**ร้านศิวิไลพระเครื่อง** วัตถุมงคล เครื่องรางของขลัง เกจิคณาจารย์ภาคเหนือ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย ศิวิไล, 25 พฤษภาคม 2013.

  1. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,140
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 8950

    ทัพพีเรียกทรัพย์ ครูบาบุญปั๋น วัดร้องขุ้ม อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
    อีกหนึ่งเครื่องรางยอดนิยมของหลวงปู่


    กวักทรัพย์ เรียกทรัพย์
    ค้าขาย เมตตามหานิยม ครับ

    ครูบาเจ้าบุญปั๋น ธัมมปัญโญ พระอริยเจ้าผู้ทรงคุณอันประเสริฐสุดแห่งวัดร้องขุ้ม เชียงใหม่นี้ จัดเป็นของดีที่หาได้ยากยิ่ง ส่วนมาก จะตกแก่ศิษยานุศิษย์และผู้ที่มีวาสนาในยุคต้นๆเสียโดยมาก ยากจะหลุดรอดมาถึง"คนนอก"ในภายหลังได้
    ครูบาเจ้าบุญปั๋น ธมมปัญโญ วัดร้องขุ้ม สันป่าตอง เชียงใหม่ เป็นพระอริยะสงฆ์รูปสำคัญของเชียงใหม่ ศีลาจริยวัตรงดงาม มีเมตตาสูงมาก
    เจ้าตำราวิชาเทียนเศรษฐีล้มลุกอันโด่งดัง
    วิชา"เศรษฐีล้มลุก"นี้ ถือว่าเป็นวิชาคู่บุญบารมีครูบาเจ้าบุญปั๋น วัดร้องขุ้มก็ว่าได้ มีอานุภาพส่งเสริม"แก้ดวง หนุนดวง" และ"ส่งเสริมโชคลาภ"ให้บังเกิดขึ้นได้อย่างน่าอัศจรรย์ ผู้ใดมีบูชาไว้ ไม่มีจน เป็นเศรษฐี ไม่มีวันล้ม เพราะล้มแล้วก็ลุก


    บูชาแล้วครับ

    ทัพพีครูบาบุญปั๋น a.jpg ทัพพีครูบาบุญปั๋น b.jpg ทัพพีครูบาบุญปั๋น c.jpg ทัพพีครูบาบุญปั๋น d.jpg

    Clip_6.jpg

    clip_123-jpg-jpg-jpg.jpg

    clip_124-jpg-jpg-jpg.jpg

    clip_125-jpg-jpg-jpg.jpg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ธันวาคม 2021
  2. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,140
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 8951

    เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อขาน วัดบ้านเหล่า ปี 2524 ตอกโค๊ต สภาพใช้

    เป็นเหรียญดี ราคาถูกที่น่าสะสมอีกรุ่นหนึ่ง และเป็นเหรียญหลักของจังหวัดเชียงรายเช่นกัน จัดสร้างปี 2524

    หลวงปู่ขาน ฐานวโร แห่งวัดวชิรทรงธรรมพัฒนา(วัดป่าบ้านเหล่า)(ดอยกู่แก้ว)ท้องที่เวียงเชียงรุ้ง เชียงราย นับเป็นพระสายอาจารย์มั่น ภูมิทัตโต และได้ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกองเพล และหลวงปู่จวน กุลเชษโฐ ถ้ำจันทร์หนองคาย จึงนับว่าเป็นพระอริยสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเป็นอย่างมากครับ


    ราคา 750 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    20SxR1AlZZXLxIbsR1CN59gmM1-OTE1ZF7pGwPflDK5D&_nc_ohc=Q8HMtROonsAAX81Xcpt&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    tSFUPPN656cK3Pd1htIA67EK_G2p8kG1IysCgTaSFivJ&_nc_ohc=bwdqV-iMKU8AX-td1g0&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg

    8%B2%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2-1-840x1024.jpg

    %B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2.jpg

    B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%A3.jpg

    อัฐิธาตุ ของท่าน หลวงปู่ขาน ฐานวโร
    ณ วัดวชิรทรงธรรมพัฒนา (วัดป่าบ้านเหล่า) อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย


    หลวงปู่ขาน ฐานวโร วัดป่าบ้านเหล่า
    “พระอริยสงฆ์ผู้มีจิตตั้งไว้ประเสริฐแล้ว”


    หลวงปู่ขาน ท่านเป็นครูบาอาจารย์ที่มีปฏิปทาอันสง่างาม เป็นแบบอย่างในด้านความพากเพียรและกาประพฤติปฏิบัติ มักน้อยสันโดษ ออกธุดงค์แสวงหาครูบาอาจารย์ตามป่าเขาแลโถงถ้ำ ต่อสู้ต่อความยากลำบาก ความกันดารอดอยาก จนได้พบวิมุตติธรรมหลุดพ้นการเวียนว่ายตายเกิดจากสังสารวัฏได้ในพรรษาที่ ๗

    หลวงปู่ขาน ถือกำเนิด ตรงกับวันเสาร์ที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๘ ปีกุน ณ บ้านโนนปอแดง ต.โนนสัง อ.โนนสัง จ.อุดรธานี (ปัจจุบันคือ จ.หนองบัวลำภู)

    ท่านเป็นบุตรคนที่ ๙ ของ คุณพ่อหนู คุณแม่ห่อน สุขา มีพี่น้องทั้งหมด ๑๐ คน
    ๑. พระสอน (มรณภาพ)
    ๒.นายพร (ถึงแก่กรรม)
    ๓. นางสอ (ถึงแก่กรรม)
    ๔.นางสังข์ (ถึงแก่กรรม)
    ๕.นางวัง(ถึงแก่กรรม)
    ๖.นางเวิน (ถึงแก่กรรม)
    ๗.นางเหวิ่น (ถึงแก่กรรม)
    ๘.นายหว่าน (ถึงแก่กรรม)
    ๙.หลวงปู่ขาน ฐานวโร (มรณภาพ)
    ๑๐. นางก้าน (มารดาของพระอาจารย์เสถียร สมาจาโร)
    หลวงปู่ขาน ท่านมีศักดิ์เป็นลุงของท่านพระอาจารย์เสถียร สมาจาโร พระอริยเจ้าแห่งวาชูคุ เพราะเป็นพี่ชายของโยมมารดาท่านพระอาจารย์เสถียร และเป็นพระอาจารย์ผู้อบรมธรรมให้กับท่านพระอาจารย์เสถียร อีกด้วย

    ชีวิตช่วงเยาว์วัย ท่านเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ แล้วได้ออกมาช่วยบิดามารดาทำไร่ทำสวน ได้ออกบรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุ ๑๕ ปี ครั้นต่อมาเมื่ออายุ ๒๑ ปี ๑๐ เดือน ได้เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๐ เวลา ๑๕.๔๓ น. ณ วัดป่าชะบาวัน บ้านกุดฉิม ต.บ้านค้อ อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู โดยมีพระครูศาสนูปกรณ์ วัดโยธานิมิตร เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่อุ่น ชาคโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการเพ็ง อิติโสภโณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ฐานวโร” แปลว่า “มีที่ตั้งอันประเสริฐ”
    หลวงปู่ขาน ได้พำนักจำพรรษาแรก ณ วัดป่าสำโรง ซึ่งมีหลวงปู่ชม โฆสิโก เป็นเจ้าอาวาส พอออกพรรษาหลวงปู่ขานได้ออกธุดงค์เดินทางไปปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล ตลอดระยะเวลาที่อยู่วัดถ้ำกลองเพล หลวงปู่ขาวได้ให้อุบายธรรมแก่ท่านมากมายจนปลาบปลื้มอันเป็นกำลังใจในการปฏิบัติธรรม หลวงปู่ขาน ได้ปฏิบัติภาวนาอย่างเข้มข้นทั้งกลางวันกลางคืน ทั้งอดอาหารอดนอน มีสติอยู่ด้วยอิริยาบถทั้ง ๔ ยืน เดิน นั่น และนอน บางคราวก็ถือเนสันชิกอยู่ในอริยาบถ ๓ ไม่ยอมให้หลัดติดพื้น มุ่งมั่นทำความเพียร อยู่อย่างสันโดษ ตามถ้ำตามผาตามโขดหิน ผลาญหินบ้าน โคนไม้บ้าง ไม่คลุกคลีอยู่กับหมู่คณะ รวมระยะเวลาที่อยู่ถ้ำกลองเพล ๒ พรรษาด้วยกัน คือ พรรษาที่ ๒ – ๓ ตรงกับปี พ.ศ.๒๕๐๑ – ๒๕๐๒ จึงได้กราบลาหลวงปู่ขาว ออกไปแสวงหาโมกขธรรมต่อไป

    ได้อยู่จำพรรษาที่ วัดป่าแก้วชุมพล ในพรรษาที่ ๔ หลังจากนั้นหลวงปู่ขาน ได้จาริกไปที่ต่างๆ เช่น ภูกระดึง อุดรธานี หนองคาย โพนพิสัย จนมาปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ที่ถ้ำจันทน์ จ.หนองคาย ท่านได้รับอุบายวิธีการปฏิบัติสำหรับขจัดขัดเกลากิเลสจาก พระอาจารย์จวน มากมายตลอดทั้ง ๒ พรรษา ในช่วงที่หลวงปู่ขาน อยู่ที่ถ้ำจันทน์แห่งนี้ ท่านได้เกิดอาพาธเป็นไข้มาเลเรีย แม้โรคาพาธจะเบียดเบียนท่านอย่างหนักขนาดไหนก็ตาม ท่านก็ไม่ท้อถอยยอมต่อพยาธิภัยเลย เร่งความเพียรด้วยจิตใจอันเด็ดเดี่ยว ด้วยการประกอบอาจาริยวัตรท่านก็มิขาดตก ถวายการอุปัฏฐากรับให้หลวงปู่จวนอย่างไม่บกพร่อง “ธัมมะรัตนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง ผู้ปฏิบัติซึ่งธรรมให้เป็นที่พึ่ง ได้ชื่อว่าเป็นธรรมโอสถอย่างสูง” หลวงปู่ขาน ท่านได้ใช้ธรรมโอสถเยียวยารักษาธาตุขันธ์จากอาพาธไข้ป่าด้วยความเพียรจนหายขาดจากอาพาธทั้งปวง
    สมัยที่อยู่อุปัฏฐากหลวงปู่จวน อยู่ที่ถ้ำจันทน์นั้น ท่านได้ขึ้นไปรับใช้บีบนวดหลวงปู่จวน อยู่บนกุฏิ กระทั้งเวลาเที่ยงคืนเห็นจะได้ หลวงปู่จวนจึงให้ท่านกลับไปพักผ่อน ช่วงที่ท่านเดินลงจากกุฏิ พอดีเป็นช่วงเวลาที่เสือออกมาหากิน จึงเดินมาประจันหน้ากันที่ใต้กุฏิหลวงปู่จวน หลวงปู่ขานท่านเล่าว่า ด้วยความกลัวและทำอะไรไม่ถูก พลันสติจึงบังเกิดขึ้นตักเตือนว่าต้องนั่งสมาธิภาวนา ท่านจึงได้นั่งลงกับพื้นใต้กุฏิ และกำหนดลมหายใจเข้าออก ไม่นานจิตก็สงบ รวมเป็นสมาธิแล้วน้อมเข้ามาในกาย พิจารณากายจนท่านได้พบธรรมะอันพระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญมาและสอนพระสาวกทั้งหลาย ซึ่งธรรมเหล่านั้นได้ประจักษ์แจ้งแก่ใจของหลวงปู่เป็นครั้งแรก เมื่อจิตถอนออกมาก็รุ่งเช้าพอดี เสือก็ไม่อยู่แล้ว หลวงปู่ขานท่านอยู่ที่ถ้ำจันทน์ จ.หนองคาย ถึง ๒ พรรษา คือ พรรษา ๕ และ ๖
    หลังจากนั้นได้ธุดงค์ไปยังถ้ำพระนาผักหอก ที่บ้านกลางใหญ่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ได้พบหลวงปู่ลี กุสลธโร ซึ่งได้มาพักภาวนาอยู่ที่ถ้ำแห่งนี้อยู่ก่อนแล้ว ตอนนั้นหลวงปู่ลี มีพรรษาเข้าได้พรรษาที่ ๑๕ ในพรรษานั้น โดยหลวงปู่ลี ได้บรรลุธรรมพบวิมุตติสุขได้ตั้งแต่กลางพรรษาที่ ๑๑ แล้ว ในวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๐๓ ณ วัดบ้านกกกอก (ปัจจุบันคือ วัดป่าปริตตบรรพต) อ.วังสะพุง จ.เลย หลวงปู่ขาน เมื่อมาอยู่ร่วมปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ลี ท่านก็รีบเร่งภาวนา ต่างองค์ต่างปฏิบัติ ต่างองค์ต่างบำเพ็ญ อย่างไม่ลดละต่อกิเลส การบิณฑบาตแม้ว่าจะลำบากเพราะมีบ้านคนเพียง ๖ หลังคาเรือน บางวันได้ข้าวเหนียวแค่ ๓ ปั้น หลวงปู่ทั้ง ๒ หาได้ใยดีแก่ปากแก่ท้องไม่ ตั้งหน้าตั้งตาเอาธรรมะชำระกิเลส ให้หมดสิ้นไป เมื่อติดขัดสิ่งใดในการภาวนา หลวงปู่ลี ก็คอยให้คำปรึกษาถ้อยทีถ้อยอาศัยซึ่งกันและกันเรื่อยมา

    จนในพรรษาที่ ๗ นี้เองซึ่งตรงกับปี พ.ศ.๒๕๐๖ (แต่ในหนังสือประวัติหลวงปู่ลี กุสลธโร ท่านว่ามาอยู่ที่ถ้ำนาผักหอกร่วมกับหลวงปู่ขาน ฐานวโร ตรงกับปี พ.ศ.๒๕๐๗ จึงมีความคาดเคลื่อนเรื่องปี พ.ศ.กันอยู่) หลวงปู่ขาน ได้พบกับวิมุตติธรรมอันประเสริฐ อันเป็นเครื่องยุติการเดินทางใน ๓ โลกธาตุ ภพชาติต่างๆของท่านได้สิ้นสุดลง ณ ถ้ำพระนาผักหอกแห่งนี้ คืนหนึ่งหลังหลวงปู่ขาน ได้พบวิมุตติธรรมในขณะที่กำลังภาวนาอยู่นั้น ท่านได้นิมิตเห็นกับนางอุบลวรรณาเถรีมายืนอยู่เบื้องหน้า และกล่าวอนุโมทนาแก่หลวงปู่ถึงผลของการบำเพ็ญเพียรภาวนา จนได้พบกับวิสุทธิธรรม และสามารถเอาชนะกิเลสชำระให้หมดไปจากใจได้ รุ่งเช้าหลวงปู่ถอนออกจากสมาธิ และเขียนไว้บนผนังหน้าถ้ำว่า “ถ้ำโลกะวิทู” อันมีความหมายว่า “รู้แจ้งโลก”
    หลวงปู่ขาน ได้กลับไปวัดถ้ำกลองเพล กราบนมัสการหลวงปู่ขาว อนาลโย อยู่ปฏิบัติอาจาริยวัตรถวายพ่อแม่ครูอาจารย์อย่างเต็มกำลัง แม้ท่านจะมีธรรมอันประเสริฐประดิษฐานอยู่ในใจแล้วก็ตาม ท่านก็ไม่ได้ละทิ้งการบำเพ็ญภาวนาได้ไปอยู่ที่ถ้ำผาผึ้งซึ่งอยู่ในอาณาเขตวัดถ้ำกลองเพลเพียงลำพัง ในพรรษาที่ ๘ และ ๙ ท่านอยู่กับหลวงปู่ขาว ถึง ๒ พรรษา จากนั้นจึงได้กราบลาหลวงปู่ขาว ไปอยู่วิเวก และเข้าจำพรรษาที่วัดป่าชบาวัน จ.หนองบัวลำภู อยู่ร่วมกับหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ถึง ๓ พรรษา คือ พรรษาที่ ๑๐ – ๑๒ พอออกพรรษาจึงกราบลาหลวงปู่มหาบุญมี ออกจาริกไปทางภาคเหนือพร้อมด้วยพระอาจารย์ท่านต่างๆ ๑๑ รูป ได้แก่ หลวงปู่ทูล ขิปฺปปัญโญ , หลวงปู่หวัน จุลปัญฑิโต หลวงปู่จรัส ธัมมธโร และหลวงพ่อกองเหรียญ เป็นต้น คณะของหลวงปู่ได้หยุดพำนักปักกลดอยู่ที่ดอยน้ำตกพัฒนา (ปัจจุบันคือวัดดอยน้ำตกพัฒนา อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย มีหลวงปู่จรัส ธัมมธโร เป็นเจ้าอาวาส)

    กอรปกับญาติพี่น้องของท่านได้อพยพมาสร้างบ้านเรือนอยู่ที่บ้านเหล่า ต.ทุ่งก่อ จ.เชียงราย เนื่องจากบ้านโนนปอแดง อยู่ในพื้นที่สร้างเขื่อนอุบลรัตน์ สำหรับวัดป่าบ้านเหล่าหรือดอยกู่แก้วเคยเป็นวัดในสมัยพระเจ้ากือนา กษัตริย์อาณาจักรเชียงแสนมาก่อน หลวงปู่ขาน ท่านพิจารณาเห็นถึงความสงบสงัดเหมาะแก่การปฏิบัติสมณธรรม ท่านจึงเกิดความชอบใจและได้ตัดสินใจจำพรรษาอยู่ที่ดอยกู่แก้ว ในพรรษาที่ ๑๓ ต่อมามีผู้มีศรัทธาถวายที่ดินบริเวณดอยกู่แก้วแก่หลวงปู่ขาน ท่านจึงสร้างเป็นวัดป่าบ้านเหล่า ซึ่งมีชื่อเป็นทางการว่า “วัดวชิระทรงธรรมพัฒนา” และอยู่อบรมธรรมแก่ลูกศิษย์ตั้งแต่พรรษาที่ ๑๓ – พรรษาที่ ๕๐ คือปี พ.ศ.๒๕๑๒ จนถึงปีแห่งมรณกาลของท่านคือปี พ.ศ.๒๕๔๙



     
  3. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,140
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 8952

    ผ้ายันต์ทิพยาธร ครูบากฤษดา สุเมโธ วัดสันพระเจ้าแดง

    ผ้ายันต์นี้เป็นผ้ายันต์ที่แรงในเรื่องผู้หญิงสุดๆประสบการณ์มากมาย คนพื้นที่หวง และ ผู้ที่นำไปใช้ร่ำลือกันนัก ...มีคำแปลดังนี้ทิพยาธร เทพผู้มีเวทย์มนต์ดลจิต คาถาดังกล่าวได้เขียนไว้ดังนี้ “โอมทิพยาธรตนอยู่ฟ้า ตนแก้วกล้าปราบชมพู กูจักจุหื้อน้ำกามมึงออก กูจักจอบน้ำราคะมึงเสียโอม กาสะมะราอิตถีโยนะ หิเอ้หิโหนตุ สวาหุม” “โอมสัปปะสีเนหา ตนคือทิพยาธร ตนองอาจ ตนมีฤทธิ์ธีปราบจักรวาล ตนใจหารแก่นกล้า ใต้ลุ่มฟ้าบ่ามีไผ๋ปานกู กูจักเจาะใส่สาวหนุ่มน้อย ก็ให้รักกูเป็นเมียกูจู้ผู้ แม้นว่ายักษ์และคนทั้งหลายเขาก่อ่อนน้อม ก้อมเข้ามาหากูเนอ โอมสวาหุมติด เอหิเอหิจิตตัง ภัคคินีเม จิตตัง ปัจตัง มะมะแห่งข้า ตัณหาหิทะจิต” (เป็นคาถาผูกจิตที่ดลบันดาลให้ดังนี้) ปุริสะจิตตัง มหาปิยัง (บุรุษทั้งหลาย ก็ผูกจิตผูกใจให้มารักเรา) อมัสฉาจิตตัง มหาปิยัง (โจรผู้ร้ายทั้งหลาย ก็ผูกจิตผูกใจให้มารักเรา) พานิชจาจิตตัง มหาปิยัง (ผู้ทำการค้าทั้งหลาย ก็ผูกจิตผูกใจให้มารักเรา) เตวาจิตตัง มหาปิยัง (เทวบุตรเทวดาทั้งหลาย ก็ผูกจิตผูกใจให้มารักเรา) นากาจิตตัง มหาปิยัง (พนานาคทั้งหลาย ก็ผูกจิตผูกใจให้มารักเรา) สัตตาจิตตัง มหาปิยัง (สรรพสัตว์ทั้งหลาย ก็ผูกจิตผูกใจให้มารักเรา) ราชาจิตตัง มหาปิยัง (ผู้เป็นใหญ่ทั้งหลาย ก็ผูกจิตผูกใจให้มารักเรา) อิตถีจิตตัง มหาปิยัง (ผู้หญิงทั้งหลาย ก็ผูกจิตผูกใจให้มารักเรา) สะมานะจิตตัง มหาปิยัง (สมณะทั้งหลาย ก็ผูกจิตผูกใจให้มารักเรา) ปุถุจิตตัง มหาปิยัง (ปุถุชนทั้งหลาย ก็ผูกจิตผูกใจให้มารักเรา) ปิสะจิตตัง มหาปิยัง (ภูติผีปีศาจทั้งหลาย ก็ผูกจิตผูกใจให้มารักเรา) #วิธีใช้ให้ ท่องคาถาพร้อมใช้จิตตั้งมั่นจนเห็นภาพผู้หญิงหรือบุคคลที่เราต้องการ (เป็นการผูกจิตผูกใจให้เขารักเรา) หรือในเรื่องหน้าที่การงาน หรือทรัพย์สินเงินทองก็ได้ แล้วขอพรให้เป็นดังที่หวัง ถ้าสามารถทำได้ให้พับไว้ใต้หมอนเวลานอนด้วยครับ


    คุณ j999 บูชาแล้วครับ

    kxrh1Qm9x3qk-lX4IX9VOmDZ6qvaTV9n612VOOuM2xpM&_nc_ohc=I7DvB69uSZIAX-CCX29&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    KeWsC1-XxsBoEakZWgVHHG2w&_nc_ohc=_pOHt_MBMIQAX-6WNyE&tn=0BKk6MSVLxDi6KOb&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg

    ครูบากฤษดา.jpg

    ครูบากฤษดา เป็นชาวบ้านห้วยม่วง ต.ห้วยยาบ อ.บ้านธิ จ.ลำพูน เกิดเมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๑๙ บิดามารดาของท่านชื่อ “นายอุทัย-นางถิรนันท์ เอกกันทา”

    หลังจากจบการศึกษาชั้นประถม ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร และจำพรรษาอยู่ที่วัดห้วยยาบ ก่อนที่จะย้ายมาจำพรรษา ณ วัดป่ายาง (สันพระเจ้าแดง) ในปีถัดมา
    ด้วยความชอบในเรื่องของไสยศาสตร์ ท่านจึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของพระครูถาวรวัยวุฒิ (ครูบาอินตา อินฺทปัญฺโญ) วัดห้วยไซ ต.ห้วยยาบ อ.บ้านธิ จ.ลำพูน ตลอดจนใช้เวลาว่างเดินทางไปศึกษาไสยศาสตร์เพิ่มเติมจากพ่อน้อย พ่อหนาน และอาจารย์ต่างๆ ที่พอมีอยู่ในสมัยนั้น

    ครูบากฤษดา อุปสมบทเมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๓๙ ณ อุโบสถวัดป่ายาง (สันพระเจ้าแดง) ได้รับฉายาว่า “สุเมโธ” มีความหมายว่า “ผู้มีความรู้ดี”

    หลังจากที่ได้อุปสมบทไม่นาน เจ้าอาวาสวัดป่ายาง (สันพระเจ้าแดง) ในสมัยนั้นได้ลาสิกขา ทำให้ท่านต้องรับภาระรักษาการแทนเจ้าอาวาสตั้งแต่พรรษาแรกที่บวช และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสในปี ๒๕๓๙

    ในด้านคาถาอาคม ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ที่สามารถสร้างและเสกของได้ขลัง ตั้งแต่ยังเป็นสามเณร ประสบการณ์ที่เกิดจากวัตถุมงคลของท่านมีมากมายหลายเรื่อง ทั้งแคล้วคลาด เมตตา ตลอดจนโชคลาภอย่างน่าอัศจรรย์ใจ

    ในด้านการพัฒนา ท่านได้พลิกฟื้นวัดป่ายาง (สันพระเจ้าแดง) ให้กลับมามีชีวิตชีวาขึ้นอีกครั้ง ตลอดจนการเอื้อเฟื้อแก่วัดวาอารามใกล้เคียงที่ขอให้ท่านเป็นประธานในการก่อสร้างถาวรวัตถุมากมายหลายวัด

    วัดป่ายาง (สันพระเจ้าแดง) ต.ห้วยยาบ อ.บ้านธิ จ.ลำพูน เป็นหนึ่งในวัดสำคัญที่มีอายุการสร้างมากกว่าร้อยปี มีบันทึกไว้ว่า เดิมวัดแห่งนี้เป็นวัดร้าง ต่อมาเมื่อมีชาวบ้านเข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่จึงได้มีการร่วมแรงร่วมใจกันสร้างวัดขึ้นมา โดยในขั้นแรกได้มีการสร้างวิหารขึ้นมาก่อน จากนั้นจึงได้มีการอาราธนาพระพุทธรูปองค์หนึ่งซึ่งทาชาดสีแดง มาเป็นพระประธานในวิหาร และตั้งชื่อวัดว่า “วัดสันพระเจ้าแดง”

    ต่อมาเมื่อมีชาวบ้านย้ายเข้ามาอยู่เพิ่มมากขึ้น กอปรกับบริเวณหมู่บ้านแห่งนี้มีต้นยางขึ้นหนาแน่น จึงมีการเปลี่ยนชื่อวัดจากเดิมมาเป็นชื่อใหม่ว่า “วัดป่ายาง (สันพระเจ้าแดง)”

    วัดแห่งนี้เริ่มเป็นที่รู้จักกันในวงกว้างในยุคสมัยของ “พระครูอุดมขันติธรรม (ครูบาขันแก้ว)” เป็นเจ้าอาวาส (๒๔๖๔-๒๕๒๖)

    ภายหลังจากสิ้นครูบาขันแก้ว วัดป่ายาง (สันพระเจ้าแดง) ได้ตกอยู่ในสภาพทรุดโทรม จวบจนครูบากฤษดา สุเมโธ เข้ามารักษาการแทนเจ้าอาวาสในปี ๒๕๓๙ ท่านจึงเริ่มปรับปรุงและพัฒนาวัดเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 สิงหาคม 2022
  4. j999

    j999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    4,968
    ค่าพลัง:
    +5,381
    ขอจองครับ
     
  5. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,140
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รับทราบการจองครับ ขอบพระคุณครับพี่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2021
  6. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,140
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 8953


    เหรียญรุ่นแรกครูบาพรหมา วัดพระพุทธบาทตากผ้า ปี 2500 เนื้อฝาบาตร ผิวหิ้ง สวยเดิมๆ ดูง่าย

    พระสุพรหมยานเถร (พรหมา พฺรหฺมจกฺโก)
    พระสุพรหมยานเถร (พรหมา พฺรหฺมจกฺโก) หรือที่รู้จักกันดีในนาม “ครูบาพรหมา” หรือบ้างก็เรียก “ครูบาพรหมจักร” ท่านเปรียบดั่ง “เจ้าคุณนรแห่งล้านนา” ด้วยความมั่นคงในพระวินัย จริยาวัตรอันเรียบร้อยสงบเสงี่ยม เมตตาอันล้ำเลิศ ไม่ผิดพลาดไปจากพระธรรมแม้สักนิด อีกทั้งยังมีจิตที่ทรงฤทธิ์ ถึงขนาดเหยียบหินให้เป็นรอยเท้าได้ ถึงขนาดที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยนักบุญแห่งล้านนาไท ยังต้องนัดขอดูตัวด้วยความชื่นชม และท่านยังเป็นอาจารย์ของครูบาชัยวงศาพัฒนาผู้มีฤทธิ์ยอดยิ่งอีกต่างหากด้วย
    ประวัติ
    วัยเด็ก
    ท่านมีนามเดิมว่า พรหมา พิมสาร กำเนิดวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2441 ที่บ้านป่าแพ่ง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน เป็นบุตรของ นายเป็งกับนางบัวถา พิมสาร มีพี่น้องร่วมกัน 13 คนท่านครูบาพรหมมาได้เรียนหนังสืออักษรลานนาและไทยกลางที่บ้านจากพี่ชายที่ได้บวชเรียน
    บรรพชาและอุปสมบท
    ครูบาเจ้าบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 15 ปี เมื่อวันจันทร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2455 เวลา 15.00 น. ณ วัดป่าเหียง ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง มีเจ้าอธิการแก้ว ขัตติโย เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้หมั่นศึกษาเล่าเรียน ปฎบัติธรรม และประพฤติในศีลาจารวัตรอย่างเคร่งครัด
    ท่านอุปสมบทเมื่ออายุได้ 20 ปี ที่วัดเดิมเมื่อวันที่ 16 ม.ค. พ.ศ. 2461 เจ้าอธิการแก้ว ขัตติโย (ครูบาขัตติยะ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ฮอน โพธิโก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์สม สุวินโท เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “พรหมจักโก” กระทั่งพรรษาที่ 4 ท่านได้เริ่มต้น เข้าสู่วิถีแห่งการปฏิบัติธรรมอย่างเอาจริงเอาจัง ท่านได้ออกธุดงค์ไปตามป่าเขาต่างๆ ทั้งเขตประเทศไทย พม่า และลาว กระทั่งในปีพ.ศ.2491 ท่านจึงได้มาจำพรรษา ณ วัดพระพุทธบาทตากผ้า และได้พัฒนาวัดจนมีชื่อเสียงเป็นศาสนสถานที่มีความสำคัญทางศาสนาแห่งหนึ่งของจังหวัดลำพูน และด้วยการสั่งสมบุญบารมี คุณงามความดีของท่านนี้เองทำให้ ท่านได้รับความเคารพศรัทธาจากพุทธบริษัทโดยทั่วไป
    ละสังขาร
    ครูบาเจ้าพรหมาได้ดับขันธ์ (มรณภาพ) ในท่านั่งสมาธิภาวนา เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2527 เวลา 06.00 น.อายุ 87 ปี 67 พรรษา คณะศิษยานุศิษย์ได้ตั้งศพบำเพ็ญกุศลเป็นเวลา 3 ปี ได้รับพระราชทานเพลิงศพ วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2531 ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จมาพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงครูบาเจ้าพรหมาด้วยพระองค์เอง หลังจากพระราชทานเพลิงเสร็จสิ้นแล้วได้เก็บอัฐิ ปรากฏว่าอัฐิของครูบาเจ้าพรหมาได้กลายเป็นพระธาตุ มีวรรณะสีต่างๆ หลายสี
    คำสอน
    ครูบาพรหมาท่านได้แสดงธรรมโอวาทไว้มากมาย
    “การทำบาปหรือการทำบุญ จะทำในที่ลับหรือในที่แจ้ง หรือใครไม่รู้ไม่เห็น ก็ตัวของเรา ใจของเรารู้เห็นเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ก็กล่าวได้ว่าที่ลับไม่มีในโลกนี้ แม้ว่าจะลับตาลับหูคนอื่น แต่เราก็รู้ เราก็เห็นคนเดียว”
    “ทุกๆคน จึงควรรีบขวนขวาย ซึ่งความงามความดี ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เป็นเด็กก็อย่าได้เกียจคร้านในการเรียนหนังสือ จงตั้งจิตตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ให้มีความรู้ความเฉลียวฉลาดความสามารถ เป็นผู้ใหญ่แล้วก็จงตั้งตัวตั้งตนให้ดี ให้มีความขยัน มีความประหยัด ให้คบแต่คนดี ให้รู้จักประมาณในการใช้จ่าย ถ้าเป็นผู้เฒ่าผู้แก่แล้ว ก็เตรียมตัวเพื่อคุณงามวามดีให้ยิ่งๆกว่าเด็กและคนหนุ่มทั้งหลาย”
    “คนเราทุกคนมีความปรารถนาดี ปรารถนาหาความสุข ความปรารถนาหาที่ผึ่งในวัฏฏะสงสาร ท่านเปรียบเหมือนเราที่ตกอยู่ในกลางทะเลอันเวิ้งว้างกว้างไกลทุกคนก็มีความใฝ่ฝันหาที่ผึ่ง เพื่อที่จะได้อาศัยพักพิงไปยังฝั่งเบื้องหน้า”
    คำไหว้บูชาพระธาตุของครูบาพรหมา พรหมจักโก
    อะหัง วันทามิ พรหมจักกะธาตุโย อะหัง วันทามิ สัพพะโส ฯ
    พระอาจารย์ใหญ่สายวิปัสสนาแห่งแดนล้านนา
    เนื้อฝาบาตร สวยผิวหิ้งเดิมๆดูง่ายน่าใช้ครับ

    ราคา 3950 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 0861936900

    i.jpg kj.jpg q.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 พฤศจิกายน 2021
  7. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,140
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 8954

    ลายเซ็นครูบาพรหมา วัดพระพุทธบาตากผ้า 1 กย 2517

    บูชาแล้วครับ

    Clip_12.jpg Clip_13.jpg Clip_14.jpg Clip_15.jpg Clip_16.jpg Clip_17.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2021
  8. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,140
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 8955

    ล็อกเก็ตครูบาศรีวิชัย ปี 36 ตอกโค๊ต ส ช สวยเดิมๆ

    เหรียญ ครูบาเจ้าศรีวิไชย รุ่นสิริวิชโย 115 ปี วัดบ้านปาง เป็นชุดวัตถุมงคลครูบาเจ้าฯ อีกรุ่นหนึ่งที่มีความงดงาม สมบรูณ์ ทั้งด้านหน้า และด้าน หลังเหรียญ และยังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากการสร้างของ คุณ นิตย์ พงษ์ลัดดา โดยมีพลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์ เจ้าภานุพันธุ์ ยุคล เป็นองค์ประธาน
    มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นทุนบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุ และทุนการศึกษาครูบาเจ้าศรีวิไชย วัดบ้านปาง อ. ลี้
    มีแผ่น,ทอง,นาค,เงิน ลงอักขระอธิฐานจิตจากวัด 9 วัดซึ่งมีนามเป็นมงคลดังนี้
    –วัดศรีเกิด
    -วัดดวงดี
    –วัดชัยมงคล
    –วัดชัยพระเกียรติ
    –วัดหม้อคำตวง
    –วัดหมื่นเงินกอง
    –วัดหมื่นล้าน
    –วัดเชียงยืน
    –วัดเชียงมั่น
    พิธีพุทธาภิเษกขึ้น เมื่อ 24 ธันวาคม 2536 โดยพระสุปฎิปันโนศิษย์สุดยอดเกจิแห่งล้านนาสายครูบาเจ้าศรีวิไชย อธิษฐานจิตลงอักขระ แผ่นทอง นาค เงิน เช่น
    1) ครูบาสิงหวิชัย วัดฟ้าฮ่าม จ.เชียงใหม่
    2) ครูบาอินทร์ วัดฟ้าหลั่ง จ.เชียงใหม่
    3) ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี จ.เชียงใหม่
    4) ครูบาคำปัน วัดหม้อคำตวง จ.เชียงใหม่
    5) ครูบาชัยวงศ์ วัดพระบาทห้วยต้ม จ.ลำพูน
    6) พระครูสังวรญาณ สำนักปฎิบัติธรรมสังวราราม จ.ลำพูน
    7) พระเทพสิทธาจารย์ วัดพระธาตุดอยสุเทพ
    8) พระครูบวรสุขบท(ครูบาสุข) วัดป่าซางน้อย จ.ลำพูน
    9) ครูบาผัด วัดศรีดอนมูล จ.เชียงใหม่
    10) ครูบาประเทือง วัดบ้านเด่น จ.เชียงใหม่
    เหรียญยอดนิยม ออกแบบได้งดงาม พิธีสร้างดี เจตนาทำดี
    และออกจากวัดบ้านปาง ซึ่งเป็นบ้านเกิดของครูบาเจ้าและเหรียญดัง
    อีกหลายรุ่น จัดเป็นพระนิยมของท่านครูบาที่น่าใช้มากๆครับ


    ราคา 8999 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    fgd.jpg hgfhf.jpg fs.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2021
  9. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,140
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 8956

    เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อผาเงา ปี 2520 บล็อก 4 เต้า

    วัดพระธาตุผาเงาที่ตั้งอยู่บนยอดก้อนหินใหญ่ คำว่า “ผาเงา” ก็คือเงาของก้อนผา หินก้อนนี้มีลักษณะสูงใหญ่คล้ายรูปทรงเจดีย์และทำร่มเงาได้ดีมาก ชาวบ้านจึงตั้งชื่อว่า “พระธาตุผาเงา” ความจริงก่อนที่ย้ายวัดมาอยู่ที่นี่ก็มีชื่อว่า วัดสบคำ ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำโขง ฝั่งน้ำได้พังทลายลงทำให้บริเวณของวัดพัดพังลงใต้น้ำโขงเกือบหมดวัด คณะศรัทธาจึงได้ย้ายวัดไปอยู่ที่ใหม่บนเนินเขาซึ่งไม่ไกลจากวัดเดิม

    ตอนแรกสันนิษฐานไว้ว่าบริเวณเนินเขาเล็ก ๆ ลูกนี้ที่กำลังแผ้วถางอยู่นี้จะต้องเป็นวัดเก่า เพราะได้พบเห็นซากโบราณสถาน โบราณวัตถุกลาดเกลื่อนไปทั่วบริเวณ ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2519 ชาวบ้านจึงได้ช่วยกันแผ้วถางป่าแต่เดิมที่แห่งนี้เคยเป็นถ้ำ เรียกว่าถ้ำผาเงา ซึ่งปากถ้ำถูกปิดไว้นานทำให้บริเวณแห่งนี้เป็นป่ารกชัฏเต็มไปด้วยซากโบราณวัตถุกระจัดกระจายเต็มไปหมด มีชิ้นส่วนใหญ่อยู่ชิ้นหนึ่งเป็นพระพุทธรูปครึ่งองค์ช่วงล่างหน้าตักกว้าง 4 วา เชื่อว่าเป็นพระพุทธรูปประธานในวิหาร มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระพุทธรูปนี้ว่า วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2519 นายจันมา พรมมา หนึ่งในคณะศรัทธาทั้งหมดที่เริ่มบุกเบิกแผ้วถางป่า ได้ฝันในเวลากลางคืนว่ามีพระภิกษุรูปหนึ่งรูปร่างสูงดำมาบอกว่า ก่อนที่จะยกชิ้นส่วนองค์พระประธานที่เหลือครึ่งองค์ออกนั้น ให้ไปนิมนต์พระสงฆ์มา 8 รูปทำพิธีสวดถอนเสียก่อน
    วันที่ 17 มีนาคม 2519 เมื่อคณะศรัทธาได้ทำการปรับปรุงพื้นที่เรียบร้อยแล้วทุกคนต่างเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันนั่นคือ เมื่อพบว่าใต้ตอไม้หน้าฐานพระประธานมีอิฐโบราณก่อเรียงไว้ เมื่อได้ทำการยกก้อนอิฐออกจึงได้พบพระพุทธรูปมีลักษณะสวยงามมาก ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโบราณคดีได้วิเคาระห์ว่าพระพุทธรูปองค์นี้มีอายุระหว่าง 700 – 1,300 ปี คณะทั้งหมดจึงได้พร้อมกันตั้งชื่อพระพุทธรูปองค์นี้ว่า หลวงพ่อผาเงา และได้เปลี่ยนชื่อวัดใหม่เป็นวัดผาเงา
    เมื่อค้นพบพระพุทธรูปหลวงพ่อผาเงาแล้ว วัดเก่าแห่งนี้ก็ถูกบูรณะและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง การก่อสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ ก็ดำเนินต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง เช่น ซุ้มประตูวัด,กำแพงด้านหน้า,กุฏิสงฆ์,ศาลาการเปรียญและองค์พระธาตุผาเงาและสร้างวิหารซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุผาเงาดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน


    ราคา 750 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    Clip_18.jpg Clip_19.jpg ah.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2021
  10. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,140
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 8957

    พระบาง กรุวัดป่ากล้วย จ.ลำปาง
    สร้างโดยครูบาแก้ว มณีวัณโณ อดีตเจ้าอาวาสวัดป่ากล้วย เมื่อประมาณปี ๒๔๗๐กว่าๆ เนื้อใบลานเผาผสมดินในสังเวชสถาน 4 ตำบล
    เกี่ยวเนื่องกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในประเทศอินเดีย...

    ...ประวัติ ท่านครูบาแก้ว มณิวณฺโณ ...ท่านเป็นบุตรของ พ่อเฒ่าหน้อยธิ นาเทพ แม่เฒ่าผัน ทิพย์อินทร์
    เกิดที่บ้านป่ากล้วย เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๑ บิดาท่านเป็นชาวแพร่ ท่านเป็นผู้แตกฉานในภาษาบาลี ภาษาล้านนา
    ภาษาไทยกลาง ..ท่านเดินทางไปศึกษาตำรายาโบราณที่เชียงใหม่ เป็นสหธรรมิกชาติกับ ท่านครูบากลิ่นกู้ วัดข่วงเปา

    ...ครูบาแก้ว ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่ากล้วยเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๒ - ๒๕๑๓ รวม ๔๑ ปี...ท่านได้ทิ้งมรดกตกทอดเป็นพระผงวัดป่ากล้วยอันโด่งดังจำนวนหลายพิมพ์

    แต่ส่วนมากเซียนใหญ่ างภาคกลาง มักจะนำไปเล่นหากันเป็น พระกริ่งคลองตะเคียน อยุธยา พิมพ์เล็ก นั่นเพราะเนื้อหาพระรอดวัดป่ากล้วย หนึกมันจัดไปทางพระกริ่งคลองตะเคียน ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เนื้อหาไม่หนีกันเลย ... ด้านความเหนียว คงกระพัน เชื่อใจได้เช่นกันครับ ปัจจุบันหาของแท้สะสมได้ยากมาก...

    ราคา 1550 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    Clip_26.jpg Clip_27.jpg Clip_28.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ธันวาคม 2021
  11. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,140
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 8958

    พระรอดชัยฤทธิ์ระรอดหนึ่งเดียวที่ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ทรงเสด็จ ทำพระราชพิธีมหาพุทธาภิเษก ด้วยพระองค์เอง มีพลังของพระมหาราชผู้ยิ่งใหญ่ พระรอดมหาวัน รุ่นแรก มีพลังของพระนางจามเทวี พระรอดชัยฤทธิ์มีพลังของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ที่ทรงพระนามว่า ภูมิพล คือพลังของแผ่นดิน

    จัดพิธีพระราชพิธีมหาพุทธาภิเษก
    ราวต้นปี พ.ศ.๒๕๑๙ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททอง ในหลวงทรงจุดเทียนชัยพุทธาภิเษก ทรงพระสุหร่าย ทรงเจิม
    .
    พิธีพระราชพิธีมหาพุทธาภิเษก
    ราวต้นปี พ.ศ.๒๕๑๙ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททอง ในหลวงทรงจุดเทียนชัยพุทธาภิเษก ทรงพระสุหร่าย ทรงเจิม
    .
    รายชื่อพระคณาจารย์ที่มาร่วมพิธีพระราชพิธีมหาพุทธาภิเษก ๔๙ องค์
    .
    ๑ . ) สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) วัดราชบพิธฯ(สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 18)
    ๒ . ) สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรฯ (สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19)
    ๓ . ) สมเด็จพระธีรญาณ วัดจักรวรรดิ์ฯ
    ๔ . ) พระวิสุทธิวงศาจารย์ วัดสุทัศน์ฯ
    ๕ . ) พระวิสุทธาธิบดี วัดไตรมิตร
    ๖ . ) พระธรรมวโรดม วัดประทุมคงคา
    ๗ . ) พระพุทธวงศ์มุนี วัดเบญจมบพิตร
    ๘ . ) พระธรรมโมลี วัดพระธาตุหริภุญชัย
    ๙ . ) พระเทพวิสุทธิโสภณ วัดเชียงราย
    ๑๐. ) พระเทพวิสุทธิ์ วัดเจดีหลวง
    ๑๒. )*ครูบาคำแสน อินฺทจกฺโก* วัดสวนดอก(บุพพาราม)
    ๑๓. )*ครูบาคำแสนเล็ก คุณาลงฺกาโล* วัดบ๊าดอนมูล
    ๑๓. ) ครูบาอินทจักร วัดน้ำบ่อหลวง
    ๑๔. ) ครูบาพรหมจักรสังวร วัดพระพุทธบาทตากผ้า
    ๑๕. ) หลวงพ่อสิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาบ่อง
    ๑๖. ) พรอาจารย์หนู วัดแม่ปั่ง
    ๑๗. ) ครูบาอินถา วัดเชียงมั่น
    ๑๘. ) ครูบาจันทร์แก้ว วัดดอกเอื้อง
    ๑๙. ) พระครูสิงหวิชัย วัดฟ้าฮ่าม
    ๒๐. ) ครูบาบุญมี(พระครูธรรมธร) วัดท่าส๋อย
    ๒๑. ) ครูบาคำบัน(พระครูมงคลคุณาทร) วัดหม้อคำดวง
    ๒๒. ) ครูบาปั๋น วัดกู่คำ
    ๒๓. ) ครูบาแก้ว วัดวิเวกวนาราม
    ๒๔. ) ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง
    ๒๕. ) ครูบาจินา วัดท่าข้าม
    ๒๖. ) ครูบาคำตันดินจืน วัดดอนจืน
    ๒๗. ) พระอาจารย์ทองบัว วัดโรงธรรม
    ๒๘. ) ครูบาดวงดี สุภัทโท วัดทุ่งจำปี
    ๒๙. ) พระประสาท สุตาคม วัดจามเทวี
    ๓๐. ) พระราชสุมนต์มุนี วัดราชบพิธ
    ๓๑. ) ครูบาจุ่ม โพธิโต วัดวังมุย
    ๓๒. ) พระญาณวีราคม วัดดอนเจดีย์
    ๓๓. ) ครูบาเมือง วัดท่าแหน
    ๓๔. ) ครูบาคำแสน วัดท่าแหน
    ๓๕. ) พระอินทวิชยาจารย์ วัดคะตึก
    ๓๖. ) ครูบาอินโต วัดบุญยืน
    ๓๗. )*หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี*
    ๓๘ . ) ครูบาหล้า วัดดอยคู่ค้าง
    ๓๙. ) พระราชรัตนมุนี วัดพระบาทมิ่งเมือง
    ๔๐. ) พระชยานันทมุนี วัดพญาภู
    ๔๑. ) พระญาณมงคล วัดมหาวัน
    ๔๒. ) หลวงพ่อแพ วัดพิกุทอง
    ๔๓. ) หลวงพ่อนอ วัดกลาง
    ๔๔. ) หลวงพ่อสำเนียง วัดเวฬุวัน
    ๔๕. ) หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี
    ๔๖. ) หลวงพ่อถีร วัดป่าเรไลย์
    ๔๗. )*พระอาจารย์ มหาวีระ *(หลวงพ่อฤษีลิงดำ) วัดท่าซุง
    ๔๘. )*พระอาจารย์ผั้นอาจาโร* วัดป่าอุดมพร
    ๔๙. ) พระอาจารย์สำราญ วัดเขาตะเครา


    พระดีพิธีใหญ่ใช้เเทนพระรอดมหาวันได้เลยครับ

    ราคา 850 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    Clip_24.jpg Clip_25.jpg
    clip_10-jpg.jpg clip_11-jpg.jpg clip_12-jpg.jpg



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ธันวาคม 2021
  12. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,140
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 8959

    พระรอด ครูบาชุ่ม โพธิโก วัดชัยมงคล(วังมุย) จ.ลำพูน สวยเลี่ยมพร้อมใช้


    ด้านหลังของพระเป็นอักขระตัวเมือง สะ
    สร้างขึ้นเพื่อ บรรจุไว้ในองค์พระธาตุจอมกิตติ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โดย พ่อหนานปัน จินา ศิษย์ครูบาชุ่ม ได้ขอไว้ส่วนหนึ่งก่อน บรรจุ ท่านได้เเจกให้ลูกศิษย์ได้เก็บไว้บูชาสภาพสวยๆหายากแล้วครับ


    ราคา 850 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    Clip_22.jpg Clip_23.jpg
    clip_29-jpg.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ธันวาคม 2021
  13. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,140
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 8960

    พระหลวงพ่อดำ วัดกุฏิ จังหวัดปราจีนบุรี พิมพ์พระรอด เนื้อตะกั่ว ฝังเขี้ยวสุนัขป่า ป้องกันคุณไสย อาถรรพ์ทุกชนิด

    หลวงพ่อดำ เป็นพระธุดงค์มาจากเขมร มาจำพรรษาอยู่วัดกุฏีน่าจะช่วงก่อน พ.ศ.2500 มรณภาพนานมากแล้ว พระท่านมีชื่อเสียงเรื่องคงกะพันมหาอุดมากป้องกันคุณไสย อาถรรพ์ต่างๆได้เป็นอย่างดี หลวงพ่อดำธุดงค์มา วัดมีโบสถ์เก่าอยู่แล้ว หน้าโบสถ์จะมีสิงห์ตะกั่วคู่หนึ่งตั้งอยู่ ขนาดไม่ใหญ่มาก เด็กๆ แถววัดจะชอบแบกกันไปเล่นกันตามท้องนาเป็นที่สนุกสนาน แล้วเรื่องที่แปลกก็คือสิงห์คู่นี้ ต่อให้เด็กๆเล่นแล้วทิ้งไว้ตามท้องนา เช้ามาก็จะเห็นกลับไปตั้งอยู่หน้าโบสถ์ที่เดิมทุกครั้งไปโดยไม่มีใครทราบว่าใครเอามาไว้ที่เดิมสิงห์ตะกั่วคู่นี้หละครับ ที่มาของเนื้อตะกั่ว ของพระหลวงพ่อดำ ท่านนำมาหลอมสร้างพระของท่าน พร้อมฝังเขี้ยวหมาป่าแก้อาถรรพ์ ประวัติและวัตถุมงคลหลวงพ่อดำ วัดกุฏิ จ.ปราจีนบุรี ซึ่งประวัติของหลวงพ่อดำท่านนี้ มีความไม่แน่ชัดสักเท่าไหร่ แต่กลับมีประสบการณ์ที่เยี่ยมยอดเลื่องลือจากรุ่นสู่รุ่น ที่กล่าวขานกันถึงพระเครื่องเนื้อตะกั่วของหลวงพ่อดำ โดยสมัยนั้นช่วงในยุคของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า โดยในจังหวัดปราจีนบุรีที่หลวงพ่อดำนั้นได้อาศัยจำพรรษอยู่ที่วัดกุฏิ หลวงพ่อดำท่านนี้ได้เล่ากันว่าท่านเป็นพระธุดงค์จากเขมรและได้มาจำพรรษาที่วัดกุฏิ ซึ่งมีพื้นที่ที่ใกล้เคียงกับฝั่งเขมร โดยเป็นที่รู้กันดีว่า วิชามนต์ดำ,คุณไสย,ยาสั่ง,ตลอดจนภูตผีพลายกุมารรักยม เป็นที่ขนานนามว่าของเขมรนั้นแรงนัก ทำให้ชาวบ้านในละแวกนั้นก็พากันหวาดกลัวกันไปทั่ว ร้อนจนถึงหลวงพ่อดำ วัดกุฏิ ซึ่งหลวงพ่อดำท่านนี้มีตบะวิชาแกร่งกล้า เนื่องจากท่านเป็นพระที่ชอบธุดงค์ ตามป่าเขาแถวตะเข็บชายแดนติดเขมร และที่แน่นอนว่าหลวงพ่อท่านเองท่านก็เป็นพระเขมรอยู่แล้วก็ต้องได้พบเจอกับการท้าทายจากมนต์ดำฝั่งเขมรกันอยู่เนื่องๆในครั้งที่ยังธุดงค์อยู่ พอมาครั้งนี้ก็มีข่าวที่ชาวบ้านพากันหวาดกลัวเกี่ยวกับคุณไสยมนต์ดำจากฝั่งเขมร

    หลวงพ่อดำท่านจึงได้เมตตาจัดสร้างวัตถุมงคลเนื้อตะกั่วซึ่งถือว่าเป็นรุ่นแรกๆของท่าน ไม่ว่าจะเป็นพระเนื้อตะกั่วพิมพ์พระปิดตาเกลอเดียว(พิมพ์ปักเป้า) ตลอดจนพิมพ์พระปิดตา5เกลอ หรือที่เรียกกันในปัจจุบันว่า ปิดตาพวงชมพู่5เกลอเนื้อตะกั่วหลวงพ่อดำ วัดกุฏิ ในการสร้างครั้งนั้นหลวงพ่อดำได้กดพุทธาคมเจาะจงเลยว่า ป้องกันคุณไสย,มนต์ดำ,อวิชชาต่างๆตลอดจนเกาะเพชรคงกระพันชาตรี ให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากคมหอกคมดาบและอันตรายทั้งปวง พอหลวงพ่อดำได้สร้างเสร็จ ก็แจกจ่ายชาวบ้านให้พกติดตัวกันเอาไว้ โดยในครั้งนั้นก็มีประสบการณ์กันอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่มีโจรมาปล้นและมีการต่อสู้กันเกิดขึ้น โจรได้ควักปืนมายิง แต่ปรากฏว่าปืนกลับยิงไม่ออก แต่เหตุการณ์นี้ก็ไม่ใช่เหตุการณ์เดียว ก็มีการกล่าวมานักต่อนักว่า โดนยิงไม่เข้าบ้างละ โดนโจรปล้นควักปืนมายิงแต่ปรากฏว่าปืนนั้นกลับระเบิดใส่ตัวของโจรเองจนเสียชีวิต พูดกันง่ายๆว่าแม้ในปัจจุบันก็มีประสบการณ์ที่ไม่แพ้ในยุคนั้นเลยทีเดียว ได้เล่ากันว่า พระชุดที่มีเขี้ยวหมาป่านั้น ครั้งตอนที่หลวงพ่อดำ ได้ออกธุดงค์ตามป่าตามเขาแถวตะเข็บชายแดน ท่านได้ไปเจอกับซากหมาป่าจำนวนหนึ่ง และในซากนั้นก็มีซากเสือโคร่งอยู่ไม่กี่ตัว ซึ่งในเหตุการณ์นี้อาจจะเป็นไปได้ว่า มีการต่อสู้กันระหว่างฝูงหมาป่ากับเสือโคร่งที่พลัดถิ่น จึงมีร่องรอยการต่อสู้และซากศพอย่างที่เห็น หลวงพ่อดำท่านได้มองเหตุการณ์นี้อย่างลึกซึ้งถึงความอาจหาญของหมาป่า แม้ว่าจะตัวเล็กกว่า2เท่าแต่ใจนั้นไม่ต่างกับเสือโคร่งแม้แต่น้อย ดั่งคำที่ว่า “เสือหลงป่า อย่าดูแคลนหมาเจ้าถิ่น” หลวงพ่อดำท่านสังเกตจุดนี้จึงนำเขี้ยวของหมาป่ามาเป็นส่วนหนึ่งในการจัดสร้างวัตถุมงคลของท่าน โดยเขี้ยวหมาป่านั้นเป็นเครื่องรางที่หลวงพ่อดำท่านต้องการสะกดความเข้มขลังคงกระพันชาตรีและกำกับพระคาถาหัวใจราชสีห์ลงไปด้วยที่จะป้องกันและสะท้อนคุณไสย,มนต์ดำและอวิชชาต่างๆกลับไปหาคนผู้นั้น และการสร้างวัตถุมงคลของหลวงพ่อดำท่านก็จะเป็นรูปแบบพระเนื้อชินตะกั่วฝังเขี้ยวหมาป่าเสียส่วนใหญ่ และสำคัญด้วยว่าท่านได้มีรูปแบบพิมพ์พระที่หลากหลายกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ปิดตา,พิมพ์พระพุทธและพิมพ์ต่างๆ มีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ต่างวาระกัน บางองค์โชคดีหน่อยก็จะได้เขี้ยวหมาป่าทั้งเขี้ยวเลย

    องค์นี้พิมพ์พระรอดครับ


    ราคา 550 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    Clip_31.jpg Clip_32.jpg Clip_33.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ธันวาคม 2021
  14. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,140
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 8961

    เหรียญรุ่นแรก ครูบาเทืองหลัง ครูบาศรีวิชัย วัดบ้านเด่น ปี34เนื้อทองแดง

    ครูบาเทือง นาถสีโล (พระครูไพศาลพัฒนโกวิท)
    เจ้าอาวาส วัดบ้านเด่น (วัดเด่นสะหรีศรีเมืองแกน) อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ อายุ 53 ปี พรรษา 33 แม้ว่าทั้งอายุและพรรษาไม่มาก แต่ท่านมีปฏิปทา น่ากราบไหว้ สงบเสงี่ยม หากจะประมวลภาพรวมความเป็น ครูบาของท่าน จะได้ดังนี้

    ครูบาเจ้าเทือง นาถสีโลครูบาเจ้าเทือง นาถสีโลพระครูไพศาลพัฒนโกวิท

    สถิต ณ วัดเด่นสะหลีศรีเมืองแกน ต.อินทขิล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

    นามเดิมครูบาเจ้าเทือง หน่อเรืองฉายานาถสีโลเกิด๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๐๘ ตรงกับวันเสาร์ แรม ๔ ค่ำ เดือน ๕ เหนือ ปีมะโรง (ปีสี)

    “ครูบาอ่อนน้อมถ่อมตน-ฝึกฝนปฏิบัติ-เคร่งครัดพระธรรมวินัย-จิตใจสุขุมเยือกเย็น-บำเพ็ญบารมี-ทำความดีเป็นนิจ-จิตเมตตาเสมอ”

    ตั้งแต่บวชเป็นสามเณรจนกระทั่งบวชเป็นพระครูบาเทือง ได้บำเพ็ญบุญบารมี ตามรอยแห่งครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาทุกประการ ถ้าพูดถึงทานการบริจาค ครูบาสามารถสร้างศาสนสถาน ถาวรวัตถุ ไม่แต่เฉพาะใน จ.เชียงใหม่ เท่านั้น ทุกจังหวัดในภาคเหนือครูบา ได้ประดิษฐานพระพุทธ ศาสนาอย่างทั่วถึงและมั่นคง ท่านสร้างทั้งโบสถ์ วิหาร เจดีย์ พระพุทธปฏิมา ศาลากุฏิสงฆ์ ฯลฯ

    ในด้านการปฏิบัติ ครูบานับเป็นพระสงฆ์รูปหนึ่งที่เข้าถึงธรรม และมีข้อวัตรอย่างเคร่งครัด โดยยึดข้อปฏิบัติตามสมัยโบราณ ตามครูบาอาจารย์ที่สืบๆ กันตาม โดยวิธีปฏิบัติธรรมอย่างจริงจังเคร่งครัด โดยเฉพาะวิปัสสนากรรมฐาน ในด้านการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม ครูบาเสียสละปัจจัยไทยธรรมที่มีผู้ถวาย บริจาคช่วยเหลือแก่ส่วนราชการ องค์กร ชมรม สโมสร ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะชาวไทยภูเขา ตั้งแต่ข้าว ผ้า ยา บ้าน การศึกษา น้ำประปา ไฟฟ้า ถนนหนทาง มากมายมหาศาล

    “เป็นพระต้องพูดจริง ต้องทำจริง และต้องรู้จริง”

    เป็นคติธรรม ที่ครูบาเทืองยึดปฏิบัติเรื่อยมาผลจาก ความจริงที่ท่านบำเพ็ญ เพียรภาวนา ทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวช เทศนา พัฒนาชุมชนบน พื้นฐานของข้อ วัตรปฏิบัติที่ปราศจากการใส่ร้ายป้ายสีโจมตีบีทา ครูบารักษาศีล ไม่เห็นแก่กิน ไม่เห็นแก่นอน ฝึก สอนใจตนเอง ตลอดเวลา รวมทั้งการเสียสละสร้างศรัทธา นำพาถูกต้องปรอง ดองให้เห็น ดีเด่นใน คุณธรรม

    ที่มา หนังสือประวัติครูบาเจ้าเทือง นาถสีโล วัดบ้านเด่น อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ วัดเด่นสะหลีศรีเมืองแกน


    สวยเดิมๆไม่ผ่านการใช้

    ราคา 550 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    Clip_34.jpg Clip_35.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ธันวาคม 2021
  15. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,140
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 8962

    เหรียญรุ่นแรกครูบาอภิชัยคำมูล วัดศรีมุมเมือง ดอยสะเก็ดปี2515

    1 ในเหรียญที่สร้างน้อยและหายากที่สุด ของอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ครูบาอภิชัย คำมูล (คำมูล อภิวํโส) ท่านเป็นพระอริยสงฆ์ในยุคสมัยโบราณก่อนหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต จะขึ้นไปอยู่ทางภาคเหนือ ประวัติของท่านไม่มีผู้ใดทราบว่าท่านเกิดเมื่อใด ท่านเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนอำเภอดอยสะเก็ด และท่านได้ทำการบูรณะพระธาตุดอยสะเก็ด ท่านเป็นเจ้าอาวาสที่เป็นมหานิกายรูปสุดท้ายของวัดศรีมุงเมือง เพราะต่อมาวัดศรีมุงเมืองได้แปรญัติเป็นวัดในนิกายธรรมยุต วัดแรกของจังหวัดเชียงใหม่ โดยมี พระนพีสีพิศาลคุณ (คำปิง) เป็นเจ้าอาวาสรูปต่อมา ครูบาคำมูล ได้ถึงแก่มรณะภาพ ในปี พ.ศ. ๒๔๖๔

    ประวัติ ครูบาอภิชัย(คำมูล) อภิวํโส วัดศรีมุงเมือง ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
    บ้านลวงเหนือ เป็นชุมชนชาวไทยลื้อ ครูบาฯท่านน่าจะเป็นเชื่อสายเป็นชาวไทยลื้อ มีชีวิตอยู่ในช่วงยุคก่อนที่ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต จะขึ้นไปอยู่ทางภาคเหนือ
    ประวัติของท่านไม่มีผู้ใดทราบแน่ชัด ว่าเป็นใครมาจากไหน แต่ท่านเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนอำเภอดอยสะเก็ด ท่านได้ทำการบูรณะพระธาตุดอยสะเก็ด และเป็นอดีตเจ้าอาวาสของวัดศรีมุงเมือง ตอนยังเป็นวัดมหานิกาย ครูบาฯ ได้ถึงแก่มรณะภาพ ในปี พ.ศ.๒๔๖๔
    หลังจากท่านมรณภาพไป วัดศรีมุงเมือง ได้กลายเป็นวัดธรรมยุต วัดแรกของจังหวัดเชียงใหม่ ในเวลาต่อมา โดยมี พระนพีสีพิศาลคุณ (มหาคำปิง) เป็นเจ้าอาวาสรูปต่อมา และเป็นเจ้าอาวาสธรรมยุติรูปแรกของวัด
    ส่วนเหรียญของท่าน ครูบาอภิชัย(คำมูล) อภิวํโส วัดศรีมุงเมือง น่าจะสร้างขึ้นหลังจากท่านได้มรณภาพแล้ว เท่าที่สืบค้นถือว่าเป็นเหรียญพระเกจิเก่าแก่ที่สุด เหรียญแรกของอำเภอดอยสะเก็ดครับ น่าจะราวๆหลังปี 2500 ลงมา ไม่เกินปี 2515 ไม่ทราบจำนวนที่จัดสร้าง เพื่อมอบให้แก่ผู้ร่วมทำบุญสร้างวิหารหลังเก่า ส่วนใหญ่จะเป็นคณะกฐิน คณะผ้าป่าจากกรุงเทพฯ ชลบุรี สัตหีบ ระยอง
    พระธาตุของครูบาอภิชัย (คำมูล) อภิวํโส หรือที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า ครูบาอภิชัย คำมูล ได้ประดิษฐานอยู่ที่เจดีย์ราย ของพระธาตุวัดศรีมุงเมือง โดยไม่มีผู้ใดสนใจมาเป็นเวลากว่า ๑๐๐ ปี
    จนเมื่อพระเจดีย์ได้หักลงมาจึงได้ค้นพบพระธาตุของท่าน พร้อมกับแผ่นทองจารึกชื่อของท่าน

    เหรียญนี้เป็นเหรียญยุคเก่าของอ,ดอยสะเก็ดครับ

    สุดยอดเหรียญประสบการณ์ของคนดอยสะเก็ดครับ


    บูชาแล้วครับ

    Clip_36.jpg Clip_37.jpg F1RFm1nwH8qnRiVObVD-sVm5m1sGjpky5MsSvf3y_LLb&_nc_ohc=RSRUaBVF_DkAX-zG0fY&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2021
  16. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,140
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 8963

    เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อศิลา วัดทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย ปี 2519 สวยเดิมๆ

    หลวงพ่อศิลา เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองสุโชทัย ประดิษฐาน ณ มณฑป วันทุ่งเสลี่ยม อ.ทุ่งเสลี่ยม จ. สุโขทัย องค์หลวงพ่อสลักจากหินทรายสีเทา ผิวนวลขาวฝีมือประณีตงดงามมากขนาดหน้าตักกว้าง 44 เซนติเมตร สูง 86 เซนติเมตร น้ำหนัก 300 ปอนด์ องค์พระประทับนั่งบนขนดพญานาค เจ็ดเศียรแผ่พังพาน ศิลปะลพบุรีที่ได้รับ อิทธิพลจากขอม พุทธศตวรรษที่ 16-17 ประมาณพุทธศักราช 1650-1725 คาบเกี่ยวกับศิลปะแบบบายนของขอม (พุทธศักราช 1724-1780) ประดิษฐานเป็นพระพุทธปฏิมาประธานในมณฑปเรือนยอด วัดทุ่งเสลี่ยม มีความงดงามทางศิลปกรรมแบบศิลปลพบุรี กล่าวได้ว่า เป็นพระพุทธรูปโบราณที่สลักหินปางนาคปรกองค์เดียวที่เป็นศิลปะไทยแท้ มีความศักดิ์สิทธิ์มาก แต่เดิมนั้น หลวงพ่อศิลาประดิษฐานอยู่ที่ถ้ำเจ้าราม ซึ่งเป็นถ้ำขนาดใหญ่ มีเรื่องเล่าสืบกันมาว่าชาวบ้านได้ไปหามูลค้างคาวในแถบถ้ำเจ้าราม ได้พบพระธุดงค์รูปหนึ่ง เล่าให้ฟังว่า ภายในถ้ำเจ้ารามมีพระพุทธรูปเก่าแก่อยู่หลายองค์และองค์หนึ่งมีความงามโดดเด่นกว่าองค์อื่นใด เป็นพระพุทธรูปศิลานาคปรก เมื่อกลับถึงหมู่บ้าน ชาวบ้านก็นำความมาเล่าให้พระอภัย เจ้าอาวาสวัดทุ่งเสลี่ยม ซึ่งได้หารือกับผู้ใหญ่บ้านว่า จะนำพระพุทธรูปมาไว้ที่วัดทุ่งเสลี่ยม แต่เนื่องจากพระอภัยนั้นสูงอายุ เดินทางไม่ไหว จึงได้เลิกล้มความตั้งใจ ความได้ล่วงรู้ไปถึงครูบาก๋วน เจ้าอาวาสวัดแม่ปะหลวง ต.แม่ปะ อ.เถิน จ.ลำปาง ซึ่งท่านก็มีความศรัทธาจึงได้รวบรวมคนเดินทางไปอัญเชิญพระพุทธรูปปางนาคปรก ณ ถ้ำเจ้ารามเมื่อคณะเข้าสู่ภายในถ้ำเจ้าราม ได้พบพระพุทธรูปนาคปรก ครูบาก๋วนจึงได้ทำพิธีอัญเชิญพระพุทธรูปออกจากถ้ำ และเดินทางรอนแรมผ่านหนองปลาซิว (บ้านห้วยทราย) หนองส้มป่อย (บ้านน้ำดิบ) จนกระ ทั่งถึงอำเภอทุ่งเสลี่ยม เมื่อชาวบ้านทุ่งเสลี่ยมรู้ข่าว จึงพากันจัดขบวนดนตรีพื้นเมืองและขบวนฟ้อนรำมาต้อนรับด้วยความปีติยินดี จวบจนขบวนอัญเชิญพระพุทธรูปนาคปรกเดินทางมาถึงวัดทุ่งเสลี่ยม ก็เกิดปาฏิหาริย์ขึ้น ท้องฟ้าที่แจ่มใส แสงแดดที่ร้อนแรงของเดือนเมษายนก็ถูกบดบังด้วยเมฆฝน เกิดฝนตกหนักเป็นเวลานาน เมื่อฝนหยุดตกก็มีฝูงค้างคาวบินมาวนเวียนเหนือบริเวณวัดทุ่งเสลี่ยมแล้วจึงบินกลับถ้ำเจ้าราม ชาวบ้านได้เห็นความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธรูปศิลา จึงไม่ยอมให้ครูบาก๋วนอัญเชิญกลับไปยังอำเภอเถิน เจ้าอาวาสวัดทุ่งเสลี่ยมจึงได้หารือไปยังเจ้าคณะอำเภอสวรรคโลก ซึ่งเจ้าคณะอำเภอได้ตัดสินให้ประดิษฐานไว้ ณ วัดทุ่งเสลี่ยม ชาวบ้านได้ตั้งชื่อพระพุทธรูปนาคปรกนี้ว่า พระศิลา เพราะเห็นว่าแกะสลักมาจากหินทราย ครูบาก๋วนจึงได้จำลองพระศิลา กลับไปประดิษฐานไว้ที่วัดปะหลวง อ.เถิน จ.ลำปาง ด้วยใจศรัทธา ครั้นเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2520 ได้เกิด เหตุการณ์มีคนร้ายไม่ทราบจำนวน เข้ามาโจรกรรมพระศิลาไปจากอุโบสถใหญ่ วัดทุ่งเสลี่ยม พระศิลาจึงได้หายสาบสูญไปอย่างไร้ร่องรอย อีก 17 ปีต่อมา เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2537 กลุ่มอนุรักษ์ชาวไทยในต่างแดน ได้พบข่าวพระศิลาในประเทศอังกฤษ จึงได้เขียนจดหมายถึงบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์มติชนว่า ได้พบภาพพระ พุทธรูปปางนาคปรก ในหนังสือประมวลศิลปวัตถุ เพื่อประมูลขายของสถาบัน โซธบี (Sotheby Institute) ในกรุงลอนดอน หน้า 52 ความทราบถึงชาวอำเภอทุ่งเสลี่ยม ชาวบ้านจึงได้ทำหนังสือร้องเรียนไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย และกรมศิลปากร เพื่อให้ทางราชการติดตามทวงถามพระพุทธรูปที่หายไป ในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน กรมศิลปากรได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง และหาแนวทางติดตามทวงคืนพระพุทธรูปศิลา จนประสบความสำเร็จในที่สุด วันที่ 19 ธันวาคม 2539 ขบวนอัญเชิญหลวงพ่อศิลากลับถึงประเทศไทย ณ สนามบินดอนเมือง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะดำเนินการอัญเชิญหลวงพ่อศิลา เข้าเฝ้าฯเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายหลวงพ่อศิลา เนื่องในปีกาญจนาภิเษก ทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 พรรษา ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต จากนั้น โปรดเกล้าฯ พระราชทานให้แก่วัดทุ่งเสลี่ยมเช่นเดิม เมื่อวันที่ 24 กุมภา พันธ์ 2540 ชาวทุ่งเสลี่ยมจึงได้จัดงานสมโภชเฉลิมฉลองหลวงพ่อศิลาเป็นประจำทุกปีในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ที่มา:หนังสือพิมพ์
    หลวงพ่อศิลา เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองสุโขทัย ประดิษฐาน ณ มณฑป วันทุ่งเสลี่ยม อ.ทุ่งเสลี่ยม จ. สุโขทัย องค์จริงหลวงพ่อสลักจากหินทรายสีเทา แบบศิลปลพบุรี มีเรื่องเล่าขานว่า ใครที่ของหายให้บนหลวงพ่อจะได้ของนั้นคืน เหรียญนี้เป็นเหรียญรุ่นแรก ปี 2519 กะไหล่ทองเต็มเดิมๆเป็นเหรียญรุ่นที่มีประสบการณ์ และเริ่มหายากแล้วครับ สภาพสวยมากครับ


    คุณ j999 บูชาแล้วครับ

    Clip_20.jpg Clip_21.jpg

    S__5931104.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 สิงหาคม 2022
  17. j999

    j999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    4,968
    ค่าพลัง:
    +5,381
    ขอจองครับ
     
  18. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,140
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รับทราบการจองครับ ขอบพระคุณครับพี่
     
  19. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,140
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 8964

    เหรียญครูบาเจ้าศรีวิชัยปี2482 สามชาย สระอูแหลม

    จัดสร้างโดยคณะศิษย์ เพื่อรำลึกถึงพระคุณของครูบาและเพื่อร่วมทำบุญในงานพิธีพระราชทานเพลิงศพของครูบาที่จะมีขึ้นวัดจามเทวี ลำพูน ในวันที่21มีนาคม2489 โดยให้ร้านอมราภรณ์ ตึกดิน แกะพิมพ์ (แล้วนำเข้าร่วมพิธีปลุกเสกที่วัดราชบพิตร ปี2482(16 ธันวาคม)พิธีใหญ่ครั้งที่5ของวัดราชบพิตร
    พร้อมกับวัตถุมงคลของสมเด็จพระสังฆราชพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ โดยพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นหลายองค์ ณ วัดราชบพิธ กรุงเทพฯ เพื่อหาทุนใช้จ่ายงานศพครูบาศรีวิไชย พื่อเป็นอนุสรณ์คุณงามความดีของนักบุญแห่งลานนาในวันพระราชทานเพลิงศพครูบาศรีวิชัย
    พระคณาจารย์ที่ร่วมพิธีปลุกเสกมีดังนี้
    1พระธรรมเจดีย์วัดสระเกศ
    2หลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง อยุธยา
    3พระธรรมทานาจารย์วัดระฆัง
    4หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ไชยชุมพล กาญจนบุรี
    5หลวงพ่อจาด วัดบางกะเบา ปราจีนบุรี
    6หลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง นนทบุรี
    7หลวงพ่อโศก วักปากคลอง เพชรบุรี
    8หลวงพ่อจันทร์ วัดบ้านยาง ราชบุรี
    9หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก ฉะเชิงเทรา
    10หลวงพ่อเลียบ วัดเลา พระนคร
    11หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ สมุทรสาคร
    12หลวงพ่อคง วัดบางกระพ้อม สมุทรสงคราม
    13หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี
    14หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง นครปฐม
    15หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ อยุธยา
    16หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู ลพบุรี
    17หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง นนทบุรี
    18หลวงพ่อจง วักหน้าต่างนอก อยุธยา
    19หลวงพ่อจันทร์ วัดคลองระนง นครสวรรค์(มาแทนหลวงพ่อเดิม)
    20หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน ชุมพร
    21พระปลัดมา วัดราชบูรณะ พระนคร


    สุดยอดเหรียญยอดนิยมของท่านครูบาศรีวิชัยครับ


    ราคา 155000 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    Clip_226.jpg Clip_228.jpg Clip_229.jpg Clip_230.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤศจิกายน 2021
  20. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,140
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 8965

    เหรียญครูบาเจ้าศรีวิชัยปี2482 สองชาย

    จัดสร้างโดยคณะศิษย์ เพื่อรำลึกถึงพระคุณของครูบาและเพื่อร่วมทำบุญในงานพิธีพระราชทานเพลิงศพของครูบาที่จะมีขึ้นวัดจามเทวี ลำพูน ในวันที่21มีนาคม2489 โดยให้ร้านอมราภรณ์ ตึกดิน แกะพิมพ์ (แล้วนำเข้าร่วมพิธีปลุกเสกที่วัดราชบพิตร ปี2482(16 ธันวาคม)พิธีใหญ่ครั้งที่5ของวัดราชบพิตร
    พร้อมกับวัตถุมงคลของสมเด็จพระสังฆราชพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ โดยพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นหลายองค์ ณ วัดราชบพิธ กรุงเทพฯ เพื่อหาทุนใช้จ่ายงานศพครูบาศรีวิไชย พื่อเป็นอนุสรณ์คุณงามความดีของนักบุญแห่งลานนาในวันพระราชทานเพลิงศพครูบาศรีวิชัย
    พระคณาจารย์ที่ร่วมพิธีปลุกเสกมีดังนี้
    1พระธรรมเจดีย์วัดสระเกศ
    2หลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง อยุธยา
    3พระธรรมทานาจารย์วัดระฆัง
    4หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ไชยชุมพล กาญจนบุรี
    5หลวงพ่อจาด วัดบางกะเบา ปราจีนบุรี
    6หลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง นนทบุรี
    7หลวงพ่อโศก วักปากคลอง เพชรบุรี
    8หลวงพ่อจันทร์ วัดบ้านยาง ราชบุรี
    9หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก ฉะเชิงเทรา
    10หลวงพ่อเลียบ วัดเลา พระนคร
    11หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ สมุทรสาคร
    12หลวงพ่อคง วัดบางกระพ้อม สมุทรสงคราม
    13หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี
    14หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง นครปฐม
    15หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ อยุธยา
    16หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู ลพบุรี
    17หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง นนทบุรี
    18หลวงพ่อจง วักหน้าต่างนอก อยุธยา
    19หลวงพ่อจันทร์ วัดคลองระนง นครสวรรค์(มาแทนหลวงพ่อเดิม)
    20หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน ชุมพร
    21พระปลัดมา วัดราชบูรณะ พระนคร

    สุดยอดเหรียญยอดนิยมของท่านครูบาศรีวิชัยครับ


    สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    Clip_232.jpg Clip_233.jpg Clip_234.jpg Clip_235.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤศจิกายน 2021
  21. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,140
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 8966

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤศจิกายน 2021
  22. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,140
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 8967

    เหรียญครูบาชัยวงศ์ รุ่น2 ปี2518 เนื้อทองแดง ตอกโค๊ด ว

    เข้าพิธีที่วัดท่าซุงรุ่นเดียวกับวัตถุมงคล ชุดครบรอบ 100 ปีหลวงพ่อปาน วัดบางนมโคเมื่อปี18
    เกจิที่ปลุกเสกในพิธีมี หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง , หลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรี , ครูบาคำแสน อินทจักโก วัดสวนดอก , ครูบาคำแสน คุณาลังกาโร วัดดอนมูล , ครูบาชุ่ม โพธิโก วัดวังมุย , ครูบาอินทจักรรักษา วัดน้ำบ่อหลวง , ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา วัดพระบาทห้วยต้ม , ครูบาธรรมชัย ธัมมชโย วัดทุ่งหลวง , ลป.สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง จากนั้นยังได่นำไปขอเมตตาอธิษฐานจิตจากหลวงปู่สี ฉันทสิริ วัดถ้ำเขาบุนนาค , หลวงปู่แหวน สุจิณโน วัดดอยเม่ปั๋ง ) ครูบาพรหมจักรสังวร วัดพระบาทตากผ้า , หลวงปู่หล้า ตาทิพย์

    พระดีพิธีเยี่ยม รับประกันความแท้ครับ


    ราคา 1050 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 086-1936900

    [p.jpg sad.jpg gd.jpg

    9.jpg

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 9999.jpg
      9999.jpg
      ขนาดไฟล์:
      79.1 KB
      เปิดดู:
      10

แชร์หน้านี้

Loading...