สนทนาสบายๆ ตามประสา

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย ธณต, 8 พฤศจิกายน 2011.

  1. เอก บ่อทอง

    เอก บ่อทอง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    437
    ค่าพลัง:
    +427

    ขอบคุณ ครับ .... กำลังรอติดตามตอนต่อไป ครับ
     
  2. paper_white

    paper_white เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2011
    โพสต์:
    2,021
    ค่าพลัง:
    +4,804
    สงสัยอีกแล้วครับ

    วันนี้อ่าน คมชัดลึก พระเครื่อง บอกว่าหนังสือพระที่แจกงานศาลปกครอง ชื่อ พระเบญจภาคีและพระเนื้อผง บอกว่าสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ ขนาด 4 ซม คูณ 2.5 ซม ทำไมใหญ่จังอะครับ สรุปแล้วจริงขนาดควรเป็นเท่าไรกันแน่ แล้ววัดระฆังกับวัดบางขุนพรหม นี่ขนาดเท่ากันไหมเนี๊ย เริ่มสับสนแล้วครับ :cool:
     
  3. ธณต

    ธณต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,624
    ค่าพลัง:
    +5,025
    เป็นอะไรที่ยากลำบากจริงๆสำหรับการที่จะค้นเรื่องพระกริ่ง เอาเท่าที่หาได้ก่อนแล้วกันนะรับและขอดูความสนใจด้วยว่ามากน้อยเท่าไรเพราะแบบที่เรียนว่ายากจริงๆ บางเรื่องก็คงได้เป็นแค่เรื่องบอกต่อเท่านั้นเอง
    เอาเป็นอ่านเป็นนิทานก็ได้จะเก็บเอาไปเป็นความรู้ให้รกสมองก็ไม่ได้ขัดข้องแต่อย่างไรครับ


    เริ่มที่ไหนดีละเอาเป็นว่าถ้าไม่เริ่มที่ประวัติท่านก็ดูกระไร เอาพอสังเขปแล้วกันถ้าอยากรู้มากกว่านี้ก็ค้นเอานะครับมีมากมายนัก

    สมเด็จพระสังฆราช วัดสุทัศน์เทพวราราม พระนามเดิมว่า แพ พระฉายานาม ติสสเทว ประสูติในรัชกาลที่ 4 วันพุธ เดือน 12 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง จุลศักราช 1218 ตรงกับวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2399 บิดาชื่อ นุตร์ มารดาชื่อ อ้น เป็นชาวสวนบางลำภูล่าง อำเภอคลองสาน จังหวัดธนบุรี มีพี่น้องร่วมมารดาบิดาเดียวกันรวม 7 คน คือ
    1. นางคล้าม
    2. สมเด็จพระสังฆราช (แพ)
    3. หลวงพุทธพันธพิทักษ์ (อยู่)
    4. นางทองคำ พงษ์ปาละ
    5. นางทองสุข
    6. นายชื่น
    7. นายใหญ่
    ท่านได้ศึกษาอักษรสมัยและเป็นศิษย์สมเด็จพระวันรัต (สมบูรณ์) เมื่อท่านยังเป็นพระธรรมวโรดม มาอยู่วัดราชบูรณะ และได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อปีมะโรงพศ.2411 แล้วกลับไปเล่าเรียนอยู่วัด ทองนพคุณตามเดิมได้ศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักพระอาจารย์โพ วัดเศวตรฉัตร
    [​IMG] สมเด็จพระวันรัต(สมบูรณ์ ป.ธ.4)พ.ศ. 2415 - 2419


    สมเด็จพระวันรัตสมบูรณ์ได้รับมาอยู่กับท่านที่วัดพระเชตุพน ได้เล่าเรียนพระปริยัติธรรมกับสมเด็จพระวันรัตสมบรูณ์เป็นพื้น นอกจากนั้น ได้เล่าเรียนกับเสมียนตราสุขบ้าง พระโหราธิบดี ชุ่ม บ้าง พระอาจารย์โพลบ้าง ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมเป็นครั้งแรกที่พระที่นั่งสุทไธสวรรค์ เมื่อปีชวด พ.ศ. 2419 แต่แปลตกหาได้เป็นเปรียญไม่

    พ.ศ. 2419 อายุครบอุปสมบท แต่สมเด็จพระวันรัตสมบูรณ์อาพาธต้องอยู่ประจำ รักษาพยาบาล จึงมิได้มีโอกาสอุปสมบท และเมื่อสมเด็จพระวันรัตสมบูรณ์ใกล้ถึงมรณภาพนั้น ท่านแนะนำให้ไปอยู่เป็นศิษย์สมเด็จพระวันรัตแดง วัดสุทัศน์ แต่เมื่อยังเป็นพระเทพเทวี ครั้นสมเด็จพระวันรัตสมบรูณ์มรณภาพแล้ว จึงไปถวายตัวเป็นศิษย์สมเด็จพระวันรัตแดง แล้วไปอุปสมบทที่วัดเสวตรฉัตรอยู่ใกล้บ้านเดิม เมื่อปีเถาะ พ.ศ. 2422 สมเด็จพระวันรัตแดง เมื่อยังเป็นพระเทพกวีเป็นพระอุปัชฌายะ พระอาจารย์ชุ่ม วัดทองนพคุณ และพระอาจารย์โพ วัดเสวตรฉัตรเป็นคู่พระกรรมวาจาจารย์ แล้วมาอยู่ที่วัดสุทัศน์กับสมเด็จพระวันรัตแดงต่อมา ในตอนนี้ได้เล่าเรียนกับสมเด็จพระวันรัตแดงเป็นพื้น และได้เรียนกับสมเด็จพระสังฆราชสา ที่วัดราชประดิษฐ์บ้าง


    [​IMG]

    เมื่อสมเด็จพระวันรัตแดงเลื่อนเป็นพระธรรมวโรดม ได้ตั้งให้ท่านเป็นพระครูใบฎีกา ในถานานุกรมตำแหน่งนั้นแล้วเลื่อนเป็นพระครูมงคลวิลาส และพระครูวินัยธร เมื่อเป็นพระครูวินัยงธรได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมเป็นครั้งที่ 2 ที่พระที่นั่งพุทไธสวรรค์ เมื่อปีมะเมีย พ.ศ. 2425 ได้เป็นเปรียญ 4 ประโยค ต่อมาถึงปีระกา พ.ศ. 2428 เข้าแปลพระปริยัติธรรมเป็นครั้งที่ 3 ที่ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แปลได้อีกประโยคหนึ่ง รวมเป็น 5 ประโยค



    ถึงปีฉลู พ.ศ. 2432 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่พระศรีสมโพธิ์ ถึงปีวอก พ.ศ. 2439 เมื่อวันในรัชกาลแห่งสมเด็จ บรมบพิตรที่ 5 ครบหมื่นวัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเสมอพระราชาคณะชั้นเทพใน ราชทินนามเดิม พระราชทาน ตาลปัตรแฉกประดับพลอยและเพิ่มนิตยภัตร (อ่านว่า นิดตะยะพัด แปลว่า อาหารประจำ ปัจจุบันใช้ในความหมายว่าเงินค่าอาหารที่ทางราชการถวายแก่สงฆ์เป็นประจำ

    นิตยภัต มีความเป็นมาคือในอดีตพระเจ้าแผ่นดินได้พระราชทานภัตตาหารแก่พระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์ หรือที่เคารพนับถือเป็นการส่วนพระองค์ โดยให้เจ้าหน้าที่จัดถวายประจำ ต่อมาพระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์มีมากขึ้นและอยู่ตามหัวเมืองก็มีความไม่สะดวกแก่ การจัดอาหารถวาย แม้จะเปลี่ยนเป็นเงินแล้วก็ยังคงเรียกว่านิตยภัตเหมือนเดิม
    นิตยภัต ถือว่าเป็นเครื่องสักการะที่พระเจ้าแผ่นดินถวายแก่พระสงฆ์ผู้ทำคุณประโยชน์แก่พระศาสนาและบ้านเมือง) ในคราวเดียวกันกับที่ได้โปรดให้พระธรรมวโรดม แสง วัดราชบูรณะเป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์


    ถึงปีจอ พ.ศ.2441 ทรงตั้งเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่พระเทพโมลี มีสำเนาที่ทรงตั้งดังนี้ให้เลื่อนพระศรีสมโพธิ์เป็นพระเทพโพลี ตรีปฎกธรา มหาธรรมกถึกคณฤศร บวรสังฆราม คามวสี สถิตย์ ณ วัดสุทัศน์เทพวรารามราชวรมมหาวิหาร พระอารามหลวง มีนิตรยภัตรเดือนละ 4 ตำลึงกึ่ง มีถานานุศักดิ์ควรตั้งถานานุกรมได้ 4 รูป คือ พระครูปลัด 1 พระครูสังฆวิชิต 1 พระครูสมุห์ 1 พระครูใบฎีกา 1


    ดำรงตำแหน่งพระธรรมโกศาจารย์ ปี 2443


    ต่อมาถึงปีชวด พ.ศ.2443 โปรดให้เลื่อนเป็นที่พระธรรมโกศาจารย์ มีสำเนาประกาศทรงตั้งดังนี้อนึ่ง พระราชาคณะที่มีความรอบรู้ พระปริยัติธรรมปรากฏในสังฆมณฑล สมควรจะเลื่อนอิศริยยศในสมณศักดิ์ และพระสงฆ์ที่ทรงสมณคุณควรจะเป็นพระครูอีกหลายรูป


    จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระเทพโมลี เป็นพระธรรมโกศาจารย์ สุนทรญาณนายกตรีปิฏกมุนี มหาคณาบดีสมณิศร บวรสังฆาราม คามวสี สถิตย์ ณ วัดสุทัศน์เทพวรารามราชวรมหาวิหาร พระอารามหลวง

    [​IMG]

    ทรงเลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่พระพรหมุนี เมื่อปีชวด พ.ศ. 2455เป็น พระวันรัต ปี 2472 และทรงดำรงตำแหน่งพระสังฆราช ปี 2481
    จนถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน พุทธศักราข 2487 ได้เริ่มประชวร พระอาการโรคได้ทรุดหนักลงทุกวันจนถึงวันที่ 26 เดือนเดียวกัน ก็ได้เสด็จดับขันธ์สิ้นพระชนม์ลงเมื่อเวลา 3.00 น. ที่ตำหนักวัดสุทัศนเทพวราราม สิริพระชนมายุ 89 โดยมีพระพรรษา 66 ทรงดำรง ตำแหน่งสกลสังฆปรินายกได้ 7 พรรษาได้รับพระราชทานน้ำสรงพระศพและโกศพระลองกุดั่นน้อย ประกับพุ่มเฟื่องเครื่องสูง 5 ชั้น เครื่องประโคมสังข์แตร จ่าปี่ จ่ากลองและ กลองชนะ มีพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมประจำพระศพและรับพระราชทานฉัน 15 วัน ประดิษฐานพระศพ 15 วัน แล้วทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ทักษิณานุปทานในสัตตวารที่ 1 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนพระลองกุดั่นใหญ่และจัดการพระราชทานเพลิงพระศพเป็นการหลวง ณ สุสานหลวงวัดเทพสิรินทราวาส วัน พุธที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488


    ข้อมูลจาก
    หนังสือ ตำนานพระกริ่ง พิมพ์เป็นอนุสรณ์ครบรอบประสูติ ๑๑๙ พระชันษา แด่องค์สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชสกลปรินายก (แพ ติสสเทวมหาเถร) พ.ศ.๒๕๑๗ ของวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร

    http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%95

    สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๓๒ / เรื่องที่ ๑ ตาลปัตร พัดยศ และสมณศักดิ์ / พัดแฉกพิเศษ

    http://www.oknation.net/blog/print.php?id=20460


    ยังมีตอนต่อไปครับ






     
  4. ธณต

    ธณต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,624
    ค่าพลัง:
    +5,025
    เรียนตามตรงว่าปากน้ำรุ่นนี้ดูยากครับ แต่ดูคร่าวว่าน่าจะดีนะครับ
     
  5. ธณต

    ธณต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,624
    ค่าพลัง:
    +5,025
    ความหมายของคำว่าพระกริ่ง

    จริงๆแล้วถ้าว่ากันตามความเข้าใจคำว่า กริ่ง คือพระที่มีเม็ดกลมๆ อยู่ในองค์พระ เมื่อจับเขย่าจะมีเสียงดัง แต่ดั้งเดิมเรียกว่าพระขลิก ต่อมาเรียกว่าพระกริ่ง และก็ใช้กันมาเรื่อยๆจนทุกวันนี้พระที่จับเขย่าแล้วมีลักษณะเหมือนมีอะไรอยู่ด้านในก้จะเหมาเรียกว่า พระกริ่ง
    เป็นคำบอกเล่าของเซียนพระอาวุโสท่านหนี่ง ในสนามพระท่าพระจันทร์แต่ท่านไม่ให้ออกชื่อท่านนะครับ
    สมเด็จพระสังฆราชแพ ติสฺสเทวเคยรับสั่งเล่าให้พระเถระและเจ้านายข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ฟังที่มาขอคำเนะนำในการสร้างพระกริ่งตามที่ต่างๆ ว่า คำว่า "กริ่ง" นี้ มาจากคำถามที่ว่า "กึ กุสโล" (กิง กุสะโล) คือเมื่อพระโยคาวจรบำเพ็ญสมณธรรมมีจิตผ่านกุศลธรรมทั้งปวงเป็นลำดับไปแล้ว เม็ดกลม หรือเม็ดกริ่งก็คือ อนัตตา

    ถึงขั้นสุดท้ายจิตเสวยอุเบกขาเวทนา ปุญญาภิสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี ได้แก่ กุศลเจตนา) เปลี่ยนเป็น อเนญชา (สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคง ไม่หวั่นไหว ได้แก่ ภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่ด้วยสมาธิแห่งจตุตถฌาน คือ ฌานที่ 4) เป็นเหตุให้พระโยคาวจรเอะใจขึ้นว่า"กึ กุสโล"นี้เป็นกุศลอะไรเพราะเป็นธรรมที่เกิดขึ้น แปลกประหลาดไม่เหมือนกับกุศลอื่นที่ผ่านมาดังนั้น คำว่า "กึ กุสโล" จึงเป็นชื่อของ อเนญชา คือ "นิพพุติ" แปลว่า "ดับสนิท" คือ หมายถึงพระนิพพาน นั่นเอง"
    การบบรจุกริ่งก็จะทำโดยวิธี นำเอาเเร่ศักสิทธิ์โดยผ่านกรรมวิธีมากมาย ทำให้เป็นที่เรียกว่าเหล็กทรหด หรือบางรุ่นก็จะใช้ ปรอทที่ฆ่าให้แข็ง บรรจุเข้าไปจะก่อนหรือหลังการเทหล่อก็สุดแล้วแต่ แต่ถ้าเป็นการบรรจุในหุ่นก่อนเทหล่อก็จะเรียกว่า กริ่งในตัว ซึ่งจะมีเฉพาะเนื้อ นวะโลหะสัมริดเท่านั้น ซี่งจะว่ากันอีกทีนะครับ

    ยังอีกยาวครับ

     
  6. พ่อน้องออม

    พ่อน้องออม Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2011
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +31
    ติตามอยู่เสมอครับพี่ธณต
     
  7. ธณต

    ธณต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,624
    ค่าพลัง:
    +5,025
    ท่านเดิมเล่าต่ออีกว่า การสร้างพระกริ่ง ในสมเด็จสังฆราชเเพ ไม่น่าจะสร้างเป็นองค์แรก แล้วก็เล่าซะยาว ผมก็เห็นว่ายังไม่มีส่วนไหนออกจะชัดเจนเท่าใดนัก ก็เลยขอละไว้ก่อน เพราะเล่าไปก็คงยาวอีก ทีนี้เท่าที่ทราบๆกันดีอยู่แล้วว่า ท่านได้ตำราจากสมเด็จมงคลมุนี ซึ่งได้รับตกทอดของเดิมจากสมเด็จพระพนรัตวัดป่าแก้ว สมัยท่านเป็นพระเทพโมลี ดังนั้นกริ่งเทพโมลีก็น่าจะเป็นรุ่นแรกที่ท่านสร้าง

    วิธีการสร้าง

    ท่านก็นำเอาโลหะ ๙ อย่างมาหลอมรวมกันในเบ้าหลอมก่อน ไม่ได้เอามาใส่ตอนเทหล่อพระนะครับ แล้วนำมารีดให้แบนเป็น แผ่นมงคลนวโลหะ ก็จะมี ชิน จ้าวน้ำเงิน เหล็กละลายตัว บริสุทธิ์ทองแดงบริสุทธิ์ ปรอทสตุ สังกะสี ทองแดง เงิน และทองคำ โดยไล่น้ำหนักจาก ๑-๙ บาท เมื่อได้เเล้วก็นำมาลงยันต์ ๑o๘ กับ นะปถนัง ๑๔ นะแล้วจึงสู่ขั้นตอนการทำพระที่เเสนจะมากพิธีกรรมไปหาเอานะครับ จะได้รู้ว่าการทำพระสมัยก่อนแต่ละองค์ยากแค่ไหน ไม่ง่ายจริงๆ
     
  8. atomicint

    atomicint เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    215
    ค่าพลัง:
    +121
    ขอบคุณในความรู้ครับพี่ ธณต
     
  9. ธณต

    ธณต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,624
    ค่าพลัง:
    +5,025
    ยังอีกหลายครับกำลังรวบรวมอยู่นะครับขอเวลาอีกเดี๋ยวนะครับ
     
  10. ทิพย์มงคล

    ทิพย์มงคล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2011
    โพสต์:
    3,892
    ค่าพลัง:
    +8,215
    ขอบคุณมากครับพี่ธณต :cool::cool:
     
  11. ธณต

    ธณต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,624
    ค่าพลัง:
    +5,025
    กริ่งเทพโมลี
    บางทีก็บอกว่าสร้างหลายครั้งละ๙องค์แต่จากการที่คุยๆกับท่านอวุโสต่างๆบางท่านก็บอกว่าองค์จริงยังไม่มีโอกาศเห็นเลย น่าจะสร้างแค่ ๙ องค์เท่านั้นแต่จะทำไงละเมื่อพระมาเจอะกันแล้วเลขตรงกัน กริ่งรุ่นนี้ตีเลขไทยกำกับใต้ฐานทั้งสิ้น แต่บางกระแสก็ว่าถ้าสร้าง ๙องค์แล้วพอแจกหรือเฉพาะเจ้านายขั้นผู้ใหญ่ก้น่าจะมากกว่านั้น

    คือถ้าถามผมว่า ผมก็ว่าน่าจะเป็นไปได้ทั้ง ๒ กรณีนะครับยังไม่เชื่อในคำกล่าวใดดีกว่า

    กริ่งรุ่นนี้สร้างก็ปี ๒๔๔๑ สูง ๔กว้างตามฐานก็ ๒ซม.ครับ เป็นนวะครบสูตรครับเนื้อจริงออกขาวครับ แต่ก็น่าจะกลับดำไปหมดละครับ กริ่งรุ่นนี้ท่านว่าน่าจะสร้างแบบกริ่งจีน ลักษณะสูงโปร่ง ริมฝีปากเผยอยิ้มเล็กๆนะครับไม่ใช่ยิ้มเมาะว่าเอ็งหยิบข้าทำไมอะไรเทือกๆนั้น จมูงสูงคมแต่ปลายจะงุ้มเล็กๆ หูยาวพาดถึงบ่าโดยเฉพาะข้างซ้ายพระจะลู่ตามไหล่มาเล็กน้อยถือหม้อน้ำมนต์มือซ้ายครับ

    ส่วนรูปเรียนตามตรงว่าดูในเวปต่างๆแล้วไม่มั่นใจเลยไม่กล้าลงครับ
     
  12. SURHASIT

    SURHASIT เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    1,670
    ค่าพลัง:
    +2,774
    ขอบพระคุณมากครับพี่ ธณต :cool:
     
  13. ธณต

    ธณต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,624
    ค่าพลัง:
    +5,025
    พระกริ่งธรรมโกษาจารย์

    ท่านทรงสร้างไว้สมัยทรงดำรงสมณศักดิ์ที่เป็นพระธรรมโกษาจารย์ระหว่างปี พ.ศ 2443-2454 การเททองรุ่นนี้มีการทำหลายครั้งเเต่ละครั้งได้จำนวนน้อย ซึ่งมีพิมพ์หลายเเบบเเต่จะคงเนื้อนวโลหะออกสีนากกลับดำถ้าส่ององค์พระในเเสงเเดดจัดๆจะเห็นเนื้อสีนากกลับดำซึ่งเนื้อจะจัดมากๆสมกับพระที่มีอายุมากๆตามกาลเวลา เนื้อเเบบนี้จะเป็นสัญลักษณ์ประจำองค์พระของรุ่นพระกริ่งธรรมโกษาจารย์ วัดสุทัศน์นี้ ลักษณะสังเกตุของเนื้อพระกริ่งธรรมโกษาจารย์ วัดสุทัศน์จะเป็นเนื้อนวโลหะออกสีนากกลับดำถึงเเม้ในยุคของท่านจะสร้างพระกริ่งรุ่นเเรกคือพระกริ่งเทพโมลีก็ตามโดยเเกะเเบบพิมพ์ที่คิดขึ้นเองเเต่ยังไม่ถูกใจนัก พอสร้างพระกริ่งรุ่นสองคือพระกริ่งธรรมโกษาจารย์ วัดสุทัศน์ ท่านจึงนำพระกริ่งปวเรศของวัดบวรนิเวศวิหารซึ่งมีต้นเเบบมาจากพระกริ่งใหญ่ของจีนมาเป็นเเม่เเบบสร้างขึ้นเเต่ปาดบัวหลังออกเพื่อให้พระกริ่งธรรมโกษาจารย์ วัดสุทัศน์เเตกต่างจากพระกริ่งปวเรศทั้งเนื้อเเละพิมพ์ในรุ่นนี้มี แขนตัน กับ แขนทะลุ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 420.jpg
      420.jpg
      ขนาดไฟล์:
      28.6 KB
      เปิดดู:
      128
  14. ธณต

    ธณต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,624
    ค่าพลัง:
    +5,025
    เนื้อนวะของกริ่งรุ่นนี้จะออกขาวอมเหลือง เขียว คล้ายเมฆสิทธิ์ แต่เนื้อละเอียด สูง ๓.๖ ซม. ฐานกว้าง ๑.๙ ซม.หม้อน้ำมนต์ออกคล้ายดอกบัว ฐานบัวคล่ำบัวหงาย ๗กลีบ หน้าื่ท่านออกทางเชียงแสนครับ
     
  15. ธณต

    ธณต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,624
    ค่าพลัง:
    +5,025
    กระทู้นี้แสดงให้เห็นอย่างนึงว่าการเสียเวลาหาความรู้เป็นเรื่องที่ไม่น่าสนใจจริงๆ
     
  16. เอก บ่อทอง

    เอก บ่อทอง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    437
    ค่าพลัง:
    +427
    มิใช่อย่างนั้นคับท่าน ธณต...เพียงแต่ว่า 2-3 นี้เวปมันไม่ค่อยเสถียร ครับ

    ติดตามอยู่ครับ.. ขอบคุณมาก
     
  17. ทิพย์มงคล

    ทิพย์มงคล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2011
    โพสต์:
    3,892
    ค่าพลัง:
    +8,215
    สนใจสิครับพี่ธณต นี่กำลังจะหาพระกริ่งมาถามอยู่เลย แต่คุณกวิน พี่หมอ กับพี่หนุ่ม หายไปไหนเนี่ยะ(k)(k)
     
  18. ธณต

    ธณต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,624
    ค่าพลัง:
    +5,025
    กริ่งพรหมมุนี หรือ พระกริ่งถวายสำรับ สร้างราวปี ๒๔๕๕ ร้อยปีพอดี จำนวนการสร้างไม่ทราบแน่นอนว่าเท่าไร แต่กรรมวิธีสร้างก็จะน่าจะเทเท่ากับจำนวนกำลังวันในวันคล้ายวันพระราชสมภพท่าน ซึ่งคาดว่า คงไม่เกิน 2-300 องค์เนื้อกลับดำสนิท แต่เนื้อในจะเป็นเนื้อแดงออกนาก กระเเสออกขาวสูง ๓.๗ ซม. ฐานกว้าง ๒ซม. ลักษณะล้ำสัน เป็นกริ่งพุทธลักษณะกริ่งใหญ่ แต่ ก็จะมีทีเป็นที่เรียกว่า เขมรน้อย หรือจีนกลาง ซึ่งจะย่อมกว่ากริ่งใหญ่เล็กน้อย คือ สูง ๖ ซม. ฐานกว้าง ๒.๒ ซม.
     
  19. ธณต

    ธณต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,624
    ค่าพลัง:
    +5,025
    ดูพุทธลักษณะนะครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. ทิพย์มงคล

    ทิพย์มงคล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2011
    โพสต์:
    3,892
    ค่าพลัง:
    +8,215
    เยี่ยมทั้งข้อมูล ทั้งรูปครับพี่ พระกริ่งพรหมมุณี พุทธศิลป์งดงามมากครับ เนื้อหาเข้มขลัง สวยอย่างแรงครับ :cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...