เจตสิกธรรมไม่มี หรือ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ฐาณัฏฐ์, 26 ธันวาคม 2011.

  1. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    ..มาขอโทษ พี่หลง..ที่เข้าบ้านโดยไม่ขออนุญาต ผมคิดถึงจิตนนท์ กับ peatrix..มันเลยรีบเข้ามาแห่มันเล่น เพราะมันเที่ยวดึกๆ ปีใหม่มันยังไม่หายงง..กระทบแล้วหาย..ส่วนกระทบแล้วลืมมันไม่คุย..ก่อนกระทบมันก็จำไม่ได้
    .. ผมเลยแวะมาเตือนสติมัน ขออภัยครับ..!
     
  2. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    สรุปได้ดีครับ :cool:


    เล่าสนุกๆ

    แค่นิ้วก้อย พิจารณานิ้วเดียว มันแตกได้มากมาย

    เป็นรูปนาม เป็นธาตุ ในธาตุก็ยังมีธาตุ ๓ประชุม

    เป็นอายตนะ ในอายตนะก็ยังมี ผัสสะ มีกระทบ มีวิญญาณ มีรูป มีธาตุ

    เป็นขันธ์ ในขันธ์นอกจาก วิญญาณ เวทนา สัญญา สังขาร รูป ยังแตกได้เป็น อินทรีย์ เป็นธาตุ เป็นปฏิกูล

    เป็นจิต ยังแตกไปอีกเป็นลักษณะต่าง ปัจจัยการเกิดแต่จิต มูลจิต จิตเสพกาม

    เป็นธรรม ยังแตกเป็นเจตสิก เป็นนิวรณ์ เป็นไตรลักษณ์

    ทุกอย่างล้วนสัมพันธ์กัน ขึ้นอยู่ว่าใครถนัดพิจารณาลงภูมิใด

    สามารถสลัดความไม่รู้นั้น ว่าเป็นอะไรได้



    จิตที่คิดจะกระดิกนิ้ว มีอยู่ วาโยธาตุที่เกิดแต่จิต มีอยู่

    ลักษณะที่นิ้วกระดิก ความหย่อน ตึง ตรงนิ้วกระดิก มีอยู่

    ความหย่อนตึง เป็นของจริง แต่นิ้วก้อยเป็นสมมุตติ ใช้เรียกแทนกัน

    ความหย่อนตึงเป็นธาตุ มีแล้วไม่มี ไม่มีแล้วมี นั้นก็เป็นลักษณะไม่เที่ยง

    ความหย่อนตึง กับ รู้ความอ่อนตึงก็เป็นคนละขณะ

    เป็นแค่อ่อนตึง เป็นรูป ไม่ใช่เราที่อ่อนตึง

    ส่วนที่ไปรู้ความอ่อนตึง ก็เป็นลักษณะวิญญาณรู้ เป็นนามรู้

    ที่จำได้เป็นนิ้ว เป็นความอ่อนตึง เป็น สัญญาขันธ์

    ความรู้สึกเฉย หรือ สบาย เป็นเวทนาขันธ์

    แตกเป็นเวทนากาย และเวทนาใจ(ยินดี พอใจ)

    ก็ต้องรู้ตรงมีการเสวยอารมณ์ที่ดี ไม่ดี ไม่ใช่ไปรู้ สุข ทุกข์

    ปัญญาที่แทงตลอดในวิปัสสนาภูมินี้ เป็นสังขารขันธ์

    แล้วแต่ว่าจะเห็นลักษณะธรรมนั้นๆ แล้วปัญญาพิจารณาลงภูมิไหนก็ได้

    เพื่อคลายความเห็นผิด ความสงสัย ความยึดมั่น

    ถ้าพิจารณาเนืองๆ จนคล่อง สติจะระลึกธรรมที่ปรากฏได้เร็วขึ้นครับ
     
  3. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    พี่หลงมีความเห็นอย่างไรครับ
     
  4. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    รู้ของสดๆ ร้อนๆ ไง :cool:

    ส่วนเรื่องความรู้ หมายถึง ที่พุทธองค์ค้นพบ และแสดง พวกนี้ศึกษาได้เป็นสุตะปัญญา

    ท่านทรงชี้ ทรงจำแนกให้เห็นแล้ว ก็จงเข้าไปดูไปพิสูจน์ตรงลักษณะต่างๆ

    ให้ประจักษ์เอง ไม่ได้เชื่อเพราะเขากล่าว ถูกไหม

    เมื่อพิสูจน์แล้วว่าจริง พุทธองค์ผู้กล่าวก็มีจริง กล่าวจริง

    ความสงสัยในพระ ก็คลาย ไม่ต้องไปวิ่งหาพระหรือสงสัยพระ

    เพราะพระก็ปรากฏอยู่ที่ธรรมที่รู้อยู่นี่ล่ะ ไม่ได้อยู่ไหนไกล้เลย :cool:
     
  5. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

    [๑๑๒] ปัญญาในการ พิจารณาอารมณ์ แล้ว พิจารณาเห็นความแตกไป เป็นวิปัสสนาญาณอย่างไร ฯ

    จิตมีรูปเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้วย่อมแตกไป

    พระโยคาวจร พิจารณาอารมณ์ นั้นแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นความแตกไปแห่งจิตนั้น

    ย่อมพิจารณาเห็นอย่างไร ชื่อว่าพิจารณาเห็น

    ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง

    ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข

    ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา

    ย่อมเบื่อหน่าย ไม่เพลิดเพลิน ย่อมคลายกำหนัดไม่กำหนัด ย่อมให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น

    เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้

    เมื่อพิจารณา

    เห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้

    เมื่อพิจารณา

    โดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้

    เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความเพลิดเพลินได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละราคะได้

    เมื่อให้ดับย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ฯ


    [๑๑๓] จิตมีเวทนาเป็นอารมณ์ ฯลฯ จิตมีสัญญาเป็นอารมณ์ ฯลฯ

    จิตมีสังขารเป็นอารมณ์ ฯลฯ จิตมีวิญญาณเป็นอารมณ์ ฯลฯ


    จิตมีจักษุเป็นอารมณ์ ฯลฯ จิตมีชราและมรณะเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้วย่อมแตกไป

    พระโยคาวจรพิจารณาอารมณ์นั้นแล้ว พิจารณาเห็นความแตกไปแห่งจิตนั้น

    ย่อมพิจารณาเห็นอย่างไร ชื่อว่าพิจารณาเห็น

    ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง เมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ฯ


    [๑๑๔] การก้าวไปสู่อัญญวัตถุแต่ปุริมวัตถุ การหลีกไปด้วยปัญญาอัน รู้ชอบ การคำนึงถึงอันเป็นกำลัง ธรรม ๒ ประการ คือ

    การพิจารณาหาทางและความเห็นแจ้ง

    บัณฑิตกำหนดเอาด้วยสภาพเดียวกัน โดยความเป็นไปตามอารมณ์

    ความน้อมจิตไปในความดับ ชื่อว่าวิปัสสนาอันมีความเสื่อมไปเป็นลักษณะ

    การที่พระโยคาวจรพิจารณาอารมณ์แล้ว

    พิจารณาเห็นความแตกไปแห่งจิตและความปรากฏโดยความเป็นของสูญ

    ชื่อว่าอธิปัญญาวิปัสสนา (ความเห็นแจ้งด้วยอธิปัญญา)

    พระโยคาวจรผู้ฉลาดในอนุปัสนา ๓ ในวิปัสสนา ๔ ย่อมไม่หวั่นไหว

    เพราะทิฐิต่างๆ เพราะความเป็นผู้ฉลาดความปรากฏ ๓ ประการ ฯ

    ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น

    ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด

    เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

    ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์ แล้วพิจารณาเห็นความแตกไป เป็นวิปัสสนาญาณ ฯ

     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 มกราคม 2012
  6. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    คำว่า พิจารณาอารมณ์

    คือ รู้อารมณ์ที่เกิด ที่กระทบอยู่ในขณะนั้น

    พิจารณาว่าเกิดที่ใด ลักษณะเช่นใด เป็นธรรมใดปรากฏอยู่

    กำหนดความเป็น รูปนาม ขันธ์ ธาตุ อายตนะ อินทรีย์


    คำว่า พิจารณาเห็นความแตกไป

    คือ รู้ลักษณะความเป็นสามัญลักษณะ ลักษณะความเสื่อม ความดับ ความทุกข์ ความไม่ใช่ตัวตน


    คำว่า ย่อมเบื่อหน่าย ไม่เพลิดเพลิน ย่อมคลายกำหนัดไม่กำหนัด ย่อมให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น

    เป็นส่วนผล ของการพิจารณ เป็นตทังคปหาน ความดับไปชั่วขณะ



    พึงทราบว่า

    จะยิงศร ตาต้องอยู่ที่เป้า พิจารณาอารมณ์ เปรียบเหมือนตาเล็งเป้า คือเห็นแต่เป้าหมาย

    การเห็นช่องยิง ผู้เล็งศร มือที่ง้างศร ล้วนสัมพันธ์กัน เปรียบเมือน พิจาณาเห็นความแตกไป

    การปล่อยศรถูกเป้า เปรียบเหมือน ปัญญาญาณ

    การที่ศรปักเป้าแล้ว ความโล่งของผู้ยิงศรได้ดับไปแล้ว เปรียบเหมือน ความดับไปแห่งจิต

    :cool:
     
  7. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ตรงพึงทราบว่า นี่แต่งขึ้นมาเอง อะเป่า

    มันผลิกไปศาสนาอื่นแล้วนะ ไปนิครนท์ หรือ ศาสนาเชน นู้นแล้วหละ

    ถ้าสรุปลงเป็น การกระทำได้ตรงๆ อยู่ในอานัติ ไม่ใช่เรื่อง การปรารภ อุบาย
    นำออก(ที่มันจะต้องอ้อมหน่อยๆ) ละก้อ เปลี่ยนศาสนาไปแล้ว
     
  8. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ดูหนังจีนมากไปหน่อย ก็ออกมาแบบนั้นแหละ

    แต่ก็ยังดีที่มีความพยาบามจะถอดใจความหลักธรรมออกมา

    แต่ให้รู้ว่า คนจะพูดธรรมออกมาได้ ต้องผ่านเหตุการณ์ แล้วระลึกให้ได้ เหมือนคนไปเที่ยวกรุงเทพ เขาก็พรรณาออกมาได้ว่า เขาไปเจอสิ่งนั้นสิ่งนี้มา พูดมาได้แบบไม่ต้องเสกสรรปั้นแต่ง
    แต่หากไม่เคยไปมาเอง ฟังคนอื่นเขาเล่ามา เวลาเอามาพูดมันก็ไม่ครอบคลุม
     
  9. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ประโยคไหนหรือ ที่ทำให้เข้าใจอย่างนั้น

    เซ็งต้องมานั่งขยาย

    ธรรมเกิดที่ใด ใส่ใจตรงที่กระทบ ถูกไหม

    จะไปพิจารณาอย่างอื่นก็ไม่ใช่ฐานะ เขาเรียกหลงประประเด็น :cool:
     
  10. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    แล้วมันต่างกับที่เน้นยังไงลุง เป็นแค่การอุปมา ยกสมมุตติมาเปรียบก้เท่านั้น

    ทีนี้ปัญญาคลาดเลื่อน มันก็ตีออกมาไม่ตรงกับที่ต้องการจะสื่อได้

    นี่แหละ สมมุตติ :cool:
     
  11. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ไม่อยากจะเสวนากับพวกศาสนา ภัควคีตา พวกกราบอรชุนเป็นศาสดา
    [ เพราะคุยด้วยแล้ว คุณก็ถูกสภาพ เซ็ง ห้อมล้อมจิต ]

    เป้า บ้านคุณ คืออารมณ์เหรอ คุณยิงโดนอารมณ์ได้ แล้วมันมีประโยชน์
    อย่างไรไม่ทราบ ได้แต่ความว่าเปล่า ไปเห็น ความว่างเปล่าเป็นข้าศึก

    เป้าคืออะไร คุณลองเปลี่ยนเป็น มัคสมังคี หรือ วิมุตติ หรือ นิพพาน สิ

    แล้วจะเห็นเลยว่า ไปเล็งอารมณ์อยู่หนะ มันจะเห็นไหม มันจะถึงเป้าไหม

    ภาษาบ้านๆ รู้สึกเขาจะพูดว่า โง่แล้วขยัน
     
  12. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    คำว่า พิจารณาเห็นความแตกไป (ไตรลักษณ์)

    คือ รู้ลักษณะความเป็นสามัญลักษณะ ลักษณะความเสื่อม ความดับ ความทุกข์ ความไม่ใช่ตัวตน

    คำว่า ย่อมเบื่อหน่าย ไม่เพลิดเพลิน ย่อมคลายกำหนัดไม่กำหนัด ย่อมให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น

    เป็นส่วนผล ของการพิจารณา เป็นตทังคปหาน ความดับไปชั่วขณะ
     
  13. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    เรื่องภัควคีตา นี่คิดเอง หลงเรื่องราวถูกไหม

    พอกระทบคำว่าศร มันก็จี๊ดขึ้นมา โดยไม่ได้พิจารณาเนื้อความที่จะสื่อออกมา

    เสียเชิงมากมาย ที่ไปเที่ยวโม้เป็นต่อยหอย รู้ซื่อๆ รู้ตรงๆ รู้แล้วละ ^^


    กลับมาก่อนน้าเอก กลับมาก่อน

    พึงทราบว่า เป็นทางสติปัฏฐาน เนื้อความที่กล่าว

    หมายถึงขณะพิจารณาอารมณืปัจจุบัน เป็นเรื่องขณะจิตตรงที่กระทบอารมณ์

    สติก็รู้ธรรมที่ตรงกระทบในขณะนั้นนั่นแล


    ข้อนี้หมายถึงระลึกที่ลักษณะแล้ว

    พึงทราบว่า อารมณ์หมายถึงอารมณ์ทั้ง ๖

    เช่น เสียงเกิดทางหู ก็รู้ตรงเสียงกระทบหู เกิดได้ยินเสียง

    ส่วน ตา เห็น สี ก็รู้ตรงกระทบเกิดรู้สี

    ไม่ใช่ไปรู้หมู รู้สีชมพู หรือไปรู้ตรงลูกตา รู้DNA รู้พลาสม่าอะไร เพราะตารู้ได้แต่เห็นสี อ่านแล้วขำ ^^

    ส่วนที่รู้ว่าสีชมพู รู้ว่าหมู เป็นกิจของสัญญาปรุงแต่งแล้ว

    ขณะที่รู้แบบนั้น โมหะรับทานเรียบร้อย เห็นเป็น นิมมิต อนุพยัญชนะ

    อธิบายความว่าเปล่าที่น้าเอกเข้าใจหน่อยสิ

    ที่คิดว่านิ่งอยู่ สงบอยู่ เฉยอยู่ รู้อยู่ อาจจะเป็นโมหะก็ได้ อาจจะเป็นโลภะก็ได้

    ที่ปรุงอยู่ให้ติดข้องในอารมณ์ที่ดี อารมณ์ที่เฉย

    จิตเป็นอย่างไร ก้แสดงออกอย่างนั้น ^^
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 มกราคม 2012
  14. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    กั๊กๆ รู้สึกไหมว่า ตัวเองกอบเอาสิ่งต่างๆ มาซัดกลับ เล่น บทกรรมสนอง โดย
    ที่ผู้ยิงศรบงการอย่างโง่ๆ

    เรื่อง หมูสีชมพู นั่นเป็น เพราะเขาคนนั้น ทำการงานที่เป็นโทษ คือ เลี้ยงหมูเพื่อขาย
    สีชมพู ผมเอามาจาก ชื่อ อีเมลของเขา เพราะเขาตั้งชื่อว่า piigy_pink อะไรเนี่ยะ
    แหละ

    ผมจึงอนุมานว่า เขาย่อมมีจิตใจยินดีที่สะสมไว้มากเมื่อ หมูที่เขาเลี้ยงถูกเร่งสีเร่ง
    โตให้มีสีชมพู เพราะมันคือ ขายได้ราคะดีมาก ตัณหาขึ้นข่มเขาเต็มๆ เลยเสวนา
    เปิดช่องให้เขา อย่าพึงกำหนดนิมิตเห็นหมูสีชมพูแล้วเกิดอาการยินดี ก็กล่าวไว้เพื่อ
    ให้เขาไว้ได้อาศัยระลึกยามจำเป็น ( ถ้าอาหลง ไม่รู้อะไรคือประโยชน์ อะไรไม่
    ใช่ประโยชน์ คราวหลังอย่าเสนอหน้า )

    ส่วนเรื่อง ว่าง ว่างอะไร ว่างจากเป้าหมายที่แท้จริง เพราะมันแต่วิ่งไล่จับอารมณ์

    เขามีแต่สอนให้เห็นความไม่เที่ยงแปรปรวนของอารมณ์ จนจิตมันปล่อย มันคลาย
    จิตมันถึงกลับมาที่ จิตตั้งมั่น หรือ ฐีติจิตก็ได้ การกลับมาที่ ฐีติจิตได้ ก็เรียกว่า
    เป็นผู้ ตามเห็นความแตกทำลาย จึงเข้าฐานที่มั่น

    เมื่อเข้าฐานที่มั่น มันจะต้องเกิดการรู้ว่า หากเวลานี้ปล่อยศรไป มันก็ต้องถูก
    เป้าแน่ๆ เพราะท่าทาง ทุกอย่าง ไม่แฉลบไปตามอารมณ์เลย และเพราะว่ามี
    การ หยั่งรู้ว่าโดนเป้าแน่ๆ นี่คือ ญาณทัศนะ ( ยังไม่เป็น ปัญญา นะ )

    พอญาณทัศนะปรากฏให้ระลึกรู้ได้ว่า ปล่อยศรไปถูกแน่ๆ มันก็หมายถึง ตอนนี้เป้า
    เนี่ยะ มันอยู่เต็มตาเต็มหัวใจ เกิดความมั่นคง หนักแน่น เรียกว่า เห็น 100%

    และเพระว่ารู้ว่า 100% ยิงโดนแน่ๆ ก็เลิกยิง วางคันศรลง กลับบ้าน นอน

    เนี่ยะอันนี้คือ ปัญญา เพราะ เป้าไม่ต้องยิงแล้ว เต็มหัวใจแล้ว หมดงาน ไม่
    ต้องยิง ไม่ต้องเหลือผู้ยิงด้วย หากยังเหลือผู้ยิง ยืนโด่เด่ อัตตาตัวเบ้อเร้อ
    ก็ไม่ได้รู้เรื่องอะไรหรอก แถม เป้า ก็ยังอยู่นอกตัวด้วย ไม่เกี่ยวอะไรเลย
    กับผู้ยิง แต่ไอ้คนแบบว่า กลับบ้านนอนเนี่ยะ เพราะ เป้ากับตัวเขา มันหลอม
    กันเป็นหนึ่ง หมดสงสัย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มกราคม 2012
  15. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ว่าด้วยปริญญา ๓ ประการ

    :cool: ใช่เรื่องนอกศาสนาไหม...

    ศึกษา อรรถกถา

     
  16. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ฟังจากคำตอบ เข้าใจเลยว่า ไม่รู้เรื่องสติปัฏฐานเอาเลย ^^

    ซึ่งน้าเอกอาจจะกล่าวถูกก็ได้ ในทางของสมาธิดูลมหายใจ

    แต่ในทางสติปัฏฐานที่เอ่ย มันแค่ชั่วขณะจิต เกิดได้ทุกอิริยาบถในชีวิตประจำวัน

    เพราะ มีการรับอารมณ์อยู่ตลอดเวลา มันเกิดจริง ของจริง

    เลยเข้าใจกันคนละทาง ^^
     
  17. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ส่วนคำว่า โง่ๆ นั้นน่ะ เลิกได้แล้วนะ

    เพราะว่า จิตขณะนั้น ถ้าไม่ลำพองจริง ไม่คิดว่าเขาต่ำ ไม่มีความหยาบแห่งจิต

    เป็นลักษณะ จิตที่เป็นโทสะมูลจิตนะ

    มันกล่าวออกมาไม่ได้ พิมพ์ออกมาไม่ได้หรอก มันละอายใจ หิริมันเกิด กุศลมันเกิดอยู่

    รูปกระทบนาม ผัสสะเกิด จิตเห็นจิต เขารู้ตรงนี้


    ส่วนเจตนาเกิดแล้ว ล่วงไปแล้ว สำเร็จไปแล้ว

    มันก็ไม่ได้หายไปไหน มันก็เป็นอาหารของน้าเอกนั้นแล ^^


    นายหลงไม่ได้ไปเดือดร้อนอะไร ทักกันเฉยๆ
     
  18. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ก็บอกแล้วว่า อย่าเสนอหน้า นี่อะไร มาป่าวประกาศว่า

    การรับอารมณ์ เสวยอารมณ์เป็นของจริง เป็นสัจจะ ไม่มีการหนีออกไปได้
    หรือไง

    คุณนั่นแหละ ยังภาวนาไม่รู้เรื่องอะไรเลยมากกว่า ถึงได้ไปรับรองสิ่ง
    ที่ไม่จริงมาเป็นจริง อะไรคือประโยชน์ อะไรคือโทษ ยังไม่รู้เรื่องเลย

    แถามยังนิยมกล่าวในสิ่งที่ไม่ก่อประโยชน์เสียส่วนมาก วนเวียน ซ้ำ
    ซาก( เพราะไม่รู้ว่า คำไหนมีประโยชน์ ชี้อย่างไรมีประโยชน์ ก็ชี้โบ้
    ชี้เบ้ไปหมด ) คุณรู้หรือเปล่า เวลาพูดอะไรสะเปะสะปะ ไม่ก่อ
    ประโยชน์ ชี้ให้พิจารณาตามไม่ได้เนี่ยะ ทางจิตมันเกิดการเสียดแทงนะ
    (ที่เป็นแผลด้านเดียวนะ ไม่ใช่ ปักคาไว้เผือเขาเหลือบเห็นแล้วจับถอนออก)

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มกราคม 2012
  19. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ยกมาสิ ^^

    อะไรที่ทำให้น้าเอก เข้าใจอย่างนั้น

    รู้ตรงๆหรือยัง หรือรู้เข้าทิฏฐิตน ^^


    ก็เพราะยังเห็นเป็นกูที่ไปหนีกู

    ไม่ได้รู้ถึงความเป็นปัจจัย ความไม่ใช่กู งงมั๊ยน้าเอก ^^

    เรื่องพิจารณาประโยชน์ หมายถึง สัมปชัญะ ๔ ไปหาอ่านเอา ^^

    ฝังใจประโยคไหน ให้ยกมาครับ

    อย่าโมโหลอยๆ นายหลงงง ^^

    แปลว่า อาจจะน่ะ อย่าไปคิดมากสิ ^^
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 มกราคม 2012
  20. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ไม่เอาหละ หากยกถาม ก็นะ 100ละ100 ยก นี่สมมติ นี่ปรมัตถ์

    วนเวียนอยู่แค่นั้น โดยที่ไม่ได้รู้เรื่องอะไรเลยว่า การเห็น สมมติ
    กับ ปรมัตถ์ มันเป็นเรื่องของ สมถะ เป็นเรื่องเจโตสมาธิ

    แล้วบอกว่าเห็นแค่นั้นพอแล้ว พอยกเรื่อง แตกทำลาย ดับไปของจิต
    มันก็เลยปลิ้นเป็น กูจ้องอารมณ์ กูจับอารมณ์ ไปหมด ไม่ได้มีเรื่อง
    ตามเห็นทุกขสัจจ ตามเห็นความไม่เที่ยง ... หลงเหลืออยู่เลย

    ทั้งๆที่ มันเป็นเครื่องมือ สักฟอก "ตัวรู้" ให้มันบริสุทธิ ไปนั่งจับอารมณ์
    หมายเอาความบริสุทธิที่ทันอารมณ์ โอยยย มันใช่ที่ไหน มันแค่อุบายฝึก
    จิตช่วงต้นๆเอง
     

แชร์หน้านี้

Loading...