อุปทานกับอุปทานขันธ์5คืออะไรอะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย tokyoo2, 10 กันยายน 2012.

  1. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ถ้าอุปาทานแบบโลก ๆ ที่เคยใช้มา ก็หมายถึง คิดไปเอง อุบ-ปะ-ทานไปเอง ประมาณนั้น
    ถ้าอุปาทานตามที่พระท่านกล่าวก็หมายถึงอย่างที่ทุกท่านบอก ๆ มา คือ ความยึดมั่นถือมั่น

    ถ้าอุปาทานขันธ์ ในมุมที่ผมเข้าใจ หมายถึง
    หลงคิดหลงปรุงแต่งไปเองทั้งหมดตั้งแต่ต้น ตั้งแต่หลงชอบหลงชังสร้างภาพสร้างโลกขึ้นมาในใจตนเอง แล้วก็หลงตัดสินพิพากษาเป็นทุกข์ ยินดียินร้ายไปกับความชอบความชัง ขยายโลกที่ตนเองสร้างออกไปไม่มีที่สิ้นสุด ที่จริงไม่มีอะไรหรอก นอกจากความเกิดดับตามเหตุตามปัจจัย ถ้าเราเข้าใจซะ มันก็เริ่มวางได้ เป็นผู้รู้ผู้ดูเฉย ๆ มากกว่าจะเข้าไปร่วมเล่นซะเอง ทุกข์ทั้งนั้นแหละ

    ใหม่ ๆ ก็ฟาดฟันห้ำหั่น จะเอาเป็นเอาตายกับมันให้ได้ พอเข้าใจแล้วมันอีกแบบนึง โฟกัสไม่ถูกที่ถูกจุดนี่มันทำไปทั่วเลยนะ แต่จะว่าที่ผ่านมาไม่ดีก็ไม่ได้ มันก็อาศัยกันอยู่เหมือนกัน ดีทั้งนั้นครับ :)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กันยายน 2012
  2. GoingMarry

    GoingMarry เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +124
    อุปาทานขันธ์ ๕

    เห็นรูปเป็นตน เห็นตนเป็นรูป เห็นรูปในตน เห็นตนในรูป
    เห็นเวทนาเป็นตน เห็นตนเป็นเวทนา เห็นเวทนาในตน เห็นตนในเวทนา
    เห็นสัญญาเป็นตน เห็นตนเป็นสัญญา เห็นสัญญาในตน เห็นตนในสัญญา
    เห็นสังขารเป็นตน เห็นตนเป็นสังขาร เห็นสังขารในตน เห็นตนในสังขาร
    เห็นวิญญาณเป็นตน เห็นตนเป็นวิญญาณ เห็นวิญญาณในตน เห็นตนในวิญญาณ

    เท่ากับ สักกายทิฎฐิ ๒๐ นั่นเอง
     
  3. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337
    อย่างคุณ GoingMarry บอกมานั่นก็มีส่วนอยู่นะครับ

    มันก็จะดูครายๆกับอุปทานขันธ์5อยู่เหมือนกัน เเต่จริงๆเเล้ว อุปทานขันธ์5ไม่ใช่การยึดมั่นถือมั่นในตนเอง เเต่มันเนี่ยเป็นปัจจัยทำให้เกิด อุปทานทั่ง4 อย่างอัตวาทุปาทาน ก็เป็นผลจากอุปทานขันธ์5

    คือถ้าให้เข้าใจ ง่ายๆ ถ้า ใครบอกว่า อุปทานขันธ์5 คือการยึดมั่นตัวเรา หรือ อุปานขันธ์5 เป็นการยึดมั่นถือมั่นว่า ขันธ์5 เป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวตนของเรา เเบบนี้ผิดเต็มๆ ครับ เเบบนี้เรียกว่า เอา อุปทานขันธ์5มาตอบเต็มๆ
    เเต่เพราะว่า อุปทานขันธ์5 มันก็เกิดจากตัวมันเอง ไม่ใช่เราเป็นผู้ทำให้มันเกิดได้ การที่ไปมีความพอใจเช่น รูปารมณ์ฯ มันก็ทำให้เกิด อุปทานขันธ์5ได้ตลอดเวลาอยู่เเล้ว เเต่ถ้าเพลินตลอดเวลานั่นเเละ หรือ การที่มันพอใจการทำงานของมันอยู่ เรื่อยๆ มันก็เลยเหมารวมว่า นี่เเละ เรา เองคือผู้รู้สึก ต่างๆ
    ตัวมันก็จะกลายไปยึดว่ามันกับเราคือตัวเดียวกัน ซึ่งจริงๆความเป็นเราไม่มีอยู่เเล้วในขันธ์5 ทั่งผู้ยึดถืออะไร ไม่มีเราเป็นผู้เข้าใปยึด
    ไม่ใช่เราที่ไปยึดขันธ์5ทำให้ไปคิดว่าขันธ์5เป็นเรา นั่นไม่จริง

    สรุปอุปทานขันธ์5 ก็คือ การที่มันพอใจการทำงานของมัน เเล้วมาเหมารวมว่าเป็นเราเอง กลายเป็นอุปทาน4เป็นผลมาจากอุปทานขันธ์5 ซึ่งจริงๆไม่มีเราเป็นผู้มี ฉันทราคะ=ตัวอุปทาน(ตัวยึด) ใข่ไหม เเต่ฉันทราคะนี้ เนี่ยเเละ ก็ไม่ได้มีอยู่ที่ไหน นอกจากอุปทานขันธ์5 คือตัวมันเองนั่นเเละ

    ก็ทำให้เข้าใจว่า ผู้ที่ยึดขันธ์ทั่ง5 มันก็คือตัวมันเองอยู่เเล้ว ไม่ใช่ว่าเราเป็นผู้เข้าใปยึดขันธ์5หรือเป็นผู้หลงทำให้เกิดอุปทานขันธ์5 เเต่มันเองเนี่ยเเละ ตัวมันเลย โดยมีสัตว์ผู้มีอวิชา คอยยึด ตัวรู้ เอาไว้เท่านั้น เเต่ทำอะไรไม่ได้เเล้ว
    นอกจากรู้ตามๆมันไป เพราะอย่างนี้จึงต้องกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งดีๆ
    เพื่อทำให้เเจ้ง เพื่อสลัดขันธ์5ให้ออกไปให้ได้

    เเละที่ว่า สักกายทิฏฐิ 20 นั่น ผมคิดว่า มีถูกอยู่ เเต่ถูกครึ่ง1เท่านั้น
    เเบบ2ข้อเเรก
    อย่างเช่นที่คุณยกมา

    ''เห็นรูปเป็นตน เห็นตนเป็นรูป'' ตรงนี้เเละ 2 ข้อนี้ก็พอ ไม่ถึง4 หรอกครับ

    คือถ้าให้เข้าใจ ง่ายๆ ''เห็นขันธ์5ว่าเป็นตน เห็นตนว่าเป็นขันธ์5'' ถ้ามองเป็นปฏปักขนัย ก็เข้าใจอย่างเดียวกัน ก็ละขันธ์5 ก็พอ ก็ได้เเล้ว
    เเค่นี้ก็คือ สักกายทิฏฐิเเล้วครับ 10 ข้อเเล้ว

    ถ้าเอาให้เข้าใจไปอีก ในพระพุทธวัจน ก็คือ สังขาร4ประเภท เค้าเรียกว่า
    ทิฏฐิปรารภขันธ์ห้า ก็คือการรู้ 20 นั่นเเละ เเต่เป็นเพียงหัวข้อที่1เท่านั้น
    เป็นทิฏฐิที่ต้อง รู้หมดทั่ง4ข้อนั่นเเละ 4*5= 20 เเละพระองค์เรียกว่า อวิชชาสัมผัส

    คนส่วนมากที่ไม่เห็นปฏจสมุปบาทนะผมคิดว่า พอละ สักายทิฏฐิลงได้ เเต่เค้ายังทำ2ข้อที่เหลือข้างหลังยังไม่ได้หรอก ไม่มีวันเข้าใจหรอก เเละไม่สามารถทำที่สุดเเห่งทุกข์ได้จริง
    อย่างที่คุณเอามาให้ดูคือ ''เห็นรูปในตน เห็นตนในรูป''
    อ่านเผินๆ ไม่เข้าใจหรอก เป็นข้อความลึกซึ่ง มีความหมายซึ่ง
    ถ้าให้ผมอธิบายให้เข้าใจหน่อยก็คือ เห็นขันธ์5ว่ามีในตนเห็นตนว่ามีอยู่ในขันธ์5
    ผมละเเน่ใจจริงๆ ว่า ต้องคิดกันเเบบนี้อยู่เเล้ว คิดว่ามันยังมีอะไรเป็นของเราอยู่กับขันธ์5 ซึ่งจริงๆ ดูในพระสูตรตรัสชัดๆว่า ไม่มีผู้รู้สึกต่ออารมณ์ ไม่มีผู้อยาก ไม่มีผู้ยึดถือ เเบบตัวอย่างที่ตอบข้างบน ก็ไปคิดว่า จิต คือตัวเอง เราคือจิต ต่อไปก็จะเป็นเราเป็นผู้รู้สึก ต่างๆ นี้เเละการไม่ไปทำความเข้าใจคำพระองค์
    อย่างที่คุณ Somchai ยกพระสูตรมาก็จะเห็นว่า ตัวอุปทาน(ฉันทราคะ) หรือที่เรียกว่า ผู้ยึกถือนั่นเเละ ไม่ใช่เรา เเต่ก็ไม่ได้มีอยู่ที่อื่นนอกจาก อุปทานขันธ์5 ส่วนขันธ์5มันก็คือที่ตั้งเเห่งอุปทานนั่นเอง....... ไม่มีเรา ไม่มีของเรา

    ต่อไปสังขารข้อที่ 2 ก็คือ สัสสตทิฏฐิ
    ตรงนี้คือเค้าละข้อเเรกมาได้เเล้วนะ เเต่เค้าคิดว่าพอเค้าตายเเล้วต่อไปทุกอย่างเที่ยง นี้เป้นสิ่งที่ยังยึดเค้าไว้อยู่
    ต่อไปสังขารข้อที่3 ก็คือ อุจเจททิฏฐิ ละได้2หัวข้อ
    ตรงนี้คือเค้าละข้อเเรกมาได้เเล้วนะ เเละเค้าก็ไม่คิดว่าตายเเล้วต่อไปจะเที่ยง
    เเต่เค้าคิดว่าตายเเล้วสูญ นี้เเละเห็นชอบพูดกัน มันทำให้เราโดนดึงอยู่กับที่


    ต่อไปข้อสุดท้ายสังขารข้อที่4 ก็คือ ลังเลในพระสัทธรรม

    ก็คือการไม่มาทำความเข้าใจในพระสัทธรรมให้ดีๆ เช่นพุทธวัจน
    มันก็ทำให้เกิดความลังเลสงสัยตามๆไม่มีที่สุด
    เพราะจะเปิดธรรมที่ถูกปิดได้มีทางเดียวคือ พุทธวัจน

    เเต่ดันไป ฟังตามๆกัน สร้างธรรมใหม่ๆกันขึ้นมานั่นเเละ ก็คือรวมอยู่ในนี้ด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กันยายน 2012
  4. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337
    ต่อจากข้างบน

    สรุปเรื่องทั่งหมดให้เข้าใจง่าย

    ก็คือ

    ในสังขารหมวดที่1 นั่น

    ที่ผมว่า สักายทิฏฐินั่น ให้ดู 2ข้อเเรกก็พอ ทิฏฐิที่ว่า(เห็นขันธ์5ว่าเป็นตน เห็นตนว่าเป็นขันธ์5)
    ตรงนี้ง่ายๆ เข้าใจสั่นๆว่า คือสักายทิฏฐิ ก็ได้

    ส่วน 2ข้อหลัง ทิฏฐิที่ว่า (เห็นขันธ์5ในตน เห็นตนในขันธ์5) ต้องดูให้ดีๆเลยนะ จริงๆเเล้วตัวที่อยู่ในขันธ์5 คือ ฉันทราคะ ไม่ใช่ตัวตนของเรา

    ตรงนี้เเละที่เค้ายังมีทิฏฐิอันเหนียวเเน่นอยู่ ถึงทับด้วยตัณหา ยึดถือกันด้วยทิฏฐิ ตลอดกาลยาวนาน อย่างนี้น่าเป็นห่วง เเละ เป็นสิ่งที่ต้องรู้อย่างยิ่ง
    อย่างเช่นดูคำตอบที่ว่า ตัวอุปทาน ความยึดมั่นถือมั่น ใน ขันธ์5 เป็นของเรา ทำให้เกิดอุปทานขันธ์5 แปลออกมาเป็น ความเป็นเรายึดขันธ์5ไว้อยู่ ว่ามันทำให้เกิดความรู้สึกได้ เราเป็นผู้ยึดถืออยู่ ว่าขันธ์5เป็นของเรา ไปคิดว่า ผู้ยึดนั่นละคือตัวเอง ซึ่งจริงๆไมใช่อย่างที่คิดอย่างนี้

    จริงๆมันเป็นเพียงการที่มันเกิดฉันทราคะในขันธ์5เท่านั่นเอง พอเวลา มันเพลินเห็นเป็นอัสสทะตลอดเวลา ตรงนี้เเละ ปัญจุปาทานขันธ์ถึงก่อเกิดขึ้นเรื่อยๆ มันเลยส่งผลทำให้เกิดอุปทานทั่ง4 คือการยึดว่าเป็นตัวเราจนได้

    ตรงนี้ชัดเจนเเล้วนะครับว่า คำตอบเเบบนี้ เค้ายังคิดว่า เห็นขันธ์5ในตน เห็นตนในขันธ์5 คนละอย่างเเล้วมองยากกว่า ทำให้ยึดอะไรกันไว้อยู่อย่างนั่น


    สรุปอีกทีคือ 2ข้อหลีง ไม่มีเราเป็นผู้ยึดถือ เเต่เป็นการทำงานที่อาศัยกันเกิดขึ้นของมัน โดยเราเองก็ควบคุมมันไม่ได้อยู่เเล้ว
     
  5. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    เสริมจากพี่พี่ทั้งหลาย....ผมว่าถ้ายัง งง ดู สมุทัยของทุกข์ หรือ ทุกข์สมุทัย ดีกว่า จะไม่หลงประเด็น เพราะฉนั้นการศึกษายังคงดำเนินต่อไป...ฉันทะราคะหรือตัณหาเป็นทุกข์สมุทัย หรือ "เหตุของการเกิดทุกข์"..........ลองอ่านพระวจนะดู นะครับ พระวจนะ"...ภิกษุทั้งหลาย ตัณหาเป้นอย่างไรเล่า? ภิกษุทั้งหลาย หมู่แห่งตัณหาหกอย่างเหล่านี้คือ ตัณหาในรูป ตัณหาในเสียง ตัณหาในกลิ่น ตัณหาในรส ตัณหาในโพฐฐัพพะ และตัณหาในธรรมารมณ์---นิทาน.สํ.16/3/10:cool:พระวจนะ ตัณหาโดยวิภาคสามอย่าง พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย ตัรหามีสามอย่างเหล่านี้ สามอย่างเหล่าใหนเล่า สามอย่างคือ 1 กามตัณหา 2 ภวตัณหา 3วิภวตัณหา ภิกษทุ้งหลาย เหล่านี้แล คือตัรหาสามอย่าง---มหาวาร.สํ.19/86/329:cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กันยายน 2012
  6. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ เรื่องที่เกิดแห่งอุปธิ พระวจนะ--" ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อพิจารณาสืบไป ย่อมพิจารณาลึกลงไปอีกว่า อุปธินี้เล่า มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด มีอะไรเป็นเครื่องก่อให้เกิด มีอะไรเป็นเครื่องกำเนิด และมีอะไรเป็นแดนเกิด เมื่ออะไรมีอยู่ อุปธิก็มีอยู่ เมื่ออะไรไม่มีอุปธิก็ไม่มี ดังนี้........ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นเมื่อพิจารณาอยู่ ย่อมรู้ได้ชัดอย่างนี้ว่า อุปธิ มีตัณหาเป็นเหตุให้เกิด มีตัณหาเป็นเครื่องก่อให้เกิด มีตัณหาเป็นเครื่องกำเนิด และมีตัณหาเป็นแดนเกิด เมื่อตัณหามีอยู่ อุปธิก็มีอยู่ เมื่อตัณหาไม่มีอุปธิก็ไม่มี ดังนี้แล---นิทาน.สํ.16/131/257:cool:
     
  7. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ เรื่องอุปาทาน สี่" ภิกษุทั้งหลาย อุปาทานมีสี่อย่างเหล่านี้คือ สี่อย่างเหล่าใหนเล่า สี่อย่างคือ 1กามุปาทาน ความถือมั่นในกาม2ทิฎฐุปาทาน ความถือมั่นในทิฎฐิ3สิลัพตุปาทาน ความถือมั่นในศิลพรต4อัตวาทุปาทาน ความถือมั่นในวาทะว่าตน ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้แล คือ อุปาทานสี่อย่าง---มหาวาร.สํ.19/88/337.:cool:พระวจะเรื่อง ที่เกิดแห่งอุปาทาน พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย อุปาทานสี่อย่างเหล่านี้ มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด มีอะไรเป็นเครื่องก่อให้เกิด มีอะไรเป็นเครื่องกำเนิด และมีอะไรเป็นแดนเกิดเล่า...ภิกษุทั้งหลาย อุปาทานสี่เหล่านี้มีตัรหาเป็นเหตุให้เกิด มีตัณหาเป็นเครื่องก่อให้เกิด มีตัณหาเป็นเครื่องกำเนิด และมีตัณหาเป็นแดนเกิด ภิกษุทั้งหลายก็ตัณหานี้เล่า มีอะไรเป็นเหตุให้เกิด มีอะไรเป็นเครื่องก่อให้เกิด มีอะไรเป็นเครื่องกำเนิด และมีอะไรเป้นแดนเกิด...ภิกษุทั้งหลาย ตัณหานี้มี เวทนาเป็นเครื่องก่อให้เกิด มีเวทนาเป็นเครื่องกำเนิด และมีเวทนาเป็นแดนเกิดแล---(อริยสัจจากพระโอษฐ์ ท่านพุทธทาส):cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กันยายน 2012
  8. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ มูลฐานแห่งการบัญญัติเบญจขันธิ์(แต่ละขันธิ์)พระวจนะ" ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อการบัญญัติรูปขันธิ์ เวทนาขันธิ์ สัญญาขันธิ์ สังขารขันธิื และวิญญานขันธิ์ เล่าพระเจ้า ข้า---ภิกษุทั้งหลาย มหาภูติสี่อย่าง เป้นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อการบัญญัติรูปขันธิ์---ภิกษุทั้งหลาย ผัสสะ(การประจวบของ อายตนะภายใน และ ภายนอก และวิญญาน)เป็นเหตุเป้นปัจจัยเพื่อการบัญญัติ เวทนาขันธิ์---ภิกษุทั้งหลาย ผัสสะเป็นเหตุเป้นปัจจัยเพื่อการบัญญัติ สัญญาขันธิ์---ภิกษุทั้งหลาย ผัสสะเป้นเหตุเป้นปัจจัย เพื่อการบัญญัติ สังขารขันธิ์ ---ภิกษุทั้งหลาย นามรูป แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย เพื่อการบัญญัติ วิญญานขันธิ์---------(อริยสัจจากพระโอษฐ์ ท่านพุทธทาส):cool:พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย รูป เป้นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้---ภิกษุทั้งหลาย เวทนาเป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้ ----ภิกษุทั้งหลาย สัญญา เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความโดยเป็นอย่างอื่นได้---ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความโดยเป้นอย่างอื่นได้---ภิกษุทั้งหลาย วิญญาน เป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นโดยอย่างอื่นได้แล---ขนธ.สํ.17/281/478.:cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กันยายน 2012
  9. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ" ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาทานนั้นเองหรือ ชื่อว่าปัญจุปาทานักขันธิ์ เหล่านั้น หรือว่า อุปาทานเป็นอื่นไปจาก ปัญจุปาทานักขันธิ์ทั้งหลายเล่าพระเจ้าข้า...ภิกษุทั้งหลาย ตัวอุปาทานนั้น ไม่ใช่ ตัวปัญจุปาทานักขันธิ์ แต่ อุปาทานนั้น ก็มิได้มีในที่อื่น นอกไปจาก ปัญจุปาทานักขันธิ์ทั้งหลาย เพราะว่า ตัวฉันทะราคะ ที่มีอยู่ในปัญจุปาทานนักขันธิ์ นั่นแหละคือ ตัวอุปาทาน ในที่นี้แล---อุปริ.ม.14/101/121.:cool:พระวจนะ เรื่องปัญจุปาทานักขันธิ์ พระวจนะ"ภิกษุทั้งหลาย กล่าวโดยสรุปแล้ว ปัญจุปาทานักขันธิ์ เป็นตัวทุกขืเป็นอย่างไรเล่า ภิกษุทั้งหลาย ปัญจุปาทานักขันธิ์ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ขันธิ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือรูป ขันธิ์อันเป้นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ เวทนา ขันธิ์อันเป้นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือสัญญา ขันธิ์อันเป้นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือเวทนา ขันธิ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือสังขาร และ ขันธิ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ วิญญาน เหล่านี้แล เรียกว่า กล่าวโดยสรุปแล้ว ปัญจุปาทานักขันธิ์เป็นตัวทุกข์---(อริยสัจจากพระโอษฐ์ ท่านพุทธทาส):cool:
     
  10. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ..........น่าดู อริยสัจสี่ นะครับ...ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค...ทุกข์ควรกำหนดรู้ ทุกข์สมุทัย(เหตุ)ควรละ นิโรธควรทำให้แจ้ง มรรคควรดำเนิน...:cool:ถ้าดู ปฎิจสมุปบาท--อวิชชา ปัจจัย สังขาร สังขารปัจจัยวิญญาน วิญญานปัจจัยนามรูป นามรูปปัจจัยสฬายตนะ สฬายตนะปัจจัยผัสสะ ผัสสะปัจจัยเวทนา เวทนาปัจจัยตัณหา ตัณหาปัจจัยอุปาทาน อุปาทานปัจจัยภพ ภพปัจจัย ชาติ ชรา มรณะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส-----------------ถ้าดูอวิชชา หรือผู้ มีอวิชชา คือผู้ไม่รูู้ ใน อริยสัจสี่ คือ ทุกข์ ทุกข์สมุทัย นิโรธ มรรค...คราวนี้ต้องหาดูด้วยตัวเองว่า ทุกข์คืออะไรที่ควรกำหนดรู้ คือ ขันธิ์5(ขันธิ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น)หรือไม่....ทุกข์สมุทัย สาเหตุของการเกิดทุกข์(ควรละ) คือตัณหาราคะ(อันเป็นเหตุปัจจัยของอุปาทาน ซึ่งมาจากเวทนาอีกทีนึง---เวทนาปัจจัยตัณหาตัณหาปัจจัยอุปาทาน)หรือไม่...มรรคทางที่ทำให้ถึงความดับทุกข์ คือ มรรคมีองค์แปดคืออะไร...นิโรธเป็นอย่างไร?จึงยัง ศึกษากันต่อไป.:cool:แต่ถ้านึกอะไรไม่ค่อยออก ก็ทวน ปฎิจสมุปบาท และ อริยสัจสี่ นี่แหละครับ ช่วยความเข้าใจได้ว่า สิ่งที่เกิดแต่เหตุปัจจัย...(ปฎิจสมุปบันธรรม)..และมาดูที่อวิชชา...ดูที่อริยสัจสี่ เป็นสำคัญ..ที่เกี่ยวกับชาติ ชรา มรณะ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา(พระไตรลักษณ์)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กันยายน 2012
  11. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337
    <CENTER>ปัญจุปาทานขันธ์ เป็นทุกขอริยสัจ</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER><TABLE border=0 width="65%"><TBODY><TR><TD>
    ภิกษุ ท .! อ ริย สัจ คือ ท ุก ข์ เป็น อ ย่างไรเล่า ? ค วรจะกล่าวว่าได้แก่ อุปาทานขันธ์ห้า. อุปาทานขันธ์ห้า อย่างไรเล่า ? อุปาทานขันธ์ห้าคือรูปูป าทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญ ญ ูป าทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์วิญญาญูปาทานขันธ์. ภิกษุ ท.! นี้เราเรียกว่า อริยสัจคือทุกข์.- มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๓๔/๑๖๗๙.</PRE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER>^</CENTER><CENTER>อุปทานขันธ์5ก็คือทุกขอริยสัจ4</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>--------------------------------------------------------</CENTER><CENTER>ปัญจุปาทานขันธ์
    ภิกษุ ท. ! กล่าวโดยสรุปแล้ว ปัญจุปาทานขันธ์ เป็นตัวทุกข์
    เป็ นอย่างไรเล่า ?
    ภิกษุ ท. ! ปัญจุปาทานขันธ์ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ ขันธ์
    อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ รูป, ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ
    เวทนา, ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ สัญญา, ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่ง
    ความยึดมั่นคือ สังขาร, และขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ วิญญาณ ;
    เหล่านี้แล เรียกว่า กล่าวโดยสรุปแล้ว ปัญจุปาทานขันธ์ เป็นตัวทุกข์.
    - มหา. ที.๑๐/๓๔๓/๒๙๕.
    </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>^</CENTER><CENTER>^</CENTER><CENTER>^</CENTER><CENTER>^</CENTER><CENTER>ที่อ่านอริยสัจ4ภาคต้นมาบ้าง พระองค์สรุปเเล้วว่า อุปทานขันธ์5 ก็คือทุกข์อริยสัจ4เเบบสรุป เเละ ทุกข์อริยสัจ เราต้องกำหนดรู้ เเละต้องกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วย ไม่ใช่ รู้เพียงผักชีโรยหน้า รู้เเบบเด็กที่เค้าสอนๆในโรงเรียนทั่วไป นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ด้วยดับทุกข์ นี่ปฏิปทาความดับ</CENTER><CENTER>ให้เด็กมาตอบ ก็ตอบได้ ตอบได้หมด บางครั้งเค้าตอบได้ดีกว่าสะด้วย เเต่พอถามเข้าไปลึกๆก็ไม่รู้ คืออะไร เพราะรู้เเต่เปลือก ทั่งทีอริยสัจ4 นี่หัวใจของพระพุทธศาสนาเลย</CENTER><CENTER> </CENTER>
     
  12. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337
    [FONT=AngsanaUPC,Bold][FONT=AngsanaUPC,Bold]
    เพราะไม่รู้อริยสัจ จึงต้องแล่นไปในสังสารวัฏ​
    [/FONT][/FONT]
    ภิกษุ ท​
    . ! [FONT=AngsanaUPC,Bold][FONT=AngsanaUPC,Bold]เพราะไม่รู้ถึง ไม่แทงตลอดซึ่งอริยสัจสี่อย่าง[/FONT][/FONT], [FONT=AngsanaUPC,Bold][FONT=AngsanaUPC,Bold]เราและ
    พวกเธอทั้งหลาย จึงได้ท่องเที่ยวไปแล้วในสังสารวัฏ ตลอดกาลยืดยาวนาน
    ถึงเพียงนี้
    [/FONT]
    [/FONT][FONT=AngsanaUPC,Bold][FONT=AngsanaUPC,Bold].
    [/FONT][/FONT]ภิกษุ ท. ! อริยสัจสี่อย่าง เหล่าไหนเล่า ? ภิกษุ ท. ! เพราะ
    ไม่รู้ถึง ไม่แทงตลอดซึ่งอริยสัจคือทุกข์
    , อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์, อริยสัจคือ
    ความดับไม่เหลือของทุกข์ และอริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของ
    ทุกข์
    ; เราและพวกเธอทั้งหลาย จึงได้ท่องเที่ยวไปแล้วในสังสารวัฏ ตลอดกาล
    ยืดยาวนานถึงเพียงนี้
    .

    ภิกษุ ท​
    . ! เมื่ออริยสัจ คือทุกข์, เหตุให้เกิดทุกข์, ความดับไม่เหลือ
    ของทุกข์ และทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์
    , เป็นความจริงที่เราและ
    พวกเธอทั้งหลาย รู้ถึง และแทงตลอดแล้ว
    ; ตัณหาในภพ ก็ถูกถอนขึ้นขาด
    ตัณหาที่จะนำไปสู่ภพ ก็สิ้นไปหมด บัดนี้ความต้องเกิดขึ้นอีก มิได้มี
    ; ดังนี้.

    - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๔๑/๑๖๙๘.
     
  13. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337
    [FONT=AngsanaUPC,Bold][FONT=AngsanaUPC,Bold]
    สัตว์เกิดกลับมาเป็ นมนุษย์มีน้อย เพราะไม่รู้อริยสัจ​
    [/FONT][/FONT]
    ภิกษุ ท​
    . ! เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร : ฝุ่นนิดหนึ่ง

    ที่เราช้อนขึ้นด้วยปลายเล็บนี้ กับมหาปฐพีนั้น ข้างไหนจะมากกว่ากัน
    ?
    “​
    [FONT=AngsanaUPC,Italic][FONT=AngsanaUPC,Italic]ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
    [/FONT]! [FONT=AngsanaUPC,Italic][FONT=AngsanaUPC,Italic]มหาปฐพีนั่นแหละเป็นดินที่มากกว่า[/FONT][/FONT][FONT=AngsanaUPC,Italic][FONT=AngsanaUPC,Italic]. [/FONT][/FONT][FONT=AngsanaUPC,Italic][FONT=AngsanaUPC,Italic]ฝุ่นนิดหนึ่ง
    เท่าที่ทรงช้อนขึ้นด้วยปลายพระนขานี้ เป็นของมีประมาณน้อย
    [/FONT]
    [/FONT][FONT=AngsanaUPC,Italic][FONT=AngsanaUPC,Italic]. [/FONT][/FONT][FONT=AngsanaUPC,Italic][FONT=AngsanaUPC,Italic]ฝุ่นนั้น เมื่อนำเข้าไปเทียบ
    กับมหาปฐพี ย่อมไม่ถึงซึ่งการคำนวณได้ เปรียบเทียบได้ ไม่เข้าถึงแม้ซึ่งกะละภาค

    [/FONT]
    [/FONT][FONT=AngsanaUPC,Italic][FONT=AngsanaUPC,Italic]
    (​
    [/FONT]​
    [/FONT][FONT=AngsanaUPC,Italic][FONT=AngsanaUPC,Italic]ส่วนเสี้ยว[/FONT][/FONT][FONT=AngsanaUPC,Italic][FONT=AngsanaUPC,Italic])
    [/FONT][/FONT].

    ภิกษุ ท​
    .! อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น : [FONT=AngsanaUPC,Bold][FONT=AngsanaUPC,Bold]สัตว์ที่เกิดกลับมาสู่
    หมู่มนุษย์ มีน้อย
    [/FONT][/FONT]; สัตว์ที่เกิดกลับเป็ นอย่างอื่นจากหมู่มนุษย์ มีมากกว่า
    โดยแท้
    . ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ข้อนั้น [FONT=AngsanaUPC,Bold][FONT=AngsanaUPC,Bold]เพราะความที่สัตว์
    เหล่านั้นไม่เห็นอริยสัจทั้งสี่
    [/FONT]
    [/FONT][FONT=AngsanaUPC,Bold][FONT=AngsanaUPC,Bold].
    [/FONT][/FONT]อริยสัจสี่ อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ อริยสัจคือ
    ทุกข์ อริยสัจคือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
    อริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
    .

    ภิกษุ ท​
    . ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ [FONT=AngsanaUPC,Bold][FONT=AngsanaUPC,Bold]เธอพึงประกอบโยคกรรม[/FONT][/FONT][FONT=AngsanaUPC,Bold][FONT=AngsanaUPC,Bold]

    [/FONT]
    [/FONT][FONT=AngsanaUPC,Bold][FONT=AngsanaUPC,Bold]
    อันเป็ นเครื่องกระทำให้รู้ว่า ​
    [/FONT]​
    [/FONT]ทุกข์ เป็นอย่างนี้, เหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็น
    อย่างนี้
    , ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่
    เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้
    ”, ดังนี้.

    - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๗๘/๑๗๕๗.
    [/FONT]
     
  14. chottana

    chottana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +337
    [FONT=AngsanaUPC,Bold][FONT=AngsanaUPC,Bold]การพ้นทุกข์โดยไม่รู้อริยสัจนั้น เป็ นไปไม่ได้[/FONT][/FONT][FONT=AngsanaUPC,Bold]​


    [/FONT]ภิกษุ ท
    . ! เปรียบเหมือนผู้ใดผู้หนึ่งจะพึงกล่าวว่า [FONT=AngsanaUPC,Italic][FONT=AngsanaUPC,Italic]ฉันไม่ต้องทำพื้นฐาน[/FONT][/FONT][FONT=AngsanaUPC,Italic]
    [FONT=AngsanaUPC,Italic]รากในเบื้องล่างของเรือนดอก แต่ฉันจักทำตัวเรือนข้างบนได้[/FONT]

    [/FONT]
    ดังนี้ : นี่ไม่เป็นฐานะที่
    จักมีได้ฉันใด

    ; ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่จักมีได้ ฉันนั้น คือข้อที่ผู้ใดผู้หนึ่งจะ
    พึงกล่าวว่า

    [FONT=AngsanaUPC,Italic][FONT=AngsanaUPC,Italic]ฉันไม่ต้องรู้จักความจริงอันประเสริฐ คือ ความจริงเรื่องทุกข์[/FONT][/FONT], [FONT=AngsanaUPC,Italic][FONT=AngsanaUPC,Italic]เรื่องเหตุให้[/FONT][/FONT][FONT=AngsanaUPC,Italic]
    [FONT=AngsanaUPC,Italic]เกิดทุกข์ [/FONT]

    [/FONT]
    , [FONT=AngsanaUPC,Italic][FONT=AngsanaUPC,Italic]เรื่องความดับไม่เหลือของทุกข์ และเรื่องทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของ[/FONT][/FONT][FONT=AngsanaUPC,Italic]
    [FONT=AngsanaUPC,Italic]ทุกข์นั้นดอก แต่ฉันจักทำความสิ้นสุดแห่งทุกข์ได้ โดยถูกต้อง [/FONT]
    [/FONT];” ดังนี้.
    ภิกษุ ท


    . ! และเปรียบเหมือนผู้ใดผู้หนึ่งจะพึงกล่าวว่า [FONT=AngsanaUPC,Italic][FONT=AngsanaUPC,Italic]ฉันต้องทำฐาน
    [FONT=AngsanaUPC,Italic][FONT=AngsanaUPC,Italic]-[/FONT][/FONT][FONT=AngsanaUPC,Italic]
    [/FONT][FONT=AngsanaUPC,Italic][FONT=AngsanaUPC,Italic]รากของเรือนตอนล่างเสียก่อน จึงจักทำตัวเรือนข้างบนได้


    [/FONT]
    [/FONT]
    ดังนี้ : นี่เป็นฐานะที่จักมี
    ได้ ฉันใด

    ; ข้อนี้ก็เป็นฐานะที่จักมีได้ ฉันนั้น คือข้อที่ผู้ใดผู้หนึ่งจะพึงกล่าวว่า [FONT=AngsanaUPC,Italic][FONT=AngsanaUPC,Italic]ฉัน[/FONT][/FONT][FONT=AngsanaUPC,Italic]
    [FONT=AngsanaUPC,Italic]ครั้นรู้ความจริงอันประเสริฐ คือความจริงเรื่องทุกข์[/FONT]

    [/FONT]
    , [FONT=AngsanaUPC,Italic][FONT=AngsanaUPC,Italic]เรื่องเหตุให้เกิดทุกข์[/FONT][/FONT], [FONT=AngsanaUPC,Italic][FONT=AngsanaUPC,Italic]เรื่องความ[/FONT][/FONT][FONT=AngsanaUPC,Italic]
    [FONT=AngsanaUPC,Italic]ดับไม่เหลือของทุกข์ และเรื่องทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ นั้นแล้ว จึง[/FONT]
    [FONT=AngsanaUPC,Italic]จักทำความสิ้นสุดแห่งทุกข์ได้ โดยถูกต้อง [/FONT]

    [/FONT]
    ;” ดังนี้.
    ภิกษุ ท


    . ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึง[FONT=AngsanaUPC,Bold][FONT=AngsanaUPC,Bold]ทำความเพียร[/FONT][/FONT][FONT=AngsanaUPC,Bold]
    [FONT=AngsanaUPC,Bold]เพื่อให้รู้ตามเป็ นจริง[/FONT]

    [/FONT]
    ว่า นี้เป็ นทุกข์, นี้เป็ นเหตุให้เกิดทุกข์, นี้เป็ นความดับ
    ไม่เหลือของทุกข์ และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์

    ;”
    ดังนี้เถิด


    .
    - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๖๔/๑๗๓๕-.
    [/FONT]​
    [/FONT]
     

แชร์หน้านี้

Loading...