หลวงปู่ทองทิพย์ ปิดตาจันทรคราส เหล็กไหลไพรดำ เหล็กเปียก เหล็กไหลเงินยวง

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย apisab, 2 กันยายน 2014.

  1. apisab

    apisab เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2006
    โพสต์:
    1,083
    ค่าพลัง:
    +1,704
    นิมนต์แล้วครับป๋ม



    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 ธันวาคม 2014
  2. apisab

    apisab เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2006
    โพสต์:
    1,083
    ค่าพลัง:
    +1,704
    เมื่อถามถึงพิมพ์พิเศษ ก็มีฮะ และมีมากพอที่จะแบ่งให้บูชา ท่านใดสนใจโทรถามได้นะครับ ราคาสูงกว่าจันทรคราสแน่นอน ​


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. apisab

    apisab เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2006
    โพสต์:
    1,083
    ค่าพลัง:
    +1,704
    หลาย ๆ คนสอบถามว่าจะบูชาหลวงปู่ทองทิพย์ใช้คาถาอะไร บ้างก็ว่าให้ใช้ คาถาจินดามณี บ้างก็ให้ใช้คาถา บูชาหลวงปู่เทพโลกอุดร

    แต่สำหรับผม บูชาท่านด้วย บทอิติปิโสฯ พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ถวายบูชาครับ

    และถ้าอยากจะขอหลวงปู่เป็นเรื่อง ๆ ก็ แต่งขันธ์ห้า ดอกไม้ห้าคู่ เทียนห้าคู่ แบบอีสาน (บางแห่งก็เพิ่ม ธูปอีกห้าคู่) ขอพรหลวงปู่ ถ้าได้แล้วก็ถวายสังฆทานให้หลวงปู่ ขอที่ละเรื่องนะครับ ครั้งแรกที่ผมขอก็ขอพระหลวงปู่หนึ่งองค์ และก็ขอพระหลวงปู่มาเรื่อย ๆ ได้ผลครับ

    อย่างที่สองขอเรื่องงานต้องใช้เงินเท่านี้ จำนวนเท่านี้ท่านก็เมตตาจัดสรรให้ครับ ใครที่มีพระหลวงปู่ก็ลองบูชาดูครับ ส่วนเรื่องหวยไม่เคยขอท่านเลยครับ
     
  4. apisab

    apisab เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2006
    โพสต์:
    1,083
    ค่าพลัง:
    +1,704
  5. apisab

    apisab เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2006
    โพสต์:
    1,083
    ค่าพลัง:
    +1,704
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. apisab

    apisab เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2006
    โพสต์:
    1,083
    ค่าพลัง:
    +1,704
    นิมนต์แล้วจ้า
     
  7. apisab

    apisab เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2006
    โพสต์:
    1,083
    ค่าพลัง:
    +1,704
  8. apisab

    apisab เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2006
    โพสต์:
    1,083
    ค่าพลัง:
    +1,704
    พระปิดตาสองหน้า เนื้อเหล็กเปียก หลวงปู่ทองทิพย์

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. apisab

    apisab เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2006
    โพสต์:
    1,083
    ค่าพลัง:
    +1,704
    องค์ต้นแบบของ พระปิดตาจันทรคราส หลวงปู่ทองทิพย์ครับ

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. apisab

    apisab เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2006
    โพสต์:
    1,083
    ค่าพลัง:
    +1,704
    จันทรคราส องค์ต้อนแบบน่าจะ เป็นศิลปทางเขมร ในยุคของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗

    ลักษณะทรงพระจะเป็นรูปร่างคล้ายน้ำเต้า

    ลักษณะของน้ำเต้าจะมีรูปทรงกลมป้อมตรงกลางป่อง และจะมีอยู่สองชั้นบนและล่าง มีส่วนปลายเรียวเพื่อสะดวกในการเท ริน จัดเป็นภาชนะโบราณที่มีประวัติสืบทอดต่อ ๆ กันมาอย่างยาวนานโดยแทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างใด ๆ เลย น้ำเต้าในวัฒนธรรมจีนจึงเป็นสัญลักษณ์มงคลชนิดหนึ่ง ว่ากันว่าข้างในบรรจุน้ำทิพย์แห่งความเป็นอมตะไว้ ดังนั้น การแขวนน้ำเต้าไว้จึงมีความหมายถึงการเก็บกักความเคราะห์ร้ายไม่ให้มาเยือน และยังมีความหมายในการช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บอีกด้วย ในหลักฮวงจุ้ยนั้นนิยมแขวนน้ำเต้าไว้ในตำแหน่งสุขภาพ เพราะเชื่อว่าจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและไร้ซึ่งโรคภัยอีกด้วย

    ในสมัยราชวงศ์ฮั่น บันทึกหลี่เอวี้ยจื้อ (礼乐志) ได้กล่าวถึงน้ำเต้าว่า เดิมเป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งที่มีเสียงดังกังวาน เช่นเดียวกับตำราทางการแพทย์จีนโบราณ น้ำเต้าจัดเป็นภาชนะบรรจุยาสมุนไพร แพทย์จีนนิยมใส่ตัวยาสมุนไพรต่าง ๆ ลงไปในน้ำเต้า แล้วเขย่าให้คลุกเคล้าอยู่ภายใน เมื่อตัวยาต่าง ๆ ผสมผสานรวมกันแล้วก็จะใช้ขวดน้ำเต้านั้นเป็นที่เก็บรักษาตัวยาต่อไป อีกประการหนึ่ง เมื่อนำเชือกมาร้อยน้ำเต้าแล้วสะพายแขวนไว้กับตัว ก็จะกลายมาเป็นเครื่องใช้ที่จำเป็นมากที่สุดในการเดินทางไกลของคนจีนในสมัยโบราณ นั้นคือใช้เป้นที่เก็บน้ำหรือเก็บสุราไว้อยู่ภายใน เชื่อกันว่า สุราที่เก็บในขวดน้ำเต้าจะมีรสชาติกลมกล่อมมากเป็นพิเศษ

    คติชาวบ้านเชื่อกันว่า รูปทรงกลมป้อมทั้งสองของขวดน้ำเต้านั้น เป็นการจำลองย่อส่วนระหว่างโลกมนุษย์และสวรรค์ที่มาบรรจบกันกึ่งกลางน้ำเต้า หากเปิดฝาออกมาจะสามารถใช้เก็บกักปีศาจร้ายได้

    (ความเชื่อเรื่องน้ำเต้าจากเว็บนี้)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ธันวาคม 2014
  11. apisab

    apisab เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2006
    โพสต์:
    1,083
    ค่าพลัง:
    +1,704
    "น้ำเต้าดูดทรัพย์" สัญลักษณ์แห่งการเสริมส่งสุขภาพให้แข็งแรง อายุยืนยาว เพื่อกระตุ้นเปิดรับโชคลาภ ดูดทรัพย์สินเงินทองให้ไหลมาเทมาเสริมส่งให้การงานการค้าเจริญรุ่งเรือง ปราศจากอุปสรรคเคราะห์ภัย มีสุขภาพแข็งแรง อายุยืนยาว คนโบราณนิยมห้อยไว้ในบ้าน ร้านค้า น้ำเต้าดูเผินๆน้ำเต้านี่คล้ายคลึงกับเลข 8 ซึ่งเป็นเลขมงคล หมายถึงเงินไหลมาเทมาไม่จบไม่ น้ำเต้าตามความเชื่อของคนจีนก็ถือว่าเป็นไม้มงคลที่มักจะออกลูกตลอดจนกว่าจะ แก่ตาย ซึ่งมีความหมายว่าการมีดอกออกผลทรัพย์สมบัติงอกเงย เงินทองไหลมาเทมาตลอด ชาวจีนเชื่อว่าปากของน้ำเต้านั้นจะดูดซึมซับพลังงานทางด้านลบแล้วมาเก็บไว้ ที่ส่วนล่างสุดของลูกน้ำเต้า ฉะนั้นถ้าบ้านไหนมีคนเจ็บป่วยก็ให้แขวนน้ำเต้าในตำแหน่งที่กำหนดไว้ให้ เสมือนคอยดูดซับความเจ็บป่วยให้มาอยู่ที่ลูกน้ำเต้านี้ ปราชญ์จีนโบราณยังเชื่อและให้คำนิยามกันต่อไปอีกว่า น้ำเต้าทองเหลืองนี้ให้สรรพคุณทางอายุยืน เคล็ดทาง ฮวงจุ้ย จากการทะเลาะเบาะแว้งของสามีภรรยาภายในบ้านนั้น น้ำเต้าทองเหลืองนี้ยังช่วยแก้และเสริมในเรื่องความสุขของสามีภรรยาให้ ยั่งยืนได้

    ข้อมูลจากเว็บนี้ครับ

    รูปลักษณ์ที่พระปิดตาจันทรคราสที่คล้ายน้ำเต้าซึ่งดังบทความความเชื่อที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่าแทบจะครบสมบูรณ์ในความหมายที่ดี หลาย ๆ คนนำบูชาคิดว่าจะเด่นเรื่องการป้องกันภัย แต่ถ้าหากเข้าถึงและเข้าใจและปฏิบัติดีพระหลวงปู่เรื่องของโชคลาภ เงินทอง ยศ ชื่อเสียง ก็ไม่แพ้ใคร ดังหลาย ๆ ท่านที่แขวน จากคนธรรมดา เป็นนักการเมืองท้องถิ่น ข้าราชระดับสูง มีให้เห็นหลายคนที่มีปิดตาจันทรคราส
     
  12. apisab

    apisab เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2006
    โพสต์:
    1,083
    ค่าพลัง:
    +1,704
    ด้านหลังจะมีสัญลักษณ์ S หรือหยินหยาง

    [​IMG]
    [​IMG]

    สารานุกรมวิกิพีเดียให้ข้อมูลดังนี้ ยุคโบราณราว 557 ปีก่อนพุทธศักราช .....
    "จักรพรรดิฟูฉี" เป็นผู้ให้กำเนิดปรัชญาจีนไว้ในคัมภีร์ "อี้จิง" (ซึ่งแปลว่าความเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ จีนยกย่องว่าเป็นแผนที่นำทางให้กับมนุษย์ทั้งด้านการดำเนินชีวิต การตัดสินใจ และการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขกว่าที่เป็น) ปรัชญาของพระองค์มีรากฐานมาจากการผสมเส้นตรง กล่าวคือ เส้นตรงเดี่ยว เรียกว่า หยาง เป็นตัวแทนเพศชาย และเป็นสัญลักษณ์แทนความแข็งแกร่ง ส่วนเส้นตรงแยกเรียกว่า หยิน เป็นตัวแทนเพศหญิง และเป็นสัญลักษณ์แทนความอ่อนโยนแปรปรวน
    หยางและหยินแม้จะมีลักษณะตรงกันข้ามกัน แต่ทั้งสองก็รวมกันเป็นสิ่งที่เรียกว่า เอกภาวะ ได้ หรือประสานกลมเกลียวกันโดยอาศัยความแตกต่างนั่นเอง ขณะที่ตำราชื่อ "กวานจื้อ" บันทึกไว้ว่าหยางหยินเป็นหลักสำคัญของสวรรค์และแผ่นดิน
    คติจีนเชื่อว่าสรรพสิ่งในสากลจักรวาล ล้วนมีสองด้านคือหยินและหยาง เป็นกฎแห่งความสมดุลของธรรมชาติ เป็นปรัชญาของลัทธิเต๋าที่เชื่อว่าสรรพสิ่งบนโลกใบนี้จะต้องมีสิ่งคู่กันเสมอ มีมืดก็ต้องมีสว่าง มีร้อนก็ต้องมีเย็น มีผู้หญิงก็ต้องมีผู้ชาย หากขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไป หรือมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากหรือน้อยเกินไปก็จะเกิดภาวะไม่สมดุลซึ่งจะนำหายนะมาให้
    ที่สุดแล้วคือ "หยิน" เป็นตัวแทนของความมืดมิด ไม่เคลื่อนไหว อ่อนล้า เศร้าโศก ความตาย ความหนาวเย็น ผู้หญิง "หยาง" เป็นตัวแทนของความกระตือรือร้น พลังงาน แสงสว่าง ผู้ชาย การเกิด การเคลื่อนไหวที่ไม่หยุดนิ่ง หยินและหยางเป็นพลังตรงข้ามที่คู่กัน เปลี่ยนแปลงและส่งเสริมซึ่งกันและกัน พลังซึ่งคู่กันนี้หากเท่ากันจะสร้างความสมดุล เช่น บวก-ลบ ชาย-หญิง พระอาทิตย์-พระจันทร์ ร้อน-หนาว กลางวัน-กลางคืน โดยสิ่งแรกในแต่ละคู่คือหยาง อีกสิ่งคือหยิน
    ต่อมาเกิดมีพัฒนาการทางปรัชญาเพิ่มเติมขึ้นมาว่าแท้จริงแล้วในท่ามกลางหยางก็มีหยิน และในท่ามกลางหยินก็มีหยาง หยินหยางเป็นปรัชญาในลัทธิเต๋าที่มีรูป "ไท่จี๋" เป็นสัญลักษณ์ คือรูปวงกลมและมีเส้นโค้งแบ่งเป็นสองส่วนขาวดำ อุปมาว่าเป็นมัจฉาคือปลาสองตัว ปลาสีขาวเป็นตัวแทนของหยาง ส่วนปลาสีดำเป็นตัวแทนของหยิน ตาของปลาสีขาวเป็นจุดดำ แต่ตาของปลาสีดำเป็นจุดขาว คือในหยางมีหยิน และในหยินมีหยาง ผสมกลมกลืน
    ว่ากันว่าความคิด ความเชื่อ และปรัชญาจีนอย่างหยางหยิน เป็นปัจจัยหลักของยุคเฟื่องฟูทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของชาวจีนในสมัยราชวงศ์ซ้อง และความเจริญในช่วงนี้ได้ส่งผลต่างๆ ต่อจีนมากมาย เช่น สภาพเศรษฐกิจเฟื่องฟู สิทธิสตรีตกต่ำ เป็นต้น
    หยิน-หยาง (yin-yang) พลังซึ่งคู่กัน หากเท่ากันจึงจะสร้างความสมดุล เช่น บวก-ลบ ชาย-หญิง พระอาทิตย์-พระจันทร์ ร้อน-หนาว กลางวัน-กลางคืน เป็นต้น (สิ่งแรกในแต่ะคู่คือหยาง อีกสิ่งคือหยิน) ภาพวงกลมสีขาว - ดำ คือ สัญลักษณ์ของคู่พลัง และเป็นสัญลักษณ์ของลักธิเต๋าเช่นกัน
    หยินหยาง ยังมีชื่อเรียกอีกว่า คติทวินิยม, พุท, อัว หมายถึง ธรรมชาติที่เป็นของคู่ตรงกันข้าม ,สิ่งที่เป็นของคู่ ของคู่อันพึ่งทำลาย ของคู่อันทำให้สมดุล
    จากแหล่งข้อมูลนี้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ธันวาคม 2014
  13. apisab

    apisab เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2006
    โพสต์:
    1,083
    ค่าพลัง:
    +1,704
    เมื่อเอ่ยถึงปิดตาจันทรคราสแล้ว มีเรื่องราวที่หลวงปู่เล่าให้ฟังคือชาดกเรื่องจันทราคราส ซึ่งลูกศิษย์ต่าง ๆ ก็โยงเรื่องราวที่หลวงปู่เล่าเข้ากับการสร้างพระปิดตาจันทคราสไว้ คงจะเกี่ยวข้องกับหลวงปู่โดยตรง ลองอ่านเรื่องราวดูกันครับ
     
  14. runkey

    runkey เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,114
    ค่าพลัง:
    +1,876
    ขอสอบถามราคาบูชาพระปิดตา 2 หน้า เนื้อเหล็กเปียกครับ
     
  15. apisab

    apisab เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2006
    โพสต์:
    1,083
    ค่าพลัง:
    +1,704
    องค์ไหนครับ

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  16. apisab

    apisab เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2006
    โพสต์:
    1,083
    ค่าพลัง:
    +1,704
    ขออภัย อ่านผิดอ่านกลับเป็นปิดตา หน้า ๒ เนื้อเหล็กเปียก แต่ก็ส่งข้อความตอบไปแล้วจ้า
     
  17. apisab

    apisab เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2006
    โพสต์:
    1,083
    ค่าพลัง:
    +1,704
  18. apisab

    apisab เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2006
    โพสต์:
    1,083
    ค่าพลัง:
    +1,704
    หลวงปู่ทองทิพย์ท่านเคยเล่าเรื่องราวชาดกเรื่อง จันทรคราส และท่านก็สร้างพระปิดตาจันทรคราส แลดูเหมือนท่านจะเปรย ๆ ความเกี่ยวข้องในอดีตของท่าน

    เรื่องราวของจันทรคราสนั้นมีหลายประวัติ เรื่องที่นำมาเป็นเรื่องราวที่ผมคิดว่าน่าจะสมบูรณ์ที่สุด พอย้อนกลับไปเรื่องของประวัติศาสตร์ ผู้เขียน ผู้วาด ระดับของวันเวลา ทั้งของไทย และของล้านนา ของสปป.ลาวเองก็น่าจะใกล้เคียงที่สุด และสอดคล้องกับลำดับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่หลวงปู่เคยเล่า ลองอ่านแบบยาว ๆ ดูนะครับเดี๋ยวจะสรุปตอนท้าย ความเกี่ยวข้องกันที่พอจะตั้งสมมุติฐานได้


    ประวัติวัดหนองบัว
    วัดหนองบัวเป็นวัดที่เก่าแก่ประจำหมู่บ้านหนองบัว ต. ป่าคา อ. ท่าวังผา จ. น่าน จากคำบอกเล่าไว้เดิมวัดหนองบัวตั้งอยู่ที่ริมหนองบัว (หนองน้ำประจำหมู่บ้าน) ซึ่งอยู่ห่างจากที่ตั้งวัดปัจจุบันไปทางทิศตะวันตกประมาณ 500 เมตร ปัจจุบันไม่มีซากโบราณสถานเหลืออยู่เลย ต่อมาได้มีการย้ายวัดมาที่ปัจจุบันนี้ วัดหนองบัวสันนิษฐานว่า สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 2405 โดยการนำของครูบาหลวงสุนันต๊ะร่วมกับชาวบ้านหนองบัวสร้างขึ้น จึงทำให้วิหารหนองบัวแห่งนี้ เป็นสถาปัตยกรรมไทยล้านนาที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่ง ซึ่งหาดูได้ยากมากในสมัยนี้ และพระวิหารหนองบัวแห่งนี้ยังมีจิตรกรรมฝาผนังแบบโบณาณที่สวยงามอีกด้วย
    ประวัติวัดหนองบัวและประวัติจิตรกรรมไม่มีหลักฐานบันทึกไว้ การสืบประวัติจะต้องอาศัยข้อมูลจากสองทางด้วยกันคือ สืบจากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่และสืบจากการสังเกตจากรายละเอียดที่แสดงไว้ในภาพเขียน
    การสืบประวัติจากคำบอกเล่า ท่านพระครูมานิตย์บุญการ หรือ ครูบาปัญญา ผู้เป็นชาวบ้านหนองบัวโดยกำเนิดถือว่าเป็นผู้รู้ท่านหนึ่งได้เล่าไว้ว่านายเทพผู้เป็นบิดาของท่านได้เป็นทหารของเจ้าอนันต๊ะยศ เจ้าผู้ครองนครน่านในขณะนั้น( เจ้าอนันต๊ะยศ ครองเมืองน่านเมื่อ พ.ศ.2395 –2434 )ต่อมานายเทพได้ติดตามทัพไปรบที่เมืองพวนซึ่งเป็นเมืองในแคว้นหลวงพระบาง หลังจัดการศึกเรียบร้อยแล้วจึงยกทัพกลับเมืองน่าน นายเทพได้นำช่างเขียนลาวพวนชื่อว่า ทิดบัวผัน มาเขียนจิตรกรรมฝาผนังที่วัดหนองบัวแห่งนี้ โดยมีพระภิกษุวัดหนองบัวชื่อ แสนพิจิตร และนายเทพเป็นผู้ช่วยเขียนเสร็จ
    การสืบประวัติจากรายละเอียดของจิตรกรรม ภาพเรือกลไฟและรูปทหารชาวฝรั่งที่ผนังด้านทิศเหนือเป็นสิ่งที่สามารถ นำมาประเมินอายุของจิตรกรรมได้ ตามประวัติของเรือกลไฟว่าเรือกลไฟมีแหล่งกำเนิดในยุโรปและอเมริกา ในประเทศไทยมีหลักฐานในจดหมายเหตุหลายแห่งแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีเรือกลไฟใช้ตั้งแต่ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงสันนิษฐานว่าช่างเขียนคงเห็นและนำแบบมาเขียนไว้ และยังมีรูปปืนยาวแบบฝรั่งคือมีดาบติดปลายปืนด้วย เดิมคนไทยรู้จักใช้ปืนมาตั้งแต่สมัยอยุธยา รูปแบบปืนมีปลายกระบอกยาวแต่ไม่ปรากฏว่ามีดาบปลายปืน ปืนที่ตัดดาบปลายปืนเป็นแบบฝรั่งที่นำมาใช้แพร่หลายในประเทศไทยสมัยรัชกาลที่ 4 ถึง รัชการที่ 5 เป็นต้นมา จึงประเมินอายุจิตรกรรมว่าคงอยู่ในราวสมัย รัชการที่ 4 ถึง รัชการที่ 5
    เรื่องราวในจิตรกรรม ได้แก่เรื่อง จันทคาธชาดก และเรื่องพุทธประวัติ ซึ่งเรื่องจันทคาธชาดกนี้ เป็นนิยายคติธรรมเก่าแก่อันดับที่ 11 ในหนังสือ ปัญญาสชาดกปัจฉิมภาค ชาวบ้านในภาคเหนือเรียกว่า ค่าวธรรม จันทคาชาดก เป็นนิทานธรรมที่สอนให้กุลบุตรและกุลธิดาเอาแบบอย่างจริยธรรมที่ดีงามเช่น การเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ความกตัญญูกตเวที ความซื่อสัตย์สุจริต และความเมตตากรุณาเป็นต้น
    สิ่งสะท้อนจากภาพจิตรกรรม จิตรกรรมฝาผนังทุกแห่งย่อมมีคุณค่าในแง่ของการเป็นกระจกสะท้อนให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ของผู้คนสมัยนั้น โดยเฉพาะความเป็นชาวบ้าน ซึ่งมีลักษณะเรียบง่าย โดยเฉพาะจิตรกรรมฝาผนังวัดหนองบัวแห่งนี้ได้ทำหน้าที่สะท้อนความเป้นอยู่ของผู้คนสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี ภาพจิตรกรรมฝาผนังจึงเสมือนเปิดโอกาศให้คนดูได้จินตนาการได้อย่างกว้างไกลทำให้รู้สึกเพลิดเพลินสนุกสนาน ใจคอเบิกบานชอบกล สิ่งสะท้อนจากภาพเขียนที่เห็นได้ชัดคือการแต่งกาย โดยเฉพาะการแต่งกายของผู้หญิงที่นุ่งผ้าซิ่นลายน้ำไหล หรือผ้าซิ่นตีนจกที่สวยงาม และปัจจุบันยังเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านที่มีชื่อเสียงของชาวไทลื้ออีกด้วย
     
  19. apisab

    apisab เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2006
    โพสต์:
    1,083
    ค่าพลัง:
    +1,704
    ณ เมืองจำปา ซึ่งมีพญาปันธุเป็นเจ้าเมือง มีครอบครัวของสามีภรรยาคู่หนึ่งอาชีพทำไร่ทำสวน ฐานะยากจนมาก ต่อมาภรรยาได้ตั้งท้องและคลอดบุตรชายคนแรกเป็นผู้ชายได้เกิดสุริยุปราคาขึ้น บิดาจึงตั้งชื่อให้ว่า“สุริยคราส” บิดามารดาได้เลี้ยงดูบุตรชายด้วยความรักใคร่เอาใจใส่ จนบุตรชายคนแรกมีอายุได้ ๒ ปี มารดาจึงตั้งท้องบุตรคนที่ ๒ และคลอดออกมา เป็นผู้ชาย วันที่นางคลอดเกิดจันทรุปราคา จึงตั้งชื่อว่า “จันทรคราส” เด็กทั้งสองได้รับการเอาใจใส่ดูแลจากบิดามารดา จนเติบใหญ่ และเป็นเด็กที่มีความแข็งแกร่ง

    วันหนึ่งสองพี่น้องไปเก็บปูที่ทุ่งนามา ๔ ตัว แล้วนำมาเผากิน สุริยคราสได้แบ่งไว้ให้พ่อกับแม่ ๒ ตัว ตัวเองกับน้อง กินคนละตัว แต่จันทรคราสกินไม่อิ่มอ้อนวอนขอพี่อีกจนหมด พ่อกับแม่กลับมาเห็นกระดองปูเรี่ยราดจึงถามลูก ๆ พอรู้เรื่อง ด้วยความหิวพ่อจึงใช้ไม้ตีจันทรคราส แต่สุริยคราสสงสารน้องจึงพาน้องหนีออกจากบ้าน และพลัดหลงอยู่ในป่า

    สองพี่น้องอยู่ในป่าหลายวัน ได้เห็นงูกับพังพอนสู้กัน เมื่องูตายพังพอนก็ไปคาบเปลือกไม้ชนิดหนึ่ง โดยเคี้ยวก่อนจะใส่ในปากงูทำให้งูฟื้นขึ้นมาแล้วสู้กันต่อ ครั้นพังพอนตายงูก็เคี้ยวเปลือกไม้ใส่ปากพังพอนบ้าง พอพังพอนฟื้นสัตว์ทั้งสองก็หายเข้าไปในป่า สองพี่น้องจึงเก็บเปลือกไม้ไว้และพากันเดินทางต่อไป

    เด็กทั้งสองเดินทางมาพบพระฤๅษีกำลังนั่งวิปัสสนาอยู่ใต้ต้นไม้ ขณะนั้นมีอีกาตัวหนึ่งอยู่บนต้นไม้และถ่ายอุจจาระตรงหัวพระฤๅษี พระฤๅษีจึงสาปให้อีกาตาย เด็กทั้งสองอยากทดลองเปลือกไม้นั้น สุริยคราสจึงเคี้ยวเปลือกไม้ใส่ปากอีกา อีกาฟื้นขึ้นมาและสำนึกในบุญคุณของเด็กทั้งสอง จึงอาสาหาอาหารและผลไม้ให้กินทุกวัน

    เมื่ออาหารและผลไม้หมดป่า อีกาจึงนำเด็กทั้งสองไปทิ้งไว้เมืองยักษ์ เพื่อให้เป็นอาหารของยักษ์ต่อไป ส่วนอีกาขโมยเนื้อจากเมืองยักษ์ไป ยักษ์จึงจับอีกากินเป็นอาหาร

    สองพี่น้องถูกหัวหน้ายักษ์จับตัวไปขังไว้ เพื่อเป็นอาหารในการจัดงานศพเมียของตน โดยขังไว้กับศพเมียยักษ์ เด็กทั้งสองจึงช่วยเหลือด้วยการเคี้ยวเปลือกไม้ใส่ปากเมียของยักษ์ เมื่อเมียยักษ์ฟื้นขึ้นมา ยักษ์จึงเลิกจัดงาน ทำให้ยักษ์ตนอื่น ๆ ไม่พอใจ จึงเกิดแย่งชิงเด็กทั้งสอง เมียของยักษ์จึงพาสองพี่น้องหลบหนีไปที่เมืองกาสี

    ณ เมืองกาสี (กาสิกนคร) พญาสุคะโตผู้ครองนคร มีธิดาชื่อสุจาติงสา (สุทธชาติดึงสา) ได้สิ้นพระชนม์เพราะถูกงูพิษกัด พญาสุคะโตจึงประกาศว่าถ้าใคร สามารถช่วยชีวิตพระธิดาได้ จะให้รางวัล ส่วนสุริยคราสและจันทรคราสเมื่อถึงเมืองกาสี มีเศรษฐีได้รับเลี้ยงไว้ ครั้นทราบข่าว สุริยคราสอาสาไปช่วยชีวิตด้วยเปลือกไม้ พญาสุคะโตจึงยกพระธิดาให้กับสุริยคราส พร้อมทั้งให้ครองเมืองกาสีต่อจากพระองค์

    [​IMG]

    ( ไม่แน่ใจ:พระธิดาสุจาติงสา ของพญาสุคะโต เมืองกาสีถูกงูพิษกัด)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 9753a879.jpg
      9753a879.jpg
      ขนาดไฟล์:
      83.6 KB
      เปิดดู:
      1,850
  20. apisab

    apisab เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2006
    โพสต์:
    1,083
    ค่าพลัง:
    +1,704
    จันทรคราสได้อยู่กับเศรษฐีต่อไป วันหนึ่งจันทรคราสทราบข่าวว่าลูกเจ้าของเรือที่จะเดินทางไปค้าขายกับเมืองอินตะปะถะ(เมืองอินทปัตนคร) เสียชีวิตเพราะถูกเสือกัดจึงได้นำเปลือกไม้ไปช่วยและฟื้นขึ้นมา เจ้าของเรือจึงยกเรือให้จันทรคราส และจันทรคราสก็ออกเดินทางไปยังเมืองอินตะปะถะ

    เมืองอินตะปะถะนั้นพญาพรหมจักร(พระเจ้าพรหมจักรวรรดิ) เป็นผู้ครอง มีธิดาที่เพิ่งประสูติชื่อเตวธิสังกา (พระธิดาเทวธีสังคา) โหรได้ทำนายว่าเมื่อนางอายุถึง ๑๖ปี จะถูกเสือกัดตาย พญาพรหมจักรจึงสั่งให้ดูแลพระธิดาไม่ให้ออกจากเมือง จนกระทั่งนางอายุ ๑๖ ปี ได้เห็นเขี้ยวเสือจึงหยิบมาเล่น แล้วถูกเขี้ยวเสือทิ่มที่เท้าเกิดอักเสบจนเสียชีวิต พญาพรหมจักรประกาศให้รางวัลผู้ที่ช่วยชีวิตธิดาของตน ขณะนั้นจันทรคราสมาถึงเมืองอินตะปะถะ ทราบข่าวจึงอาสาเข้าช่วยเหลือนางด้วยเปลือกไม้จนกระทั่งฟื้น ครั้นนางเห็นจันทรคราสก็เกิดความรักขึ้น พญาพรหมจักรจึงได้จัดพิธีอภิเษกสมรสและแต่งตั้งให้จันทรคราสเป็นอุปราช

    [​IMG]

    (จันทรคราสช่วยแก้ไขให้ เตวธิสังกา ธิดาของพญาพรหมจักรแห่งเมืองอินตะปะถะ ฟื้นคืนชีพ จากการที่ถูกเขี้ยวเสื้อทิ่มอักเสบ บางแห่งกล่าวไว้ว่า นางเตวธิสังกา หรือ นางเทวธิสังกาถูกมีดเล็กด้ามเขี้ยวเสือ เกิดบาดแผลเล็กน้อยแต่อาการกำเริบขึ้นเสวยทุกขเวทนา 3 ปี ก็เสียชีวิต ที่มา:cm77.com)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 2.jpg
      2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      55.6 KB
      เปิดดู:
      1,855

แชร์หน้านี้

Loading...