ลดกระหน่ำปีใหม่..วัตถุมงคล.ทั่วประเทศ และเกจิอื่นๆ..เริ่มหน้า61เป็นต้นไป

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย ญาณวโร นามะ, 26 มิถุนายน 2011.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,696
    ค่าพลัง:
    +4,635
    ให้บูชาพระเครื่อง วัตถุมงคล หลากหลายรายการ ค่าจัดส่ง50บาททั่วประเทศครับรับประกันแท้ยินดีคืนเงินเต็มจำนวน โดยไม่มีเงื่อนไขครับ (พระต้องกลับมาสภาพเดิมครับ)
    ท่านที่สนใจโอนเงินได้ที่รายละเอียดที่อยู่ด้านล่าง หลังจากโอนแล้ว รบกวนโทร.หรืออีเมล์มาบอกชื่อที่อยู่สำหรับจัดส่งด้วยครับ
    ติดต่อสอบถามได้ที่
    - Pm
    - เบอร์โทร 0817933946
    ชำระเงินได้ที่
    ธ.กรุงไทย สาขา ศรีย่าน
    ชื่อบัญชี นายวรัญญูเล้ารัตนอารีย์
    เลขที่บัญชี 012-0-14398-4
     
  2. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,696
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่689 เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต สวนทิพย์ จ.นนทบุรี สวยหายากแล้ว**ชนวนมวลสารเกจิ108รูป เกจิเพียบ*** ให้บูชา พีเอมหรือโทรถามครับ น่าบูชาเป็นอย่างยิ่งครับ
    เหรียญ รุ่นแรกหลวงปู่บุญฤทธิ์ ศูนย์อบรมภาวนาสิริจันโทได้ขออนุญาตจัดสร้าง เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม พศ.๒๕๔๘ ในขณะที่หลวงปู่ได้รับนิมนต์ไปงานมรณภาพครบ ๕๐ วัน
    หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ จัดสร้างเสร็จ ๑๙ มีนาคม พศ.๒๕๔๙ และได้นำเข้าพิธีพุทธาภิเษก ในงาน ๑๕๐ ปี ชาตกาล พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) วันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๔๙ จากนั้น

    ครั้งที่ ๑ บนกุฏิปัทมราช วัดบรมนิวาส วันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๔๙ ได้นำให้หลวงปู่อธิษฐานจิตเดี่ยวหลังเวลาฉันเพล
    ครั้งที่ ๒ ณ ศาลสนิทวงศ์ วัดบรมฯ ในวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๔๙
    ครั้งที่ ๓ ณ วัดสิริกมลาวาส ในงานอายุวัฒนมงคล หลวงปู่หลอด ๙ ธันวาคม ๒๕๔๙
    ครั้งที่ ๔ ณ ศาลสนิทวงศ์ฯ วัดบรมฯ ในวันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๐
    ครั้งที่ ๕ ณ กุฏิที่พักสงฆ์สวนทิพย์ วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พศ.๒๕๕๐ และถวายให้หลวงปู่แจกในวันรุ่งขึ้น (๑๗ กุมภาพันธ์ ๕๐)

    หมาย : การจัดสร้างเหรียญ ได้แกะบล็อก เกินอายุหลวงปู่ไป ๑ ปี คือถวายเมื่อคราวฉลองอายุ ๙๓ ปี แต่ด้านหลังเหรียญ แกะพิมพ์เป็น ๙๔ ปี
    ปล.เวปอ้างอิงการแจกเหรียญ รุ่นแรกของหลวงปู่ (ให้ดูวันที่ ที่หน้าเวป) -:-

    ****๑.ชนวนสำคัญ****
    - พระยันต์ ๑๐๘ พระยันต์
    - นะ ๑๔ พระยันต์
    - แผ่นจาร พระคณาจารย์ ๑๐๘ รูป
    (สมเด็จพระญาณสังวร,หลวงตาพวง, หลวงพ่ออุ้น, หลวงพ่อตัด,หลวงพ่อเจือ.หลวงพ่อเอียด, หลวงพ่อเพิ่ม,หลวงพ่อพูน,หลวงพ่อเพี้ยน,หลวงพ่ออั๊บ,หลวงปู่แย้ม เป็นต้น)
    - ชนวนพระนาคปรกแสงอรุณ วัดบรมฯ ปี ๒๔๙๕
    - ชนวนช่อพระกริ่งสิทธัตโถ วัดบรมฯ ปี ๐๘, ปี ๑๒, ปี ๑๗
    - ชนวนพระแก้ว ปี ๒๔๗๕
    - ชนวนวัตถุมงคล ๒๕ พุทธศตวรรษ
    - ชนวนพระกริ่งคุ้มเกล้า ปี ๒๒
    - ชนวนวัตถุมงคล รุ่นฉลอง ๒๐๐ ปี กทม.
    - ชนวนพระกลีบบัวหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว
    - ชนวนวัตถุมงคลวัดเขาอ้อ ปี ๓๙ และแผ่นจาร
    - ชนวนพระชัยหลังช้าง ภปร สก ปี ๓๐
    - ชนวนพระกริ่งรักษาดินแดน (เจ้าคุณนรฯ)
    - ชนวนพระกรุท่ากระดาน กาญจนบุรี
    - ชนวนเหรียญหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ปี ๙๒
    - ชนวนเหรียญ ๕ อาจารย์วัดสุปัฏฏนาราม อุบลฯ ปี ๑๖
    - ตะกรุดหลวงพ่อป่าน วัดบางนมโค
    - ชนวนหลวงปู่ทวด วัดโพธิ์ฯ ปี ๑๓
    - ชนวนวัตถุมงคล วัดป่าทรงคุณ ปราจีนบุรี ปี ๒๑
    - ชนวนวัตถุมงคล หลวงพ่อโสธร ปี ๓๖
    - ชนวนพระกริ่งตากสินทร์
    - ชนวนวัตถุมงคลหลวงพ่ออิ่มตลอดกาล
    - ชนวนพระพุทธชินราช ปี ๓๕
    - ชนวนพระพุทธชินราช ปี ๓๗
    - ชนวนวัตถุมงคลวัดแก้วพิจิตร ปราจีนบุรี
    - ชนวนหลวงพ่อหก วัดสะแกซึง
    - ชนวนวัตถุมงคลพระธาตุดอยสุเทพ ปี ๑๘
    - ชนวนพระกริ่งสีลวุฒโฑ (หลวงปู่เส วัดบูรพาราม) ปี ๔๗
    - ชนวนวัตถุมงคลวัดสิริจันทรนิมิตร (เขาพระงาม) ลพบุรี
    - ชนวนวัตถุมงคลวัดนิมมานนรดี ปี ๑๔
    - ชนวนวัตถุมงคลพระทิพย์อำนาจ ปี ๓๘
    - ชนวนวัตถุมงคล ๗๐๐ ปี ลายสือไทย
    - ชนวนพระกริ่ง ๖๐ ปี ธรรมศาสตร์
    - ชนวนพระกริ่ง พระสมเด็จจอมสุรินทร์ ปี ๑๓
    - ชนวนพระพุทธปริต ปี ๑๔
    - ชนวนวัตถุมงคลพระเจ้าใหญ่อินแปลง อุบลฯ ปี ๑๖
    - ชนวนพระกริ่งวัดสุทัศฯ ปี ๘๕
    - ชนวนพระนาคปรกนาสีดา
    - ชนวนพระไพรีพินาศ วัดบวรนิเวศฯ
    - ชนวนวัตถุมงคลบรมครูหมอชีวกโกมารภัจจ์ หลวงปู่ธรรมรังษี ปี ๔๕
    ****๒.ทองชนวน ๑๕๐ พระคณาจารย์****
    สมเด็จ พระอริยวงศาคตญาณ (อยู่) วัดสระเกศ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (จวน) วัดมกุฏฯ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปุ่น) วัดโพธิ์ฯ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาส)วัดราชบพิธฯ
    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ) วัดมหาธาตุฯ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์) วัดพระศรีฯ สมเด็จพระธีรญษณมุนี (สนิท) วัดปทุมคงคา สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต) วัดสัมพันธวงศ์ หลวงปู่คำพันธ์ โฆษปญฺโญ หลวงปู่ชอบ หลวงปู่อ่อนศรี หลวงปู่อุ่น อุตฺตโม หลวงปู่สาม หลวงปู่คำคะนิง หลวงปู่หลุย หลวงพ่อสุด วัดกาหลง หลวงพ่อคง วัหนองกระจาย หลวงปู่ขาว หลวงปู่มหาปิ่น หลวงปู่วัน หลวงพ่อเต๋ หลวงปู่เปลี้ยหลวงพ่อ มี วัดมารวิชัย หลวงพ่อแดง วัดเขาบรรไดอิฐ หลวงปู่เจ๊ก หลวงปู่ชื่น วัดมาบข่า หลวงพ่อตาบ หลวงปู่กว่า หลวงปู่แหวน หลวงปู่หุ่น วัดบางขวด หลวงปู่คร่ำ หลวงพ่อพุธ หลวงปู่หลอด หลวงปู่ฝั้นหลวงปู่หลวง หลวงปู่เหรียญ หลวงปู่บุญมี สิริธโร หลวงพ่อเกษม หลวงปู่จันทร์ เขมิโย หลวงปู่หงษ์ หลวงปู่อ่อน หลวงปู่สมชาย หลวงปู่ธรรมรังษี หลวงปู่ชม วัดเขานันทาราม หลวงปู่เมตตาหลวง หลวงปู่สิมหลวงปู่จวน หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต หลวงปู่บัวพา หลวงปู่ลี ฐิตธมฺโม ครูบาพรหมจักรสังวร หลวงพ่ออวยพร หลวงปู่โต๊ะ หลวงปู่สังข์ สงฺกิจฺโจ หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู หลวงปู่บุญมี วัดอ่างแก้ว หลวงปู่บุดดา หลวงปู่จันทร์ โสม หลวงปู่จันทร์ วัดบึงเขาหลวง หลวงปู่เส วัดบูรพาราม หลวงพ่อสมบูรณ์ หลวงพ่อสายหยุด วัดอดิสร หลวงปู่ปราโมทย์ วัดป่านิโคธาราม หลวงปู่แสง หลวงปู่โทน วัดเขาน้อยคีรีวัน หลวงปู่ต้น หลวงปู่กิ หลวงปู่ผ่าน หลวงปู่คำพอง หลวงปู่มา ญาณวโร หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ หลวงพ่อทองบัว ตนฺติกโร พระเทพวรคุณ(สิงห์) หลวงปู่ศรีจันทร์ เจ้าคุณนรรัตน์ราชมานิต หลวงปู่ซามา หลวงพ่อคง วัดอินทาราม หลวงพ่อแพ หลวงปู่โง่น หลวงปู่ผล วัดดักคะนนท์ หลวงปู่ห้อม วัดคูหาสวรรค์ หลวงปู่ท่อน หลวงปู่สีทน สีลธโน หลวงปู่พวง หลวงปู่สังข์ วัดท่าช้างใหญ่ หลวงปู่ชา หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก หลวงพ่อจ้อย วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ พระศรีสัจจญาณมุณี วัดสุทัศฯ หลวงพ่อทอง วัดก้อนแก้ว หลวงปู่ดูลย์ พ่อท่านกลั่น วัดเขาอ้อ หลวงปู่สาย เขมธมฺโม หลวงปู่มหาโส หลวงปู่บุญหนา หลวงปู่จันทา หลวงปู่จ้อยวัด หนองน้ำเขียว หลวงพ่อมหาสนธ์ หลวงปู่ทองดำ วัดท่าทอง หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต พระพรหมมุนี (บู่) หลวงพ่อสาคร หลวงปู่ทิม อิสริโก หลวงพ่ออุตตมะ หลวงปู่พรหมา เขมจาโร หลวงตามหาบัวหลวงปู่เพียร หลวงปู่อ่ำ หลวงปู่ขาน หลวงพ่อคำบ่อ หลวงพ่อหยอด หลวงปู่แว่น หลวงปู่ถิร หลวงพ่อรวย หลวงพ่อจรัญ หลวงปู่ทิม วัดพระขาว หลวงพ่อสินทร์ วัดบ้านนาโพธิ์ หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม หลวงปู่เทสก์ หลวงปู่หลิว ครูบาอินคำ วัดทุ่งฟ้าผ่า ครูบาอิน วัดฟ้าหรั่ง หลวงพ่อจ้อย วัดศรีอุทุมพร หลวงปู่ขาว วัดหลักสี่ หลวงปู่เปรื่อง หลวงปู่เทียม วัดกษัตราธิราช หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว หลวงปู่สงฆ์ วัดเจ้าฟ้าฯ พ่อท่านคล้าย หลวงพ่อเชิญ พ่อท่านนอง หลวงพ่อทองพูล หลวงพ่อเปิ่น ครูบาน้อย วัดศรีดอนมูล หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย หลวงปู่กรอง หลวงปู่เขียน วัดถ้ำขุนเณร หลวงปู่ไสว หลวงปู่หมุน วัดบ้านจานหลวง พ่อโอภาสี หลวงพ่อบุญเรือน วัดยางสุทธาราม หลวงพ่อคล้อย วัดถ้ำเขาเงิน พ่อท่านสีนวล วัดเกวียนหัก พระครูประสานนรกิจ วัดพระนอนจักรสีห์ พระครูสังฆบริรักษ์ (มโนรมณ์)วัดบรมฯ พระธรรมไตรโลกาจารย์ (รักษ์) หลวงตาแตงอ่อน หลวงพ่อไพบูลย์ หลวงปู่ทา หลวงปู่ทอง วัดสามปลื้ม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กันยายน 2014
  3. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,696
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่690 เหรียญสมเด็จโต วัดระฆัง ปี 2533 รุ่น อนุสรณ์ 118 ปี ให้บูชา 250 บาทครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_3819.JPG
      SAM_3819.JPG
      ขนาดไฟล์:
      50.2 KB
      เปิดดู:
      86
    • SAM_3820.JPG
      SAM_3820.JPG
      ขนาดไฟล์:
      70.7 KB
      เปิดดู:
      80
  4. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,696
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่691 สมเด็จแหวกม่าน วัดหัวเด่น ปี 39 ผงเก่าหลวงพ่อกวย + พิธีใหญ่ เกจิสายหลวงพ่อกวยปลุกเสก ให้บูชา 250 บาท**มีผู้รับนิมนต์แล้วครับ***
    สมเด็จแหวกม่าน วัดหัวเด่น สร้างปี 2539 โดยหลวงพ่อสมานและคุณเฒ่าสุพรรณ พระพิธีใหญ่ ปลุกเสกโดยคณาจารย์สายหลวงพ่อกวย อาทิ หลวงปู่เย็น วัดสระเปรียญ และหลวงปู่ปรง วัดธรรมเจดีย์ ฯ โดยใช้ผงเก่าของหลวงพ่อกวยเป็นมวลสารในการสร้างพระแหวกม่านชุดนี้ วัตถุประสงค์ในการสร้างเพื่อก่อสร้างพระวิหารประดิษฐานรูปหล่อหลวงพ่อกวยเท่าองค์จริง ณ วัดหัวเด่น จังหวัดชัยนาททำการกดพิมพ์กันที่หน้ากุฏิหลวงตาสมาน ที่วัดหัวเด่นและทำพิธีปลุกเสกที่วัดหัวเด่น...ตอนปี39ไม่ได้นำเข้าพิธีของวัดบ้านแคส่วนผสมมวลสารในการสร้างพระเท่าที่จำได้ก็มีพวกว่านต่างๆ ผงของหลวงพ่อและเส้นเกศาของพระเกจิสายอีสานเยอะมากเช่น หลวงปู่ขาว หลวงปู่สาม ฯลฯ ที่อ.เฒ่า สุพรรณมอบให้ผง,เส้นเกศา,สีผึ้งของหลวงพ่อที่หลวงตาสมานเก็บไว้ พระที่หัก เม็ดมะกล่ำ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_3810.JPG
      SAM_3810.JPG
      ขนาดไฟล์:
      51.1 KB
      เปิดดู:
      47
    • SAM_3811.JPG
      SAM_3811.JPG
      ขนาดไฟล์:
      58.3 KB
      เปิดดู:
      127
    • SAM_3813.JPG
      SAM_3813.JPG
      ขนาดไฟล์:
      45.6 KB
      เปิดดู:
      40
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2014
  5. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,696
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่692 สมเด็จแหวกม่าน วัดหัวเด่น ปี 39 ผงเก่าหลวงพ่อกวย + พิธีใหญ่ เกจิสายหลวงพ่อกวยปลุกเสก ให้บูชา 200 บาท
    สมเด็จแหวกม่าน วัดหัวเด่น สร้างปี 2539 โดยหลวงพ่อสมานและคุณเฒ่าสุพรรณ พระพิธีใหญ่ ปลุกเสกโดยคณาจารย์สายหลวงพ่อกวย อาทิ หลวงปู่เย็น วัดสระเปรียญ และหลวงปู่ปรง วัดธรรมเจดีย์ ฯ โดยใช้ผงเก่าของหลวงพ่อกวยเป็นมวลสารในการสร้างพระแหวกม่านชุดนี้ วัตถุประสงค์ในการสร้างเพื่อก่อสร้างพระวิหารประดิษฐานรูปหล่อหลวงพ่อกวยเท่าองค์จริง ณ วัดหัวเด่น จังหวัดชัยนาททำการกดพิมพ์กันที่หน้ากุฏิหลวงตาสมาน ที่วัดหัวเด่นและทำพิธีปลุกเสกที่วัดหัวเด่น...ตอนปี39ไม่ได้นำเข้าพิธีของวัดบ้านแคส่วนผสมมวลสารในการสร้างพระเท่าที่จำได้ก็มีพวกว่านต่างๆ ผงของหลวงพ่อและเส้นเกศาของพระเกจิสายอีสานเยอะมากเช่น หลวงปู่ขาว หลวงปู่สาม ฯลฯ ที่อ.เฒ่า สุพรรณมอบให้ผง,เส้นเกศา,สีผึ้งของหลวงพ่อที่หลวงตาสมานเก็บไว้ พระที่หัก เม็ดมะกล่ำ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_3824.JPG
      SAM_3824.JPG
      ขนาดไฟล์:
      51.3 KB
      เปิดดู:
      160
    • SAM_3825.JPG
      SAM_3825.JPG
      ขนาดไฟล์:
      48.5 KB
      เปิดดู:
      50
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2014
  6. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,696
    ค่าพลัง:
    +4,635
    มีผู้รับนิมนต์แล้วครับ:cool::cool::cool::cool:
     
  7. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,696
    ค่าพลัง:
    +4,635


    ****มีผู้รับนิมนต์แล้วครับ****:cool::cool::cool::cool::cool: ขอบคุณครับ หายากครับไม่มีขายตามตู้พระทั่วไปครับ ต้องหาตามกลุ่มลูกศิษย์ครับ
     
  8. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,696
    ค่าพลัง:
    +4,635
    อริยสงฆ์ที่ยังดำรงขันธ์อยู่..ที่หลวงตามหาบัว...กล่าวว่าเป็นเนื้อนาบุญของโลก..

    เรียบเรียงโดย แดนโลกธาตุ
    พระอริยสงฆ์ที่องค์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน (พระอรหันต์แห่งประวัติชาติไทยองค์ปัจจุบัน แห่งวัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี ) ได้กล่าวถึงว่าท่านเหล่านี้ได้ปฏิบัติธรรมจนสามารถทำจิตให้บริสุทธิ์, และหมดแห่งกิจที่ควรทำแล้ว ก็จะมีครูบาอาจารย์ต่างๆในสายพระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่นมากมาย ที่ท่านหลวงตามหาบัวได้กล่าวถึงประจำ แต่ในบางครั้งท่านเหล่านั้นจะไม่พูดว่าได้ขั้นไหน ๆ แล้วเพราะท่านอาจจะมองเห็นปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น คนมารุมตอม.ไม่เว้นแต่ละวันทำให้ท่านไม่ได้พักผ่อน
    ยกตัวอย่างเหตุการณ์ ในวันนั้นที่ข้าพเจ้าถามพระเถระพระป่า (ไม่ขอเอ่ยนามท่าน) ข้าพเจ้าถามว่า.....ดังนี้
    ..หลวงปู่เป็นพระอรหันต์หรอครับ....ท่านก็จะตอบว่า..........ดูเอานี่ไงหันซ้ายหันขวา..
    แล้วท่านก็.....จะทำท่าหันไปข้างซ้าย...หันไปข้างขวาให้เราดู...
    คนถามก็จะอดหัวเราะไปกับท่านไม่ได้ครับ........
    แล้วท่านก็เมตตาบอกว่า....ไม่สำคัญที่จะไปถามว่าพระรูปไหนสำเร็จอะไร เราจะไปกังวลถามทำไม....เราปฏิบัติเองเรารู้เอง..ไม่ต้องถามคนอื่น...ทิ้งท้ายท่านเมตตาบอกว่า
    แต่บุญที่ทำกับพระอรหันต์ผู้หมดกิเลสนั้นได้กุศลมากเลยทีเดียวนะ....
    เหตุการณ์หนึ่งที่ผู้เขียนได้รับฟังมาจากหูโดยตรง....จากพระธรรมเทศฯองค์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี
    ท่านได้รับรองว่าท่านนั้น ท่านนี้เป็นพระอริยบุคคลหมดกิเลส หลายรูปครับ
    ผู้เขียนจึงอดที่จะเอาเอาเทศนาของหลวงตามหาบัว นั้น มาให้ผู้อ่านรู้ด้วยไม่ได้ครับ ดังนี้ครับ........
    "พระหมดกิเลสในสายหลวงปู่มั่น นี้ก็ไม่ใช่น้อย แต่ท่านไม่เปล่งบอกใครเพราะเกี่ยวกับอรรถกับธรรมเห็นธรรมดีเลิศกว่า แต่ที่เราบอกเราก็ไม่ได้อวดอุตริ ใดๆ ทั้งสิ้น จริงคือจริงไม่มีปิดบัง ไม่สงสัยในธรรม ใครจะเอาตำราไหนมาอ้าง ก็ให้มันเอามาได้เลย ที่วัดป่าบ้านตาด เราไม่สะทกสะเทือน จะชี้แจงแถลงไขให้เข้าใจเอง เอ้าเชิญมา....."
    ที่ได้ฟังท่านเปรย ๆ มาก็พอจับใจความมาว่าท่านไหนได้แล้ว...เสียดายที่ไม่ได้อัดเทปไว้ครับ....

    และนี่ก็คือท่านเปรยว่าล้วนแล้วแต่เป็นพระอริยสงฆ์เนื้อนาบุญของโลกเลยทีเดียว

    ท่านบอกว่า
    1. ท่านอาจารย์เจี๊ยะ จุนโท (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ) วัดป่าภูริทัตปฏิปทาราม อ.สามโคก จ.ปทุมธานี

    2. หลวงปู่ลี กุสลธโร วัดภูผาแดง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

    3. หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร วัดป่าประชาชุมพลพัฒนาราม อ.เมือง จ.อุดรธานี

    4. หลวงปู่ขาล ฐานวโร (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ) วัดป่าบ้านเหล่า อ.เวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย

    5. พระอาจารย์แบน ธนากโร วัดดอยธรรมเจดีย์ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร

    6. หลวงปู่หลวง กตปุญโญ (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ) วัดคีรีสุบรรพต จ.ลำปาง

    7. อาจารย์เหรียญ วรลาโภ (มรณภาพแล้วยังไม่ประชุมเพลิง) วัดอรัญบรรพต อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

    8. อาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย (มรณภาพแล้วยังไม่ประชุมเพลิง) วัดเขาสุกิม อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี

    9. หลวงปู่หลอด ประโมทิโต วัดสิริกมลาวาส (วัดใหม่เสนานิคม) เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร

    10. หลวงปู่มหาเนียม สุวโจ วัดเจริญสมณกิจ (หลังศาลภูเก็ต ) อ.เมือง จ.ภูเก็ต

    11. หลวงปู่มหาเจิม ปัญญาพโล วัดสระมงคล อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม

    12. หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด

    13. พระอาจารย์สายทอง เตชธัมโม วัดป่าห้วยกุ่ม (ใกล้เขื่อนจุฬาภรณ์ ) อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ

    14. หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป วัดป่าประทีปปุญญาราม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร

    15. พระอาจารย์ประสิทธิ์ ปุญมากโร วัดป่าหมู่ใหม่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

    16. พระอาจารย์เลี่ยม ฐิตธัมโม วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี

    17. หลวงปู่ทา จารุธัมโม วัดถ้ำซับมืด จ.นครราชสีมา (มรณภาพแล้ว)

    18. พระอาจารย์เพียร วิริโย วัดป่าหนองกอง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

    19. อาจารย์สาย เขมธัมโม วัดป่าพรหมวิหาร อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู

    20. อาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดอรัญวิเวก อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

    21. หลวงปู่วิริยังค์ สิรินธโร วัดธรรมมงคล เขตพระโขนง จ.กรุงเทพมหานคร

    22. อาจารย์พวง สุขินทริโย วัดศรีธรรมมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร

    23. หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต วัดถ้ำกลองเพล อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู

    24. หลวงตาแตงอ่อน กัลป์ยาณธัมโม วัดป่าโชคไพศาล อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร

    25. หลวงปู่บุญหนา ธัมทินโน วัดป่าโสตถิผล อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

    26. หลวงปุ่บุญพิน กตปุญโญ วัดผาเทพนิมิตร อ.นิคมน้ำอูน จ.สกลนคร

    27. หลวงปู่ลี ฐิตธัมโม (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ) วัดเหสลึก อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

    28. หลวงปู่แปลง สุนทโร วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

    29. หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ) วัดป่าสันติกาวาส อ.ไชยวาน จ.อุดรธานี

    30. หลวงปู่จันทร์ศรี จันททีโป วัดโพธิ์สมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี

    31. พระอาจารย์ท่อน ญาณธโร วัดศรีอภัยวัน อ.เมือง จ.เลย

    32. พระอาจารย์อุ่นหล้า ฐิตธัมโม วัดป่าแก้วชุมพล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

    33. พระอาจารย์คำบ่อ ฐิตปัญโญ วัดใหม่บ้านตาล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

    34. พระอาจารย์อุทัย สิรินธโร วัดถ้ำพระ อ.เซกา จ.หนองคาย

    35. หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต สำนักสงฆ์สวนทิพย์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

    36. พระอาจรย์วิไล เขมิโย วัดถ้ำพณาช้างเผือก อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ

    37. หลวงปู่จันทา ถาวโร วัดป่าเขาน้อย อ.วังทรายพูล จ.พิจิตร

    38. อาจารย์อ่ำ ธัมกาโม วัดธุดงคสถานสันติวรญาณ อ.วังโป่ง จ.เพรชบูรณ์

    39. หลวงปู่ถวิล จ.อุดรธานี (ไม่ทราบที่อยู่และฉายาท่าน)

    40. อาจารย์อินทร์ถวาย สันตุสโก วัดป่านาคำน้อย อ.นายูง จ.อุดรธานี

    41. อาจารย์วันชัย วิจิตโต วัดภูสังโฆ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

    42. หลวงปู่มี (เกล้า) ประมุตโต วัดดอยเทพนิมิตร (วัดถ้ำเกีย ) อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

    43. อาจารย์เสน ปัญญาธโร วัดป่าหนองแซง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

    44. อาจารย์คำแพง อัตสันโต วัดป่าหนองวัวซอ (วัดบุญญานุสรณ์ ) อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

    45. พระอาจารย์ปัญญาวัฒโท (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ) วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี

    46. หลวงปู่มี (เกล้า) ประมุตโต วัดดอยเทพนิมิตร (วัดถ้ำเกีย ) อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

    47. อาจารย์เสน ปัญญาธโร วัดป่าหนองแซง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

    48. อาจารย์คำแพง อัตสันโต วัดป่าหนองวัวซอ (วัดบุญญานุสรณ์ ) อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

    49. พระอาจารย์ปัญญาวัฒโท (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ) วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี

    50. ท่านฤาษีลิงดำ (พระราชพรหมญาณ ) (ท่านมรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ ) วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี
    (หลวงปู่สิม เคยปรารภให้อาจารย์มหาบัวฟัง)

    51. หลวงปู่สังวาลย์ เขมโก จ.สุพรรณบุรี

    52. หลวงปู่วัดพระพุทธบาทตากผ้า (อันนี้หนังสือไม่ชัดครับเล่มนี้เก่ามากครับ )

    53. พระอาจารย์มหาโส กัสโป วัดป่าคำแคนเหนือ อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น

    54. หลวงปู่คำฟอง เขมจาโร (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ) วัดกุดเรือคำ อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร

    55. หลวงปู่บุญเพ็ง กัปโป วัดป่าวิเวกธรรม (วัดป่าช้าเหล่างา) อ.เมือง จ.ขอนแก่น

    56. หลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ วัดเกาะแก้วะดงคสถาน อ.บ้านด่าน จ.บุรีรัมย์

    57. คุณแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ) สำนักชีบ้านห้วยทราย อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร

    58. พระอาจารย์ทุย (ปรีดา) ฉันทกโร วัดป่าดานวิเวก อ.โซ่พิสัย จ.หนองคาย

    59. พระอาจารย์สรวง สิริปุญโญ วัดป่าศรีฐานใน อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร

    60. พระอาจารย์สาคร ธัมวุธโธ วัดป่ามณีกาญจ์ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี

    61. พระอาจารย์จันทร์โสม กิตติกาโม วัดป่านาสีดา อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี (มรณภาพแล้ว)

    62. พระอาจารย์แยง สุขกาโม วัดเจติยาคีรีวิหาร (ภูทอก) อ.ศรีวิไล จ.หนองคาย

    63. หลวงปู่แฟ็บ สุภัทโท วัดป่าดงหวาย อ.บ้านม่วง จ.สกลนคร

    64. พระอาจารย์จันทร์เรียน คุณวโร วัดถ้ำสหายธรรมจันทร์นิมิตร อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

    65. หลวงปู่ผาง โกสโล วัดภูหินแตก อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

    66. หลวงปู่หล้า เขมปัตโต (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ) วัดบนนพตคีรี (ภูจ้อก้อ) อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร

    67. ท่านพระอาจารย์สิงทอง ธัมวโร(มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ)วัดป่าแก้วชุมพล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร

    68. หลวงปู่อ่อนศรี ฐานวโร วัดถ้ำประทุน ต.เขาไม้แก้ว อ.บางละมุง จ.ชลบุรี

    69. หลวงปู่ต้น สุทธิกาโม วัดบึงพลาราม ต.บ้านว่าน อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย

    70. หลวงปู่สมศักดิ์ ปัณฑิโต วัดบูรพาราม ( วัดหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ) ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์

    71. หลวงปู่ทอง จันทสิริ วัดอโศการาม ต.ท้ายบ้าน อ.เมือง จ.สมุทรปราการ

    72. หลวงปู่ทองใบ ปภสฺสโร สำนักวิปัสสนาธุระ (ภูย่าอู่) บ.นาหลวง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

    73. หลวงปู่คูณ สุเมโธ วัดป่าภูทอง ต.บ้านผือ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

    74. พระอาจารย์ฟัก สันติธัมโมวัดพิชัยพัฒนาราม ( วัดป่าเขาน้อยสามผาน ) ต.สองพี่น้อง อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี

    75. หลวงปู่สุทัศน์ โกสโล วัดกระโจมทอง ต.วัดชลอ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี

    76. หลวงปู่อ้ม สุขกาโม วัดภูผาผึ้ง อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร

    77. ท่านพระอาจารย์สุธรรม สุธัมโม วัดป่าหนองไผ่ ต.ดงมะไฟ อ.เมือง จ.สกลนคร

    78. ท่านพระอาจารย์หลอ นาถกโรวัดถ้ำอภัยดำรงธรรม(วัดถ้ำพวง วัดพระอาจารย์วัน อุตโม) อ.ส่องดาว จ.สกลนคร

    79. หลวงพ่อทองคำ กาญวันวัณโณ วัดถ้ำบูชา อ.เซกา จ.หนองคาย

    80. หลวงปู่ถิร ฐิตธัมโม (มรณภาพแล้วอัฐิแปรเป็นพระธาตุ) วัดทิพยรัฐนิมิตร (วัดป่าบ้านจิก) อ.เมือง จ.อุดรธานี

    81. พระอาจารย์ทองอินทร์ กตปุญฺโญ วัดป่ากุง (วัดป่าประชาคมวนาราม ) อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด

    82. หลวงปู่เผย วิริโย วัดถ้ำผาปู่ ต.นาอ้อ จ.เลย

    83. หลวงปู่คำพอง ขันติโก วัดป่าอัมพวัน จ.เลย

    84. หลวงปู่อว้าน เขมโก วัดป่านาคนิมิตร อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร

    85. ท่านพระอาจารย์วิชัย เขมิโย วัดถ้ำผาจม จ.เชียงราย

    86. พระอาจารย์บุญทัน ปุญทัตโต (ท่านเพิ่งจะมรณภาพ เดือน ธค.49 ) วัดป่าสามัคคีสันติธรรม อ.ฝาง จ.ขอนแก่น

    87. หลวงปู่พิศดู ธรรมจารีย์ วัดเทพธารทอง ต.พลวง กิ่งอ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี

    88. หลวงปู่เนย สมจิตฺโต วัดป่าโนนแสนคำ บ.ทุ่งคำ ต.เจริญศิลป์ อ.เจริญศิลป์ จ.สกลนคร

    89. หลวงปู่สังข์ สังกิจโจ วัดป่าพระอาจารย์ตื้อ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

    90. ท่านพระอาจารย์อุทัย ธมฺมวโร วัดภูย่าอู่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

    91. หลวงปู่ประสาร สุมโน วัดป่าหนองไคร้ ต.หนองหิน อ.เมือง จ.ยโสธร

    ท่านเหล่านี้ หลวงตามหาบัว รับรองไว้แล้วครับ ใครใกล้ที่ใดก็สามารถไปเข้าหาได้
     
  9. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,696
    ค่าพลัง:
    +4,635
    ให้บูชาพระเครื่อง วัตถุมงคล หลากหลายรายการ ค่าจัดส่ง50บาททั่วประเทศครับรับประกันแท้ยินดีคืนเงินเต็มจำนวน โดยไม่มีเงื่อนไขครับ (พระต้องกลับมาสภาพเดิมครับ)
    ท่านที่สนใจโอนเงินได้ที่รายละเอียดที่อยู่ด้านล่าง หลังจากโอนแล้ว รบกวนโทร.หรืออีเมล์มาบอกชื่อที่อยู่สำหรับจัดส่งด้วยครับ
    ติดต่อสอบถามได้ที่
    - Pm
    - เบอร์โทร 0817933946
    ชำระเงินได้ที่
    ธ.กรุงไทย สาขา ศรีย่าน
    ชื่อบัญชี นายวรัญญูเล้ารัตนอารีย์
    เลขที่บัญชี 012-0-14398-4
     
  10. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,696
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่693 เหรียญหลวงพ่อสาย วัดท่าขนุน จ.กาญจนบุรี รุ่น ข้าวหลามตัด(รุ่นสุดท้าย) ปี 2534 สภาพสวยมาก ให้บูชา พีเอมหรือโทรถามครับ**มีผู้รับนิมนต์แล้วครับ***
    เหรียญหลวงพ่อสาย วัดท่าขนุน จ.กาญจนบุรี รุ่น ข้าวหลามตัด(รุ่นสุดท้าย) จัดสร้างปี พ.ศ. 2534 หายาก สภาพสวยมากๆ หลวงพ่อสาย(พระครูสุวรรณเสลาภรณ์) เมื่อท่านอายุได้ 32 ปี ท่านยังรับข้าราชการเป็นเจ้าหน้าที่การรถไฟ ได้ป่วยเป็นโรคฝีประคำร้อยคอ ได้รักษาตัวโดยหมอแผนโบราณและแพทย์แผนปัจจุบันก็ไม่หาย ท่านจึงเข้าไปกราบมอบตัวเป็นศิษย์ของ หลวงพ่อเดิม เจ้าอาวาส วัดหนองโพ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ท่านได้เมตตารักษาให้ จนหายขาด ทำให้หลวงพ่อสายเกิดความศรัทธา จึงขอบวช หลังจากบวชแล้ว ได้จำพรรษาและศึกษาธรรม วินัยและเวชมนต์คาถาจาก หลวงพ่อเดิมเป็นเวลา 5 พรรษา เมื่อหลวงพ่อเดิมมรณภาพแล้ว หลวงพ่อสายจึงออกธุดงค์ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_3852.JPG
      SAM_3852.JPG
      ขนาดไฟล์:
      70.9 KB
      เปิดดู:
      48
    • SAM_3854.JPG
      SAM_3854.JPG
      ขนาดไฟล์:
      67.1 KB
      เปิดดู:
      55
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ตุลาคม 2014
  11. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,696
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่694 พระผงพิมพ์พระพุทธทรงหนุมาน หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง ปี2484 ให้บูชา 500 บาท ตามสภาพครับ
    อดีตพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคมอีกรูปหนึ่งในช่วงยุคสงครามอินโดจีน องค์นี้สภาพสวยเดิมๆ ดูง่าย..พระดี-ประสบการณ์สูง..น่าบูชาครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_3863.JPG
      SAM_3863.JPG
      ขนาดไฟล์:
      70.4 KB
      เปิดดู:
      72
    • SAM_3865.JPG
      SAM_3865.JPG
      ขนาดไฟล์:
      67.1 KB
      เปิดดู:
      65
  12. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,696
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่695 เหรียญหลวงพ่อลี วัดอโศการาม ปี2527 เนื้อเงิน พร้อมเลี่ยมเงิน สภาพสวยให้บูชา พีเอมหรือโทรถามครับ**มีผู้รับนิมนต์แล้วครับ**
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_3937.JPG
      SAM_3937.JPG
      ขนาดไฟล์:
      54.9 KB
      เปิดดู:
      70
    • SAM_3939.JPG
      SAM_3939.JPG
      ขนาดไฟล์:
      52.3 KB
      เปิดดู:
      96
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กันยายน 2014
  13. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,696
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่696 รูปหล่อหลวงพ่อจั่น วัดบางมอญ จ.อยุธยา ปี2462 สภาพสวย ให้บูชา พีเอมหรือโทรถามครับ**มีผู้รับนิมนต์แล้วครับ**
    ชีวประวัติหลวงพ่อจั่น วัดบางมอญ มหาราช ในอดีตแผ่นดินทองของตำบลบางนา อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อันเป็นตำบลหนึ่งที่มีความเป็นซึ่งเต็มไปด้วยประวัติศาสตร์สลับซับซ้อนอยู่ไม่น้อยทีเดียว

    คำว่า "อยุธยา" นั้น ทุกคนย่อมรู้ว่าเป็นเมืองเก่าโบร่ำโบราณ และเคยเป็นเมืองหลวงของไทยมาแล้วสมัยหนึ่ง ความยิ่งใหญ่ไพศาลและความสมบูรณ์พูนสุข ทำให้ผู้คนในสมัยกรุงศรีอยุธยาเกิดความร่มเย็นเป็นสุข ซึ่งมีระยะเวลานานโขทีเดียว ในช่วงระยะเวลาหนึ่งของความรุ่งโรจน์ได้กลับมาเป็นร่วงโรย ก็เมื่อครั้งเสียกรุงเมื่อปี 2310 นี่เอง สิ่งที่เป็นพยานโดยประจักษ์ชัดนั้นก็คงได้แก่โบราณสถานอันสำคัญต่างๆ ในพระราชวังและซากกรุงโดยทั่วไป ซึ่งยังทิ้งความเก่ารกร้างไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้เชยชม ปูชนียวัตถุหรือโบราณวัตถุเหล่านั้นก่อให้เกิดสะท้อนทางอารมณ์ของคนไทยเราไม่น้อยเลยทีเดียว หลักฐานต่างๆ ถึงแม้จะเป็นเพียงน้อยนิด ก็ยังคงสะกิดใจของคนไทยเราอยู่จนกระทั่งทุกวันนี้

    ตำบลบางนา ในอดีตนั้นเป็นตำบลหนึ่ง ซึ่งเคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวรามัญ (มอญ) เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยานั่นชาวมอญเหล่านี้ได้มาตั้งรกรากถิ่นฐานประกอบสัมมาอาชีพที่สุดจริต โดยการปั้นหม้อดินเผา ปั้นโอ่ง ปั้นไห หม้อ กระปุก จานชาม ครก ต่างๆ ซึ่งชาวมอญมีความชำนาญมากได้มาทำการค้าขายให้กับคนไทยเราเรื่อยมา

    โดยชาวมอญ ได้อพยพเคลื่อนย้ายมาจากจังหวัดปทุมธานีบ้างและที่อื่นๆ บ้าง เพราะชาวมอญทั้งหมดมีปรากฏอยู่ทั่วๆไป เพราะชาวมอญทั้งหมดมีปรากฏอยู่ทั่วไปๆ เช่น ชาวรามัญปากลัด พระประแดงชาวรามัญหมู่บ้านบางมอญ สิงห์บุรี ชาวมอญมีนิสัยชอบค้าขายเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ประกอบกับมีความชำนิชำนาญในเรื่องของเครื่องปั้นดินเผาอยู่ก่อนแล้ว ถึงแม้ว่าการเผาอิฐก็เช่นกัน ชาวรามัญมีความถนัดมากไม่น้อยเลยทีเดียว นับเป็นอาชีพหลักที่สืบเนื่องมาจากบรรพบุรุษของเขานั่นเองการมาตั้งรกรากถิ่นฐานที่ตำบลบางนาแห่งนี้ เขาคงจะเล็งเห็นว่าเป็นตำบลที่ค่อนข้างดี เหมาะเจาะเกี่ยวกับการค้าขายและการทำไรนาบ้าง พวกเขาเหล่านั้นจึงเลือกชัยภูมิดังกล่าวในตำบลนี้เป็นที่ตั้งพื้นฐานเพื่อก่อร่างสร้างฐานะของเขา

    จากหลักฐานที่น่าจะทำให้คิดและสันนิษฐานว่าแหล่งตำบลบางนาแห่งนี้เป็นที่ตั้งของชาวรามัญนั้น มีอยู่ว่ามีเตาเผาและวัตถุอันเป็นวัสดุเกี่ยวกับดินเผา นั่นคือ หม้อ โอ่งไห ฝังจมพื้นที่ดินฝั่งลำคลองบางนาทั้งสองฝั่งฟาก ลำคลองแห่งนี้เป็นลำคลองเก่า ที่ประชาชนทั้งหลายหมู่เหล่า ได้ใช้เป็นที่สัญจร ไปมาหาสู่กันตลอดมา ครับ ยังไม่มีการชลประทาน เรือยนต์ และเรือจ้างและเรือพาย ก็เป็นปัจจัยสำคัญในครั้งนั้นอย่างมากทีเดียว

    ลำคลองบางนา เป็นลำคลองที่ให้คุณประโยชน์แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ริมฝั่งคลองโดยทั่วไป ความอุดมสมบูรณ์ได้เกิดขึ้นแก่ประชาชนผู้พักอาศัยเป็นอันมากคลองนี้เป็นคลองที่แยกมาจากลำแม่น้ำ ลพบุรี ตรงตำบลกระทุ่ม ไหลล่องใต้มาบรรจบกันกับแม่น้ำป่าสัก ซึ่งไหลมาจากสระบุรีมาบรรจบกันที่ จ.อยุธยา (คือ แม่น้ำเจ้าพระยา-ป่าสัก-ลพบุรี) การทำมาค้าขายของชาวรามัญจึงต้องอาศัยเรือเป็นเรื่องสำคัญในการขนถ่ายสินค้า หม้อดิน โอ่ง ไห ต่างๆ ไปตามลำห้วย ลำคลอง หนองบึง และที่มีประชาชนอาศัยอยู่ ด้วยเหตุที่ปักหลักในการประกอบอาชีพอย่างเป็นล่ำเป็นสันนี่เอง จึงทำให้ชาวรามัญทั้งหลายทั้งมวลสร้างวัดขึ้น เพื่อประกอบศาสนกิจตามควรอันเกี่ยวกับประเพณีนิยมขึ้น วัดที่ชาวรามัญจัดสร้างขึ้นนั้น คือ วัดบางมอญ ซึ่งอยู่ในตำบลบางนา หมู่ที่ 4 อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยานี่เอง ในสมัยโบราณชาวบ้านแถบนั้นเชื่อว่าเคยเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวรามัญอย่างแน่นอน เพราะมีสถานที่เตาเผาหม้อดิน สิ่งเหล่านี้ได้ชำรุดแตกสลายทับถมกันเป็นชั้นเชิง เนินสูงกองพะเนินอยู่ตามริมฝั่งคลองดังกล่าว ซึ่งเป็นที่เชื่อและสันนิษฐานได้ว่าเป็นแหล่งที่ชาวมอญอยู่อาศัย

    การสร้างวัดวาอารามของชาวมอญ ก็คงจะสร้างคล้ายๆ กับการสร้างวัดโดยทั่วไป ตามหลักพุทธศาสนาของเรา เพราะมีปรากฏหลายวัดที่ชาวรามัญได้ร่วมกันจัดสร้างขึ้น โดยนิมนต์พระภิกษุที่มีเชื้อสายเดียวกันเป็นสมภารเจ้าอาวาส และเชื่อเหลือเกินว่าเมื่อสร้างวัดขึ้นแล้ว ก็จะต้องตั้งชื่อหรือขนานนามวัดตามตำบลที่อยู่ ทุกคนพร้อมใจกันเรียกชื่อวัดนี้ว่า "วัดบางมอญ" ซึ่งตั้งอยู่บนริมฝั่งคลองบางมอญทางด้านทิศตะวันออก ในเขตหมู่ที่ 4 ตำบลบางนา อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วัดบางมอญหรือบางคนเรียกว่าวัดคลองมอญนี้ ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่แน่นอน พื้นที่ของวัดมีเกินกว่า 15 ไร่ ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลบ้านหลวง กิ่งอำเภอดอนพุด จ.สระบุรีทิศใต้ ติดต่อกับตำบลกระทุ่ม อ.มหาราช จ.พระนครศรีอยุธยาทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลพระนอน อ.นครหลวงทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลโรงช้าง

    1.พระอุปัชฌาย์จั่น จันทศร

    2. พระปุปัชฌาย์แหยม

    3. หลวงพ่อเชียว ธรรมโชติ

    4. หลวงพ่อเมือง

    5. หลวงพ่อพวง ธรรมปัญโญ (เย็นสุข)

    วัดบางมอญ มีสัญลักษณ์ที่บ่งบอกว่าเป็นวัดเก่าก็คือ มีโบสถ์มหาอุตแบบชาวมอญเคยสร้างเช่นที่วัดเชิงท่า ลพบุรี พร้อมทั้งเจดีย์ก็มีส่วนคล้ายกันมาก และเหมือนกับพระเจดีย์วัดอัมพวัน ซึ่งหลวงพ่อกวักก็เคยสร้างไว้ อันมีเชื้อสายเดียวกัน ปัจจุบันนี้โบสถ์ได้สร้างใหม่ (รื้อของเก่าออก) มีเสาหงส์ 2 เสา พร้อมทั้งตัวหงส์อยู่บนยอดเสาเป็นเนื้อโลหะผสม แต่ก็ได้มีขโมยลักไปเสียแล้วมองกุฏิพื้นไม้ต่างๆ ยังมีลวดลายฉลุให้ปรากฏเห็น ว่าเป็นวัดเก่าวัดหนึ่ง ในตำบลบางนาแห่งนี้ วัดบางมอญ จึงมีพวกมิจฉาชีพเข้ามาลักขโมยของดี และมีค่ากันครั้งแล้วครั้งเล่า จนกระทั่งชาวบ้านหวาดผวาไปตามๆ กัน

    วัดบางมอญ เพิ่งมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดบางสงบ เมื่อครั้งขุนบริหารชลานันท์ มาเป็นนายอำเภอมหาราชนี่เอง แต่ประชาชนทั่วๆ ไป ไม่ค่อยจะรู้จักคำว่าบางสงบมากนัก คงเรียกว่าวัดบางมอญอยู่เช่นเดิม เหตุที่เรียกว่าวัดบางสงบ หรือเปลี่ยนชื่อว่าบางสงบนั้น เพราะว่าคนแถบวัดบางมอญเองทำมาหากินกันอย่างสงบเสงี่ยมเจียมตัวไม่ค่อยมีนักเลงอันธพาล มีความร่มเย็นเป็นสุข เรียกว่าอยู่กันอย่างสันติสุข ในการประกอบอาชีพโดยทางสุจริต จะมีคนถิ่นอื่นเท่านั้นที่ไปก่อเรื่องก่อราวขึ้น ชาวบางมอญทุกคนมีความสมานสามัคคีกันดี อาชีพหลักของเขาคือการทำนา ท่านผู้ใดจะประสงค์ไปเที่ยววัดบางมอญหรือวัดบางสงบนั้นไปไม่ยากเลย เพราะปัจจุบันนี้เส้นทางสัญจรไปมา (การคมนาคม) สะดวก ถ้าท่านมาจากกรุงเทพฯโดยรถยนต์ส่วนตัว หรือไม่ก็ตาม เมื่อรถวิ่งมาตามถนนสายเอเชีย กระทั่งถึงทางแยกเข้าตัวเมืองอ่างทอง ท่านหยุดรถตรงสี่แยก แล้วมองไปทางขวามือทางด้านทิศตะวันออกจะมีถนนอีกสายหนึ่ง นั่นคือ ถนนสายอ่างทอง-ถนนสายท่าเรือ (สายยาวตัดเชื่อมกัน) จากนั้นท่านก็เลี้ยวรถวิ่งไปทางขวามือทางทิศตะวันออกประมาณ 12 กิโลเมตร จะเห็นหมู่บ้านและมีป้ายบอกชื่อวัดบางมอญ อยู่ขวามือ เลยสะพานเลี้ยวขวามือ มองไปทางทิศใต้ไม่ไกลนักประมาณสัก 1 กม. ครึ่ง ท่านจะเห็นโบสถ์วัดบางมอญเด่นสง่างามไม่น้อยทีเดียว (โบสถ์หลังใหม่) ส่วนของเก่าได้ถูกรื้อเพราะชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา

    สภาพของวัดบางมอญครั้งอดีตกับปัจจุบันแตกต่างกันมาก คือ มีของเก่าแก่มากแสดงให้เห็นว่าเคยมีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อนและวัดบางมอญนี่เองที่มีพระคณาจารย์ทีมีชื่อเสียงระบือลั่นนามก้องไปทั่วสารทิศ เกียรติคุณและกิตติศัพท์ของพระคุณท่านนั้นย่อมเป็นที่โจษขานเล่าลือกันมาตลอดไม่เสื่อมคลาย และยังเป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อกราน วัดโคกโพธิ์ จ.สระบุรี อีกด้วย ทั้งยังเป็นพระรุ่นที่หลวงพ่อกลั่น (แก่กว่าหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ 10 ปี) และแก่กว่าหลวงปู่สุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า 10 ปี เช่น กัน หลวงปู่จั่นหรือพ่อจั่น หรืออุปัชฌาย์จั่น แห่งวัดบางมอญนี้นั้น ท่านเป็นเจ้าของเหรียญหล่อรูปเหมือนอันลือลั่น ได้สร้างนามและเกียรติคุณดังขจรขจายไปทั่วสารทิศ พุทธคุณของเหรียญนั่นเป็นเลิศด้านมหาอุดและคงกระพัน มีคนทั่วไปนิยมยิ่ง(หมายถึงของแท้) แม้จะใหญ่ไปสักนิด พุทธคุณล้ำเลิศจริงๆ

    ประวัติความเป็นมาของอุปัชฌาย์จั่น ท่านเกิดที่ตำบลบางมอญ อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันจันทร์ เดือน 8 ปีกุน พ.ศ.2380 จ.ศ.1199 ร.ศ.56 ค.ศ.1837-8 โดยบิดาของท่านชื่อ ทบ โยมมารดา ชื่อ ทรัพย์ ชีวิตเมื่อครั้งเยาว์วัยได้ศึกษาเล่าเรียนเขียนอ่านอยู่กับวัด สมัยก่อนโรงเรียนหายากจึงเล่าเรียน กับพระตามวัด จนกระทั่งอ่านออกเขียนได้ ทั้งภาษาไทยและอักษรขอม ครั้นเมื่ออายุ 23 ปี (พ.ศ.2403) ญาติโยมได้ทำการอุปสมบทให้ที่วัดบางมอญนั่นเอง โดยมีพระอธิการอินทร์ วัดตาลเอน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาต่าย วัดระฆัง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์จีน วัดบางมอญ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อบวชได้รับฉายาว่า "จันทร" และได้อยู่วัดบางมอญตลอดมา ปี พ.ศ.2435 อายุได้ 55 ปี พรรษาที่ 32 ได้รับตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์บวชกุลบุตรอยู่ในเขตอำเภอมหาราช

    อุปัชฌาย์จั่น เป็นพระเถระพระคณาจารย์รุ่นเก่า มีอายุสูง พรรษาก็มาก จนได้รับเกียรติยกย่องว่า เป็นพระที่กอร์ป ด้วยคุณธรรม เมตตาธรรม อย่างสูงส่ง หลวงพ่ออุปัชฌาย์หรือหลวงพ่อจั่น ได้รับการขนานนามว่าเป็นพระผู้คงแก่เรียน และได้รับการยกย่องว่าทรงวิทยาคุณในทางไสยาศาสตร์อย่างแท้จริง คนสมัยเก่าของชาวอำเภอมหาราช ที่ยังมีชีวิตอยู่และเป็นศิษย์ของหลวงพ่อจั่นอันมี กำนันบรรจง เฉลยวาเรศ กำนันตำบลบางนา อำเภอมหาราช อยุธยา และคุณคำรณ ขำคล้อยซึ่งทั้งสองคนเล่าให้ฟังว่า แต่ก่อนมีนักเลงทุ่งมหาราช ซึ่งไม่ชอบยอมแพ้ใครง่ายๆ ถึงแม้แต่นักเลงถิ่นอื่นยังขยาดหวาดผวา ไม่กล้ามาราวีหรือต่อกรด้วย นักเลงสมัยก่อนมีเรื่องขัดใจกันมักจะนัดดวลกับแบบตัวต่อตัว หรือแบบตะลุมบอนกัน พอฝ่ายหนึ่งหัวร้างข้างแตกย่อมเป็นฝ่ายแพ้ อีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นผู้ชนะจะไม่ซ้ำเติมและไม่ปฏิบัติการทารุณต่อ แต่กลับช่วยเหลือทำให้เกิดความเข้าใจและนับถือในอาวุโสของผู้ชนะ

    อุปัชฌาย์จั่น ท่านเป็นพระแบบโบราณ ถือเคร่งในธรรมวินัย ยึดถือคำสอนของพุทธองค์ตลอดมา ท่านยึดสันโดษ ไม่โลภแต่กลับช่วยเหลือ อนุเคราะห์ผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก ดังนั้น ที่วัดของท่านจึงมีสัตว์หลายชนิดมาอาศัยท่านอยู่เป็นจำนวนมาก อุปัชฌาย์จั่นหรือหลวงพ่อจั่น ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ตั้งแต่พ่อลูกถึงหลานก็ยังมี ฉะนั้น จึงกล่าวได้โดยไม่ต้องสงสัยว่า ชาวทุ่งมหาราช ยุคก่อนต้องเป็นศิษย์ของท่าน กันแทบทั้งนั้น

    หลวงพ่อจั่น เป็นพระนักปฏิบัติ คือ ยึดสมถะและวิปัสสนาธุระ แม้ว่าท่านจะมรณภาพมาเป็นนานถึง 61 ปีมาแล้วก็ตาม แต่ตำรับตำราของหลวงพ่อท่านได้มอบให้เป็นสมบัติของวัดเป็นหลักฐานประการสำคัญว่า หลวงพ่อเป็นพระที่ศึกษาค้นคว้าวิทยาการความรู้ ตลอดจนเทิดทูนวิชาการทุกแขนงที่ได้ศึกษามา นอกจากนี้ ยังเป็นการช่วยเหลืออนุชนรุ่นหลังได้มีตำราเก่าๆ ไว้ศึกษาหาความรู้ นับได้ว่าหลวงพ่อท่านมองเห็นการณ์ไกล จึงรักษาสมบัติอันมีค่าและควรจะต้องถือเป็นแบบฉบับต่อไปในอนาคต

    หลวงพ่อจั่นท่านเป็นพระที่มีอัชฌาศัยสมถะ มักน้อย เป็นผู้มีเมตตาธรรมและจำใจ มีศีลาจาราวัตรเคร่งครัด ต่อพระธรรมวินัย ท่านได้ปฏิบัติสมณธรรมอันควรแก่สมณะเป็นอย่างยิ่ง จนเป็นที่เลื่อมใสศรัทธา ของบรรพชิตและฆราวาสทั่วๆ ไป พยายามอมรมบ่มนิสัยให้พระเณรทุกรูปทุกนามปฏิบัติตนให้อยู่ธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด โดยยกเอาอุทาหรณ์และคำสั่งสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่ตั้ง พร้อมทั้งสั่งสอนประชาชน ในแถบถิ่นใกล้ ไกลวัด ว่าให้ทุกคนประพฤติดีมีศีลธรรมประจำใจ จะทำสิ่งใดอย่ามัวรีรอ หลวงพ่อเป็นพระที่มีจิตใจมั่นคงในการที่จะทะนุบำรุงพระศาสนาด้วยความมุ่งมั่นเป็นเอก การเอาใจใส่ดูแลวัดวาอารามของท่านด้วยความมุมานะนี่เอง จึงทำให้วัดบางมอญในสมัยที่ท่านมีชีวิตอยู่เจริญรุ่งเรืองมากวัดหนึ่ง ในแถบถิ่นตำบลบางนา เป็นวัดที่ใหญ่โต ทั้งกุฏิ ศาลาการเปรียญโรงเรียน

    หลวงพ่อจั่น เป็นพระเถรคณาจารย์สมัยเก่า สูงด้วยอายุ มากด้วยพรรษา และได้รับเกียรติยกย่องว่า เป็นพระที่มีคุณธรรมและเมตตาธรรมอันสูงส่ง เหรียญของท่านถึงแม้จะสร้างมานานเกินกว่า 67 ปีแล้วก็ตาม ยังมีผู้นิยมเลื่อมใสศรัทธากันอยู่มาก และเป็นเหรียญหนึ่งที่ชาวอยุธยาทั้งมวลภูมิใจ ยิ่งว่าเป็นเหรียญขลังที่มีอันดับเหรียญหนึ่งเดียว

    อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเหรียญหลวงพ่อมีขนาดค่อนข้างใหญ่ จึงทำให้ความนิยมลดลงไปบ้าง แต่ถ้าพูดถึงกิตติคุณในวัตถุมงคลของท่านแล้ว ประชาชนคนทั่วไปยังศรัทธาเลื่อมใสกันอยู่ไม่น้อย ถึงแม้ว่าว่าเหรียญของท่านจะไม่เด่น ขาดความงามไปบ้าง แต่ก็ปรากฏว่ามีของปลอมออกระบาดไปทั่ว แสดงถึงว่าเหรียญของท่านต้องดีจริง จึงมีผู้ทุจริตปลอมแปลง (ถ้าไม่ดีคงไม่มีคนปลอม) อนึ่งเหรียญของหลวงพ่อที่แท้จริงนั้นดูง่าย เพราะหล่อในสภาพที่เรียบร้อย จึงแตกต่างกับของปลอมอย่างเห็นได้ชัด

    หลวงพ่อจั่นหรืออุปัชฌาย์จั่น เป็นพระเถระที่มีศีลาจาวัตรครบถ้วน การปฏิบัติธรรมวินัยระเบียบแบบแผน ท่านก็เคร่งครัด เมื่อผู้ใดพบเห็นก็ชวนให้เคารพนับถือกราบไหว้ มาพบท่านครั้งหนึ่งก็พยายามมาหาท่านอีกเป็นครั้งที่ 2-3

    หลวงพ่อได้บำเพ็ญศาสนกิจด้วยคุณงามความดีมาตลอดชีวิตของท่าน กระทั่งถึงวันอาทิตย์แรม 3 ค่ำ เดือน 3 ปีเถาะ เวลาบ่าย 4 โมง ตรงกับวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2470 ท่านได้ถึงกาลมรณภาพ นับสิริอายุครบ 90 ปี (67 พรรษา) บริบูรณ์ นับได้ว่าชาวอำเภอมหาราชได้สูญเสียพระเถระพระอาจารย์ผู้เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรไปอย่างน่าเสียดาย

    อนึ่งในงานพิธี ฌาปนกิจศพหลวงพ่ออุปัชฌาย์จั่นนั้น ปรากฏว่าบรรดาศิษย์และท่านที่เคารพเลื่อมใสต่างมาร่วมพิธีกันอย่างคับคั่ง แม้วัดบางสงบจะกว้างต่างก็ต้องแออัดไปด้วยผู้คนเพราะใครๆ ก็เคารพเลื่อมใสและศรัทธา จึงได้มาร่วมพิธีกับอย่างคับคั่ง สรุปพระอุปัชฌาย์จั่นหรือที่ทุกคนเรียกว่าหลวงพ่อจั่น ท่านได้รับการยกย่องพิเศษสุด 3 ประการด้วยกัน คือ

    1.ท่านเคร่งในการปฏิบัติธรรม

    2. อมรมสั่งสอนกุลบุตร-ธิดา ให้มีความรู้

    3. ให้ความอนุเคราะห์ช่วยเหลือ

    จนกระทั่งได้รับการขนานนามว่าหลวงปู่พระผู้ทรงคุณธรรมและกอร์ปด้วยเมตตาบารมี สมกับเป็นปูชนียบุคคลที่ควรสักการะเคารพยกย่องอย่างแท้จริง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_3931.JPG
      SAM_3931.JPG
      ขนาดไฟล์:
      97.8 KB
      เปิดดู:
      57
    • SAM_3932.JPG
      SAM_3932.JPG
      ขนาดไฟล์:
      99 KB
      เปิดดู:
      138
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กันยายน 2014
  14. เก้าช่อง

    เก้าช่อง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    917
    ค่าพลัง:
    +3,059
    จองบูชารายการนี้ครับ
     
  15. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,696
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รับทราบการจองครับ โอนแล้วแจ้งด้วยครับ
     
  16. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,696
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่697 เหรียญ หลวงพ่อคง วัดเขาสมโภชน์ จ.ลพบุรี พ.ศ.2538 ให้บูชาที่ 200 บาท
    หลวงพ่อคง จตฺตมโล มีนามเดิมว่า คง บุญเอก เกิดเมื่อ พ.ศ. 2456 ทที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา บิดาชื่อ ดี มารดาชื่อ แจ้ง อาชีพทำนาทำไร่ ท่านเป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวนพี่น้อง 9 คน
    อายุครบ 20 ปี จึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่ 3 พรรษา แล้วลาสิขาจากเพศบรรพชิตออกไปแต่งงานมีครอบครัว มีบุตรธิดา 7 คน
    ต่อมาปี พ.ศ. 2504 ได้ปฏิบัติธรรมเจริญวิปัสสนากรรมฐานกับพระมหาธนิต ปญญาปสุโต ปธ.9 นักวิปัสสนาจารย์ชื่อดังที่วัดบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา เป็นเวลาถึง 7 ปี จึงได้อุปสมบทอีกครั้งที่วัดบัวใหญ่นี้ เมื่อวันที่ 12 เพื่อพฤษภาคม พ.ศ. 2511 โดยมีพระปทุมญาณมุนี วัดบัวใหญ่ เป็นพระอุปชฌาย์
    ต่อมาปี 2516 หลวงพ่อได้ออกธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพรเรื่อยมาจนถึงป่าใหญ่ เหมาะสำหรับปฏิบัติธรรมเจริญภาวนากรรมฐาน จึงได้เข้าไปอาศัยอยู่ในถ้ำพระอรหันต์ ตามนิมิตและได้ทำการเจริญจิตภาวนา ณ สถานที่วิเวกแห่งนั้นเรื่อยมาจนมรณภาพเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2536 ณ โรงพยาบาลศิริราช สิริอายุรวม 80 ปี 9 เดือน 3 วัน 26 พรรษา
    สถานที่ปฏิบัติธรรมที่หลวงพ่อคง ธุดงค์มาพบตามนิมิตนั้น ก็คือ วัดเขาสมโภชน์ ในปัจจุบันนี้นั่นเอง
    หลวงพ่อท่านเก่งทางด้านวิปัสสนากรรมฐาน มีผู้เคารพนับถือมากมาย ปัจจุบันวัดเขาสมโภชน์ เป็นสถานที่สำหรับปฏิบัติรรมที่มีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่งในประเทศไทย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_3958.JPG
      SAM_3958.JPG
      ขนาดไฟล์:
      112.6 KB
      เปิดดู:
      86
    • SAM_3960.JPG
      SAM_3960.JPG
      ขนาดไฟล์:
      97.5 KB
      เปิดดู:
      33
  17. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,696
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่698 พระปิดตา หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง หลวงตาวาสปลุกเสก สภาพสวย ให้บูชา 300 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_3963.JPG
      SAM_3963.JPG
      ขนาดไฟล์:
      68.5 KB
      เปิดดู:
      123
    • SAM_3962.JPG
      SAM_3962.JPG
      ขนาดไฟล์:
      71 KB
      เปิดดู:
      52
  18. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,696
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่699 พระกรุวัดเจ้ามูล.พิมพ์เล็บมือเข่าห่างข้างรัศมีเนื้อผงว่านสบู่เลือดหลังยันต์.มะอะอุ. สภาพสวย ให้บูชา 800 บาท
    ***มีผู้รับนิมนต์แล้วครับ***

    พระเครื่องกรุวัดเจ้ามูล 'หลวงปู่ศุข'อธิษฐานเสก (จบ)
    มุมพระเก่า
    อภิญญา
    เท่าที่มีการสอบถามจากผู้รู้ เช่น ท่านเจ้าอาวาสวัดเจ้ามูล รวมถึงผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ตอนเปิดกรุ ต่างลงความเห็นว่า "พระกรุวัดเจ้ามูล" สร้างในราวปีพ.ศ.2460-2465 โดยได้รับอิทธิพลการสร้างจากพระพิมพ์ประภามณฑลข้างรัศมีของ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท และผสมผสานกับพระพิมพ์เล็บมือของ "พระวิสุทธิสารเถร" หรือ "หลวงพ่อผ่อง" อดีตเจ้าอาวาสวัดคูหาสวรรค์ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพ มหานคร ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดเจ้ามูลมากนัก รูปแบบและเนื้อหาของพระจึงมีความเก่าใกล้เคียงกันกับพระเล็บมือของวัดคูหาสวรรค์ กรุงเทพฯ

    ตามประวัติ พระกรุวัดเจ้ามูล สร้างโดย "พระอธิการเพ็ง" เจ้าอาวาสรูปที่ 5 ของวัดเจ้ามูลและในครั้งนั้นได้มีการนิมนต์ "หลวงปู่ศุข" วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท ในคราวที่ท่านมาร่วมปลุกเสก "พระนาคปรกใบมะขาม" ที่วัดอนงคาราม มาเป็นประธานในการปลุกเสก และยังได้นิมนต์หลวงพ่อผ่อง วัดคูหาสวรรค์ ผู้สร้างพระเล็บมือ ซึ่งมีความสนิทสนมเป็นพระสหธรรมิกกันกับพระอธิการเพ็ง วัดเจ้ามูล มาร่วมปลุกเสกด้วย

    พระกรุวัดเจ้ามูลมีด้วยกันหลายพิมพ์ทรง 1.พิมพ์เล็บมือข้างรัศมี พิมพ์นี้ถือเป็นพิมพ์นิยมสากล เนื่องจากเป็นพระที่มีการค้นพบเป็นจำนวนมาก และมีการหมุนเวียนในสนามพระให้เห็นบ่อยๆ ซึ่งเนื้อพระที่พบมีด้วยกัน 2 สีได้แก่ "เนื้อขาว" ซึ่งถือว่าเป็นเนื้อที่ค่อนข้างหาได้ยาก เป็นเนื้อที่ขึ้นจากกรุน้อย เนื้อหามวลสารหลัก เป็นผงพุทธคุณ ผสมกับมวลสารศักดิ์สิทธิ์ บางท่านว่ามีส่วนผสมของผงสมเด็จวัดระฆังและพระกรุวัดพลับอีกด้วย ด้านหลังมีการจารอักขระยันต์ เป็นตัว "อุ" มีด้วยกัน 3 พิมพ์ เท่าที่พบมีพิมพ์เล็บมือข้างรัศมี เนื้อขาวหลังยันต์อุใหญ่ พิมพ์เล็บมือข้างรัศมีเนื้อขาวหลังยันต์อุเล็ก พิมพ์เล็บมือข้างรัศมีเนื้อขาวพิมพ์พิเศษ หลังจารดินสอ



    "เนื้อว่านสบู่เลือด" เป็นพิมพ์ที่พบจำนวนมากและมีหมุนเวียนในสนามพระค่อนข้างมาก มีส่วนผสมหลักในการสร้างได้แก่ ปูน (ที่กินกับหมาก) ว่านสบู่เลือก และผงพุทธคุณ พิมพ์ที่พบมี 1.พิมพ์เล็บมือข้างรัศมีเนื้อว่าน พิมพ์หัวเข่าชิด หลังยันต์อุ 2.พิมพ์เล็บมือข้างรัศมีเนื้อว่าน พิมพ์หัวเข่าห่าง หลังยันต์ 3.พิมพ์เล็บมือข้างรัศมีเนื้อว่าน พิมพ์หัวเข่าชิด หลังยันต์ มะอะอุ 4.พิมพ์เล็บมือข้างรัศมีเนื้อว่าน พิมพ์หัวเข่าห่าง หลังยันต์มะอะอุ

    2.พิมพ์สามเหลี่ยม หรือพิมพ์นางพญา จะพบเห็นได้น้อยกว่าแบบพิมพ์เล็บมือข้างรัศมี มีด้วยกันสองเนื้อคือเนื้อขาวและเนื้อแดง พิมพ์ที่พบได้แก่ พระกรุวัดเจ้ามูลพิมพ์สามเหลี่ยม เนื้อขาว หลังจารยันต์อุ พระกรุวัดเจ้ามูลพิมพ์สามเหลี่ยม เนื้อว่านสบู่เลือด หลังจารยันต์อุ พระกรุวัดเจ้ามูลพิมพ์สามเหลี่ยม เนื้อขาว หลังเรียบ (ไม่จารอักขระ) 3.พิมพ์กำแพงนิ้ว เนื้อว่านสบู่เลือด หลังยันต์ พิมพ์นี้เป็นพิมพ์ที่หาได้ค่อนข้างยากมีจำนวนน้อยที่พบในกรุ และเท่าที่พบจะพบเนื้อว่านสบู่เลือดเท่านั้น 4.พิมพ์สีวลี เนื้อว่านสบู่เลือด หลังยันต์ พิมพ์นี้ ก็เป็นอีกพิมพ์ที่พบเห็นได้ยาก พระมีจำนวนน้อยที่ออกจากกรุพิมพ์

    พระกรุวัดเจ้ามูลทุกพิมพ์ทุกเนื้อ เล่นหาได้สบายใจ คือยังไม่พบว่ามีของเก๊ แถมราคาก็ไม่สูงมากนัก เมื่อเทียบกับความศักดิ์สิทธิ์เข้มขลังจากพลังคาถาอาคมของพระคณาจารย์ผู้อธิษฐานจิตปลุกเสก มีชื่อแค่ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า องค์เดียวก็เอาอยู่แล้ว
    เมตตามหานิยมและโชคลาภสุดยอด
    ที่มา นสพ.ข่าวสด
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_3956.JPG
      SAM_3956.JPG
      ขนาดไฟล์:
      91.6 KB
      เปิดดู:
      79
    • SAM_3955.JPG
      SAM_3955.JPG
      ขนาดไฟล์:
      90.1 KB
      เปิดดู:
      58
    • SAM_3965.JPG
      SAM_3965.JPG
      ขนาดไฟล์:
      121.2 KB
      เปิดดู:
      49
    • SAM_3966.JPG
      SAM_3966.JPG
      ขนาดไฟล์:
      89.8 KB
      เปิดดู:
      53
    • SAM_3967.JPG
      SAM_3967.JPG
      ขนาดไฟล์:
      104.5 KB
      เปิดดู:
      34
    • SAM_3968.JPG
      SAM_3968.JPG
      ขนาดไฟล์:
      103.8 KB
      เปิดดู:
      91
    • SAM_3969.JPG
      SAM_3969.JPG
      ขนาดไฟล์:
      101.1 KB
      เปิดดู:
      44
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤศจิกายน 2014
  19. เก้าช่อง

    เก้าช่อง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    917
    ค่าพลัง:
    +3,059
    พระหลวงตาจวน วัดไก่เตี้ย

    แจ้งโอนเงินบูชา
    เมื่อวันที่ 22/09/2014 เวลา 12.33 น. จำนวนเงิน 350 บาท

    ขอบคุณมากครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,696
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รับทราบครับ จัดส่งให้ครับ
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...