สัมมาทิฎฐิเป็นไฉน( ไม่ธรรมดา )

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ขันธ์, 5 มีนาคม 2009.

  1. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ha ha 55+ขออภัย
    เพราะไม่บรรลุธรรม จึงไม่แจ้งในสรรพสิ่งล้วนพันเกี่ยวด้วยมายาภาพลวงตา
    พระพุทธองค์ ผู้บรรลุธรรม จึงพร่ำสอนพระสาวก
    ไม่ต้องออกไปแสวงหาที่อิ่น!!! ต้องที่นี่เท่านั้น ที่นี่สงบหนอ ที่นี่ประณีตหนอ ที่นี่คือ

    เอตํ สนฺตํ เอตํ ปณีตํ
    ยทิทํ
    สพฺพสงฺขารสมโถ สพฺพูปธิปฏินิสฺสคฺโค
    ตณฺหกฺขโย วิราโค นิโรโธ นิพฺพานํ

    ที่นี่สงบหนอ ที่นี่ประณีตหนอ
    (ที่นี่)คือ
    สิ่งที่ปรุงแต่งทั้งปวงสงบลง ความยึดติดได้สละคืนไปทั้งหมด
    เป็นที่สิ้นตัณหา ไม่มีความยินดี เป็นที่ดับกิเลส คือ นิพพาน

    (smile)
     
  2. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    สิ่งนั้นอยู่ที่ใจ ไม่ใช่ภายนอกของใจ
    ที่สัปปายะ ก็คือที่ใจ
    ใจที่สงบไม่หวั่นไหว เมื่ออยู่ที่ใด ที่นั้นย่อมสัปปายะ สำหรับใจตน
     
  3. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255

    จิต กับ ใจ ต่างกันอย่างไร
    ใจตน...ใช่จิตตนมั๊ย? ใช่จิตเรามั๊ย?

    (smile)
     
  4. โชแปง

    โชแปง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    851
    ค่าพลัง:
    +63
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 2 คน ( เป็นสมาชิก 2 คน และ บุคคลทั่วไป 0 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"></TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>โชแปง, ธรรมะสวนัง </TD></TR></TBODY></TABLE>

    สวัสดี ธรรมะสวนัง ชื่อของท่านแปลว่า ฟังธรรม

    ธรรมที่ถูก ธรรมที่ผิด ท่านใช้สิ่งใดแยกหนอ จึงได้ชื่อว่าผู้ฟังธรรม

    (smile)
     
  5. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    จิต คือ สิ่งที่ถูกรู้
    ใจ คือ ผู้รู้

    จิตเคลื่อนไหว หรือจิตสงบนิ่ง ผู้รู้ได้ คือจิตที่มีสติ คือ ผู้รู้ คือ ใจ

    เมื่อ จิตและใจ แสดงตัว เป็นเหตุให้ เห็นสภาวะธรรม
     
  6. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    จิตกับใจก็เหมือนกันนั่นแหละ ถ้าจะเป็นตัวถูกรู้คือ เจตสิก คือ ตัวที่แล่นไป วิ่งไป
    สภาวะธรรม เห็นก็เท่านั้น มันไม่มีอะไรให้เราละทุกข์ได้ ลองถามตัวเองซิว่า ดูแล้วเราจะละกิเลสได้อย่างไร

    มันต้องเห็นความไร้สาระในสรรพทุกข์ ความไร้สาระจริงๆ จนทำให้เราเบื่อหน่ายที่จะยื้อยุดฉุดกับมัน หรือ มองมัน หรือไปยุ่งเกี่ยวกับมัน นั่นแหละ ปัญญาจึงเกิด ความค่อยๆ ละทุกข์ได้จึงเกิด ลำพังการมองดูเฉยๆ มันช่วยอะไรไม่ได้หรอก

    การเบื่อที่จะยื้อยุดฉุดกับ ทุกข์ นี้ ท่านก็เปรียบว่า แม่คนหนึ่งมีลูก 5 คน ลูกคนแรกตายไป ก็ฟูมฟาย พอลูกคนที่สองตายไปอีกก็ฟูมฟายหนักกว่าเดิมอีก พอคนที่สามฟูมฟาย ทนไม่ได้ตัวเองอยากจะตายตามไป พอเห็นคนที่ 4 ตาย ก็เริ่มเข้าใจแล้วว่า คนที่ 5 ก็ต้องตาย ก็เลิกฟูมฟาย
    หรือ เช่นว่า เด็กแรกๆ เห็นช้าง ตื่นเต้น พอเห็นครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 พอเห็นครั้งต่อไป มันก็เฉยๆ แล้ว เพราะมันรุ้ว่ามันจะเป็นยังไง ต่อไป

    นี่การมองธรรม เขาให้มองเพื่อให้ลงสู่ใจตนเอง ที่เห็นสรรพสิ่งเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ใช่ ไปมองมีสติแล้วบอกว่า ไม่ทุกข์แล้ว ทุกข์ดับไป
    นั่นมันโง่

    มันต้องมองว่า อะไรๆ ก็ธรรมดา ด้วยการวิปัสสนา ทบทวน มองเห็นตามความเป็นจริง จนจิตใจนี้รับสภาพนั้นอย่างไม่สนใจเมื่อเจอครั้งต่อไปอีก

    เช่นเดียวกัน พอเราได้ยินคนด่า ครั้งแรกก็โมโห พอครั้งต่อมาก็ยังโมโห ถ้าไม่พิจารณามันก็โมโหทุกครั้ง ถ้าพิจารณาว่า จะไปโมโหทำไม เราบ้าของเรา ทีนี้พอใจมันยอมรับ ครั้งต่อไป มันจะด่าอย่างไร เราก็ไม่โมโห เพราะใจมันเห็นเป็นธรรมดาไป
    นั่นแหละ ให้พิจารณาลงสุ่จุดนี้
     
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วิธีหาจิต<?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:<?:NAMESPACE PREFIX = O />



    โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>



    วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย<O:p></O:p>



    คัดลอกจาก http://www.manager.co.th/dhamma/DhammaLeeLarView.asp?NewsID=4667136818765<O:p></O:p>



    วันนี้จะอธิบายถึงเรื่องวิธีหาจิต จิต เป็นของสำคัญที่สุด เกิดมาเป็นมนุษย์ต้องมีจิตทุกคน แต่หากเราไม่ เห็นจิต เราเกิดมาก็เพราะจิต เป็นอยู่ก็เพราะจิต เราจะตายไปก็เพราะจิต จิตแท้นั้นคืออะไร จิตนี้ไม่มีตัวมีตน มองก็ไม่เห็น ความรู้สึกความนึกความคิดนั่นแหละคือ ตัวจิต เพราะฉะนั้น ลืมตาจึงมองไม่เห็น ถ้าหลับตาแล้วเห็นหรอก
    <O:p></O:p>
    ถ้าหากเราไม่เห็นตัวจิต จิตมันจะพาเราไปเที่ยวฟอนทุกสิ่งทุกอย่าง กิเลสทั้งหลายทั้งปวงหมดเกิดจากจิตทั้งนั้น ที่ท่านพูดถึงเรื่อง เจตสิก ก็คืออาการของจิตที่เรียกว่ากิเลสทั้งหลายร้อยแปดพันประการนั้นก็เกิดจากจิตอันเดียว

    ผู้ที่รู้มากมายหลายเรื่องก็ว่าไปตามตำรา แต่ตัวจิตแท้ไม่เห็น กิเลสตัณหาก็ว่าไปตามเรื่องตามราวตั้งแต่ขันธ์ 5 อายตนะ 6 เรื่อยไป ขันธ์ 5 มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รวมลงมามี 2 อย่าง คือ รูปกับนาม รูปมองเห็นได้ แต่นามคือจิต มองไม่เห็น
    <O:p></O:p>
    ทำอย่างไรจึงจะเห็นจิต ถ้ามิฉะนั้น จิตก็จะพาเราว่อนอยู่อย่างนั้นแหละ เที่ยวเหนือล่องใต้ไปทั่วทุกทิศทุกทาง ถ้าเราคุมจิตไม่อยู่ รักษาจิตไม่ได้ ก็จะพาให้เราทุกข์เร่าร้อน เศร้าโศกเสียใจ อาลัยอาวรณ์ ถ้าไม่มีจิตแล้ว ตัวของเราก็เหมือน กับท่อนไม้ท่อนฟืน ใครจะสับจะบั่น ใครจะเผาจะอะไรๆ ต่างๆ ไม่รู้สึกทั้งนั้น

    การปรากฏเห็นภาพทางตา เขาเรียกว่า จิต แต่คนไม่เห็นตัวจิต คือตาเห็นภาพนั่นน่ะ เข้าใจว่าจิตเห็น ไม่ใช่จิต ตาเห็นต่างหาก แสงกระทบเข้ามาก็เห็นเท่านั้น หูได้ยินเสียงก็เหมือนกัน เสียงมาเข้าหูกระทบกันเข้ามันก็ได้ยิน จมูกสูดกลิ่น ลิ้นถูก รส กายสัมผัสอะไรต่างๆ อันนั้นไม่ใช่ตัวจิต
    เป็นเรื่องกระทบกันต่างหาก กระทบกันแล้วก็หายไป ถ้าเช่นนั้น จิตมันอยู่ที่ไหน ให้ลองหาดูในตัวเรานี่แหละ หาให้หมดทุกสิ่งทุกอย่าง ดูว่าจิตแท้มันอยู่ที่ไหนกัน เมื่อหาจิตไม่เห็นแล้ว คนที่หาน่ะไม่เห็น คนไหนเป็นคนหา มันยังมีซ้อนอีก ใครเป็นคนค้นหา สิ่งที่ไปหานั้นเห็น แต่ผู้หาไม่เห็น อย่างว่าเห็นรูป รูปนั้นเห็นแล้ว แต่ผู้เห็นน่ะใครเป็นคน เห็น มันต้องหาตัวนั้นซีจึงจะเห็น



    จิตมันต้องเป็นหนึ่ง ถ้าไม่ใช่หนึ่งแล้วก็ไม่ใช่จิต จิตเป็นหนึ่งกลายเป็นใจละคราวนี้ ตัวจิตนั่นแหละกลายเป็นใจ อันที่นิ่ง เฉย ไม่คิดไม่นึก ไม่ปรุงไม่แต่ง ความรู้สึกเฉยๆ นั่นแหละมันกลายเป็นใจ จิตมันกลายเป็นใจ ในหนังสือต่างๆ ก็ พูดอยู่หรอกจิตอันใดใจอันนั้น ใจอันใดจิตอันนั้น บางแห่งท่านก็พูดเป็นจิต บางแห่งท่านก็พูดเป็นใจ อย่างท่านพูดว่า มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา ธรรมทั้งหลายมีใจอันถึงก่อน มโนคือใจ ผู้นึกผู้น้อมทีแรก นั่นแหละ ไม่ใช่คิด นึกน้อมทีแรกนั้นแหละคือตัวใจ มโนเสฎฐา มโนมยา ใจเป็นของประเสริฐ สำเร็จแล้วด้วยใจ

    ท่านพูดถึงเรื่อง มโนคือใจ คราวนี้พูดถึงเรื่อง จิต ปภสฺสรมิทํ จิตฺตํ ตญฺจ โข อาคนฺตุ เกหิ อุปกฺกิเลเสหิ อุปกฺกิลิฏฐํ จิตเป็นของประสัสสร คือมันผ่องใสสะอาดอยู่ตลอดเวลา อาคันตุกกิเลสต่างหาก มันเศร้าหมองเพราะกิเลสที่จรมา นี่พูดเรื่อง จิต ให้คิดดูว่า หากจิตเดิมเป็นของเศร้าหมองแล้ว

    ใครจะทำให้บริสุทธิ์ได้ ไม่มี เลย เหตุนั้นท่านจึงว่า ปภสฺสรมิทํ จิตฺตํ จิตเป็นของประภัสสรตลอดเวลา ทำอย่างไรจึงจะรู้ว่าจิตประภัสสร จิตกับใจเข้ามารวมกันแล้ว คราวนี้มารวมกันเข้าเป็นใจ เมื่อมันเป็นประภัสสรมันรวมกันเป็นใจ ประภัสสรนั้นหมายความถึงจิตไม่คิดไม่นึกไม่ปรุงไม่แต่ง จึงจะเห็นจิต เรียกว่าใจ ถ้าหากยังคิดนึกปรุงแต่งอยู่มันเศร้าหมอง ถ้าจิตผ่องใสแท้มันต้องสะอาดปราศจากความคิดความนึกความปรุงความแต่งจึงเรียกว่าใจ
    <?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:<?:NAMESPACE PREFIX = O />
    เรามาพยายามขัดเกลากิเลสตรงนั้นแหละ ตรงอาคันตุกกิเลสอันนั้น ไม่ให้มันมีไม่ให้มันเกิดขึ้นในที่นั้น จึงจะรู้เห็นสิ่งต่างๆ คำว่าใสสะอาดมันก็เห็นนะซี มันจะไม่เห็นอย่างไร น้ำใสสะอาดบริสุทธิ์ ย่อมมองเห็นเงาตนเองได้ เพชรนิลจินดา เขาเจียระไนแล้วเป็นของใสสะอาด เพราะ เนื้อมันเป็นของใสมาแต่เดิม ถ้าหากเป็นเหล็กก็จะไม่ผ่องใสหรอก เพราะธรรมชาติ ไม่ใช่ของใสสะอาด จิตของคนเราเป็นของใสสะอาดมาแต่เดิม เหตุนั้นขัดเกลากิเลส ออกหมด มันจึงเห็นความใสสะอาด จึงเรียก ปภสฺสรมิทํ จิตฺตํ คราวนี้จะไม่เรียกว่าจิต จะเรียกว่าใจ เราเรียกธรรมชาติของที่ใสสะอาดบริสุทธิ์ว่าใจ
    ในขณะที่เราทำความเพียรภาวนา ทำใจให้เป็น กลางๆ เฉยๆ สบาย มันก็ถึงใจ ความสบาย นั่นแหละเป็นใจ ความเฉยๆ นั่นแหละ เป็นใจ ไม่มีอดีตอนาคต ไม่มีบาปไม่มีบุญ ตัวเฉยๆ นั่นแหละ ไม่มีอะไรทั้งหมด ความคิดความนึกความปรุงความแต่ง มัน ออกไปจากใจ เรียกว่าจิต จิตคือผู้คิดนึก ปรุงแต่ง จิตเป็นคนสั่ง สารพัดทุกอย่างในโลก ส่วนใจสงบคงที่

    เหตุนั้นพระพุทธศาสนาจึงสอนเข้าถึงใจ คือสอนถึงที่สุด คือเข้าถึงความบริสุทธิ์นั่นเอง สุดนั้นก็คือที่สุดของทุกข์นั่นเอง ถ้าเข้าถึงใจแล้ว ไม่มีทุกข์ไม่มีร้อน ไม่ปรุงไม่แต่ง ไม่คิดไม่นึก ก็หมดเรื่องเท่านั้นละ ถ้าปรุงแต่งก็จะไปกันมากมาย หลงใหลไม่มีที่สิ้นสุด เหตุฉะนั้น จึงว่าคนเราไม่เคยเห็นใจของตน แต่ไหนแต่ไรมา เกิดก็เกิดเพราะใจ เวลาตายก็ตาย เพราะใจปรุงแต่ง คิดนึกสารพัดทุกอย่าง คนทั้งหลายโดยส่วนมากพูดกันถึงเรื่องใจทั้งนั้น พุทธศาสนาก็พูดถึงเรื่องใจ ใจบุญ ใจกุศล ใจบาป ใจอำมหิต ใจคิดประทุษร้าย สารพัดทุกใจ พูดกันถึงเรื่องความดี ความงาม ก็ใจบุญ ใจกุศล ใจใสสะอาดบริสุทธิ์ พูดถึงเรื่องใจอันเดียว
    <?:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:<?:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    ใจต้องเป็นอันเดียวไม่ใช่หลายอย่าง ที่หลายอย่างนั่นน่ะมันจิตต่างหาก พระพุทธศาสนาสอนให้เข้าถึงตัวหนึ่ง ตัวใจนี่แหละ จึงจะเห็นเรื่องทั้งหลายทั้งหมด ถ้าไม่เห็นตัวหนึ่งแล้วก็ไม่เห็นสิ่งทั้งหลายทั้งนั้น อย่างเรานับหนึ่งขึ้นเบื้องต้น นับหนึ่งเสียก่อน หนึ่งสองหน ก็เป็นสอง หนึ่งสามหนก็เห็นสาม สี่หน ห้าหน จนถึงเก้าหน สิบหน ก็เป็นสี่ ห้า จนถึงเก้า ถึงสิบ ก็มาจากหนึ่งอันเดียวนั่นแหละ จะนับเป็นสิบเป็นร้อย
    แท้ที่จริงก็นับจากหนึ่งอันเดียวเท่านั้น คนเราลืมหนึ่งเสีย ไปนับสอง สาม สี่ ห้า ถ้านับหนึ่งแล้วหมดเรื่อง เหตุนั้นการทำสมาธิภาวนาคุมจิตให้ถึงใจรวมเป็นหนึ่งนี่แหละ พระพุทธศาสนาสอนอย่างนั้น สอนใจอย่างเดียว คนส่วนมากเห็นว่าการทำสมาธิภาวนาไม่ใช่หน้าที่ของฆราวาสเป็นเรื่องของพระ พระบางท่านบางองค์ ก็ว่าไม่ใช่หน้าที่ของเราหรอก เป็นเรื่องของพระกัมมัฏฐาน แท้ที่จริงคนเรามีใจด้วยกันทุกคน ใครเข้าหาใจได้แล้วก็เป็น กัมมัฏฐานด้วยกันทั้งนั้นแหละ เป็น ภาวนา สมาธิแล้วทั้งนั้น เว้นไว้แต่เรา ไม่ทำ
    <O:p></O:p>
    อธิบายถึงเรื่องใจ ให้ค้นหาใจ ให้ พิจารณาเข้าถึงใจ ขอยุติเพียงเท่านี้
    <O:p></O:p>
    (แสดงธรรม ณ วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคายเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2524)
     
  8. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    นี่ยกมาทำไม เนี่ย จะเอามาค้านว่าตนเองถูกแล้วนั่นนะหรือ
    อย่าเพ้อเจ้อเลย จิตกับใจก็เหมือนกัน แต่สิ่งที่เรียกให้ถูกต้องสำหรับ สิ่งที่แปรเปลี่ยนไป ก็คือ เจตสิก และเจตสิกนี้ก็จิตนั่นแหละ
    นี่แก้ให้ เข้าใจให้ถูก เรียกให้ถูก ก็อ่านทำความเข้าใจก่อน ไม่ใช่ ยกคำครูบาอาจารย์มาเรื่อยเปื่อย
     
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ยกมาให้เพื่อนๆ พิจารณา หลายๆ มุม เรื่อง ของ จิต และ ใจ
    เพื่อยกระดับปัญญา ให้กว้างขวาง ไม่ได้ ยกมา เพื่อบอกว่า อันไหนถูก อันไหนผิด นะคะ
    คำสอนของครู แต่คนละอ่านกันไป เข้าใจกันไป ได้ตามปัญญา ของตน บางคนก็ได้เข้าใจในความจริงในความรู้ ที่ครูสอน บางคนก็มีอุปทานไป เข้าใจไปคนละเรื่องคนละแบบ อ่านเรื่องเดียวกัน แต่เข้าใจไม่เหมือนกัน ก็มี
     
  10. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 3 คน ( เป็นสมาชิก 3 คน และ บุคคลทั่วไป 0 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"></TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>นิวรณ์*, nooy09 </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ไม่ได้อุปาทาน หรอก ก็มันตรงๆ ผมบอกว่า ไม่ถูกต้อง การใช้คำว่า จิตกับใจ ว่าจิตเป็นตัวถูกรู้
    ก็แก้ให้ว่า ต้องใช้คำว่า เจตสิก
    ก็ไปยกคำครูบาอาจารย์ มาสนับสนุนตน
    ถ้าเห็นว่ามีประโยชน์ ไม่ยกมาแต่ทีแรกหละครับ

    เรื่อยเปื่อยจริงๆ นี่แหละเขาเรียกว่า อ่านมา ฟังมา ไม่รู้เนื้อหาที่ควรจับ ก็ไปจับเรื่องสมมติ
    ไปอ่าน ธรรม ของหลวงปุ่เทสก์ให้ดี แล้วจับตัวที่เป็นธรรม
     
  12. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ในที่นี้ เราสนทนา ด้วยความรู้ ที่มีในตน เพื่อแบ่งปันทัสนะ เป็นเบื้องต้น
    การยกคำสอนครูมา ก็เพื่อ เพิ่มปัญญา เพิ่มทัสนะ ในเรื่องที่คุยกัน
    เพราะ เรายังเป็นผู้ไม่รู้แจ้ง ความรู้ของเราจึงไม่อาจยึดไว้ว่าถูก หรือผิด
    ความรู้ของเรา คือความเข้าใจที่ได้จากการปฏิบัติ และการอ่านจากคำสอนของครู

    ตราบใดที่เรายังมีความคิด อุปทาน เราก็ต้องรู้ว่าปัญญาของเรา ยังไม่ชัดแจ่มแจ้งที่จะเข้าใจในความจริงในทุกเรื่อง

    แต่ถ้าใครรู้ว่าตัวเองไม่มีอุปทานแล้ว ก็ขออนุโมทนาด้วย
     
  13. เกสท์

    เกสท์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    765
    ค่าพลัง:
    +18
    อันนี้เป็นเรื่องของ definition นะคุณขวัญ
    ถ้าตกลงแรื่อง definition ตรงกันแล้ว

    อ.ขันธ์กล่าวไม่ผิดเลย
     
  14. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เราก็ยังไม่ได้กล่าวเลย ว่าใครผิด ใครถูก
    ท่านว่าถูกแล้ว ก็ตามนั้น
    เรายังไม่มีความรู้ที่ชัดแจ้งจนสามารถไปรับรองความถูกผิดในความรู้ความเข้าใจของใครได้ เราก็ยังศึกษาหาความรู้ไปเรื่อยๆ และปฏิบัติธรรมตามที่เราเข้าใจ ท่านว่าอย่างไรก็อย่างนั้น แต่คำสอนของครู ย่อมเป็นจริง เพราะพวกเรายอมรับในธรรมของครูกันว่าเป็นเรื่องจริง

    ถ้าท่านรู้ตัวเองและมั่นใจว่าท่านรู้แจ้งเห็นจริงแล้ว เราก็ขออนุโมทนา ในความเห็นของท่าน
     
  15. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    จิต คือ ผู้รู้ รู้ผิด-รู้ถูก
    อารมณ์ คือ สิ่งที่ถูกจิตรู้
    ถ้าจิตปรุงอารมณ์ ก็คือ เจตสิก

    ใจ คือ อายตนะภายใน เป็นเครื่องรับรู้ธรรมารมณ์

    จิตที่อยู่ในโลก(รับรู้อารมณ์) คือ โลกียจิต
    ส่วนจิตเหนือโลก จิตพ้นโลก(พ้นอารมณ์) คือ โลกุตตรจิต

    ;aa24
     
  16. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คุณศรีฯ ใครครับที่ ดับแล้วจากทุกข์ทั้งปวง ???<O:p</O:p
    ทุกข์ดับลอยๆไม่ได้นะครับ <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    คำว่า “การดับแล้วจากทุกข์ทั้งปวง”<O:p</O:p
    ตกลง จิตดับแล้วจากทุกข์ทั้งปวง???<O:p</O:p
    หรือ ทุกข์ทั้งปวงดับไปจากจิต???
    คุณศรีฯ แล้วที่ถูกน้องแคทจูงจมูกหนะ มันทุกข์หรือมันสุขหละ???


    ;aa24<O:p</O:p
    <O:p
     
  17. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คุณศรีฯ ขนาดบาปบุญคุณโทษยังไม่รู้จักหน้าตา<O:p
    แต่ไพล่ไปพูดถึงความว่างในจิต แค่คิดก็ผิดแล้ว

    ;aa24
     
  18. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    <O:p
    <O:p
    พึงเอาชนะคนชอบทำตัวกำมะลอแบบสุดยอด<O:p
    ด้วยการเปิดเผยธรรมแท้ของพระบรมครูให้รู้<O:p
    <O:p
    พึงชนะความตระหนี่ ด้วยการเอาเงินไปซื้อตั๋วคอนเสิร์ต(น้องแคท)<O:p

    พึงชนะคนที่ติดความคิด ด้วยการเพ่งจิตในจิตให้รู้อยู่ที่รู้<O:p

    พึงชนะคนชอบพูดเหลวไหลกำมะลอ ด้วยการชี้ความจริงให้เห็นเพื่อเปรียบเทียบ<O:p

    ;aa24<O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 เมษายน 2009
  19. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ศรีฯ
    วางสุขอันไม่มีทุกข์เจือปน

    นับจากนี้ไปผมจะหายไปพักหนึ่ง<O:p
    <O:p
    คุณศรีฯ วางสุขอันไม่เจือทุกข์เพื่ออะไร???<O:p
    ในเมื่อสุขในโลกนั้นล้วนเจือด้วยทุกข์ทั้งนั้นใช่มั้ย???<O:p</O:p
    แต่พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่งนั้น <O:p</O:p
    เป็นสุขที่ไม่เจือทุกข์เลยแม้สักนิด แล้วจะวางมันทำไม???<O:p</O:p
    <O:p
    จะรีบไปรับโองการตราตั้งมาแอบแฝงใช้ประโยชน์ในพระพุทธศาสนาใช่มั้ย???
    อย่าลืมว่าผมรออยู่หนะ เพราะคุณยังแถไม่ยอมตอบผม<O:p
    เรื่องพระโสดากับพระอรหันต์ต่างกันตรงไหน??? <O:p
    ผมเอาของเก่ามาวางเพื่อง่ายต่อการถกธรรมต่อ<O:p
    <O:p
    <O:p
    คุณศรีฯ คุณไม่รู้จริงๆหรือว่า พระอริยะเจ้าทั้งหลายนั้น <O:p
    ทุกท่านล้วนแล้วแต่รู้อุบายในการละกิเลสทั้งนั้น<O:p</O:p
    ถ้าท่านไม่รู้อุบายในการละกิเลส ท่านย่อมข้ามโคตรไปไม่ได้หรอกครับ <O:p</O:p
    ต่างกันที่ความคล่องแคล่วชำนาญในการละวางกิเลสต่างหาก<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พระอรหันต์นั้นกิจของท่านจบแล้ว กิจที่จะทำไม่มีอีกแล้วนั้น<O:p</O:p
    (ไม่ต้องเสียเวลาในการวางกิเลส)<O:p</O:p
    หมายถึงว่าท่านกระทบกิเลสแล้ว กิเลสร่อนออกไปในทันที <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ส่วนพระอริยเจ้าทั้งหลายในชั้นรองๆลงมา <O:p</O:p
    เมื่อกระทบกิเลสแล้วมีการยึกยักอยู่กิเลสอยู่บ้าง <O:p</O:p
    กว่าจะละกิเลสได้(ยังมีกิจต้องทำ) <O:p</O:p
    ขึ้นอยู่กับกิเลสเหล่านั้นประทับจิตใจมากน้อยขนาดไหน ต่างหากครับ <O:p</O:p
    ผมคิดว่าคุณควรเลิกเดาสวดถึงเรื่องสภาวะธรรมชั้นสูงได้แล้วนะครับ<O:p</O:p
    <O:p
    เรามาว่ากันในเรื่องที่ค้างอยู่มีกว่า ที่ผมถามไปว่าระหว่างพระโสดาบันกับพระอรหันต์กันตรงไหน???
    คุณตอบมาแล้วผมก็ตอบแย้งกลับไป คุณควรตอบข้อแย้งผมสิครับ
    จะมาพูดเอาดีใส่เอาชั่วใส่คนอื่นนั้นมันไม่ถูกต้อง
    เชื่อผมเถอะมีภูมิรู้(ไม่ใช่ภูมิธรรม)เพียงแค่นี้
    อย่าริคิดตั้งตัวเป็นเจ้าลัทธิโดยอิงแอบพระพุทธศาสนาเลย
    จะเป็นตราบาปไปอีกนานนะครับ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    คุณศรีฯ คำถามที่ยังไม่ตอบให้เคลียร์<O:p</O:p
    คุณศรีฯ ใช่ จิตพ้นวิเศษจากบ่วงอันเป็นทิพย์ เพราะอะไร???<O:p</O:p
    ใช่จิตวิมุตติเป็นจิตที่หลุดพ้นจากกิเลส จิตบรรลุพระนิพพานใช่มั้ย???<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ที่ว่าดูจิตมันคิดมันนึกก็ดีนา แล้วทำอย่างไรจิตจึงจะหยุดคิดหยุดนึกหละ???<O:p</O:p
    เกิดความงงงวยมึนตึบทันที่ “พิจารณาธรรมที่ไม่มีตัวตน”???
    <O:pของที่ไม่มีตัวไม่มีตน แล้วไปพิจารณามันทำไมให้เสียเวลาเล่า???<O:p
    <O:p
    คุณศรีฯ ใครกันแน่ที่ควรกลับไปปฏิบัติมาเสียใหม่ จำไว้นะ น่าอายจริงๆ<O:p</O:p
    ใครที่รู้ว่าปฏิจจสมุปบาทเป็นรูป-นาม???<O:p</O:p
    เมื่อรูป-นามดับ...ใครรู้ว่ารูป-นามดับ???<O:p</O:p
    ใช่ เมื่อดับไปแล้วตั้งอยู่ไม่ได้ ใครหละรู้ว่ารูป-นามตั้งอยู่ไม่ได้???

    ;aa24
     
  20. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    อย่าพากันหาจิต

    จิตไม่มีตัวตน
     

แชร์หน้านี้

Loading...