สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,598
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,037
    ค่าพลัง:
    +70,114
    ธรรมขาว-ธรรมดำ

    ธรรมขาว-ธรรมดำ
    ธรรมขาวเป็นธรรมสำคัญ ธรรมดำเป็นธรรมฝ่ายของพญามารแท้ ๆ ไม่ใช่ของพระ ของพระเป็นฝ่ายธรรมขาวแท้ ๆ ไม่ใช่ธรรมดำ ตรงกันข้ามดังนี้
    แต่ว่าผู้ประพฤติปฏิบัติในพระธรรมวินัยของพระศาสดา ทั้งภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกา ไม่รู้จักชัดว่าปฏิบัติดังนี้เป็นธรรมดำ ปฏิบัติดังนี้เป็นธรรมขาวไม่รู้ชัด จะรู้จักชัดต้องขัดกาย วาจา ใจ ออกไปเป็นขั้น ๆ
    ทุจริตกาย วาจา จิต นั่นเป็นธรรมดำ สุจริตด้วยกาย วาจา จิต นั่นเป็นธรรมขาว ทำใจให้ผ่องใสนั่นเป็นธรรมขาว ถ้าใจมืดมัวขุ่นหมองนั่นเป็นธรรมดำ
    นี่เป็นธรรมดำธรรมขาว มีลักษณะอย่างนี้ ชั่วเป็นฝ่ายดำทั้งนั้น ดีเป็นฝ่ายขาว



    พระธรรมเทศนา กัณฑ์ที่ ๔๑
    เรื่อง ติลักขณาทิคาถา
    ๗ สิงหาคม ๒๔๙๗
    พระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร)
    วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ



    [​IMG]
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,598
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,037
    ค่าพลัง:
    +70,114
    [​IMG]

    คติธรรมโดย พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงพ่อวัดปากน้ำ
    จากหนังสือ (คัดลอกบางส่วน) "รวมพระธรรมเทศนา พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หน้า ๒๐"
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,598
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,037
    ค่าพลัง:
    +70,114
    [​IMG]


    คติธรรมโดย พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล #หลวงป๋า)
    เจ้าอาวาส #วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

    จากหนังสือ "๑๐๘ มงคลธรรม หน้า ๑๔๑ "
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,598
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,037
    ค่าพลัง:
    +70,114
    [​IMG]





    คติธรรมโดย พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล #หลวงป๋า)
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

    จากหนังสือ (คัดลอกบางส่วน) "ตอบปัญหาธรรมปฏิบัติ หน้า ๑๙๕ "
    ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑ : มิถุนายน ๒๕๔๒
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,598
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,037
    ค่าพลัง:
    +70,114
    [​IMG]



    อุปกิเลส 11 ข้อ

    คำชี้แจงก่อนปฏิบัติภาวนา

    การปฏิบัติสมถวิปัสสนาวิชชาธรรมกาย ซึ่งดำเนินตามแนว
    ทางการเสด็จไปของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์ทุก ๆ
    พระองค์ ทางนี้ทางเดียว ไม่มีสองทาง อันถูกต้องร่องรอย
    ความประสงค์ในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง มีผู้ศึกษาและ
    ปฏิบัติทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต อุบาสก อุบาสิกา แพร่หลายไป
    ทั่วประเทศไทย ซึ่งต่างได้รับผลของการปฏิบัติยืนยันได้ด้วย
    ตัวของท่านเอง เรียกว่า สันทิฏฐิโก อันผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง
    ส่วนการที่จะทำเป็นหรือไม่นั้น เกี่ยวกับผู้ปฏิบัติจริงหรือไม่จริง
    ถ้าปฏิบัติจริงแล้วต้องเป็นทุกคน เพราะมนุษย์เราทั้งชายและ
    หญิงมีดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เป็นดวงใสบริสุทธิ์เท่า
    ฟองไข่แดงของไก่ อยู่ที่ศูนย์กลางกายทุก ๆ คน ถ้ามนุษย์คน
    ใดเอาใจไปหยุดอยู่ที่ดวงธรรมนั้นให้มากที่สุดหรือนานที่สุด
    ต้องเป็นทุกคน ที่ไม่เกิด ไม่เป็น นั้นเพราะเหตุว่าใจไม่หยุด ตัว
    หยุดนี้แลเป็นตัวสำเร็จ

    ส่วนการที่ใจไม่หยุดนั้น เพราะมีอุปกิเลส 11 ข้อ ประจำอยู่
    อันเป็นเรื่องสำคัญที่จะเป็นหรือไม่เป็น ได้หรือไม่ได้บรรลุมรรค
    ผลมีดังนี้

    1. วิจิกิจฉา ความลังเลหรือความสงสัย
    2. อะมะนะสิการะ ความไม่สนใจไว้ให้ดี
    3. ถีนะมิทธะ ความท้อและความเคลิบเคลิ้มง่วงนอน
    4. ฉัมภิตัตถะ ความสะดุ้งหวาดกลัว
    5. อุพพิละ ความตื่นเต้นด้วยความยินดี
    6. ทุฏฐลละ ความไม่สงบกาย
    7. อัจจารัทธวิริยะ ความเพียรจัดเกินไป
    8. อะติลีนะวิริยะ ความเพียรย่อหย่อนเกินไป
    9. อะภิชัปปา ความอยาก
    10. นานัตตะสัญญา ความนึกไปในสิ่งต่าง ๆ เรื่องราวต่าง ๆ ที่
    เคยผ่านมา หรือจดจำไว้มาผุดขึ้นในขณะทำสมาธิ
    11. รูปานัง อะตินิชฌา ยิตัตตะ ความเพ่งต่อรูปหรือเพ่งนิมิต
    นั้นจนเกินไป

    เมื่ออุปกิเลสเหล่านี้แม้อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นแก่เราแล้ว
    สมาธิของเราก็เคลื่อนไป เพราะอุปกิเลสเหล่านี้เป็นต้นเหตุ
    ฉะนั้นในการบำเพ็ญภาวนาเราต้องใช้ความเพียร ความอดทน
    ทั้งสองข้อนี้เป็นข้อสำคัญยิ่ง และคอยประคองคุมสติไว้ไม่ให้
    เผลอ ใช้ปัญญาสอดส่องดูว่า วิธีใดที่จะทำให้อุปกิเลสเหล่านี้
    เกิดขึ้นไม่ได้ เราก็จะทำใจไว้โดยวิธีนั้น จงวางใจของเราไว้ให้
    เป็นกลาง ๆ คือ มัชฌิมาปฏิปทา ให้อุเบกขา อย่ายินดียินร้าย
    ให้พยายามละจากความโลภ ความโกรธ ความหลง จงทำใจ
    ของเราให้ใสเป็นแก้ว ให้เยือกเย็น ให้แช่มชื่น ให้ถูกส่วนเป็น
    สมาธิแน่วแน่ เอาใจจดอยู่ที่ดวงนิมิต ที่ศูนย์กลางกายนั้นให้
    มากที่สุด ต้องทำสม่ำเสมอ ทำเนือง ๆ ในทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะ
    นั่ง นอน เดิน ยืน ทำเรื่อยไปอย่าหยุด อย่าละ อย่าทอดทิ้ง
    อย่าท้อแท้ มุ่งรุดหน้าเรื่อยไป ผลจะเกิดสักวันหนึ่งไม่ต้อง
    สงสัย ผลเกิดอย่างไร ท่านรู้ได้ด้วย ตัวของท่านเอง

    อนึ่ง ในการเจริญภาวนานี้
    ให้ทุกท่านจงประกอบเหตุ สังเกตผล ทนเอาเถิด ประเสริฐนัก
    เพราะเป็นมหัคคตกุศล หรือ มหากุศลอันยิ่งใหญ่ไพศาล
    เป็นทางมรรคผล นิพพาน
    ถึงแม้ไม่ได้เห็นอะไร
    ก็จะเป็นอุปนิสัยติดตัวไปในสัมปรยภพเบื้องหน้า
    ท่านทั้งหลายจงอุตส่าห์ มานะ วิริยะ บำเพ็ญเพียร
    ให้บังเกิดมรรคแลผล
    เพราะเป็นวิชชาที่ช่วยและเป็นที่พึ่งของตนเองได้อันเที่ยงแท้
    อย่าได้เคลือบแคลงสงสัยอย่างหนึ่งอย่างใดเลย
    ให้ทุกท่านจงมีแต่ความสวัสดิพิพัฒน์มงคล
    และสัมฤทธิ์ผลดังมโนรถปรารถนา
    ให้นำทางแห่งมรรคผลนี้ไปประพฤติ
    และ ปฏิบัติโดยทั่วกันจงทุกประการ ฯ

    รักษ์ร่างพอสร่างร้าย รอดตน
    ยอดเยี่ยม “ธรรมกาย” ผล ผ่องแผ้ว
    เลอเลิศล่วงกุศล ใดอื่น
    เชิญท่านถือเอาแก้ว ก่องหล้าเรืองสกล

    พระมงคลเทพมุนี
    ( สด จนฺทสโร )
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,598
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,037
    ค่าพลัง:
    +70,114
    แชร์คำแนะนำ จากศิษย์วัดหลวงพ่อสดบางท่าน ที่เข้าถึงพระธรรมกายแล้ว

    จากคุณต้นไม้เมตตา ครับ


    แนะนำดังนี้ ส่วนใหญ่ ได้ผลจริง

    1.จุดเล็กใส กลางดวงแก้วกลมใส

    เอาลูกแก้วไปส่องกับแดด จะเห็นพระอาทิตย์ รวมจุด อยู่ในดวงแก้ว จำจุดเล็กใส เอาไว้ ให้คุ้นตา ยามว่าง ดูบ่อยๆ จำไว้ว่า จุดเล็กใส สำคัญกว่าการนึกดวงแก้วซะอีก

    2.ฝึกใช้ลมหายใจหาศูนย์กลางกาย

    3.ท่องคำว่า สัมมาอะระหัง เรื่อยๆ ทั้งออกเสียง และในใจ ไม่ต้องนับ ไม่ต้องคร่ำเคร่ง แค่นึกบ่อยๆ

    .....

    การตกศูนย์สามลักษณะ

    1.สมาธิ มากกว่า สติ

    อาการ ภาวนาไปแล้วจะรู้สึกตัวขึ้นมาเองว่า อ้าว สงบแล้ว คือจิตตกศูนย์แล้ว บางทีเห็นดวงไปซักพักก็พึ่งจะรู้ตัว หรืออาจจะตกใจแล้วหลุดออกจากสมาธิ ซึ่งตรงนี้ถ้าสติน้อยไป จะหลับ ถ้าสติมากไปจะหลุดออกจากสมาธิที่แนบแน่นเมื่อครู่นี้

    2.สติ มากกว่า สมาธิ

    อาการ สามารถประคองสติไปได้เรื่อยๆ พอตกศูนย์แล้วจะเห็นดวง หรือสงบได้ซักพัก ก็จะไม่ค่อยตกศูนย์ต่อไป เพราะสติแกร่งกล้า เลยไม่ปล่อยวาง ไม่ตกศูนย์ได้ลึก

    3.สติ และ สมาธิ เสมอกัน

    อาการ จะสามารถประคองสติ และเห็นการตกศูนย์ พร้อมอาการหวิวๆ ที่ศูนย์กลางกาย เหมือนตกจากที่สูง ได้อย่างดีทุกขั้นตอน

    ...

    นอนพักน้อยไป การทานอาหารมากๆไป ทานเนื้อสัตว์มากไป ระบบยอ่ยไม่ค่อยดี ไม่ค่อยยืดเส้น ไม่ค่อยออกกำลังกาย ไม่ค่อยบอดี้เวท ไม่ค่อยคาร์ดิโอ ทานอาหารที่ทำให้ท้องอืด ท้องแน่น เจ็บไข้ได้ป่วย ล้วนทำให้ง่วงหลับได้ง่าย เพราะสังขารไม่ค่อยฟิตแอนด์เฟริม์

    พยายามนอนหลับ ตื่น สวดมนต์ภาวนา นั่งสมาธิ ให้เป็นเวลา ยามเช้า และยามเย็น ทุกวันๆ ฝ่ายกายสมอง และจิตใจ จะจดจำกระแสของจิตได้ดี
    ...

    อ่านศึกษาแล้วลองทำดูนะครับ เด่วจะแนะนำการบังคับฝันต่อไป

    ---------------------------------------------------

    เราสามารถเห็นดวง เห็นองค์พระธรรมกาย ในความฝันได้นะครับ แนะนำเทคนิคดังนี้


    วิธีมีสติในความฝัน


    1.พยายามมีสติเตือนตนเองบ่อยๆว่า เราตื่นอยู่ หรือเราฝันอยู่

    2.แลดูมือของตนบ่อยๆว่าเห็นลายมือชัดไหม ถ้าไม่ชัดคือเราฝันอยู่

    3.พยายามนึกว่าเรายืนอยู่ในสถานที่นี้ได้อย่างไร สามารถกำหนดหนทางมาได้หรือไม่ ถ้ากำหนดไม่ได้ แสดงว่าเราฝันอยู่

    4.เขียนกระดาษโน้ตแปะไว้ทั่วบ้านว่า "ตื่น" เพื่อเตือนสติอยู่ว่าเราฝันอยู่หรือไม่


    หากเรารู้ตัวว่าเรากำลังฝันอยู่แล้ว ให้เราลองทดสอบความฝัน เพื่อที่จะหลุดออกจากสิ่งรบกวนคือ


    1.กระโดดขึ้นไปบนท้องฟ้า ให้เราเหาะลอยอยู่บนท้องฟ้านิ่งๆ เราจะอัศจรรย์มาก เราทำได้ เพราะมันคือความฝัน

    2.แล้วให้นึกดวงแก้ว หรือองค์พระ นั่งสมาธิในความฝันกลางท้องฟ้านั้น แล้วจะเห็นตามใจปราถนาทันที


    สิ่งที่มักจะเกิดตามมาคือ

    1.สามารถเห็นดวงสว่าง หรือองค์พระ ได้ในความฝัน

    2.เมื่อเราเริ่มมีสติในความฝัน เราจะตื่นนอน หรือเมื่อเราเริ่มเห็นแสงสว่างเราจะตื่นนอน
    (เพราะสติมาแล้วหนิครับ ก็จะเริ่มหลุดออกจากความฝัน เข้าทาง "จะเกิด จะดับ จะหลับ จะตื่น ใจต้องจรดศูนย์ก่อนเสมอ")

    3.สามารถหลับได้ลึกภายในเวลาที่คุ้นเคยอย่างใช้เวลาไม่นาน และตื่นตรงเวลา และสามารถกำหนดสติตื่นได้ทันที่ที่ปราถนา

    4.อาจจะพบความฝันซ้อนความฝัน ซึ่งเป็นอาการที่ซับซ้อน เป็นบททดสอบสติของเราได้ดี
    (เช่น รู้สึกตัวว่าตื่นแล้ว แต่ความจริงฝันอยู่ หรือฝันว่ากำลังฝันอยู่)

    5.เราสามารถจะจินตนาการอะไรก็ได้ในความฝัน อย่าสนุกจนเพลิดเพลินกันไปล่ะครับ อิอิ

    6.จะทำให้เราเป็นผู้มีสติแม้ในความฝัน เป็นผลจากการฝึกสติ และสมาธิ ของผู้ฝึกจิตมาอย่างแท้จริง
    (ทำให้พอจะเข้าได้ใจว่า การที่พระอรหันต์ท่านไม่ฝันนั้นน่าจะเป็นอย่างไรบ้าง)

    7.ทำให้ฝันแต่เรื่องดีๆ เช่นฝันถึงครูบาอาจารย์


    แนะนำเป็นปกิณณกะไว้เพื่อหวังเป็นธรรมทานนะครับ จากประสบการณ์จริง

    ซึ่งทุกท่านพึงพัฒนาการฝึกจิตดังนี้แม้ในความฝัน ให้เป็นสัมมาสมาธิที่สมบูรณ์ถูกต้องได้ครับ

    สาธุๆๆๆๆ

    หากท่านได้อ่านการมีสติในความฝัน แล้วน้อมไปเพื่อประโยชน์แก่สัมมาสมาธิโพสต์ก่อนแล้ว

    ทำให้เรามาโยนิโสมนสิการว่า เราได้ยินว่า พระอรหันต์ไม่ฝันนั้น ท่านทำได้อย่างไร ? ครูบาอาจารย์ในสายวิชชาธรรมกายท่าน "ทำวิชชาเป็น 24 ชม." ได้อย่างไร ?

    หากท่านสามารถพัฒนาจิต สติ ในฝันได้อย่างดี ท่านจะพอเข้าใจเลยครับ

    ผู้ที่ทำวิชชามาอย่างชำนาญ เวลานอน ก็ยังมีสติ พูดภาษาง่ายๆว่า ท่านฝันว่านั่งทำวิชชาครับ และเป็นการนั่งทำวิชชาในปราสาทธรรมวิชชาที่ละเอียดๆด้วย

    หากท่านไม่กำหนดจิตก่อนนอนว่า ขอเพียงให้ใจใสสุดละเอียด แล้วพักปล่อยสติให้หลับไหลบ้าง ก็แล้วไป.....(แถมตื่นตรงเวลาได้ด้วย)

    แต่ตามปกติ ท่านเหล่านี้ก็จะนอนหลับตาไป แต่กลับมีสติทำวิชชาไป ตลอด 24 ชม. โดยอัตโนมัติครับ
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,598
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,037
    ค่าพลัง:
    +70,114
    [​IMG]


    คติธรรมโดย พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล #หลวงป๋า)
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,598
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,037
    ค่าพลัง:
    +70,114
    ถาม---การกำหนดจุดกึ่งกลางของลูกแก้ว หรือลูกกลมสีขาว ถ้ากำหนดแล้ว เห็นเป็นจุดสีดำ หรือ จุดสีขาวมีขอบดำ จะเป็นการขัดต่อหลักของอาโลกกสิณ หรือไม่ ?

    --------------------------------------------------------------------


    ตอบ


    ถ้าใครนึกให้เห็นลูกแก้วหรือดวงแก้ว หรือดวงขาวแต่ยังไม่ใส แล้วเห็นจุดกึ่งกลางเป็นสีดำ หรือเห็นจุดสีขาวมีขอบสีดำ นี้ท่านเห็นเจตสิกธรรมคือธรรมชาติที่เกิดขึ้นพร้อมกับจิตใจ ของจริงแล้ว ให้เข้าใจไว้ แต่เป็นธรรมชาติของจริงฝ่ายธรรมดำหรือภาคดำ ที่เรียกว่าอกุสลาธัมมา ธาตุธรรมดำนั้น กรณีที่เห็นนี้ เป็นได้ 2 ประการคือ


    ประการที่ 1 คือ เป็น “อวิชชา” เป็นอวิชชานิวรณ์ที่ห่อหุ้ม “ดวงรู้” ของผู้ที่เห็นนั้น ไม่ให้ขยายโตขึ้น

    ที่เรียกว่า “ใจ” นั้นประกอบด้วยดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด และดวงรู้ ซึ่งขยายส่วนหยาบออกมาจากธาตุละเอียดของนามขันธ์ 4 คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ที่ตั้งซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ เข้าไป ณ ภายใน ตรงกลางธาตุละเอียดของรูปขันธ์ ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ซึ่งตั้งอยู่ตรงศูนย์กลางเหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ

    ต้องใช้อุบายกำจัดเสีย คือถ้าเห็นจุดเป็นสีดำ ให้นึกอธิษฐานจิตละลายธาตุธรรมนั้นเสีย เสมือนหนึ่งว่าจุดเล็กใสนั้นถูกห่อหุ้มด้วยควันดำหรือว่าหมอกดำ หรืออะไรสีดำก็แล้วแต่ ที่เราต้องชำระล้างด้วยน้ำใส ล้างด้วยน้ำกรดใส สมมุติอย่างนั้น ให้ปรากฏเห็นใสบริสุทธิ์เหมือนเพชรลูกหรือแก้วเจียรนัยที่ใสบริสุทธิ์ แล้วจึงจรดใจนิ่งลงไปที่กลางของกลางจุดเล็กใสนั้น นิ่งเฉยๆ อธิษฐานให้จุดเล็กใสนั้นขยายออก จะมีจุดเล็กใสขึ้นมาอีก แล้วก็นิ่งไปกลางจุดเล็กใสนั้น ขยายออกแล้วจะเห็นดวงใสสว่างปรากฏขึ้น

    แต่ถ้ายังเห็นสีดำอยู่อีก ให้อธิษฐานละลายธาตุธรรมดำนั้น จนกว่าจะเห็นใสขึ้นมา บางทีบางท่านอาจจะเห็นเหมือนกับมีน้ำชำระล้างดวงนั้นให้ใสขึ้นๆ ก็มี หรืออาจจะนึกเห็นจุดเล็กใสที่เห็นอยู่ลึกลงไปกว่านั้น แล้วให้กำหนดใจไปหยุดที่จุดเล็กใสนั้นขยายศูนย์กลางที่ใสออก มลทินคือความดำนั้นก็จะหายไป

    เรื่องนี้สำคัญมาก คุณหมอและทุกท่าน จงจำไว้เชียว ที่เห็นเป็นสีดำนั้นน่ะคือธรรมชาติฝ่ายธาตุธรรมดำ เรียกว่า “อกุสลาธัมมา” อันได้แก่ อวิชชา กิเลส ตัณหา เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เห็นเป็นสีดำๆ ไม่ดำสนิทนัก หุ้ม “ดวงเห็น” เป็นปฏิฆานุสัย และที่หุ้ม “ดวงคิด” หรือจิตนั้นเป็นกามราคานุสัย และส่วน “อวิชชานิวรณ์” อันเกิด แต่อวิชชานุสัย ที่หุ้ม “ดวงรู้” อยู่ ไม่ให้ขยายโตเต็มธาตุเต็มธรรมได้ ก็เพราะเจตสิกธรรมคือ ธรรมชาติฝ่ายธรรมดำนี้แหละที่เกิดขึ้นพร้อมกับจิตใจ เป็นของจริงนะ ไม่ใช่ของปลอม เป็นตัว “สมุทัยสัจจะ” ทีเดียว

    ประการที่ 2 ทีนี้ คุณหมอเป็นนายแพทย์ต้องรู้ต่อไปอีก นี้นอกวิชาหมอละ ถ้าเห็นเป็นดวงดำสนิทเหมือนถ่าน ก็ให้พึงรู้เถอะว่านั่นเป็นโรคภัยไข้เจ็บ ให้รีบกำจัดเสียอีกเช่นกัน แต่ถ้าเห็นเป็นดวงดำมันเลื่อมต้องรีบแก้ไข กำจัดดวงดำนั้นโดยพลัน ถ้าว่ายังไม่ใสก็ต้องเพียรกำจัดให้ใสทีเดียว ถ้ายังไม่ใสก็ไม่หยุดละ ต้องทำให้ใสให้ได้ เพราะเป็นตัว “ทุกขสัจจะ” กล่าวคือ

    ที่เห็นเป็นสีดำๆ แต่ไม่ดำสนิทนัก หุ้มเห็น-จำ-คิด-รู้ อยู่ นั้นคือ ปฏิฆานุสัย กามราคานุสัย และอวิชชานุสัย เป็นตัว “สมุทัยสัจจะ”
    แต่ถ้าเห็นเป็นดวงดำสนิทเหมือนถ่าน นั้นเป็น “ดวงเจ็บ” คือมีหรือกำลังจะมีโรคภัยไข้เจ็บ ให้รีบแก้ไขให้ผ่องใสเสีย
    ถ้าเห็นเป็นดวงดำมันเลื่อมเหมือนสีนิลละก็ นั่นเป็น “ดวงตาย” ถ้าดวงตายมาจรดนานซักระยะหนึ่ง ให้ดวงธรรมของมนุษย์ขาดจากของกายทิพย์แล้ว คนนั้นจะตายทันที นี่คือ “ทุกขสัจจะ” ได้แก่ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ตามที่รู้เห็นกันในวิชชาธรรมกาย เกิด แก่ เจ็บ ตาย นั่นแหละตัวทุกขสัจจะเลยทีเดียว



    เรื่องนี้สำคัญนัก ที่หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านเจริญภาวนาแก้โรคภัยไข้เจ็บ ก็แก้ที่ธาตุละเอียดของธาตุน้ำ-ดิน-ไฟ-ลม ของผู้ป่วยนั่นเอง

    วิธีแรก ท่านสอนให้ผู้ที่ปฏิบัติถึงธรรมกายและเจริญวิชชาธรรมกายชั้นสูงได้ ให้น้อมนำเอาธาตุธรรมของผู้ป่วยมาเจริญวิชชาธรรมกายชั้นสูง พิสดารกายผ่านศูนย์กลางธาตุธรรมของผู้นั้น เพื่อชำระธาตุธรรมให้บริสุทธิ์ผ่องใสจากธาตุธรรมของภาคดำที่เขาสอดละเอียด “ดวงเจ็บ” และ/หรือ “ดวงตาย” อันเป็นวิบากคือผลของอกุศลกรรม ได้แก่ การทำปาณาติปาตแต่อดีตนั้นแหละเข้ามาในธาตุธรรมของคนไข้ให้เจ็บไข้ เมื่อชำระธาตุธรรมของคนไข้นั้นให้บริสุทธิ์ผ่องใสได้ โรคก็หาย ถ้าทำได้บริสุทธิ์บางส่วน เพราะเป็นกรรมหนัก ก็ผ่อนหนักเป็นเบา คือได้ผลเพียงแต่บรรเทาหรือชั่วคราว

    แต่ผู้ทำวิชชาแก้โรคผู้อื่นนี่ก็มีอัตราเสี่ยงอยู่ระดับหนึ่งเหมือนกัน คือถ้าว่าชำระธาตุธรรมของเขาแล้ว ตัวเองไม่ชำระธาตุธรรมของตนเองให้บริสุทธิ์สุดละเอียดแล้ว มีโอกาสติดโรคนั้นด้วย เพราะฉะนั้นอาตมาจะไม่แนะนำให้ใครไปแก้โรคถ้ายังไม่ได้วิชชาชั้นสูง

    มีอีกวิธีหนึ่ง ที่เขาทำวิชชาแก้โรค แทนที่จะเอาธาตุธรรมของผู้ป่วยนั้นมาที่ศูนย์กลางตน กลับอธิษฐานตั้งเครื่องธาตุธรรมจากตนไปสู่คนป่วย แล้วให้เครื่องธาตุธรรมนั้นเดินวิชชาให้ใส ในธาตุธรรมของผู้นั้น ถ้าทำได้หมดจดก็เป็นอันโรคหาย ถ้าทำได้เท่าไหร่ก็ได้ผลเท่านั้น

    เรื่องธาตุละเอียดของสัตว์โลกนี้ จะเล่ารายละเอียดให้ฟังพอเข้าใจว่า ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ตรงศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือนั้นเป็นที่ตั้งธาตุละเอียดของขันธ์ 5 คือธาตุละเอียดของ “รูปขันธ์” ประมาณเท่าเมล็ดโพธิ์เมล็ดไทร กลางรูปขันธ์จะมีธาตุละเอียดของ “นามขันธ์ 4” คือธาตุละเอียดของ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ กลางของกลางของกันและกันเข้าไปข้างใน

    เฉพาะแต่ธาตุละเอียดของ “รูปขันธ์” ขยายส่วนหยาบออกมาเป็น “ดวงกาย“ ที่เรานั่งเจริญภาวนา เมื่อใจหยุดนิ่งแล้วเห็นเป็นดวงใสนั่นแหละ ดวงกายดวงนั้นขยายส่วนหยาบมาจากรูปขันธ์ และภายในดวงกายนั้นยังมีธาตุละเอียดของมหาภูตรูป 4 คือ ธาตุน้ำ ดิน ไฟ ลม เป็นศูนย์เล็กๆ 4 ศูนย์ ลอยอยู่ในดวงธรรมนั้น ธาตุละเอียดของธาตุน้ำอยู่ส่วนหน้า ขวาธาตุดิน หลังธาตุไฟ ซ้ายธาตุลม ตรงกลางอากาศธาตุ กลางอากาศธาตุมีวิญญาณธาตุ

    วิญญาณธาตุนั้นซ้อนอยู่กลางของกลางที่สุดของนามขันธ์ 4 ซึ่งขยายส่วนหยาบ ออกมาเป็น เห็น จำ คิด รู้ รวมเรียกว่า “ใจ”

    แต่เฉพาะที่ว่า ธาตุละเอียดของมหาภูตรูป 4 คือ น้ำ ดิน ไฟ ลม นั้น ทำหน้าที่ควบคุมของเหลว ส่วนที่หยาบแข็ง อุณหภูมิ และลมปราณที่ปรนเปรออยู่ในร่างกายให้อยู่ในสภาวะพอเหมาะ แต่ละธาตุต่างทำหน้าที่คนละอย่าง ส่วนอากาศธาตุทำหน้าที่ควบคุมช่องว่างภายในร่างกายให้อยู่ในสภาวะพอเหมาะ ธาตุทั้งหมดนั่นแหละที่เจริญเติบโตขึ้นมาเป็นธาตุหยาบ คือ กายเนื้อนี่แหละ ที่โบราณท่านว่าธาตุแตกน่ะ หมายเอาธาตุละเอียด ณ ภายใน แตกคือคุมกันไม่ติด แล้วธาตุข้างนอกจึงแตกคือตาย เพราะ “ทุกขสัจจะ” อยู่ข้างใน เมื่อดวงตายมาจรดตรงกลางหัวต่อ คือระหว่างดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ให้ขาดจากดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายมนุษย์เมื่อไหร่แล้วเป็นอันได้เรื่องเลย

    การแก้โรค โดยวิธีวิชชาธรรมกาย มีหลักการอยู่ว่า ธาตุที่ขยายส่วนหยาบออกมาจากธาตุละเอียดของขันธ์ 5 นี้แหละ ถ้าเห็น จำ คิด รู้ คือ “ใจ” ของผู้ใดที่ส่งใจออกไปข้างนอก ไปยึดไปเกาะอารมณ์ คือรูป เสียง กลิ่น รส สิ่งสัมผัส ทางกายภายนอก เสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง เป็นช่องทางให้กิเลส มีโลภะ ราคะ โทสะ โมหะ หรือตัณหาเข้าครอบงำจิตใจ ดลจิตดลใจให้ปฏิบัติตามอำนาจของมันแล้ว กิเลสนี้แหละจะเอิบ อาบ ซึมซาบปนเป็นและสะสมตกตะกอนนอนเนื่องอยู่ในธาตุละเอียดของกายโลกิยะทั้งหมด ทำให้ธาตุละเอียดฝ่ายรูปขันธ์อันมีธาตุน้ำ ดิน ไฟ ลม อากาศไม่สะอาดคือ เศร้าหมอง ฝ่ายนามขันธ์ จิตใจก็จะถูกสะสมด้วยกิเลส เป็นอาสวะ เป็นอนุสัย ตกตะกอน นอนเนื่องอยู่ในจิตตสันดาน เรื่องที่พูดนี่เพียงส่วนเดียว ส่วนละเอียดมีกว่านี้

    ส่วนมหาภูตรูป 4 และอากาศธาตุ ซึ่งเป็นที่ตั้งของธรรม 3 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายบาป อกุศล เรียกว่า อกุสลาธัมมา ฝ่ายบุญกุศล เรียกว่า กุสลาธัมมา หรือฝ่ายกลางๆ เรียกว่า อัพยากตาธัมมา เมื่อกี้ได้กล่าวฝ่ายบาปอกุศลว่าเป็นธาตุธรรมภาคดำหรือฝ่ายชั่ว เมื่อปล่อยให้กิเลสดลจิตดลใจให้ประพฤติปฏิบัติตามอำนาจของมันแล้ว ธาตุละเอียดเหล่านั้นจะเศร้าหมอง ไม่สะอาด เพราะถูกเอิบอาบ ซึมซาบ ปนเป็นด้วยธาตุธรรมภาคดำ เมื่อธาตุละเอียดไม่สะอาด ความปรุงแต่งแห่งธาตุละเอียดให้เจริญเติบโตขึ้นมาเป็นกายเนื้อนี้ก็จะพลอยได้รับผล ชื่อว่า “วิบาก” ให้เป็นไปตามกรรมนั้นๆ 2 ประการคือ กิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เป็นเหตุนำเหตุหนุนให้ทำความชั่วทางกาย ทางวาจา และทางใจ หนักยิ่งขึ้นไปอีก เช่นว่า คนที่มักฆ่าสัตว์ตัดชีวิต จิตใจก็จะเหี้ยมโหด ทารุณ เพราะกิเลสก็จะสะสมตกตะกอนนอนเนื่องเป็นอาสวะและก็อนุสัย มีปฏิฆานุสัยเป็นต้น หนาแน่นยิ่งๆ ขึ้นไปอีก นี้ประการหนึ่ง อีกประการหนึ่ง ทางฝ่ายธาตุที่ทำหน้าที่ควบคุมส่วนที่เป็นน้ำ เป็นของหยาบแข็ง เป็นอุณหภูมิ และเป็นลมปราณ ที่ปรนเปรออยู่ในร่างกายและช่องว่างในร่างกายวิปริต แปรปรวน จึงมีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน และถ้าว่ากรรมนั้นหนักถึงเป็นอุปฆาตกรรม ก็อายุสั้น อาจจะด้วยอุบัติเหตุ หรือภัยพิบัติต่างๆ ตามเวรตามกรรม ของกรรมชั่วนั้น สัตว์หรือบุคคลที่ตนไปทำร้าย เบียดเบียนชีวิตของเขา ก็จะผูกเวรด้วยความเจ็บแค้น ให้เป็นเวรจากกรรมชั่วนั้นกลับมาสนองตอบตน

    เพราะฉะนั้น หลวงพ่อวัดปากน้ำ จึงสอนวิธีเจริญวิชชาธรรมกายแก้โรคด้วยการพิสดารกายตนเอง ชำระธาตุธรรมตนเองให้ใสเสียก่อน แล้วก็ซ้อนธาตุธรรมของคนไข้ให้ผ่องใสได้ แต่นี้เป็นวิธีการแก้โรคเพียงเบื้องต้น เบื้องกลาง เบื้องสูงต่อไปยังมีอีก เพราะมีเหตุในเหตุไป ถึงต้นๆ เหตุ ที่จะต้องเก็บหรือชำระสะสางธาตุธรรมให้บริสุทธิ์ยิ่งกว่านี้ ซึ่งอาตมาจะยังไม่กล่าว ณ ที่นี้

    นี่แหละคือความวิเศษสุดของวิชชาธรรมกาย ที่ให้เข้าไปรู้ไปเห็นทั้ง “ทุกขสัจจะ” และ “สมุทัยสัจจะ” ที่เห็นดำๆ นั้นแหละ จึงให้ชำระเสียโดยพลัน ด้วยว่าเมื่อใครก็ตาม แม้ถึงธรรมกายแล้ว อาจจะเห็นธาตุธรรมปรากฏเป็นสีดำ เป็นสีเศร้าหมองหรือขุ่นมัวก็ให้พึงนึกเข้าไป หยุดนิ่งกลางของกลางจุดเล็กใส ในธาตุธรรมที่ใสละเอียดที่สุด ณ ภายใน ขยายออกแล้วพิสดาร หรือถ้าเห็นเป็นดวงก็หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลางๆๆ ดวงในดวงให้ปรากฏ ใสสว่างขึ้นมา คือหมายความว่าหยุดนิ่งไปกลางของกลางดวงที่ใส ถูกส่วนเข้าศูนย์กลางจะขยายออก ปรากฏดวงที่ใสใหม่ เราก็หยุดนิ่งไปกลางของกลางดวงที่ใสใหม่ กลางของกลางๆๆ เรื่อยไป จนใสแจ่มสุดละเอียด แล้วกายในกาย ณ ภายใน เริ่มตั้งแต่กายมนุษย์ละเอียดที่ผ่องใส ก็จะปรากฏขึ้นต่อๆ ไปจนถึงธรรมกายที่ผ่องใสสว่างมีรัศมีปรากฏยิ่งๆ ขึ้นไป เราก็ทับทวี ดับหยาบไปหาละเอียด เป็นกายในกายที่ละเอียดๆ ต่อๆ ไป หยุดในหยุด กลางของหยุดให้ใสละเอียดทั้งดวงทั้งกายและองค์ฌาน เป็นอันสบายใจได้ จิตใจก็จะผ่องใส เพราะทั้งมหาภูตรูป 4 คือ ธาตุน้ำ-ดำ-ไฟ-ลม และอากาศธาตุ ซึ่งขยายส่วนหยาบมาจากธาตุละเอียดของรูปขันธ์ และเห็น จำ คิด รู้ ที่ขยายส่วนหยาบมาจากธาตุละเอียดของนามขันธ์ 4 ก็จะผ่องใส ได้สบายทั้งใจ และก็สบายทั้งกาย

    นี้คือความวิเศษของวิชชาธรรมกาย ซึ่งมีวิธีปฏิบัติภาวนาที่เป็นตัวสติปัฏฐาน 4 แท้ๆ เพราะจุดมุ่งหมายของสติปัฏฐาน 4 คือ ให้มีสติพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม

    ที่ให้เห็นธรรมในธรรมนั้นน่ะ ที่เห็นธาตุธรรมภาคดำ (อกุสลาธัมมา) จงทำให้มันขาว ให้มันผ่องใสจนกระทั่งใสละเอียด มีรัศมีปรากฏถึงกายธรรมเป็นฝ่ายบุญกุศล (กุสลาธัมมา) นี้เป็น ตัววัตถุประสงค์สำคัญของสติปัฏฐาน 4 ที่มุ่งให้ปฏิบัติภาวนาเพื่อให้ละหรือกำจัดธรรมดำ เพื่อยังธรรมขาวให้เจริญพิจารณาไปทั้งหมด กาย เวทนา จิต ธรรมนั้นแหละ เพื่อละกิเลสเหตุแห่งทุกข์ เมื่อกิเลสเกิดขึ้นในใจของเราก็ให้รู้ว่ามีกิเลสเกิดขึ้น นั่นคือให้มีสติพิจารณาเห็นจิตในจิต และก็เห็นธรรมในธรรม คือธรรมฝ่ายบาปอกุศล (อกุสลาธัมมา) เห็นแล้วไม่ใช่ให้เห็นเฉยๆ ต้องให้ชำระธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ คือ “ใจ” ดับหยาบไปหาละเอียดไปสู่สุดละเอียด ให้บริสุทธิ์ผ่องใสทั้งกายและใจ นี้เป็นตัววัตถุประสงค์เพื่อละธรรมดำและเพื่อยังธรรมขาวให้เจริญ ธรรมปฏิบัตินี้จึงเป็นความดีวิเศษอย่างนี้ เพราะฉะนั้นที่คุณหมอเห็นเป็นประสบการณ์จากธรรมชาติที่เป็นจริง พึงชำระธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ ให้บริสุทธิ์ ผ่องใส ทุกเมื่อ มีคุณหมอหลายคนนะที่เป็นธรรมกายน่ะ ช่วยคนไข้ได้มากทีเดียว ที่รักษาตามวิชาแพทย์ก็ทำไป ที่ช่วยแก้ไขด้วยวิชชาธรรมกายก็ทำประกอบกันไป

    และต้องไม่ลืมว่า ต้องให้คนไข้นั้นแหละเจริญภาวนาตามแบบวิชชาธรรมกายนี้ช่วยตนเอง จะได้ผลมาก ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตจะดีขึ้นอย่างรวดเร็ว มิฉะนั้นผู้คนก็จะคอยแต่ขอให้ช่วยฝ่ายเดียว ไม่รู้จักปฏิบัติภาวนาช่วยตัวเอง และเห็นมามากต่อมากว่า ถึงวิชชาธรรมกายจะช่วยเขาได้โสดหนึ่ง แต่เมื่อเขาหายแล้ว ก็จะไม่เห็นคุณค่าของธรรม จะสังเกตได้ว่า ถ้าไม่ใช่ผู้เห็นคุณค่าของธรรมและสนใจปฏิบัติภาวนาธรรมอยู่แล้ว มากต่อมากจะไม่สนใจมาเข้ารับการศึกษาอบรมและปฏิบัติธรรมเพื่อช่วยตนเองเลย เรียกว่า ไม่เดือดร้อนก็ไม่เข้าหาพระ ไม่เห็นโลงก็ยังไม่หลั่งน้ำตา เพราะเอาแต่ประมาท หลงมัวเมาในกามสุข กล่าวคือในรูป เสียง กลิ่น รส สิ่งสัมผัสทางกาย หลงในลาภ ยศ สักการะ สรรเสริญ และโลกิยสุข หาแก่นสารสาระ มิได้ เอาเป็นที่พึ่งที่แท้ถาวรก็ไม่ได้ หลงรับใช้มารจนลืมความทุกข์ ความแก่ ความเจ็บ และลืมความตายที่กำลังคืบคลานเข้ามาหาตนอยู่ทุกขณะ โดยที่แม้กระทั่งจะตายก็ยังไม่รู้จัก ไม่ใฝ่หาที่พึ่งอันประเสริฐแท้ๆ แก่ตนเอง น่าสงสารแท้ๆ
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,598
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,037
    ค่าพลัง:
    +70,114
    เป็นไปได้ไหม ที่จะดูอนาคตระหว่างการปฏิบัติกัมมัฏฐาน ?

    -------------------------------------------------





    ตอบ:


    เมื่อใดที่ท่านปฏิบัติได้ถึงดวงธรรมใส และรวมใจไว้ที่กลางของกลาง หยุดในหยุดนิ่ง กลางดวงธรรมใสนั้น ท่านจะเห็นช่องว่างเล็กๆ ขนาดประมาณเท่ารูเข็มหรือเล็กกว่า ขึ้นอยู่กับระดับการรวมใจของท่าน ยิ่งระดับสูงช่องว่างนั้นก็ยิ่งเล็ก ตรงกลางช่องว่างนั้น มีสายกำเนิดธาตุธรรมเดิมเป็นเส้นเล็กๆ ที่บางที่สุด บางมากจริงๆ และใส ให้รวมใจหยุดนิ่งที่กลางของกลาง อย่าสร้างภาพใดๆ รวมใจหยุดในหยุดกลางของหยุดๆ เพื่อทำใจให้เป็นกลาง แล้วอธิษฐานจิตไปตามสายกำเนิดธาตุธรรมเดิมนั้น เมื่อใจหยุดนิ่งศูนย์กลางก็จะขยายออก ท่านก็จะเห็นชีวิตของท่านระหว่าง 5-10 ปีข้างหน้า เป็นกายที่แก่นั้น แล้วก็รวมใจหยุดในหยุดกลางของหยุด ที่กลางของกลางศูนย์กลางกายนั้นเข้าไป ก็จะสามารถเห็นกายที่แก่มากขึ้น จนกระทั่งเห็นการตายของสังขารร่างกายของท่านเอง

    อาตมาแน่ใจว่าผู้ใดทำใจให้บริสุทธิ์และเป็นกลางอย่างนี้ หรือผู้ถึงธรรมกาย ก็จะสามารถหยั่งรู้ได้ว่าเขาจะตายเมื่อไรและอย่างไร เมื่อเห็นการตายของสังขารร่างกายของตนเอง ก็สามารถใช้ประสบการณ์นี้เป็นมรณสติได้

    และแม้ว่าเรารู้วันที่เราจะตายแน่นอน และจะตายด้วยอาการอย่างไร เรายังจะคลายความยึดมั่นถือมั่นในสังขารธรรมทั้งหลายได้ และจะเห็นแจ้งด้วยปัญญาของเราเองว่า กายและใจหรือขันธ์ 5 ของเรา ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา

    ตราบเท่าที่ท่านยังมีตัณหา ท่านก็ยังจะมีสายกำเนิดธาตุธรรมเดิมที่จะต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ต่อไป ในโลกมนุษย์ ทิพย์ พรหม หรืออรูปพรหม ตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรม แต่ธรรมกายนั้นหามีสายกำเนิดธาตุธรรมเดิมไม่ เพราะเป็นกายบริสุทธิ์ปราศจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน ให้เกิดภพชาติอีกต่อไป

    อย่างไรก็ตาม อาตมาใคร่จะแนะนำท่านว่า เมื่อท่านปฏิบัติได้ถึงระดับนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นพระภิกษุ ไม่ควรบอกหรือโอ้อวดแก่ผู้ใด เพราะเป็นการผิดพระวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ภิกษุพึงปฏิบัติเพื่อให้เกิดปัญญารู้แจ้งสำหรับตน จึงใคร่จะเน้นว่า ตราบใดที่เรายังไม่ใช่พระอรหันต์ สิ่งที่เรารู้เห็นเหล่านี้ก็ยังไม่แน่นอน 100% ดังนั้นการพิจารณาเช่นนี้จะต้องทำตลอดเวลา เพื่อเจริญปัญญารู้แจ้งสำหรับตน (มิใช่เพื่อการโอ้อวดแก่ใคร)
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,598
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,037
    ค่าพลัง:
    +70,114
    ความทุกข์!!!ทุกอย่างเกิดขึ้นที่ใจ
    ความทุกข์มันมาได้เพราะใจเรายอมรับสภาวะที่กำลังปรากฏต่อหน้าต่อตาไม่ได้ เช่น เราจะต้องเจ็บป่วยเรายอมรับไม่ได้ ความทุกข์ทางใจมันก็เกิดขึ้นเราจะต้องแก่ ยอมรับไม่ได้ ว่าจะต้องแก่ ความทุกข์ทางจิตใจก็เกิดขึ้นจะต้องตายยอมรับไม่ได้ก็ทุกข์อีก จะต้องพลัดพรากจากคนที่รักจะต้องเจอสิ่งที่ไม่รัก อะไรแบบนี้แหละ จะต้องผิดหวังในชีวิตบ้างถ้าเรายอมรับความจริงได้ว่า ชีวิตมันเป็นอย่างนี้แหละทุกอย่างผ่านมาแล้วผ่านไป ผ่านมาแล้วผ่านไปตลอดเวลา
    ยอมรับความจริงตรงนี้เสีย จะได้ไม่ทุกข์ ใจมันทุกข์เพราะมันไม่ยอมรับความจริง
    พระเทพญาณมงคล (หลวงป๋า)



    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,598
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,037
    ค่าพลัง:
    +70,114
    "ทะเลบุญ"

    "ทะเลบุญ" คือ สภาพที่เปรียบเสมือน 'ศูนย์รวมของบุญ'
    อันมากมายมหาศาลไม่มีขอบเขตจำกัด

    ผู้ที่จะสามารถตักตวงบุญได้
    จะต้องเป็นผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ
    ในส่วนที่จะเกิดบุญอย่างใดอย่างหนึ่ง
    ใน 'บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ'
    จึงจะสามารถตักตวงบุญจาก “ทะเลบุญ” ได้

    ยิ่งผู้ที่สามารถเข้าถึง ...
    ความละเอียดประณีตในการปฏิบัติธรรม
    ก็สามารถที่จะเข้าถึง ...
    การตักตวง "บุญที่ละเอียดประณีต"
    ในทำนองเดียวกันได้

    ทะเลบุญ อยู่ที่ "ศูนย์กลางกาย"
    ที่มีอยู่ภายในตัวของทุกคน
    ยิ่งกลางของกลางกาย
    ยิ่งเข้าสู่ ... ทะเลบุญที่ละเอียดยิ่งขึ้น

    เหตุที่ "ทะเลบุญ"
    อยู่ที่ “ศูนย์กลางกาย” เพราะว่า ...
    เป็นที่ตั้งของ 'กำเนิดธาตุธรรมเดิม' ของมนุษย์
    อันเป็นจุดที่รวมทั้งบุญที่ได้กระทำสะสมมาแล้ว
    นับภพนับชาติไม่ถ้วน
    เป็น "ศูนย์กลาง" กายและใจ
    ในการกำจัดกิเลสภายในให้หมดสิ้น
    ไปสู่ "มรรค ผล นิพพาน"

    เป็นที่รวมของ "กายในกาย" ณ ภายในและใจ
    ตั้งแต่กายสุดหยาบ จนถึงละเอียด
    นับแต่กายมนุษย์
    จนถึงกายที่ละเอียด ณ ภายใน
    เข้าไปจนถึง กายพระ หรือ กายธรรม
    ที่เรียกว่า “ธรรมกาย” ซ้อนอยู่ ณ ภายใน

    การจรดใจที่ "ศูนย์กลางกาย"
    เท่ากับการจรดใจถูกตรงกับ "ศูนย์กลางองค์พระ"
    ซึ่งเป็นที่รวมของ “ทะเลบุญ” นั่นเอง !

    นอกจากนี้ “ศูนย์กลางกาย” หรือ “ทะเลบุญ”
    ยังเป็นที่ตั้งของ “ใจ” คือ "เห็น, จำ, คิด, รู้"
    เป็นที่ตั้งแห่งสติอยู่ ขณะหลับและตื่นของมนุษย์
    เป็นจุดเริ่มต้น และ จุดสุดท้ายของชีวิต
    คือมาเกิด และจะไปเกิด ... จะเริ่มจากจุดนี้

    “ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗”
    จึงเป็นที่รวมของความสำคัญที่ได้กล่าวมาแล้ว

    "บุญกุศล" ที่จะเกิดขึ้นจึงอยู่ที่ ...
    ความสามารถ ความบริสุทธิ์ ของแต่ละคน
    ที่จะเข้าถึง “ทะเลบุญ”
    หรือ “ศูนย์กลางกาย” มากน้อยเพียงใด

    การ "เข้าถึง" ทะเลบุญ
    โดยการบำเพ็ญบุญกุศลใน 'บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ'
    - เมื่อก่อนจะกระทำ
    - ขณะกระทำ
    - และหลังจากกระทำ

    จึงให้เอาใจ 'จรด' ลงไปที่ ...
    "ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗" อยู่เสมอ
    ซึ่งจะตรงกับ "ทะเลบุญ"
    ผลบุญที่ได้รับ ก็จะบังเกิดแก่ผู้กระทำ
    มากน้อย ... ตามความละเอียดประณีตของใจ

    โดยเฉพาะการปฏิบัติเจริญภาวนา
    ตามแนว “วิชชาธรรมกาย”
    ที่หลวงพ่อวัดปากน้ำ (สด จนทสโร) ท่านแนะนำ
    ให้เอาใจไปตั้งไว้ “ฐานที่ ๗”
    ซึ่งเป็น “ศูนย์กลางกาย” ตรงกับ “ทะเลบุญ”
    ย่อมได้รับผลบุญโดยตรงตามระดับภูมิธรรม
    ที่ “เข้าถึง” และ “ปฏิบัติได้”

    * พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล)
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,598
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,037
    ค่าพลัง:
    +70,114
    19กค.59 งานทอดผ้าป่าสร้างพระมหาเจดีย์ฯและหล่อพระบรมศาสดา81"

    มีรถรับส่งที่ข้างวัดสระเกศ กรุณามาก่อน7โมง รถจะออก7โมง ครับ



    "ธรรม" เป็นของเย็น
    เพราะฉะนั้น "การปฏิบัติธรรม"
    อย่าใจร้อน อยากเห็นผลในทันที
    เหมือนอย่างโทรทัศน์ เปิดปุ๊บติดปั๊บน่ะ ย่อมไม่ได้
    ต้องให้โอกาสแก่ตนเองบ้างตามสมควร
    ก็เหมือนกับ "การปลูกต้นไม้" นั่นแหละ
    จะต้องรอเวลา ... ให้เจริญเติบโต
    และผู้ปลูกก็ต้องหมั่นดูแลรักษาทำนุบำรุง
    เมื่อถึงเวลา ... ก็จะผลิดอกออกผลเอง
    "การปฏิบัติธรรม" ก็เช่นเดียวกัน
    บางรายก็อาจจะเห็นผลเร็ว
    บางรายก็อาจจะเห็นผลช้า
    เพราะมีปัจจัยหลายอย่าง ที่ช่วยให้ผู้ปฏิบัติธรรม
    บรรลุผลเร็วหรือช้าต่างกัน.




    [​IMG]
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,598
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,037
    ค่าพลัง:
    +70,114
    [​IMG]


    คติธรรมโดย พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงพ่อวัดปากน้ำ

    จากหนังสือ (คัดลอกบางส่วน) "รวมพระธรรมเทศนา พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หน้า ๘๘๔"
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,598
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,037
    ค่าพลัง:
    +70,114
    [​IMG]


    คติธรรมโดย พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล #หลวงป๋า)
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

    จากหนังสือ (คัดลอกบางส่วน) "ตอบปัญหาธรรมปฏิบัติ หน้า ๘๑ "
    ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑ : มิถุนายน ๒๕๔๒
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,598
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,037
    ค่าพลัง:
    +70,114
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,598
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,037
    ค่าพลัง:
    +70,114
    เรื่องของ "แรงกรรม" นั้น
    เป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นการประมูลฤทธิ์
    ระหว่างฝ่าย "ธรรม" กับ "อธรรม"
    ใน 'ธรรมาธรรมสงคราม'
    ว่าถ้ากำลังฤทธิ์ของฝ่ายใด (ฝ่ายพระ/ฝ่ายมาร)
    น้อยกว่า ... ย่อมพ่ายแพ้
    ดังอุปมาว่า น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ
    อาตมาจึงขอเจริญพร
    ญาติโยมทุกท่านนะให้ปฎิบัติภาวนา
    ตามแนว "วิชชาธรรมกาย" กันให้มากๆ
    ได้ผลดีเท่าไหร่ ... ผลจากการปฎิบัติดีของท่าน
    นอกจากจะให้ผลดีเฉพาะตัวของแต่ละท่าน
    ตามระดับภูมิธรรมแล้ว
    ยังให้ได้ผลรวมของสังคม ของหมู่เหล่า
    เมื่อรวมกันทั้งประเทศ ก็ให้ผลดีแก่ประเทศชาติ
    ถ้ารวมกันกว้างขวางออกไปถึงโลก ก็แก่ชาวโลก
    ยิ่งมีจำนวนผู้ปฎิบัติมากเท่าไหร่
    ... ก็ยิ่งมีกำลังสูง
    ความสันติสุขและร่มเย็น แก่สังคมประเทศชาติ
    และชาวโลก ก็จะมีเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น
    เมื่อมีกำลังมากแล้ว
    บางทีหมอดูพยากรณ์ไว้ ... ก็ทำอะไรไม่ได้
    พยากรณ์อะไรไว้ก็คลาดเคลื่อน ... ไม่ถูก
    * หลวงป๋า


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,598
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,037
    ค่าพลัง:
    +70,114
    การมาปฏิบัติธรรมที่นี่
    เราตั้งเป้าของเราไว้แล้วว่า ...
    สพฺพทุกขนิสฺสรณ
    (เราจะมาสลัดตน ออกจากทุกข์ทั้งปวง)
    นิพฺพานสจฺฉิกรณตฺถาย
    (เราจะมาทำนิพพานให้แจ้ง)
    นั่นหมายความว่า ...
    เรามีหน้าที่รับผิดชอบต่อตัวเอง
    ในการมาศึกษา และปฏิบัติธรรม
    เพื่อทำความเข้าใจให้แจ้งชัดว่า
    การมีชีวิตเวียนว่ายตายเกิดในสังสารจักรนี้
    ... มีทุกข์มาก
    และที่เป็นทุกข์เช่นนั้นก็เพราะ
    มี "เหตุแห่งความทุกข์"
    เป็นเหตุ เป็นปัจจัย
    ... ปรุงแต่งสัตว์โลก ให้เป็นไป
    กรรมไม่ดี จึงเป็นทุกข์
    ในส่วนที่ทำกรรมดี ก็เป็นสุข
    เมื่อทำทั้งดีและชั่ว ก็ทุกข์ระคนสุข
    แม้สุข .. ก็ไม่ถาวร
    ลงท้ายก็ "ทุกข์" อย่างเก่า
    * พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล)
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
    *******************************
    *******************************
    ติดตาม กิจกรรม ไหว้พระ ทำบุญฯ
    และปฏิบัติธรรม ทุกสุดสัปดาห์ กับ
    วัดหลวงพ่อสดฯ ดำเนินสะดวก ราชบุรี
    ได้ที่
    เฟสบุ๊ค (facebook LIVE)
    ระฆังธรรม วัดหลวงพ่อสดฯ
    ดำเนินสะดวก ราชบุรี
    https://m.facebook.com/RakangdhamDhammakaya
    ยูทูป (youtube LIVE)
    ระฆังธรรม วัดหลวงพ่อสดฯ
    ดำเนินสะดวก ราชบุรี
    http://www.youtube.com/channel/UCCQ9MT7zkkQLnLgkpEyX6UA/live
    เฟสบุ๊ค (Official)
    วัดหลวงพ่อสดฯ ดำเนินสะดวก ราชบุรี
    https://m.facebook.com/dhammakaya.org
    โฮมเพจ (official)
    วัดหลวงพ่อสดฯ ดำเนินสะดวก ราชบุรี
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม | สำนักปฏิบัติธรรมและโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ประจำจังหว
    แผนที่ (กูเกิ้ล)
    ทางไป วัดหลวงพ่อสดฯ
    ดำเนินสะดวก ราชบุรี
    https://www.google.co.th/search…
    ******




    [​IMG]
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,598
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,037
    ค่าพลัง:
    +70,114
    [​IMG]


    พระธรรมเทศนาของหลวงพ่อวัดปากน้ำ



    คัดมาบางส่วนจาก
    กัณฑ์ที่ ๑ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ




    ขันธ์ ๕ เป็นชื่อของอุปาทาน ถ้าปล่อยขันธ์ ๕ หรือวางขันธ์ ๕ ไม่ได้ก็พ้นจากภพไม่ได้ คงเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในกามภาพ รูปภพ อรูปภพ นี้เอง มืดมนวนอยู่ในที่มืด คือโลกนี้เอง ได้ในคำว่า อนฺธภูโต อยํ โลโก ซึ่งแปลว่า โลกนี้น่ะมืด ผู้แสวงหาโมกขธรรม ถ้ายังติดขันธ์ ๕ อยู่แล้ว ยังจะพบโมกขธรรมไม่ได้เป็นอันขาด กายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม เหล่านี้อยู่ในพวกมีขันธ์ ๕ กล่าวคือ มนุษย์ เทวดา รูปพรหม อรูปพรหม เหล่านี้อยู่ในพวกมีขันธ์ ๕ สัตว์ดิรัจฉาน สัตว์นรกก็พวกมีขันธ์ ๕ พวกมืดทั้งนั้น ยิ่งในโลกันตนรก เรียกว่า มืดใหญ่ทีเดียว

    วิชชาที่ว่านี้หมายเอา วิชชา ๓ คือ ๑ วิปัสสนาวิชชา ๒ มโนมยิทธิวิชชา ๓ อิทธิวิธิวิชชา แต่ถ้านับรวมตลอดถึงอภิญญา ซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของวิชชาเข้าด้วยกันแล้วรวมกันเป็น ๘ คือ ๔ ทิพพจักขุวิชชา ๕ ทิพพโสตวิชชา ๖ ปรจิตตวิชา ๗ ปุพเพนิวาสวิชชา ๘ อาสวักขยวิชชา

    ส่วนจรณะ นั้น มี ๑๕ คือ ๑ ศีลสังวร ๒ อินทรียสังวร ๓ โภชเน มัตตัญญุตา ๔ ชาคริยานุโยค ๕ สัทธา ๖ สติ ๗ หิริ ๘ โอตตัปปะ ๙ พาหุสัจจะ ๑๐ อุปักกโม ๑๑ ปัญญา กับรูปฌาน ๔ จึงรวมเป็น ๑๕

    วิปัสสนา ต่อไปนี้จักแสดงถึงวิชชา และจะยกเอา วิปัสสนาวิชชา ขึ้นแสดงก่อน "วิปัสสนา" คำนี้ แปลตามศัพท์ เห็นแจ้ง เห็นวิเศษ หรือนัยหนึ่งว่าเห็นต่างๆ เห็นอะไร? เห็นนามรูป, แจ้งอย่างไร? แจ้งโดยสามัญลักษณะว่าเป็นของไม่เที่ยง เต็มไปด้วยทุกข์ และเป็นอนัตตา ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล เรา เขา มีข้อสำคัญที่ว่า เห็นอย่างไร? เป็นเรื่องแสดงยากอยู่ เห็นด้วยตาเรานี่หรือเห็นด้วยอะไร? ตามนุษย์ไม่เห็น ต้องหลับตาของมนุษย์เสีย ส่งใจไปจดจ่ออยู่ที่ศูนย์ดวงปฐมมรรค เห็น จำ คิด รู้ มีอยู่ในดวงปฐมมรรคนั้น ตากายทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหมไม่เห็น ก็เพราะว่าพวกเหล่านี้ยังไม่พ้นโลก เสมือนลูกไก่อยู่ในกระเปาะไข่ จะให้แลลอดออกไปเห็นข้างนอกย่อมไม่ได้ เพราะอยู่ในกระเปาะของตัว เพราะโลกมันบัง ด้วยเหตุว่าโลกมันมืดดังกล่าวมาแล้วข้างต้น พวกเหล่านี้จึงไม่สามารถจะเห็น กล่าวคือ พวกที่บำเพ็ญได้จนถึงชั้นรูปฌาน และอรูปฌาน ก็ยังอยู่ในกระเปาะภพของตัว ยังอยู่จำพวกโลก หรือที่เรียกกันว่า ฌานโลกีย์ ยังเรียกวิปัสสนาไม่ได้ เรียกสมถะได้ แต่อย่างไรก็ดี วิปัสสนาก็ต้องอาศัยทางสมถะเป็นรากฐานก่อนจึงจะก้าวขึ้นสู่ชั้นวิปัสสนาได้
    การบำเพ็ญสมถะนั้น ส่งจิตเพ่งดวงปฐมมรรคอยู่ตรงศูนย์ คือ กึ่งกลางกายภายในตรงกลางพอดี ไม่เหลื่อมซ้ายขวาหน้าหลัง แล้วเลื่อนสูงขึ้น ๒ นิ้ว เมื่อถูกส่วนก็จะเห็นกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหมเป็นชั้นๆ ซ้อนกันอยู่ภายในตามลำดับจากกายมนุษย์เข้าไป พิจารณาประกอบธาตุธรรมถูกส่วนรูปจะกะเทาะล่อนออกจากกัน เห็นตามลำดับเข้าไป กายมนุษย์กะเทาะออกเห็นกายทิพย์ กายทิพย์กะเทาะออกเห็นกายรูปพรหม กายรูปพรหมกะเทาะออกเห็นกายอรูปพรหม ในเมื่อประกอบธาตุธรรมถูกส่วน วอกแวกไม่เห็น นิ่งหยุดจึงเห็น หยาบไม่เห็น ละเอียดจึงเห็น อาตาปี สัมปชาโน สติมา ประกอบความเพียรมั่นรู้อยู่เสมอไม่เผลอ เพียงแต่ชั้นกายทิพย์เท่านั้นก็ถอดส่งไปยังที่ต่างๆ ได้ ไปรู้ไปเห็นเหตุการณ์ได้เหมือนตาเห็น คล้ายกับนอนหลับฝัน แต่นี่ไม่ใช่หลับเห็นทั้งตื่นๆ การนอนคนธรรมดาสามัญจะหลับเมื่อไรไม่รู้ จะตื่นเมื่อไรก็ไม่รู้ แต่ถ้าถึงชั้นกายทิพย์แล้ว จะต้องการให้หลับเมื่อไร จะให้ตื่นเมื่อไรทำได้ตามใจชอบ พวกฤาษีที่ได้บำเพ็ญฌานเขาก็ทำได้ แต่ทั้งนี้ก็อยู่ในขั้นสมถะนั้นเอง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ก็ได้เรียนฌานมาแล้วจากในสำนักฤาษี กล่าวคือ อาฬารดาบสและอุทกดาบสก็ได้ผลเพียงแค่นั้น พระองค์เห็นว่ายังมีอะไรดียิ่งกว่านั้น จึงได้ประกอบพระมหาวิริยะบำเพ็ญเพียรต่อไป จนในที่สุดพระองค์ได้บรรลุวิปัสสนาวิชชา เมื่อถึงขั้นนี้แล้วจึงมองเห็นสามัญลักษณะ เห็นนามรูปด้วยตาธรรมกาย เพราะพระองค์ทะลุกระเปาะไข่ คือ โลกออกมาได้แล้ว

    พระองค์เห็นโลกหมดทั่วทุกโลก ด้วยตาธรรมกาย พระองค์รู้ด้วยฌานธรรมกาย ผิดกว่าพวกกายทิพย์ รูปพรหมและอรูปพรหมเหล่านั้นเพราะพวกเหล่านั้นรู้ด้วยวิญญาณ แต่พระองค์รู้ด้วยญาน จึงผิดกัน สภาพเหตุการณ์ทั้งหลายแหล่พระองค์รู้เห็น แต่ไม่ใช่รู้ก่อนเห็น พระองค์เห็นก่อนรู้ทั้งสิ้น

    การเห็นรูปด้วยตามนุษย์ อย่างเช่นพระยสะกับพวกไปพบซากศพและช่วยกันเผา ขณะเผาได้เห็นศพนั้นมีการแปรผันไปต่างๆ เดิมเป็นตัวคนอยู่เต็มทั้งตัว รูปร่าง สี สัณฐานก็เป็นรูปคน ครั้นถูกความร้อนของไฟเผาลน สีก็ดำต่างแปรไป ดำจนคล้ายตะโก หดสั้นเล็กลงทุกทีๆ แล้วแขนขาหลุดจากกัน จนดูไม่ออกว่าเป็นร่างคนหรือสัตว์ ไม่เพียงเท่านั้น ครั้นเนื้อถูกไฟกินหมดก็เหลือแต่กระดูกเป็นท่อนเล็กท่อนน้อย ในที่สุดกระดูกเหล่านั้นแห้งเปราะแตกจากกันล้วนเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย จนดูไม่ออกว่าเป็นกระดูกสัตว์หรือกระดูกมนุษย์พระยสะปลงสังเวชถึงความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แห่งสังขารร่างกายที่เป็นซากศพนั้น แม้กระนั้นก็ยังไม่ทำให้บรรลุมรรคผล จนกว่าจะได้ไปพบพระพุทธเจ้าจึงบรรลุมรรคผล นี่ก็เป็นหลักฐานที่ยืนยันว่า เห็นด้วยตามนุษย์ ไม่ทำให้บรรลุมรรคผลได้ อย่างมากก็เป็นเพียงปัจจัย เพื่อจะให้บรรลุมรรคผลเท่านั้น การเห็นด้วยตาทิพย์ตารูปพรหม และอรูปพรหมก็เช่นเดียวกัน เป็นเพียงปัจจัยเพื่อให้บรรลุมรรคผลเท่านั้น ต้องเห็นด้วยตาธรรมกาย จึงจะบรรลุมรรคผลได้

    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เรียกว่า เบญจขันธ์ คือ ขันธ์ ๕ รูปจะกล่าวในที่นี้ เฉพาะรูปหยาบๆ คือสิ่งซึ่งธาตุทั้ง ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ประกอบกันเข้า รวมกันเป็นก้อนเป็นชิ้น เป็นอัน แลเห็นด้วยตา เช่นร่างกายมนุษย์และสัตว์ ที่เรียกว่ารูปเพราะเหตุว่าเป็นของซึ่งย่อมจะต้องแตกสลายไปด้วยเหตุต่างๆ มีหนาวและร้อนเป็นต้น กล่าวคือ หนาวจัด เย็นจัด จนเกินขีด หรือถูกร้อนจนเกินขีดย่อมแตกสลายไป แต่ถ้าแยกโดยละเอียดแล้ว รูป นี้มีหลายประเภทด้วยกัน เช่น อุปาทายรูปเป็นต้น แต่ว่าจักยังไม่นำมาแสดงในที่นี้การพิจารณาโดยสามัญลักษณะ พิจารณาไปๆ ละเอียดเข้าซึ้งเข้าทุกที จนเห็นชัดว่านี่มิใช่ตัวตน เรา เขา อะไรสักแต่ว่าธาตุประชุมตั้งขึ้นแล้วก็ดับไปตาธรรมกายนั้นเห็นชัดเจน เห็นเกิดเห็นดับติดกันไปทีเดียว คือ เห็นเกิดดับๆๆๆ คู่กันไปทีเดียว ที่เห็นว่าเกิดดับๆ นั้นเหมือนอะไร เหมือนฟองน้ำ เหมือนอย่างไร เราเอาของฝาด เช่น เปลือกสนุ่นมาต้มแล้วรินใส่อ่างไว้ ชั้นต้นจะแลเห็นเป็นน้ำเปล่าๆ ต่อมาเมื่อเอามือแกว่งเร็ว ๆ อย่างที่เขาเรียกว่าฟองน้ำ ดูให้ดีจะเห็นในฟองน้ำนั้นมีเม็ดเล็กๆ เป็นจำนวนมากติดต่อกันเป็นพืดรวมกัน เรียกว่า ฟองน้ำ เราจ้องดูให้ดีจะเห็นว่าเม็ดเล็กๆ นั้นพอตั้งขึ้นแล้วก็แตกย่อยไปเรื่อยๆ ไม่อยู่นานเลย นี่แหละเห็นเกิดดับๆ ตาธรรมกายเห็นอย่างนี้ เห็นเช่นนี้จึงปล่อยอุปาทานได้

    เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอีก ๔ กองนั้นก็ทำนองเดียวกันเห็นเกิดดับๆ ยิบไป เช่นเดียวกับเห็นในรูป ทุกข์เป็นของมีและขึ้นประจำกับขันธ์ ๕ เป็นของธรรมดา แต่ที่เราเดือดร้อนก็เป็นเพราะไปขืนธรรมดาของมันเข้า ขันธ์ ๕ เป็นอนิจจังไม่เที่ยง ย่อมแปรผันไปตามธรรมดาของมัน เกิดแล้วธรรมดามันก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย เมื่อมันถึงคราวแก่ เราไม่อยากจะแก่หรือไม่ยอมแก่ อาการของมันที่แสดงออกมามีผมหงอกเป็นต้น ถ้าเราขืนมัน ตะเกียกตะกายหายาย้อมมันไว้ นี่ว่าอย่างหยาบๆ ก็เห็นแล้วว่าเกิดทุกข์แล้วเกิดลำบากแล้ว ถ้าเราปล่อยตามเรื่องของมันก็ไม่มีอะไรมาเป็นทุกข์

    เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณก็ทำนองเดียวกัน ความทุกข์เกิดขึ้นเพราะขืนมัน ขืนธรรมดาของมัน สิ่งไม่เที่ยงจะให้เที่ยง สิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนก็ยังขืนยึดว่าเป็นตัวตน เหตุที่ให้ขืนธรรมดาของมันเช่นนี้ อะไร? อุปาทาน นั่นเอง ถ้าปล่อยอุปาทานได้ การขืนธรรมดาก็ไม่มี ตามแนวที่ประปัญจวัคคีย์ตอบกระทู้ถามสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ตรัสถามว่าเมื่อมันมีอาการแปรผันไป เป็นธรรมดาแก่ เจ็บ ตาย เช่นนี้แล้วเบญจขันธ์นี้จะเรียกว่าเป็นของเที่ยงไหม? ตอบว่าไม่เที่ยง เมื่อไม่เที่ยงแล้วเป็นทุกข์หรือเป็นสุข? ตอบว่าเป็นทุกข์พระพุทธเจ้าข้า ถ้าเช่นนั้นควรละหรือจะยึดเป็นตัวตน? ไม่ควรพระพุทธเจ้าข้า
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,598
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,037
    ค่าพลัง:
    +70,114
    ข้อควรปฏิบัติ และไม่ควร : พระเทพญาณมงคล - ข้อควรปฏิบัติ และไม่ควร


    ธรรมบรรยายโดย พระเทพญาณมงคล
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
    คติธรรมโดย พระเทพญาณมงคล ขอบคุณหนังสือ "๑๐๘ มงคลธรรม ๑๓๕"








    [​IMG]
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,598
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,037
    ค่าพลัง:
    +70,114
    "รีบออกจากกาม เดินตามขันธ์สามเรื่อยไป"

    หลวงพ่อวัดปากน้ำ(สด จันทสโร)กล่าวว่า “รีบออกจากกาม เดินตามขันธ์สามเรื่อยไป” หมายถึงอะไร ?
    
    จากหนังสือสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานเบื้องต้น มีข้อความตอนหนึ่งที่หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านบอกไว้ว่า “รีบออกจากกาม เดินตาม ขันธ์สามเรื่อยไป เสร็จกิจสิบหก ไม่ตกกันดาร เรียกว่า “นิพพาน” ก็ได้ อยากทราบว่าหมายถึงอะไร? มีอะไรบ้าง?






    ตอบ:

     
     
    ขันธ์ 3 ก็คือไตรสิกขา ได้แก่ ศีลสิกขา จิตสิกขา และ ปัญญาสิกขา ก็คือ การศึกษาอบรมตนโดยทางศีล สมาธิ และปัญญา นี่เองเป็นขันธ์สาม ถ้ากระจายออกไปก็เป็นขันธ์สี่ ขันธ์ห้า คือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ซึ่งธรรมปฏิบัติจะเจริญไปในแนว นั้น แต่หลวงพ่อฯ ท่านพูดในส่วนที่เป็นหลักธรรมปฏิบัติเบื้องต้นเอาไว้ “ขันธ์สาม” ก็คือ สิกขาสาม หรือไตรสิกขา

    ทั้งนี้ก็โดยเหตุที่ทุกคนพึงเห็นโทษของกาม  แล้วพึงดำริออกจากกาม ด้วยการปฏิบัติศีลสิกขา จิตตสิกขา และปัญญาสิกขา ให้ถึงอธิศีลสิกขา คือการศึกษาอบรมในศีลอันยิ่ง  อธิจิตตสิกขาคือการศึกษาอบรมจิตอันยิ่ง  อธิปัญญาสิกขาคือการศึกษาปัญญาอันยิ่ง

    ศีล สมาธิ ปัญญา นี้ ก็มีนัยอยู่ในอริยมรรคมีองค์ 8 คือสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ นี่สงเคราะห์เข้าในจิตตสิกขา   และ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ นี่สงเคราะห์เข้าในปัญญาสิกขา  หรืออีกนัย หนึ่งก็คือสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน โดยมีศีลเป็นบาท นั่นเอง

    กิจ 16 ที่หลวงพ่อฯ ท่านว่า “เสร็จกิจสิบหก ไม่ตกกันดาร เรียกว่า “นิพพาน” ก็ได้  นี้ท่านหมายเอา เมื่อพระโยคาวจรปฏิบัติถึงธรรมกายแล้ว เจริญฌานสมาบัติให้ผ่องใสดีแล้ว  ก็พิจารณาอริยสัจ 4 ในธาตุธรรมเห็น จำ คิด รู้ ของกายมนุษย์และกายมนุษย์ละเอียด ให้เห็นตามที่เป็นจริงว่า เป็นทุกข์อย่างไร  มีเหตุแห่งทุกข์คือสมุทัยอย่างไร  แล้วก็จะพิจารณาเห็นถึงนิโรธ  คือสภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับ มีได้ เป็นได้อย่างไร  และมรรค คือหนทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์อันถาวร เป็นอย่างไร

    แต่ว่าการพิจารณานี้ หมายถึงว่าเมื่อเราเข้าใจหลักพิจารณาสติปัฏฐาน 4 ทั้งกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม  ของกายมนุษย์ แล้วในข้อสุดท้ายก็ “ธรรมในธรรม” นั่นแหละ  มีการพิจารณาอริยสัจ 4 ในกายมนุษย์  ซึ่งอาศัย “ญาณ” หรือ ตา ของธรรมกายโคตรภูที่สุดละเอียด คือธรรมกายที่เราเข้าถึงสุดละเอียดแล้ว  แต่ยังไม่สามารถกำจัดสังโยชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกได้โดยเด็ดขาดอย่างน้อย 3 ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ นั่นแหละ ที่ยังจัดเป็นโคตรภูบุคคล  มีโคตรภูญาณ หรือ โคตรภูจิต ของธรรมกายโคตรภูหยาบ ถึงโคตรภูละเอียดนั้นเอง เมื่อพระโยคาวจรอาศัยธรรมกายที่สุดละเอียดทำนิโรธ (ไม่ใช่นิโรธสมาบัติ) ดับสมุทัย คือปหานอกุศลจิตของกายในภพ 3 โดยการพิสดารธรรมกายไปสุดละเอียด ผ่านศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม อันเป็นที่ตั้งกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม อันเป็นที่ตั้งของธาตุธรรม และเห็น จำ คิด รู้ คือ “ใจ” อันเป็นที่ตั้ง ที่เอิบ อาบ ซึม ซาบ ปน เป็น ของกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เหตุแห่งทุกข์ทั้งหลายนั้นเอง   ก็พิสดารธรรมกายผ่านธาตุธรรมเห็น จำ คิด รู้ ของทุกกายสุดกายหยาบกายละเอียด เป็นการปหานอกุศลจิตของ กายในภพ 3 และกำจัดหรือชำระกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ไป ในตัวเสร็จ  เป็นแต่ธรรมกายอรหัตในอรหัตที่ละเอียดๆ จนสุดละเอียด ผ่องใส บริสุทธิ์ หลุดพ้นจากกิเลสแม้เพียงชั่วขณะที่เจริญภาวนาอยู่  เป็นวิกขัมภนวิมุตติ  นี้เป็น “นิโรธ” ในความหมายของการดับสมุทัย คือ ปหานอกุศลจิตของกายในภพ 3 (ที่เกิดมีอยู่พร้อมกับเจตสิกธรรม ฝ่ายบาปอกุศล) จนเป็นแต่จิตใจ เห็น จำ คิด รู้ ผ่องใส บริสุทธิ์

    เมื่อใจของธรรมกายที่สุดละเอียด   ละอุปาทานในเบญจขันธ์ ของกายในภพ 3  และปล่อยความยินดีในฌานสมาบัติ ปล่อยขาดหมดพร้อมกัน   ธรรมกายที่หยาบจะตกศูนย์   ธรรมกายที่สุดละเอียดจะปรากฏในอายตนะนิพพาน  ยึดหน่วงพระนิพพานเป็นอารมณ์  เรียกว่า ตกกระแสพระนิพพาน  ด้วยโคตรภูจิต หรือโคตรภูญาณก่อน และในขณะเดียวกัน  เมื่อมรรคจิต มรรคปัญญา รวมเรียกว่า “มรรคญาณ” เกิดและเจริญ  กำลังของสมถภาวนาและวิปัสสนาปัญญามีเพียงพอเสมอกัน  สมถภาวนาต้องเจริญถึงตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป

    ส่วนวิปัสสนาภาวนานั้น  พระโยคาวจรได้ผ่าน ได้มีประสบการณ์ในการเจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาภาวนา  พิจารณาสภาวธรรม จนถึงได้พิจารณาอริยสัจอยู่แล้วนั้น ขณะเมื่อทั้งสมถะและวิปัสสนา มีกำลังแก่กล้าเสมอกันนั้นเอง   ธรรมกายโคตรภูที่สุดละเอียดจะตกศูนย์   ธรรมกายพระโสดาปัตติมรรค ก็จะปรากฏขึ้นปหานสังโยชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกอย่างน้อย 3 ประการ  คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้  แล้วก็จะตกศูนย์ปรากฏเป็นธรรมกายพระโสดาปัตติผล ลอยเด่นขึ้นมาและตั้งอยู่ใสสว่างโพลง

    ด้วยญาณของพระธรรมกายที่บรรลุมรรคผลแล้วอย่างนี้  จึงพิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว  กิเลสที่ยังเหลือ  พิจารณามรรค พิจารณาผล และพิจารณานิพพาน นั้นแหละเรียกว่า “พิจารณาปัจจเวกขณ์”   ในช่วงของการบรรลุมรรคผลในแต่ละระดับภูมิธรรมนั้นเอง  ที่กล่าวเป็นตัวอย่างแรกข้างต้นนี้  กล่าวกันโดยเฉพาะกิจ 4 ประการ คือ  การมีสติพิจารณาเห็นกายในกาย  เห็นเวทนาในเวทนา  เห็นจิตในจิต และธรรมในธรรม ของกายมนุษย์และกายมนุษย์ละเอียด  และในส่วนธรรมในธรรมนั้น  ก็คือพิจารณาอริยสัจ 4 ด้วยตาหรือญาณของธรรมกายโคตรภู  แล้วตกศูนย์ เมื่อมรรคจิตเกิดและเจริญขึ้น  ดังกรณีมรรคจิตของธรรมกายพระโสดาปัตติมรรค ปหานสังโยชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกอย่างน้อย 3 ประการดังกล่าวแล้ว  ก็จะตกศูนย์ ธรรมกายโสดาปัตติผลก็จะปรากฏใสสว่างขึ้นเข้าผลสมาบัติ และพิจารณาปัจจเวกขณ์ ดังกล่าวนี้  ว่าด้วยช่วงเดียว คือพิจารณากายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พิจารณาอริยสัจ 4 ในกายมนุษย์และกายมนุษย์ละเอียด นี้เป็นกิจ 4

    ต่อไปก็เป็นพิจารณาสติปัฏฐาน 4 โดยเฉพาะอย่างยิ่งอริยสัจ 4 ในกายทิพย์ โดยตาหรือญาณของธรรมกายโสดาปัตติผลพิจารณาอริยสัจ 4 ในกายทิพย์และทิพย์ละเอียด นี่ก็เป็นกิจอีก 4 แบบเดียวกัน   นี่กิจ 4 สอง-สี่ เป็น 8 แล้ว

    เมื่อญาณหรือตาของธรรมกายพระสกิทาคามิผลนั้น  พิจารณาอริยสัจ 4 ในกายรูปพรหมหยาบ-รูปพรหมละเอียด อีกต่อไปแบบเดียวกัน   ธรรมกายพระสกิทาคามิผลก็จะตกศูนย์   ธรรมกายพระอนาคามิมรรคจะปรากฏขึ้นปหานสังโยชน์เบื้องต่ำอีก 2 คือ ปฏิฆะและกามราคะ  รวมเป็นละสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ได้แล้ว ก็จะตกศูนย์ ธรรมกายพระอนาคามิผลก็จะปรากฏขึ้นใสสว่าง  เข้าผลสมาบัติไปแล้วพิจารณาปัจจเวกขณ์แบบเดียวกัน  นี่เป็นเสร็จกิจอีก 4 เป็นกิจ 12 แล้ว

    เมื่อใจของธรรมกายพระอนาคามิผลพิจารณาอริยสัจ 4 ในกายของอรูปพรหมหยาบ-อรูปพรหมละเอียด ต่อไปอีกแบบเดียวกัน  เห็นแจ้งในอริยสัจ 4 อันเป็นไปในญาณ 3 คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ มีอาการ 12  แล้วก็จะตกศูนย์   ธรรมกายพระอรหัตตมรรคก็จะปรากฏขึ้นปหานสังโยชน์เบื้องสูงอีก 5 คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา ได้หมดสิ้นโดยเด็ดขาดเป็นสมุจเฉทปหาน  รวมเป็นปหานหรือละสังโยชน์ 10 (เบื้องต่ำ 5 และเบื้องสูง 5) แล้ว ธรรมกายพระอรหัตตมรรคจะตกศูนย์   ธรรมกายพระอรหัตตผลก็จะปรากฏขึ้นใสสว่างเข้าผลสมาบัติไป แล้วพิจารณาปัจจเวกขณ์เพียง 4 คือพิจารณาเฉพาะกิเลสที่ละได้หมดไปแล้ว (ทั้งหมด) คือสังโยชน์ 10 (ทั้งเบื้องต่ำเบื้องสูง)  พิจารณามรรค พิจารณาผล พิจารณาพระนิพพาน  เห็นแจ้งทั้งสภาวะนิพพาน ธรรมกายที่บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว  ผู้ทรงสภาวะนิพพาน และอายตนะนิพพาน

    “ธรรมกาย” ที่ตรัสรู้อริยสัจทั้ง 4 แล้วบรรลุมรรคผลนิพพาน นั้นแหละ  เป็นผู้ทรงสภาวะนิพพาน  เป็นธาตุล้วนธรรมล้วนที่ไม่ประกอบ ด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ที่ชื่อว่า “วิสังขาร”   วิสังขารมี 2 ระดับ

    ระดับที่หนึ่ง คือพระนิพพานธาตุที่ละสังโยชน์ 10 และปล่อยวางอุปาทานในเบญจขันธ์ได้โดยเด็ดขาด  แต่ยังครองเบญจขันธ์อยู่ คือ ยังไม่ตาย ชื่อว่า “สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ”

    อีกระดับหนึ่งคือพระนิพพานธาตุ ที่เบญจขันธ์แตกทำลาย คือตายแล้ว ชื่อว่า “อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ”

    นี่พระนิพพานมี 2 ระดับ อย่างนี้

    พระอรหันต์ที่ยังครองเบญจขันธ์อยู่ ชื่อว่า ท่านได้บรรลุ “สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ” ซึ่งเป็นวิสังขาร คือมีสังขารไปปราศแล้ว  คือ เป็นธาตุธรรมที่บริสุทธิ์ ปราศจากกิเลส ตัณหา ราคะ เป็นเครื่องปรุงแต่ง เป็นวิราคธาตุ วิราคธรรม  เป็นธรรมธาตุที่ว่างเปล่าจากสังขารทั้งในขณะ  ยังเป็นๆ อยู่ ชื่อว่า “อัคคสูญ” คือเป็นเลิศ เพราะเป็นธรรมที่ว่างเปล่า จากตัวตนโลกิยะ และสิ่งที่เนื่องด้วยตัวตนโลกิยะ

    นั้นกล่าวคือ ท่านวางอุปาทานในเบญจขันธ์ ด้วยตัณหาและ ทิฏฐิเสียได้แล้ว ไม่เห็นเบญจขันธ์ อันเป็นตัวตนโลกิยะว่ามีสาระในความมีตัวตนที่แท้จริง จึงเห็นตัวตนโลกิยะหรือสังขารธรรมทั้งปวง  เป็นสภาพที่ว่างเปล่านั้น ท่านวางอุปาทานได้อย่างนั้น  เหมือนมะขามล่อน   ในส่วนของธรรมกายซึ่งบรรลุอรหัตตผลเปรียบเหมือนเนื้อมะขาม  ส่วนเบญจขันธ์ที่ท่านยังครองอยู่เหมือนเปลือกมะขามที่ล่อนไม่ติดเนื้อ  คือหากมีอะไรกระทบกระเทือนกาย ท่านก็ไม่มีทุกข์ที่ใจ นี่แหละคือ อาการของพระอรหันต์ ที่ท่านบรรลุพระอรหัตตผลโดยที่ยังครองเบญจขันธ์อยู่

    วิสังขารอีกระดับหนึ่ง  คือเมื่อเบญจขันธ์แตกทำลายคือตายแล้ว  ไม่ว่าจะเป็นเบญจขันธ์ของมนุษย์ ของเทพยดา หรือของรูปพรหม เช่น รูปพรหมในชั้นสุทธาวาสที่กำลังบรรลุอรหัตตมรรค บรรลุอรหัตตผลแล้ว  เมื่อจะต้องสิ้นชีวิตในชั้นที่สถิตอยู่   เบญจขันธ์รูปพรหมของท่านก็แตกทำลายคือตายเหมือนกัน   ในกรณีเช่นนี้ชื่อว่า ท่านดับขันธ์เข้าปรินิพพาน ด้วย “อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ”  มีแต่พระนิพพานธาตุคือธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผลแล้วล้วนๆ   เบญจขันธ์ตายแล้วนั่นแหละ ที่ชื่อว่า “อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ” คือพระนิพพานธาตุที่ไม่มีเบญจขันธ์ครองอยู่

    ความสูญสิ้นหมดไปอย่างนี้  หมดทั้งกิเลส ตัณหา อุปาทาน และตัวสังขาร  ได้แก่เบญจขันธ์ก็ไม่มี เพราะแตกทำลายไปแล้วอย่างนี้ ชื่อว่า “ปรมัตถสูญ”  คือเป็นความสูญอย่างมีประโยชน์สูงสุด  เพราะความไม่มีสังขาร คือไม่มีทั้งเบญจขันธ์ และกิเลสตัณหาเครื่องปรุงแต่งทั้งปวง

    คำว่า “พระนิพพานธาตุ” หรือ “นิพพาน” เฉยๆ จึงหมายถึง ทั้งสภาวะนิพพาน และผู้ทรงสภาวะนิพพาน คือธรรมกายที่บรรลุพระ อรหัตตผลแล้ว

    พระอริยเจ้าที่ท่านบรรลุมรรคผลนิพพานนั้น ท่านอาจจะบรรลุทีละระดับๆ เป็นชั้นๆ ไป ตั้งแต่ พระโสดาปัตติผล พระสกิทาคามิผล พระอนาคามิผล และพระอรหัตตผล    หรือในกรณีที่บุญบารมี อุปบารมี และปรมัตถบารมีของท่านเต็มแล้วเพียงใด ท่านก็สามารถจะ บรรลุมรรคผลนิพพานถึงระดับนั้นๆ รวดเดียวได้เลย โดยไม่ต้องบรรลุทีละขั้นๆ ก็ได้   และผลจิตหรือญาณของธรรมกายที่บรรลุอริยผลนั้น เป็นผู้พิจารณาพระนิพพาน และย่อมเห็นแจ้งทั้งสภาวะพระนิพพาน และผู้ทรงสภาวะนิพพานคือธรรมกาย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งธรรมกายที่ บรรลุพระอรหัตตผลแล้วว่า มีสภาพเที่ยง (นิจฺจํ)  เป็นบรมสุข (ปรมํ สุขํ)  และยั่งยืน (ธุวํ)  มีแก่นสารสาระในความเป็นตัวตน (อตฺตา) แท้  เพราะไม่ต้องแปรปรวน (อวิปริณามธมฺมํ)  ไปตามเหตุปัจจัย มีสภาพ คงที่ (ตาทิ) มั่นคง (สสฺสตํ) ยั่งยืน (ธุวํ) จึงไม่ต้องเคลื่อน (อจฺจุตํ) และไม่มีเหตุปัจจัยให้เกิดด้วย ก็เลยไม่ต้องเกิดเป็นธรรมฐิติ ดำรงอยู่ อย่างนั้น ไม่แก่ ไม่เจ็บ และไม่ตาย (อมตํ) จึงเป็นบรมสุข และยั่งยืน ตลอดไป นี่สภาวะพระนิพพานเป็นอย่างนี้

    ใครเป็นผู้ทรงสภาวะพระนิพพานอย่างนี้?  ไม่ใช่เบญจขันธ์แน่นอน   เพราะเบญจขันธ์เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา   ต้องเป็นธาตุล้วน ธรรมล้วน ก็คือธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผลแล้วนั้นเองนี่แหละ ธาตุล้วน ธรรมล้วน เป็นผู้ทรงสภาวะนิพพาน เป็นตัวพระนิพพาน เลย

    สถิตอยู่ที่ไหน?  ไม่สถิตอยู่ที่ไหนๆ ในจักรวาลนี้ ในภพ 3 นี้ ในโลกใดๆ ก็ไม่มี  ที่ชื่อว่า “โลก” คือภพทั้ง 3  นี้อยู่ในจักรวาลนี้เท่านั้น จึงชื่อว่าโลก พ้นโลกไปเป็นพระนิพพาน  พระนิพพานกับโลกอยู่คนละส่วน   พระนิพพานนั้นพ้นโลก จึงชื่อว่า “โลกุตตระ” เป็นธรรมที่พ้นโลก จึงชื่อว่าโลกุตตรธรรม นั่นแหละพระนิพพาน  พระอรหันต์ท่านดับขันธ์เข้าปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุนั้นไม่เรียกว่าโลก   ไม่เรียกว่าภพ  เพราะไม่มีภพ  ไม่มีชาติ  ไม่มีการเกิดด้วยเหตุปัจจัย   ที่สถิตอยู่ของพระนิพพานธาตุเหล่านี้ ชื่อว่า “อายตนะนิพพาน”  ที่มีพระพุทธดำรัส ในปาฏลิคามิยวรรค อุทาน นิพพานสูตรว่า  “อตฺถิ ภิกฺขเว ตทายตนํ...” แปลความว่า “ภิกษุทั้งหลาย  อายตนะนิพพานนั้นมีอยู่...” เป็นต้น   คำว่า “อายตนะ (นิพพาน)” นี้  หลวงพ่อวัดปากน้ำมิได้บัญญัติขึ้นเอง   อาตมาไม่ได้พูดขึ้นเอง แต่เป็นพระพุทธดำรัสอยู่ในนิพพานสูตร  ไปดูได้ตั้งแต่นิพพานสูตรที่ 1 ไปทีเดียว  มีพระพุทธดำรัสว่าด้วยอายตนะนิพพาน  ว่าด้วยธรรมชาติที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งชื่อว่า อสังขตธรรม มีอยู่ในนิพพานสูตรทั้งนั้น

    เพราะฉะนั้นคำที่ว่า “เสร็จกิจสิบหกไม่ตกกันดาร  เรียกว่า นิพพานก็ได้”  นี่ก็เพราะพระโยคาวจรได้เจริญภาวนา มีสติพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และเห็นธรรมในธรรม คือ อริยสัจ 4 ของแต่ละกาย ได้แก่ของกายมนุษย์   กายทิพย์ กายรูปพรหม และอรูปพรหม นี้ก็จัดเป็นกิจแต่ละ 4 แต่ละ 4 ก็เป็นกิจ 16 เพื่อให้บรรลุมรรคผลนิพพานตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้   กล่าวถึงเสร็จกิจ รวบยอดของพระอรหันต์ก็เป็นกิจ 16 นี่แหละที่หลวงพ่อท่านกล่าว ว่า “เสร็จกิจสิบหกไม่ตกกันดาร เรียกว่านิพพานก็ได้”

    เพราะฉะนั้น นี่เป็นความลึกซึ้งที่หลวงพ่อวัดปากน้ำ  พระ มงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านกล่าวสอนไว้   ข้อความที่ท่านกล่าว แต่ละคำล้วนมีความหมายลึกซึ้ง หลวงพ่อท่านสามารถแสดงพระธรรมเทศนาโดยการยกพระบาลีขึ้นมาแสดง  ท่านสามารถแสดงรายละเอียดทั้งพระพุทธพจน์และคำแปล และทั้งแสดงวิธีปฏิบัติธรรม  พร้อมทั้งผลของการปฏิบัติธรรมด้วย  ซึ่งเป็นผล (ปฏิเวธธรรม) ที่พิสูจน์ได้ด้วยการปฏิบัติพระสัทธรรมที่ถูกต้องและตรงประเด็นตามพระสัทธรรม ของพระพุทธเจ้า   การแสดงพระธรรมเทศนาของพระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ โดยยกทั้งพระบาลีหรือพระพุทธพจน์ขึ้นแสดง แจกแจงคำแปลแต่ละคำๆ หรือแต่ละประโยค ก็แล้วแต่เหตุการณ์ พร้อมกับยกเอาผลของการปฏิบัติมาแสดงอย่างชัดเจนด้วย อย่างนี้ เห็นมีไม่มาก

    แต่ก่อน อาตมาเคยลังเลสงสัยในคำเทศน์ของหลวงพ่อฯ อยู่คำหนึ่ง ในหนังสือหลักสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานเบื้องต้น ที่ท่านแสดง ไว้ว่า “ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 นั้น ทางนี้ทางเดียว ไม่มีสองทาง เป็น เอกายนมรรค”   ตอนแรกอาตมานึกลังเลสงสัยว่า ถ้าว่าจะนำไปพิมพ์เผยแพร่  สมัยนั้นอาตมาเป็นกรรมการที่ปรึกษาสภาสังคมสงเคราะห์ ก็คิดว่าจะนำหนังสือนี้ไปพิมพ์เผยแพร่ ก็เป็นห่วงกลัวว่า จะถูกเขาโจมตีว่า “ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 นี่ จะเป็นทางนี้ทางเดียวได้อย่างไร จึงได้ไปปรึกษาหลวงพ่อพระภาวนาโกศลเถร  ท่านบอกว่า “อย่าไปแก้นะ  คำของหลวงพ่อ  แก้ของท่านแม้เพียงคำเดียว ประเดี๋ยวเข้าเซฟนะ”

    “เข้าเซฟ” หมายถึงอะไร  ประเดี๋ยวค่อยไปถามผู้ถึงธรรมกายแล้ว  หรือปฏิบัติให้ถึงธรรมกายเองก็จะทราบว่า  มีโทษรุนแรงยิ่งกว่าตกอเวจีมหานรกอีก เพราะนี้เป็นคำจริง “ทางเดียวไม่มีสองทาง”   ท่านว่า ทางนั้นทางเดียว   เอ๊ะ! ถ้าอย่างนั้น คนอื่นเขาจะรู้สึกขัดข้องโจมตีว่า ถ้าอย่างนั้นคนอื่น สำนักอื่น ที่ปฏิบัติแบบอื่นก็ปฏิบัติไม่ถึงนิพพานซิ?

    ความจริงท่านพูดหมายความว่า ใครจะถึงนิพพานก็ต้องไปทางนี้ทางเดียว  ต้องมาทางนี้ คือ ตรงศูนย์กลางกายฐานที่ 7 อันเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิมนี้  เป็นที่ตั้งถาวรของใจ คือตรงศูนย์กลางกาย  นี่เป็นที่เปลี่ยนวาระจิตเป็นประจำ  เพราะเป็นที่ตั้งของธาตุละเอียด ของขันธ์ 5, อายตนะ 12, ธาตุ 18, อินทรีย์ 22, อริยสัจ 4, ปฏิจจสมุปบาทธรรม 12   เพราะฉะนั้น  เมื่อจะบรรลุมรรคผลนิพพาน   “ใจ” ของแต่ละกาย หรือรวมหมดทุกกายนั่นแหละถึงธรรมกาย ดวงเดิม จะตกศูนย์   “ใจ” ดวงใหม่จึงลอยเด่นขึ้นมาตรงนี้  ใสสะอาดบริสุทธิ์ยิ่งๆ ขึ้นไป จนถึงธรรมกาย  ตั้งแต่ธรรมกายโคตรภูไปจนถึงธรรมกายมรรค ผลนิพพานแต่ละระดับ ส่วนหยาบจะต้องตกศูนย์ตรงนี้   ส่วนละเอียดที่บริสุทธิ์ผ่องใสก็จะปรากฏขึ้นมาตรงนี้   จิตเกิดดับเปลี่ยนวาระจิตตรงนี้ วิญญาณดับและเข้ามรรคผลนิพพานก็เข้าตรงนี้จริงๆ    เมื่อท่านปฏิบัติถึงธรรมกายแล้วก็จะถึงบางอ้อว่า   เออ! จะเข้าถึงธรรมกายนั้นก็ต้องดับหยาบไปหาละเอียด  หยุดในหยุดกลางของหยุด กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม   ส่วนหยาบจะตกศูนย์   ส่วนละเอียดจะปรากฏขึ้นใหม่ทับทวีไปอย่างนี้สุดละเอียดจนถึงธรรมกาย จนถึงธรรมกายมรรค ธรรมกายผล และธรรมกายนิพพาน   ด้วยอาการอย่างนี้   ตรงศูนย์กลางกายของกายในกาย  กลางของกลางๆๆๆ ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมของแต่ละกายสุดกายหยาบกายละเอียด จนถึงธรรมกายมรรคผลนิพพานนี้เอง จึงเป็นเอกายนมรรค  เพราะเป็นที่ตั้งของกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม อันเป็นธรรมในธรรมในส่วนโลกิยะไปจนสุดละเอียดถึงโลกุตตรธรรม  สุดละเอียดเข้าไปก็คือธรรมกายที่จะบรรลุมรรคผลนิพพาน

    ธรรมกายอริยมรรคก็จะตกศูนย์  ธรรมกายอริยผลก็จะปรากฏขึ้น ใสสว่างตรงกลางของกลางๆๆๆ  ตรงนั้น  จากศูนย์กลางกายสุดหยาบ จนถึงศูนย์กลางกายสุดละเอียดนั้นเอง   ส่วนหยาบเป็นมรรค   ส่วนละเอียดเป็นผล  มรรคและผลเกิดอย่างนี้ต่อๆ ไปจนสุดละเอียด  จึงถึงมรรคผลนิพพาน  ตรงจุดศูนย์กลางกายแต่ละกาย สุดกายหยาบ กายละเอียด  กลางของกลางๆๆๆ และดับหยาบไปหาละเอียดนี้เอง

    แต่คนอื่นไม่รู้ไม่เห็นว่า ความเปลี่ยนแปลงวาระจิตหรือภูมิจิต  ทุกอย่างเป็นที่ธาตุธรรม  ไม่ใช่เป็นที่ภายนอก ไม่ใช่เป็นที่ใจของกายมนุษย์อย่างเดียว  แต่ความบรรลุมรรคผลนิพพานนั้น  ต้องเปลี่ยนวาระจิต คือเลื่อนภูมิจิตจากกายโลกิยะ สุดหยาบคือมนุษย์  ไปจนสุดละเอียด ของกายอรูปพรหม    จนเมื่อวิญญาณของอรูปพรหมดับ  ความบรรลุมรรคผลนิพพานจึงไปปรากฏเป็นที่ใจของกายธรรม  เป็นธาตุธรรมที่ละเอียด ที่บริสุทธิ์ นั่นแหละ เป็นธาตุธรรมที่บรรลุมรรคผลนิพพาน เป็นที่ไหน?  เป็นอยู่ที่กลางของกลาง  ศูนย์กลางกายที่สุดละเอียดของกายมรรคผล นิพพานนั่นแหละ

    ผู้ที่บรรลุอริยมรรคอริยผลในขั้นต่างๆ จะเห็นหรือไม่เห็นก็ตาม  ใจต้องเปลี่ยนวาระ เปลี่ยนภูมิจิตตรงนั้น  เป็นที่อื่นไม่มี เพราะตรงนั้นเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม เป็นที่ตั้งของกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม จากกายสุดหยาบถึงกายสุดละเอียด คือถึง พระนิพพาน ทั้งพระนิพพานธาตุ ผู้ทรงสภาวะนิพพาน และอายตนะนิพพาน  ก็กลางของกลางตรงนั้น   พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอายตนะนิพพาน ว่า “หาที่ตั้งมิได้”

    เพราะเหตุนี้นี่แหละ  คนที่ไม่ได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตรงประเด็น  ตามทางสายกลางอย่างนี้  ก็เลยไม่เห็นนรก ไม่เห็นสวรรค์  ไม่เห็นนิพพานตามที่เป็นจริง   แต่ถ้าปฏิบัติตามทางสายกลางอย่างนี้  ก็จะ สามารถเห็นนรก เห็นสวรรค์ เห็นพระนิพพานตามที่เป็นจริงได้   แม้เห็นหมดทั้งจักรวาลตามที่อยู่ในคัมภีร์  ก็เห็นตามที่เป็นจริงได้  ไม่ว่าสิ่งนั้น จะเป็นทิพย์ หรือสุดละเอียดไปจนถึงพรหมโลก หรือสุดละเอียดไปจนถึงอายตนะนิพพาน ก็เห็นได้ตามพระพุทธดำรัส

    เพราะฉะนั้น การปฏิบัติภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายนี้   ถ้าปฏิบัติไปในแนวนี้  ความสงสัยต่างๆ จะค่อยๆ หายไปด้วยการเจริญปัญญาจากการที่ได้ทั้งเห็นและทั้งรู้  จนถึงที่สุดของผู้ที่บรรลุมรรคผล นิพพาน ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้   เพราะแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องตามทางสายกลางโดยทางปฏิบัติในกลางของกลางธาตุธรรมเห็น จำ คิด รู้ คือใจ ของพระโยคาวจรที่กำลังปฏิบัติอยู่นั้นนั่นแหละ   ไปจนถึงผู้บรรลุมรรคผลนิพพานนั้น   การเปลี่ยนวาระจิตหรือเลื่อนภูมิจิต ก็ตรงกลางของกลางๆๆ  ตรงศูนย์กลางกายสุดกายหยาบกายละเอียด  จนถึงธรรมกายมรรคผลนิพพานและถึงอายตนะนิพพานก็ตรงนี้แหละ

    ศูนย์กลางกายสุดกายละเอียดจนถึงธรรมกายมรรคผลนิพพาน  ตรงนี้จึงเป็น “เอกายนมรรค”  เป็นทางเดียวไม่มีสองทาง  ด้วยประการฉะนี้   ส่วนอาการภายนอกอย่างอื่นนั้น เป็นเรื่องของอาการภายนอก   แต่การจะบรรลุมรรคผลนิพพานจริงๆ นั้น  บรรลุที่ธาตุธรรมที่เห็น จำ คิด รู้ คือ “ใจ” ที่ผ่องใสที่บริสุทธิ์ที่สุดละเอียด ไปจนถึงเป็นใจของกายธรรม เรียกว่า “ธรรมกาย”   นั่นความเป็นจริงทางปฏิบัติ และผลของการปฏิบัติเป็นอย่างนี้

    เพราะฉะนั้น  คำถามนี้อาตมาจึงขอขยายความให้เห็นชัดเจน ว่า คำพูดของหลวงพ่อสดวัดปากน้ำแต่ละคำนั้นมีค่าสูงที่สุด  ถ้าใครรู้จักพิจารณาและปฏิบัติไปตามแนวทางนี้ก็จะเห็นได้ชัดเจน  หรืออย่างน้อย ก็จะพอได้ประสบการณ์ที่คุ้มค่าที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์และได้พบพระพุทธศาสนา
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...