วิธีเป็นอริยะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย bigtoo, 7 กันยายน 2015.

  1. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    อึมพระองค์ก็กล่าวไว้ว่าวิธีตรวจสอบตนด้วยตนเอง. คุณว่าเป็นสักกายทิฎฐิก็ไม่ว่ากันคนเรามีความคิดเป็นของตนเอง. แต่ไม่ใช่ความคิดของพระพุทธเจ้า.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กันยายน 2015
  2. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424

    ทีหลักกาลามสูตรไม่พากันปฏิบัติตาม เอาไปทิ้งไหนหมดหนอ
    อย่าเอาแต่เป็นใบลานเปล่าเด้อ แม้เป็นใบลานเปล่า
    ก็ขอให้เหมือนท่านพระใบลานเปล่าในครั้งพุทธกาลเถิด
    เพราะในที่สุด ท่านก็ลดทิฏฐิมานะลงได้ และบรรลุธรรมได้ในที่สุด
    เอาเป็นว่า ไม่มีใครดับทุกข์แทนใครได้ กิเลสใครกิเลสมัน
    ทุกข์เกิดที่ใคร คนนั้นต้องดับทุกข์เอง
     
  3. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    หลักกาลามสูตรก็ของพระพุทธเจ้า. ที่ละได้อยู่ทุกวันนี้ก็เพราะหลักกาลามสูตรไงล่ะ. พวกที่ละไม่ได้จึงควรศึกษาดีๆทำอะไรอยู่. อย่าเสียเวลาอยู่เลย. สามาตรวจสอบเองได้นะพุทธวจน. ส่วนเรื่องดับทุกข์บอกไปแล้วพระองค์เก่งขนาดไหนท่านก็เป็นเพียงผู้บอกทาง
     
  4. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014





    การจะได้ พระโสดาบัน อย่างง่ายๆ นั้น ยังมีอยู่
    แต่จะต้อง ฝึกโดยตรงกับ อาจารย์ที่บรรลุแล้วเท่านั้น
    เพราะ อาจารย์ ที่เป็นโสดาบันขึ้นไป เท่านั้น
    จึงจะสามารถเข้าใจ จิตใจของลูกศิษย์ ได้ดีกว่าคนอื่น แน่นอน
    หากคุณยังไม่มีอาจารย์ที่บรรลุแล้ว
    ก็หมดสิทธิ์ ที่จะหวัง ทางง่ายๆ สายนี้


    ที่เหลือ ก็คงจะมีแต่ ทางที่ยากๆ เท่านั้น
    คือ ต้องบรรลุด้วยตัวเอง ไม่ต้องมีอาจารย์โดยตรง ก็ได้
    ใช้แต่เพียงคำสอนของพระอริยะ ที่ได้สดับรับฟังมา
    เพื่อเป็นแนวทาง ในการปฏิบัติ ก็พอ
    ที่เหลือ คือการฝึกฝนด้วยตนเองล้วนๆ ก็คือ


    การเตือนตน ของตน ให้พ้นผิด
    ตนเตือนจิต ตนได้ ใครจะเหมือน
    ตนเตือนตน ไม่ได้ ใครจะเตือน
    อย่าแชเชือน เตือนตน ให้พ้นภัย คือ วัฏฏะ
    โดยการเตือนตนนี้ คือ หลักการขั้น จิตในจิต นั้นเอง
    ทรงอยู่ได้ทั้งวัน สามารถ บรรลุถึง พระอนาคามีผล

    ต่อไป
    ทางยากๆ ขั้นต่อไป คือ ต้องมีฤทธิ์ จนถึงขั้น
    เล่นฤทธ์ได้ กระจายฤทธิ์เป็น กระเซ็นฤทธิ์ถูก
    คือ ต้องมีอภิญญา นั่นเอง
    หากเป็นพวกที่ได้ญานสี่ อย่างเดียว
    ก็ยังถือว่า ใช้ไม่ได้ เพราะยังไม่รู้จักการอธิษฐานฤทธิ์
    หากต้องทำ วิปัสสนาญาน หรือ เจริญวิปัสสนา
    จิตของผู้ที่ได้ ญานสี่ธรรมดา
    จ้องแต่ จะเข้าญาน อย่างเดียว
    ไม่ค่อยออกมาพิจารณาธรรม หรือ ไตรลักษณ์


    ขั้นต่อไป คือ
    ต้องเป็นผู้ที่รู้เรื่อง พระไตรปิฏก พอสมควร
    สามารถแยกแยะได้ว่า สิ่งใดคือรูป, สิ่งใดคือนาม,
    สิ่งใดคือสิ่งที่มากระทบ, และ สิ่งใดคือการปรุงแต่ง,
    สิ่งใดคือการวางจิต เมื่อรู้ว่า ขณะนี้เราปรุงแต่งอยู่,
    ต้องแยกแยะได้ว่า ธรรมที่ได้สดับรับฟัง มานั้น
    อยู่ในพระไตรปิฏก หมวดไหน ข้อไหน
    โดยจะต้องรู้ว่า
    กล่าวถึงอะไร ใครกล่าว และ กล่าวบอกใคร


    ขั้นต่อไป ต้องศึกษาเรื่องมรรค 8
    ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ จนถึงขั้น
    ที่เรียกว่า อาจารย์ในใจตน คือ เตือนตนเองได้
    เพราะในขณะที่ จะต้องเจริญวิปัสสนา นั้น
    จะเกิดคำถามมากมาย ในเรื่องมรรค
    แบ่งเป็นโดยหลักๆ ดังนี้ เช่น
    จะมีคำถามในใจของเราว่า
    มรรคที่เราเจริญอยู่นี้ มันจะถูกต้องหรือไม่,
    มรรคที่เราทำอยู่ มันด่างพร้อยไหม,
    มรรคที่เราเจริญอยู่ ทำไมมันดูไม่ถูกต้องตามหลักการเลย,
    มรรคทีเราทำอยู่ ทำไม ทำได้น้อยกว่าคนอื่น,
    วิธีเจริญมรรคที่แท้จริง ต้องเริ่มจากข้อไหนก่อน,
    การทรงมรรคที่ถูกวิธี นั้น เป็นอย่างไรหนอ,
    เมื่อมีคำถามเหล่านี้เกิดขึ้น
    จิตของเรา หรือ อาจารย์ในใจเรา
    จะต้องตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้
    หากตอบไม่ได้ หนทางก็ยังดูมืดมนอยู่
    แต่ถ้าหากว่า ท่านมีพระอริยะสงฆ์ เป็นอาจารย์
    ท่านก็จะสามารถ ถามโดยตรงเรื่องมรรค
    กับอาจารย์ของท่าน ได้ทันที
    จะไม่ติดขัด ในเรื่องมรรคแน่นอน

    ต่อไป
    ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ในเรื่อง โสดาปัตติผล บ้างพอสมควร
    โดยจะต้องรู้ว่า หากเจริญวิปัสสนาแล้ว
    ผลของมันคือ ได้อะไร ได้อย่างไร ได้แล้วเป็นยังไง
    จะต้องศึกษาเรื่อง สังโยชน์ และการละสังโยชน์ ให้ละเอียด
    ซึ่งอยู่ในหัวข้อนี้


    ต่อไป
    ฝึก มหาสติปัฏฐานสี่ ประการ คือ
    กาย, เวทนา, จิต, และ ธรรม,
    หรือ กายในกาย, เวทนาในเวทนา, จิตในจิต, และ ธรรมในธรรม,
    โดยส่วนใหญู่ ผู้ที่ไม่มีอาจารย์โดยตรง
    จะต้องฝึกเฉพาะ กาย หรือ กายในกาย สายเดียวเท่านั้น
    สายอื่นบรรลุยาก เสียเวลานาน
    เพราะไม่มี อาจารย์ คอยบอกสอน
    กายในกาย จึงเป็นสายตรง เร็ว และแรงที่สุด
    โดยการพิจารณาเนื่องๆ ว่า กายนี้ไม่เที่ยง
    หรือ กายนี้เป็นทุกข์ หรือ กายนี้ไม่มีอยู่จริงเป็นสิ่งสมมุติ เท่านั้น
    เมื่อพิจารณาอยู่ ก็จะต้อง ยกจิต มารู้เท่าทันให้ได้ว่า
    กายนี้ไม่เที่ยง คือ ไม่เที่ยงอย่างไร
    กายนี้เป็นทุกข์ คือ เป็นทุกข์อย่างไร
    กายนี้ไม่มีตัวตน คือ ไม่มีตัวตนแบบไหน
    ไม่ใช่ ท่องเอา เป็นนกแก้วนกขุนทอง เท่านั้น
    จะต้องคิดตามด้วย จึงจะเรียกว่า การเจริญสิ่งนั้นสิ่งนี้
    หากสามารถ ทรงสติปัฏฐาน ได้ถึง 50 วันโดยประมาณ
    โดยไม่ให้ขาดแม้แต่เสี้ยววินาที อย่างนี้ จะเรียก บรรลุพระอรหันต์
    หากทรงได้น้อยกว่านั้น
    ก็ให้ไปเทียบเอาตาม สังโยชน์ 10
    หากตัดได้ สามข้อแรก ก็บรรลุ โสดาปัตติผล แล้ว

    เมื่ิอได้ โสดาบัน หรือ โสดาปัตติผลแล้ว
    ก็จะเกิด ความมั่นใจ ในการปฏิบัติ
    จะปลื้มปิติ จนน้ำหูน้ำตาไหล,
    ดีใจที่ว่า โอ้หนอ เราทำมาถูกทางแล้วหนอ,
    ที่เราทำ บรรลุผลแล้วหนอ,
    การบรรลุนั้น มันช่างง่ายดายอย่างนี้หนอ แต่เรากลับทำไม่ถุกซักที,
    แม้บางที จะทำได้ถูกต้องแล้ว แต่เรากลับขาดความเพียรนี่เอง,
    ธรรมที่เราบรรลุ ช่างอัศจรรย์หนอ,
    หนทางของเรา เปิดแล้วหนอ,
    ภพชาติของเรา แน่นอนแล้วหนอ,

    ต่อไปให้ ตั้ง สังโยชน์ เป็นหลัก
    แล้วฝึกตัดสังโยชน์ ตามข้อนั้นๆ
    ก็จะบรรลุ สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ ได้ตามลำดับขั้น
    เพราะไม่มีอาจารย์ คอยสั่งสอนโดยตรง
    จึงจะลัดขั้นตอนไม่ได้ ต้องฝึกเป็นชั้นๆ ไป เท่านั้น
    ห้ามคิดเดินทางลัดเด็ดขาด จะเสียเวลาโดยใช่เหตุ
    เพราะการฝึกข้ามขั้นตอนนั้น
    จะไม่ตรงกับ จริตของเราที่บรรลุธรรมอยู่
    เช่น จิตของพระโสดาบัน จะไม่สามารถเข้าใจ ขั้นพระอนาคามีได้
    จะเข้าใจได้ แต่ขั้น พระสกิทาคามี เท่านั้น
    อย่างนี้เป็นต้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 กันยายน 2015
  5. hitman

    hitman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    142
    ค่าพลัง:
    +439
    ขอบพระคุณมากครับ nilakarn
     
  6. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    5อย่างนั้นมีอันไหนที่ไม่ทำบ้างมั้ยครับ
     
  7. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    แล้วเรื่องที่ผมเขียนไว้เป็นหัวข้อเรื่อง. เลิกได้มั้ยครับเช่น. รดน้ำมนต์. แขวนพระเครื่อง. ฯแบบนี้ทำอยู่มั้ย
     
  8. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,750
    ค่าพลัง:
    +1,919
    เอาไรมาเป็นตัวกำหนดเกณท์วัดอีกละเนี่ย
    (อีกหน่อยจะไปไกลถึงขนาด ทำใบรับรอง ใบประกาศ ความเป็นอริยะ เป็นคอร์สเรียนหรือแจกมั้ยนี่ )

    ถ้าแบบนี้เด็กเกิดใหม่ หรือคนศาสนาอื่น ก็มีสิทธิ์เป็นได้ มากกว่าชาวพุทธซิครับ ??
    เพราะไม่รู้เรื่องอะไร และไม่มามัวสนใจเรื่องพวกนี้
     
  9. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    คำว่ามิสิทธิ์นี่คุณน่าจะเข้าใจนะครับ. ผมเผื่อไว้สำหรับคนที่เคยยึดติดสิ่งเหล่านี้แล้วละได้. มีใครสักคนมั้ยที่จะละได้. หายากนะ. ส่วนฝรั่งมันไม่เชื่อนั้นมันมีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว. ถ้าเขามีโอกาสได้ศึกษาธรรมะที่ถูกต้อง
     
  10. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ใช่แล้วครับ. ยังมีอะไรอีเเยอะ. นี่แค่เซริฟๆ
     
  11. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,750
    ค่าพลัง:
    +1,919
    หาไม่ยากหรอกสังคมสมัยนี้
    แล้วถ้าทำ ยังทำอยู่ = หมดสิทธิ์เลยหรือยังไง

    แต่ดูๆแล้ว ตรรกะ แบบนี้ ถ้าจะให้เปรียบเทียบแรงๆ แบบเห็นภาพชัด
    ก็เหมือนกับพวก ไม่กินเนื้อ แล้วคิดว่าตัวเองดี ประเสริฐ เหนือกว่าคนอื่น มีคุณธรรมมากว่า มีโอกาสมากกว่าคนอื่นทำนองนี้ กลับกันสัตว์บางจำพวกกินพืชตลอดอายุ ไม่เห็นจะบรรลุอะไรเลย
     
  12. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ศาสนาพุทธนี่เป็นศาสนาที่เปิดทางให้คนหลงผิดตลอดเพียงเลิกทำสิ่งผิดหันมาทำสิ่งที่ถูกก็สำเร็จได้. แต่ถ้ายังมืดบอดอยู่ย่อมไม่มีทาง. กิจเหล่านั้นที่ผมยกตัวอย่างมาเป็นเรื่องของความเห็นผิด. ผู้ใดกระทำอยู่ย่อมเข้าสู่สมตนิยามแห่งความถูกต้องไม่ได้. เพียงแค่เลิกทำ ง่ายนิดเดียว
     
  13. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,750
    ค่าพลัง:
    +1,919
    เซริฟๆ ?
    สงสัยจริงๆ แล้วถ้าแบบจัดเต็มจะเป็นแบบไหนครับเนี่ย
     
  14. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    จัดเต็มศิลห้าต้องบริสุทธิ์ด้วยเจตนา ต้องถึงไตรสรณคมณ์ เรียนรู้ปฎิจสมุปบาท ญานวัตถุ44และ77 มีกัมมัสสกตาญาน มือชุ่มด้วยการให้
     
  15. ขง

    ขง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    188
    ค่าพลัง:
    +676
    ญานวัตถุ44และ77 มีกัมมัสสกตาญาน

    คืออะไรครับผมไม่เข้าใจ อธิบายหน่อย
     
  16. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    raponsan:
    ผู้ รู้ ปฏิ จจ สมุป บาท แต่ละ สาย โดย นัย อริย สัจ สี่
    ทั้ง ปัจจุบัน อดีต อนาคต ชื่อ ว่า โสดา บัน ( ญาณ วัตถุ ๔๔ )

    ดู ก่อน ภิกษุ ทั้ง หลาย ! เรา จัก แสดง ซึ่ง ญาณ วัตถุ(๒) ๔๔ อย่าง แก่ พวก เธอ ทั้ง หลาย . พวก เธอ ทั้ง หลาย จง ฟัง ข้อความ นั้น จง กระทำ ใน ใจ ให้ สำเร็จ ประโยชน์ , เรา จัก กล่าว บัดนี้ . ครั้น ภิกษุ ทั้ง หลาย เหล่า นั้น ทูล รับ สนอง พระพุทธ ดำรัส แล้ว พระ ผู้ มี พระ ภาค เจ้า ได้ ตรัส ถ้อยคำ เหล่า นี้ ว่า : -

    ดู ก่อน ภิกษุ ทั้ง หลาย ! ก็ ญาณ วัตถุ ๔๔ อย่าง เป็น อย่างไร เล่า ? ญาณ วัตถุ ๔๔ อย่าง คือ : -

    ( หมวด ๑ ) ๑ . ญาณ คือ ความ รู้ ใน ชรา มรณะ ;
    ๒ . ญาณ คือ ความ รู้ ใน เหตุ ให้ เกิด ขึ้น แห่ง ชรา มรณะ ;
    ๓ . ญาณ คือ ความ รู้ ใน ความ ดับ ไม่ เหลือ แห่ง ชรา มรณะ ;
    ๔ . ญาณ คือ ความ รู้ ใน ข้อ ปฏิบัติ เครื่องทำ สัตว์ ให้ ลุ ถึง ความ ดับ ไม่ เหลือ แห่ง ชรา มรณะ ;

    (๒ ) ญาณ วัตถุ แปล ว่า สิ่ง ซึ่ง เป็น ที่ กำหนด พิจารณา ของ ญาณ ญาณ กำหนด พิจารณา สิ่ง ใด สิ่ง นั้น เรียก ว่า ญาณ วัตถุ เฉพาะ ใน กรณี นี้ หมาย ถึง อาการ ๔ อย่าง ๆ ของ ปฏิจจ สมุป บาท แต่ละ อาการ ซึ่ง มี อยู่ ๑๑ อาการ ; ดัง นั้น จึง เรียก ว่า ญาณ วัตถุ ๔๔ .

    ( หมวด ๒ ) ๑ . ญาณ คือ ความ รู้ ใน ชาติ ;
    ๒ . ญาณ คือ ความ รู้ ใน เหตุ ให้ เกิด ขึ้น แห่ง ชาติ ;
    ๓ . ญาณ คือ ความ รู้ ใน ความ ดับ ไม่ เหลือ แห่ง ชาติ ;
    ๔ . ญาณ คือ ความ รู้ ใน ข้อ ปฏิบัติ เครื่อง ทำ สัตว์ ให้ ลุ ถึง ความ ดับ ไม่ เหลือ แห่ง ชาติ;

    ( หมวด ๓ ) ๑ . ญาณ คือ ความ รู้ ใน ภพ ;
    ๒ . ญาณ คือ ความ รู้ ใน เหตุ ให้ เกิด ขึ้น แห่ง ภพ ;
    ๓ . ญาณ คือ ความ รู้ ใน ความ ดับ ไม่ เหลือ แห่ง ภพ ;
    ๔ . ญาณ คือ ความ รู้ ใน ข้อ ปฏิบัติ เครื่อง ทำ สัตว์ ให้ ลุ ถึง ความ ดับ ไม่ เหลือ แห่ง ภพ ;

    ( หมวด ๔ ) ๑ . ญาณ คือ ความ รู้ ใน อุปาทาน ;
    ๒ . ญาณ คือ ความ รู้ ใน เหตุ ให้ เกิด ขึ้น แห่ง อุปาทาน ;
    ๓ . ญาณ คือ ความ รู้ ใน ความ ดับ ไม่ เหลือ แห่ง อุปาทาน ;
    ๔ . ญาณ คือ ความ รู้ ใน ข้อ ปฏิบัติ เครื่อง ทำ สัตว์ ให้ ลุ ถึง ความ ดับ ไม่ เหลือ แห่ง อุปาทาน ;

    ( หมวด ๕ ) ๑ . ญาณ คือ ความ รู้ ใน ตัณหา ;
    ๒ . ญาณ คือ ความ รู้ ใน เหตุ ให้ เกิด ขึ้น แห่ง ตัณหา ;
    ๓ . ญาณ คือ ความ รู้ ใน ความ ดับ ไม่ เหลือ แห่ง ตัณหา ;
    ๔ . ญาณ คือ ความ รู้ ใน ข้อ ปฏิบัติ เครื่อง ทำ สัตว์ ให้ ลุ ถึง ความ ดับ ไม่ เหลือ แห่ง ตัณหา ;

    ( หมวด ๖ ) ๑ . ญาณ คือ ความ รู้ ใน เวทนา ;
    ๒ . ญาณ คือ ความ รู้ ใน เหตุ ให้ เกิด ขึ้น แห่ง เวทนา ;
    ๓ . ญาณ คือ ความ รู้ ใน ความ ดับ ไม่ เหลือ แห่ง เวทนา ;
    ๔ . ญาณ คือ ความ รู้ ใน ข้อ ปฏิบัติ เครื่อง ทำ สัตว์ ให้ ลุ ถึง ความ ดับ ไม่ เหลือ แห่ง เวทนา ;

    ( หมวด ๗ ) ๑ . ญาณ คือ ความ รู้ ใน ผัสส ะ ;
    ๒ . ญาณ คือ ความ รู้ ใน เหตุ ให้ เกิด ขึ้น แห่ง ผัส สะ ;
    ๓ . ญาณ คือ ความ รู้ ใน ความ ดับ ไม่ เหลือ แห่ง ผัส สะ ;
    ๔ . ญาณ คือ ความ รู้ ใน ข้อ ปฏิบัติ เครื่อง ทำ สัตว์ ให้ ลุ ถึง ความ ดับ ไม่ เหลือ แห่ง ผัส สะ ;

    ( หมวด ๘ ) ๑ . ญาณ คือ ความ รู้ ในสฬาย ตนะ ;
    ๒ . ญาณ คือ ความ รู้ ใน เหตุ ให้ เกิด ขึ้น แห่ง สฬาย ตนะ ;
    ๓ . ญาณ คือ ความ รู้ ใน ความ ดับ ไม่ เห ลือ แห่ง สฬาย ตนะ ;
    ๔ . ญาณ คือ ความ รู้ ใน ข้อ ปฏิบัติ เครื่อง ทำ สัตว์ ให้ ลุ ถึง ความ ดับ ไม่ เห ลือ แห่ง สฬาย ตนะ ;

    ( หมวด ๙ ) ๑ . ญาณ คือ ความ รู้ ใน นาม รูป ;
    ๒ . ญาณ คือ ความ รู้ ใน เหตุ ให้ เกิด ขึ้น แห่ง นาม รูป ;
    ๓ . ญาณ คือ ความ รู้ ใน ความ ดับ ไม่ เหลือ แห่ง นาม รูป ;
    ๔ . ญาณ คือ ความ รู้ ใน ข้อ ปฏิบัติ เครื่อง ทำ สัตว์ ให้ ลุ ถึง ความ ดับ ไม่ เหลือ แห่ง นาม รูป ;

    ( หมวด ๑๐ ) ๑ . ญาณ คือ ความ รู้ ใน วิญญาณ ;
    ๒ . ญาณ คือ ความ รู้ ใน เหตุ ให้ เกิด ขึ้น แห่ง วิญญาณ ;
    ๓ . ญาณ คือ ความ รู้ ใน ความ ดับ ไม่ เหลือ แห่ง วิญญาณ ;
    ๔ . ญาณ คือ ความ รู้ ใน ข้อ ปฏิบัติ เครื่อง ทำ สัตว์ ให้ ลุ ถึง ความ ดับ ไม่ เหลือ แห่ง วิญญาณ ;

    ( หมวด ๑๑ ) ๑ . ญาณ คือ ความ รู้ ใน สังขาร ทั้ง หลาย ;
    ๒ . ญาณ คือ ความ รู้ ใน เหตุ ให้ เกิด ขึ้น แห่ง สังขาร ;
    ๓ . ญาณ คือ ความ รู้ ใน ความ ดับ ไม่ เหลือ แห่ง สังขาร ;
    ๔ . ญาณ คือ ความ รู้ ใน ข้อ ปฏิบัติ เครื่อง ทำ สัตว์ ให้ ลุ ถึง ความ ดับ ไม่ เหลือ แห่ง สังขาร ;

    ดู ก่อน ภิกษุ ทั้ง หลาย ! เหล่า นี้ เรียก ว่า ญาณ วัตถุ ๔๔ อย่าง .


    ผู้ รู้ ปฏิ จจ สมุป บาท แต่ละ สาย ถึง “ เหตุ เกิด ” และ “ ความ ดับ ”
    ทั้ง ปัจจุบัน อดีต อนาคต ก็ ชื่อ ว่า โสดา บัน ( ญาณ วัตถุ ๗๗ )

    ดู ก่อน ภิกษุ ทั้ง หลาย ! เรา จัก แสดง ซึ่ง ญาณ วัตถุ ๗๗ อย่าง แก่ พวก เธอ ทั้ง หลาย . พวก เธอ ทั้ง หลาย จง ฟัง ความ ข้อ นั้น , จง ทำ ใน ใจ ให้ สำเร็จ ประโยชน์ , เรา จัก กล่าว บัดนี้ . ครั้น ภิกษุ ทั้ง หลาย เหล่า นั้น ทูล รับ สนอง พระพุทธ ดำรัส นั้น แล้ว พระ ผู้ มี พระ ภาค เจ้า ได้ ตรัส ถ้อยคำ เหล่า นี้ ว่า : -

    ดู ก่อน ภิกษุ ทั้ง หลาย ! ก็ ญาณ วัตถุ ๗๗ อย่าง เป็น อย่างไร เล่า ? ญาณ วัตถุ ๗๗ อย่าง นั้น คือ : -

    ( หมวด ๑ ) ๑ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า เพราะ มี ชาติ เป็น ปัจจัย จึง มี ชรา มรณะ ;
    ๒ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า เมื่อ ชาติ ไม่มี ชรา มรณะ ย่อม ไม่มี ;
    ๓ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ใน กาล ยืด ยาวนาน ฝ่าย อดีต เพราะ มี ชาติ เป็น ปัจจัย จึง มี ชรา มรณะ ;
    ๔ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ใน กาล ยืด ยาวนาน ฝ่าย อดีต เมื่อ ชาติ ไม่มี ชรา มรณะ ย่อม ไม่มี ;
    ๕ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ใน กาล ยืด ยาวนาน ฝ่าย อนาคต เพราะ มี ชาติ เป็นปัจจัย จึงมี ชรา มรณะ ;
    ๖ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ใน กาล ยืด ยาวนาน ฝ่าย อนาคต เมื่อ ชาติ ไม่มี ชรา มรณะ ย่อม ไม่มี ;
    ๗ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ธัมมัฏ ฐิติ ญาณ(๑) ใน กรณี นี้ ก็ มี ความ สิ้น ไป เสื่อม ไป จาง ไป ดับ ไป เป็น ธรรมดา ;

    ( หมวด ๒ ) ๑ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า เพราะ มี ภพ เป็น ปัจจัย จึง มี ชาติ ;
    ๒ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า เมื่อ ภพ ไม่มี ชาติ ย่อม ไม่มี ;
    ๓ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ใน กาล ยืด ยาวนาน ฝ่าย อดีต เพราะ มี ภพ เป็น ปัจจัย จึง มี ชาติ ;
    ๔ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ใน กาล ยืด ยาวนาน ฝ่าย อดีต เมื่อ ภพ ไม่มี ชาติ ย่อม ไม่มี ;
    ๕ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ใน กาล ยืด ยาวนาน ฝ่าย อนาคต เพราะ มี ภพ เป็น ปัจจัย จึง มี ชาติ ;
    ๖ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ใน กาล ยืด ยาวนาน ฝ่าย อนาคต เมื่อ ภพ ไม่มี ชาติ ย่อม ไม่มี ;
    ๗ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ธัมมัฏ ฐิติ ญาณ ใน กรณี นี้ ก็ มี ความ สิ้น ไป เสื่อม ไป จาง ไป ดับ ไป เป็น ธรรมดา ;

    ( หมวด ๓ ) ๑ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า เพราะ มี อุปาทาน เป็น ปัจจัย จึง มี ภพ ;
    ๒ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า เมื่อ อุปาทาน ไม่มี ภพ ย่อม ไม่มี ;
    ๓ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ใน กาล ยืด ยาวนาน ฝ่าย อดีต เพราะ มี อุปาทาน เป็น ปัจจัย จึง มี ภพ ;
    ๔ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ใน กาล ยืด ยาวนาน ฝ่าย อดีต เมื่อ อุปาทาน ไม่มี ภพ ย่อม ไม่มี ;
    ๕ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ใน กาล ยืด ยาวนาน ฝ่าย อนาคต เพราะ มี อุปาทาน เป็น ปัจจัย จึง มี ภพ ;
    ๖ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ใน กาล ยืด ยาวนาน ฝ่าย อนาคต เมื่อ อุปาทาน ไม่มี ภพ ย่อม ไม่มี ;
    ๗ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ธัมมัฏ ฐิติ ญาณ ใน กรณี นี้ ก็ มี ความ สิ้น ไป เสื่อม ไป จาง ไป
    ดับ ไป เป็น ธรรมดา ;

    (๑) ธัมมัฎ ฐิติ ญาณ ใน กรณี นี้ คือ ญาณ เป็น ไป ตาม หลัก ของ ปฏิจจ สมุป บาท เป็น กรณี ๆ ไป เช่น ใน กรณี แห่ง ชาติ ดัง ที่ กล่าว นี้ เป็นต้น .

    ( หมวด ๔ ) ๑ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า เพราะ มี ตัณหา เป็น ปัจจัย จึง มี อุปาทาน ;
    ๒ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า เมื่อ ตัณหา ไม่มี อุปาทาน ย่อม ไม่มี ;
    ๓ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ใน กาล ยืด ยาวนาน ฝ่าย อดีต เพราะ มี ตัณหา เป็น ปัจจัย จึง มี อุปทาน ;
    ๔ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ใน กาล ยืด ยาวนาน ฝ่าย อดีต เมื่อ ตัณหา ไม่มี อุปาทาน ย่อม ไม่มี ;
    ๕ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ใน กาล ยืด ยาวนาน ฝ่าย อนาคต เพราะ มี ตัณหา เป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน ;
    ๖ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ใน กาล ยืด ยาวนาน ฝ่าย อนาคต เมื่อ ตัณหา ไม่มี อุปาทาน ย่อม ไม่มี ;
    ๗ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ธัมมัฏ ฐิติ ญาณ ใน กรณี นี้ ก็ มี ความ สิ้น ไป เสื่อม ไป จาง ไป ดับ ไป เป็น ธรรมดา ;

    ( หมวด ๕ ) ๑ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า เพราะ มี เวทนา เป็น ปัจจัย จึง มี ตัณหา ;
    ๒ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า เมื่อ เวทนา ไม่มี ตัณหา ย่อม ไม่มี ;
    ๓ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ใน กาล ยืด ยาวนาน ฝ่าย อดีต เพราะ มี เวทนา เป็น ปัจจัย จึง มี ตัณหา ;
    ๔ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ใน กาล ยืด ยาวนาน ฝ่าย อดีต เมื่อ เวทนา ไม่มี ตัณหา ย่อม ไม่มี ;
    ๕ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ใน กาล ยืด ยาวนาน ฝ่าย อนาคต เพราะ มี เวทนา เป็น ปัจจัย จึง มี ตัณหา ;
    ๖ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ใน กาล ยืด ยาวนาน ฝ่าย อนาคต เมื่อ เวทนา ไม่มี ตัณหา ย่อม ไม่มี ;
    ๗ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ธัมมัฏ ฐิติ ญาณ ใน กรณี นี้ ก็ มี ความ สิ้น ไป เสื่อม ไป จาง ไป ดับ ไป เป็น ธรรมดา ;

    ( หมวด ๖ ) ๑ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า เพราะ มี ผัสส ะ เป็น ปัจจัย จึง มี เวทนา ;
    ๒ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า เมื่อ ผัสส ะ ไม่มี เวทนา ย่อม ไม่มี ;
    ๓ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ใน กาล ยืด ยาวนาน ฝ่าย อดีต เพราะ มี ผัสส ะ เป็น ปัจจัย จึง มี เวทนา ;
    ๔ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ใน กาล ยืด ยาวนาน ฝ่าย อดีต เมื่อ ผัสส ะ ไม่มี เวทนา ย่อม ไม่มี ;
    ๕ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ใน กาลยืด ยาวนาน ฝ่าย อนาคต เพราะ มี ผัสส ะ เป็น ปัจจัย จึง มี เวทนา ;
    ๖ . ญาณ คือความ รู้ ว่า แม้ ใน กาล ยืด ยาวนาน ฝ่าย อนาคต เมื่อ ผัสส ะ ไม่มี เวทนา ย่อม ไม่มี ;
    ๗ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ธัมมัฏ ฐิติ ญาณ ใน กรณี นี้ ก็ มี ความ สิ้น ไป เสื่อม ไป จาง ไป ดับ ไป เป็น ธรรมดา ;

    ( หมวด ๗ ) ๑ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า เพ ราะ มีสฬาย ตนะ เป็น ปัจจัย จึง มี ผัสส ะ ;
    ๒ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า เมื่อ สฬาย ตนะ ไม่มี ผัสส ะ ย่อม ไม่มี ;
    ๓ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ใน กาล ยืด ยาวนาน ฝ่าย อดีต เพ ราะ มีสฬาย ตนะ เป็นปัจจัย จึงมี ผัสส ะ ;
    ๔ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ใน กาล ยืด ยาวนาน ฝ่าย อดีต เมื่อ สฬาย ตนะ ไม่มี ผัสส ะ ย่อม ไม่มี ;
    ๕ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ใน กาล ยืด ยาวนาน ฝ่าย อนาคต เพราะ มีสฬาย ตนะ เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ;
    ๖ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ใน กาล ยืด ยาวนาน ฝ่าย อนาคต เมื่อ สฬาย ตนะ ไม่มี ผัสส ะย่อม ไม่มี ;
    ๗ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ธัมมัฏ ฐิติ ญาณ ใน กรณี นี้ ก็ มี ความ สิ้น ไป เสื่อม ไป จาง ไป ดับ ไป เป็น ธรรมดา ;

    ( หมวด ๘ ) ๑ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า เพราะ มี นาม รูป เป็น ปัจจัย จึง มีสฬาย ตนะ ;
    ๒ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า เมื่อ นาม รูป ไม่มี สฬาย ตนะ ย่อม ไม่มี ;
    ๓ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ใน กาล ยืด ยาวนาน ฝ่าย อดีต เพราะ มี นามรูป เป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ ;
    ๔ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ใน กาล ยืด ยาวนาน ฝ่าย อดีต เมื่อ นาม รูป ไม่มี สฬาย ตนะ ย่อม ไม่มี ;
    ๕ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ใน กาล ยืด ยาวนาน ฝ่าย อนาคต เพราะ มีนามรูป เป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ ;
    ๖ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ใน กาล ยืด ยาวนาน ฝ่าย อนาคต เมื่อ นาม รูป ไม่มี สฬาย ตนะ ย่อม ไม่มี ;
    ๗ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ธัมมัฏ ฐิติ ญาณ ใน กรณี นี้ ก็ มี ความ สิ้น ไป เสื่อม ไป จาง ไป ดับ ไป เป็น ธรรมดา ;

    ( หมวด ๙ ) ๑ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า เพราะ มี วิญญาณ เป็น ปัจจัย จึง มี นาม รูป ;
    ๒ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า เมื่อ วิญญาณ ไม่มี นาม รูป ย่อม ไม่มี ;
    ๓ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ใน กาล ยืด ยาวนาน ฝ่าย อดีต เพราะ มี วิญญาณ เป็น ปัจจัย จึง มี นาม รูป ;
    ๔ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ใน กาล ยืด ยาวนาน ฝ่าย อดีต เมื่อ วิญญาณ ไม่มี นาม รูป ย่อม ไม่มี ;
    ๕ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ใน กาล ยืด ยาวนาน ฝ่าย อนาคต เพราะ มี วิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ;
    ๖ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ใน กาล ยืด ยาวนาน ฝ่าย อนาคต เมื่อ วิญญาณ ไม่มี นาม รูป ย่อม ไม่มี ;
    ๗ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ธัมมัฏ ฐิติ ญาณ ใน กรณี นี้ ก็ มี ความ สิ้น ไป เสื่อม ไป จาง ไป ดับ ไป เป็น ธรรมดา ;

    ( หมวด ๑๐ ) ๑ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า เพราะ มี สังขาร เป็น ปัจจัย จึง มี วิญญาณ ;
    ๒ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า เมื่อ สังขาร ทั้ง หลาย ไม่มี วิญญาณ ย่อม ไม่มี ;
    ๓ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ใน กาล ยืด ยาวนาน ฝ่าย อดีต เพราะ มี สังขาร เป็น ปัจจัย จึง มี วิญญาณ ;
    ๔ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ใน กาล ยืด ยาวนาน ฝ่าย อดีต เมื่อสังขาร ทั้งหลาย ไม่มีวิญญาณ ย่อมไม่มี ;
    ๕ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ใน กาล ยืด ยาวนาน ฝ่าย อนาคต เพราะ มี สังขาร เป็นปัจจัย จึง มีวิญญาณ ;
    ๖ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ใน กาล ยืด ยาวนาน ฝ่าย อนาคต เมื่อ สังขาร ทั้ง หลาย ไม่มี วิญญาณ ย่อม ไม่มี ;
    ๗ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ธัมมัฏ ฐิติ ญาณ ใน กรณี นี้ ก็ มี ความ สิ้น ไป เสื่อม ไป จาง ไป ดับ ไป เป็น ธรรมดา ;

    ( หมวด ที่ ๑๑ ) ๑ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า เพราะ มี อวิชชา เป็น ปัจจัย จึง มี สังขาร ทั้ง หลาย ;
    ๒ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า เมื่อ อวิชชา ไม่มี สังขาร ทั้ง หลาย ย่อม ไม่มี ;
    ๓ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ใน กาล ยืด ยาวนาน ฝ่าย อดีต เพราะ มี อวิชชา เป็น ปัจจัย จึง มี สังขาร ทั้ง หลาย ;
    ๔ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ใน กาล ยืด ยาวนาน ฝ่าย อดีต เมื่อ อวิชชา ไม่มีสังขาร ทั้ง หลาย ย่อม ไม่มี ;
    ๕ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ใน กาล ยืด ยาวนาน ฝ่าย อนาคต เพราะ มี อวิชชา เป็น ปัจจัย จึง มี สังขาร ทั้ง หลาย ;
    ๖ . ญาณ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ใน กาล ยืด ยาวนาน ฝ่าย อนาคต เมื่ออวิชชา ไม่มีสังขาร ทั้งหลายย่อมไม่มี ;
    ๗ . ญาณ ๕๙ คือ ความ รู้ ว่า แม้ ธัมมัฏ ฐิติ ญาณ ใน กรณี นี้ ก็ มี ความ สิ้น ไป เสื่อม ไป จาง ไป ดับ ไป เป็น ธรรมดา

    ดู ก่อน ภิกษุ ทั้ง หลาย ! เหล่า นี้ เรียก ว่า ญาณ วัตถุ ๗๗ อย่าง , ดังนี้ แล .

    อ้างอิง หนังสือ พุทธวัจน์ คู่มือโสดาบัน โดยพระคึกฤทธิ์ โสตถิผโล

    ผมยังไม่เคยศึกษา เลยไม่รู้ว่าจะอธิบายอย่างไร

    เอาไว้เหตุปัจจัยเหมาะสม จะมาเล่าสู่กันฟังอีกครั้ง
    :25:

    กัมมัสกตาญาน. ก็เข้าใจเรื่องกรรม. เอาง่ายถ้าคนเข้าใจเรื่องนี้แล้ว. จะไม่ห่วงอนาคตเพราะเข้าจถึงความจริงคือชีตวิตนั้นเป็นไปตามกรรมนั้นเอง
     
  17. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,750
    ค่าพลัง:
    +1,919
    ก็เอา ปฏิจจสมุปบาท (12) มาคูณ กับ หลักการตามนัยยะของอริยสัจ 4
    ตัดส่วนของอวิชชาไป เป็น 11x4
    ส่วนนี้ กัมมัสสกตาญาณ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กันยายน 2015
  18. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    สรุปออกมาแล้วเข้าใจชีวิตด้วยเหตุปัจจัย. ไม่คิดมากอยู่สบายๆนั้นแหละกรรมมัสสกตาญาน
     
  19. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,750
    ค่าพลัง:
    +1,919
    ส่วน 77 ก็เอาใน ปฏิจจสมุปบาท เรียงตาม อวิชา ไปถึง ชรา มรณะ โดยเรียงย้อนจากล่างไปบน
    แบบอธิบายทีละขั้นเท่านั้นเอง ตามรูปแปป
    รู้ชัด ทั้งในอดีต (ปัจจุบัน) และ อนาคต

    ส่วนใครอยากท่องจำก็ท่องไปเถอะนะแบบนี้ ถ้าคิดว่าจำได้หมดทั้ง 44 และ 77 จะถึงความเป็นอริยะด้วยการรู้จำ ก็จำไป :cool: หรือจะจำไว้ไปอวดเบ่งคนอื่นก็ได้นะ
     
  20. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    สิ่งเหล่านี้จะต้องรู้จากการอ่านและการฟังเราเป็นสาวกรู้เองไม่ได้. แต่พอรู้แล้วเข้าใจแล้ว. ใจสบายไม่ยึดติดเพราะรู้จริง
     

แชร์หน้านี้

Loading...