ทิฏฐิมาก ไม่มีสมองสติปัญญา นี้ไม่ใช่คำดูหมิ่นนะขอรับ
    ถ้า เป็นขณะนั่งกัมมัฏฐานอยู่ จิตเกิดปรุงแต่ง ทางศาสนา เขาเรียกว่า เกิด"ฌาน" คือ เกิดลักษณะการทำงานรูปแบบหนึ่ง ถ้าจิตสงบ คือ ไม่ปรุงแต่งขณะนั่งสมาธิ(กัมมัฎฐาน) เรียกว่า สมาธิ หรือ เอกัคคตา
    ถ้าไม่นั่งสมาธิ(กัมมัฏฐาน) จิตปรุงแต่ง ตามการสัมผัส เรียกว่า สติปัญญา รู้เท่าทันด้วยความมีสมาธิ ถ้าจิตไม่ปรุงแต่ง ตามการสัมผัส เรียกว่า มีสมาธิดี สามารถควบคุม ความคิด การระลึกนึกถึง อารมณ์ ความรู้สึก ไม่ไหลตามสิ่งที่มากระทบ มีสติสัมปชัญญะ อยู่ตลอด
    ไม่ใช่ข้อแตกต่าง และเป็น ลักษณะการทำงาน ของระบบสรีระร่างกายของมนุษย์ (ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์) และหมายเอา เฉพาะผู้ที่ปฏิบัติ สมาธิ(กรรมฐาน)
     
  20. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817
    แล้วสิ่งที่คุณเขียนมา มันเป็นการสบประมาทผู้มีธรรมหรือไม่ อย่างคุณมันก็แค่คนเห็นแก่ตัว ยกตนข่มท่าน คนหนึ่งเท่านั้นแหละขอรับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...