///// เชิญน้อมนำคำสอนของพระพุทธเจ้า ไปปฏิบัติกัน /////

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย comxeoo, 1 พฤษภาคม 2014.

  1. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    "อานาปานสติ"


    ภิกษุ ทั้งหลาย !
    อานาปานสติอันบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว
    ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่

    ก็อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำ
    ให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ?

    ภิกษุ ทั้งหลาย
    ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือโคนไม้
    หรือเรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ
    ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า เธอนั้นมีสติหายใจเข้า
    มีสติหายใจออก



    เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว

    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว

    เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น

    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น

    เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
    “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า” ว่า
    “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”

    เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
    “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ หายใจเข้า” ว่า
    “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ หายใจออก”

    เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
    “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า” ว่า
    “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก”

    เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
    “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า” ว่า
    “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก”

    เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
    “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า” ว่า
    “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”

    เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
    “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ หายใจเข้า” ว่า
    “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่” หายใจออก”

    เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
    “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า”ว่า
    “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก”

    เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
    “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจเข้า” ว่า
    “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่” หายใจออก

    เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
    “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจเข้า” ว่า
    “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่” หายใจออก”

    เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
    “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า” ว่า
    “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก”

    เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
    “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”ว่า
    “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก”

    เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
    “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า” ว่า
    “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำหายใจออก”

    เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
    “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้า” ว่า
    “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำหายใจออก ”

    เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า
    “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”ว่า
    “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำหายใจออก”


    ภิกษุ ทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว
    กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมมีผลใหญ่
    มีอานิสงส์ใหญ่.

    ภิกษุ ทั้งหลาย ! เมื่ออานาปานสติ อันบุคคล
    เจริญแล้ว ทำให้มากแล้วอยู่อย่างนี้ ผลอานิสงส์อย่าง
    ใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาผล ๒ ประการ
    เป็นสิ่งที่หวังได้

    คือ อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือว่าถ้ายังมีอุปาทิ
    (กิเลสเป็นเหตุถือมั่น) เหลืออยู่ ก็จักเป็น อนาคามี.


    ....................................
    ปฐมพลสูตร มหาวาร. สํ. ๑๙ / ๓๙๖-๓๙๗ / ๑๓๑๑-๑๓๑๓.
     
  2. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    "สติปัฏฐานบริบูรณ์ ย่อมทำโพชฌงค์ให้บริบูรณ์"


    ภิกษุ ทั้งหลาย !
    ก็สติปัฏฐานทั้ง ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว
    ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า จึงทำโพชฌงค์ ทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ?



    ภิกษุ ทั้งหลาย ! สมัยใด
    ภิกษุเป็นผู้ตามเห็นกายในกาย อยู่เป็นประจำก็ดี
    เป็นผู้ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย อยู่เป็นประจำก็ดี
    เป็นผู้ตามเห็นจิตในจิต อยู่เป็นประจำก็ดี
    เป็นผู้ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่เป็นประจำก็ดี


    มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ
    นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้
    สมัยนั้น สติที่ภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้วก็เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง.


    ภิกษุ ทั้งหลาย !
    สมัยใด สติของภิกษุผู้เข้าไปตั้งไว้แล้ว เป็นธรรมชาติไม่ลืมหลง
    สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
    สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์
    สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ของภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ

    ภิกษุนั้น เมื่อเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่ ชื่อว่าย่อมทำการเลือกย่อมทำการเฟ้น
    ย่อมทำการใคร่ครวญ ซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา.

    .........................

    ภิกษุ ทั้งหลาย !
    สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติเช่นนั้นอยู่ ทำการเลือกเฟ้น
    ทำการใคร่ครวญซึ่งธรรมนั้นอยู่
    ด้วยปัญญา
    สมัยนั้น ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
    สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
    สมัยนั้นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ของภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.

    ภิกษุนั้น เมื่อเลือกเฟ้น ใคร่ครวญซึ่งธรรมนั้น ด้วยปัญญาอยู่
    ความเพียรอันไม่ย่อหย่อนก็ชื่อว่าเป็นธรรมอันภิกษุนั้นปรารภแล้ว.

    .........................

    ภิกษุ ทั้งหลาย !
    สมัยใด ความเพียรอันไม่ย่อหย่อนอันภิกษุผู้เลือกเฟ้น
    ใคร่ครวญธรรมด้วยปัญญา
    ได้ปรารภแล้ว
    สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
    สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์
    สมัยนั้นวิริยสัมโพชฌงค์ของภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.

    ภิกษุนั้น เมื่อมีความเพียรอันปรารภแล้วเช่นนั้น ปีติอันเป็นนิรามิส (ไม่อิงอามิส)
    ก็เกิดขึ้น.(อามิส=รูป,เสียง,กลิ่น,รส,โผฏฐัพพะ)

    .........................

    ภิกษุ ทั้งหลาย !
    สมัยใด ปีติอันเป็นนิรามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภแล้ว
    สมัยนั้นปีติสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
    สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์
    สมัยนั้นปีติสัมโพชฌงค์ของภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.

    ภิกษุนั้น เมื่อมีใจประกอบด้วยปีติ แม้กายก็รำงับ แม้จิตก็รำงับ.

    .........................

    ภิกษุ ทั้งหลาย !
    สมัยใด ทั้งกายและทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจประกอบด้วยปีติ ย่อมรำงับ
    สมัยนั้นปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
    สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค
    สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.

    ภิกษุนั้น เมื่อมีกายอันรำงับแล้ว มีความสุขอยู่ จิตย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิ.

    .........................

    ภิกษุ ทั้งหลาย !
    สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายอันรำงับแล้ว มีความสุขอยู่ ย่อมเป็นจิตตั้งมั่น
    สมัยนั้นสมาธิสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
    สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ;
    สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ของภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.

    ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะ ซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้นเป็นอย่างดี.

    .........................

    ภิกษุ ทั้งหลาย !
    สมัยใด ภิกษุเป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะ ซึ่งจิตอันตั้งมั่นแล้วอย่างนั้น เป็นอย่างดี
    สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอันว่าภิกษุนั้นปรารภแล้ว
    สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
    สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของภิกษุนั้น ชื่อว่าถึงความเต็มรอบแห่งการเจริญ.


    ภิกษุ ทั้งหลาย ! สติปัฏฐานทั้ง ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว
    ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมทำโพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้บริบูรณ์ได้.


    ..................................
     
  3. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    "โพชฌงค์บริบูรณ์ ย่อมทำวิชชา และวิมุตติให้บริบูรณ์"


    ภิกษุ ทั้งหลาย ! โพชฌงค์ทั้ง ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว
    ทำให้มากแล้ว
    อย่างไรเล่า จึงจะทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ?

    ภิกษุ ทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ย่อมเจริญ สติสัมโพชฌงค์
    อันอาศัยวิเวก (ความสงัด) อันอาศัยวิราคะ (ความจางคลาย)
    อันอาศัยนิโรธ (ความดับ)อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ (ความสละ, ความปล่อย)

    ย่อมเจริญ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ
    อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ

    ย่อมเจริญ วิริยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก
    อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ

    ย่อมเจริญ ปีติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก
    อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ

    ย่อมเจริญ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัย
    วิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ

    ย่อมเจริญ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัย
    วิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ

    ย่อมเจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัย
    วิเวก อันอาศัยวิราคะ อันอาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อโวสสัคคะ

    ภิกษุ ทั้งหลาย ! โพชฌงค์ทั้ง ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว
    ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้
    , ดังนี้.


    ...............................
    ปฐมภิกขุสูตร มหาวาร. สํ. ๑๙ / ๔๒๔ / ๑๔๐๒-๑.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤษภาคม 2014
  4. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    "ความสิ้นตัณหา คือ นิพพาน"

    ราธะ !
    ความพอใจอันใด ราคะอันใด
    นันทิอันใด ตัณหาอันใด
    มีอยู่ในรูป ในเวทนา ในสัญญา
    ในสังขาร และในวิญญาณ
    เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในสิ่งนั้น ๆ
    เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้


    ราธะ !
    เปรียบเหมือนพวกกุมารน้อยๆ หรือ
    กุมารีน้อยๆ เล่นเรือนน้อยๆ ที่ทำด้วยดินอยู่
    ตราบใดเขายังมีราคะ มีฉันทะ มีความรัก มีความกระหาย
    มีความเร่าร้อน และมีตัณหา ในเรือนน้อยที่ทำด้วยดินเหล่านั้น

    ตราบนั้น พวกเด็กน้อยนั้นๆ ย่อมอาลัยเรือนน้อย
    ที่ทำด้วยดินเหล่านั้น
    ย่อมอยากเล่น ย่อมอยากมีเรือนน้อย
    ที่ทำด้วยดินเหล่านั้น ย่อมยึดถือเรือนน้อยที่ทำด้วยดิน
    เหล่านั้น ว่าเป็นของเรา ดังนี้.


    ราธะ !
    แต่เมื่อใดแล พวกกุมารน้อยๆ หรือ
    กุมารีน้อยๆ เหล่านั้น ปราศจากราคะแล้ว ปราศจากฉันทะ
    แล้ว ปราศจากความรักแล้ว ปราศจากความเร่าร้อนแล้ว
    ปราศจากตัณหาแล้วในเรือนน้อยที่ทำด้วยดินเหล่านั้น
    ,

    ในกาลนั้น พวกเขาย่อมทำเรือนน้อยๆ ที่ทำด้วยดินเหล่านั้น
    ให้กระจัดกระจายเรี่ยรายเกลื่อนกล่นไป กระทำให้จบ
    การเล่นเสีย
    ด้วยมือและเท้าทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด

    ราธะ !
    อุปไมยก็ฉันนั้น คือ แม้พวกเธอ
    ทั้งหลายจงเรี่ยรายกระจายออก ซึ่งรูป เวทนา สัญญา
    สังขาร และวิญญาณ
    จงขจัดเสียให้ถูกวิธี
    จงทำให้แหลกลาญ โดยถูกวิธี
    จงทำให้จบการเล่นให้ถูกวิธี
    จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหาเถิด.

    ราธะ !
    เพราะว่า ความสิ้นไปแห่งตัณหานั้น คือ นิพพาน ดังนี้ แล.

    ........................
    ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๓๒/๓๖๗-๘.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤษภาคม 2014
  5. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาใด
    ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม
    ปฏิบัติชอบยิ่ง ปฏิบัติตามธรรมอยู่

    ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมสักการะ
    เคารพนับถือบูชาตถาคต ด้วยการบูชาอันสูงสุด

    ........................
    มหา. ที. ๑๐/๑๖๑/๑๒๙.
     
  6. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    "ทำอริยมรรคมีองค์ 8 ให้ถึงพร้อมได้อย่างไร"


    ภิกษุ ทั้งหลาย !

    เมื่อรู้เมื่อเห็นอยู่ ซึ่ง จักษุ ตามที่เป็นจริง

    เมื่อรู้เมื่อเห็นอยู่ ซึ่ง รูปทั้งหลาย ตามที่เป็นจริง

    เมื่อรู้เมื่อเห็นอยู่ ซึ่ง จักขุวิญญาณ ตามที่เป็นจริง

    เมื่อรู้เมื่อเห็นอยู่ ซึ่ง จักขุสัมผัส ตามที่เป็นจริง

    เมื่อรู้เมื่อเห็นอยู่ ซึ่ง เวทนา อันเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
    สุข ก็ตาม ทุกข์ ก็ตามอทุกขมสุขก็ตาม ตามที่เป็นจริง


    บุคคล ย่อมไม่กำหนัดยินดีในจักษุ ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในรูปทั้งหลาย
    ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในจักขุวิญญาณ ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในจักขุสัมผัส
    ย่อมไม่กำหนัดยินดีในเวทนา
    อันเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย สุข
    ก็ตาม ทุกข์ก็ตาม อทุกขมสุขก็ตาม.


    เมื่อบุคคลนั้นไม่กำหนัดยินดีแล้ว ไม่ประกอบพร้อมแล้ว
    ไม่หลงใหลแล้ว มีปกติเห็นโทษอยู่
    ปัญจุปาทานขันธ์ ย่อมถึงซึ่งความไม่ก่อขึ้นอีกต่อไป
    และ ตัณหา อันเครื่องนำมาซึ่งภพใหม่
    ประกอบอยู่ด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน
    ทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ ของบุคคลนั้น ย่อมละไป.

    ความกระวนกระวาย ทางกายและทางจิต ก็ละไป
    ความแผดเผา ทางกายและทางจิต ก็ละไป
    ความเร่าร้อน ทางกายและทางจิตก็ละไป
    บุคคลนั้นย่อมเสวยความสุขทั้งทางกายและทางจิต


    ทิฏฐิของผู้รู้ผู้เห็นอยู่เช่นนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิ
    ความดำริของผู้รู้ผู้เห็นอยู่เช่นนั้น เป็นสัมมาสังกัปปะ
    ความเพียรของผู้รู้ผู้เห็นอยู่เช่นนั้น เป็นสัมมาวายามะ
    สติของผู้รู้ผู้เห็นอยู่เช่นนั้น เป็นสัมมาสติ
    สมาธิของผู้รู้ผู้เห็นอยู่เช่นนั้น เป็นสัมมาสมาธิ.

    ส่วน กายกรรม วจีกรรม และอาชีวะของเขา บริสุทธิ์มาแล้วแต่เดิม

    (ดังนั้นเป็นอันว่าสัมมากัมมันตะ สัมมาวาจา สัมมาอาชีวะ มีอยู่
    แล้วอย่างเต็มที่
    ในบุคคลผู้รู้อยู่ผู้เห็นอยู่เช่นนั้น).


    ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นอันว่าอริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรคมีองค์ ๘) แห่ง
    บุคคลผู้รู้อยู่เห็นอยู่เช่นนั้น ย่อมถึงซึ่งความบริบูรณ์แห่งภาวนา ด้วยอาการอย่างนี้.


    เมื่อเขาทำอริยอัฏฐังคิกมรรคให้เจริญอยู่อย่างนี้
    สติปัฏฐานสี่ ...
    สัมมัปปธานสี่ ...
    อิทธิบาทสี่ ...
    อินทรีย์ห้า ...
    พละห้า ...
    โพชฌงค์เจ็ด ...

    ย่อมถึงความงอกงามบริบูรณ์ได้แท้
    ธรรมสองอย่างของเขาคือ สมถะและวิปัสสนา ชื่อว่าเข้าคู่กันได้อย่างแน่นแฟ้น...


    (ในกรณีแห่ง โสตะ(หู) ฆานะ(จมูก) ชิวหา(ลิ้น) กายะ
    (กาย) และมนะ(ใจ) ก็ได้ตรัสต่อไปด้วยข้อความอย่างเดียวกัน).


    ............................
    อุปริ.ม. ๑๔ / ๕๒๓–๕๒๕ / ๘๒๘–๘๓๐.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤษภาคม 2014
  7. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    เห็นรูปแล้วสติหลงลืม ทำในใจซึ่งรูปนิมิตว่าน่ารัก
    มีจิตกำหนัดแก่กล้าแล้ว เสวยอารมณ์นั้นอยู่
    ความสยบมัวเมาย่อมครอบงำบุคคลนั้น.
    เวทนาอันเกิดจากรูปเป็นอเนกประการ ย่อมเจริญแก่เขานั้น.
    อภิชฌาและวิหิงสาย่อมเข้าไปกลุ้มรุมจิตของเขา.
    เมื่อสะสมทุกข์อยู่อย่างนี้ ท่านกล่าวว่า ยังไกลจากนิพพาน.


    บุคคลนั้นไม่กำหนัดในรูปทั้งหลาย เห็นรูปแล้ว
    มีสติเฉพาะ
    มีจิตไม่กำหนัดเสวยอารมณ์อยู่
    ความสยบมัวเมาย่อมไม่ครอบงำบุคคลนั้น.
    เมื่อเขาเห็นอยู่ซึ่งรูปตามที่เป็นจริง เสวยเวทนาอยู่ทุกข์ก็สิ้นไป ๆ
    ไม่เพิ่มพูนขึ้น เขามีสติประพฤติอยู่ด้วยอาการอย่างนี้,
    เมื่อไม่สะสมทุกข์อยู่อย่างนี้ ท่านกล่าวว่าอยู่ใกล้ต่อนิพพาน.
     
  8. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    "สังสารวัฏ ไม่ปรากฏที่สุด แก่สัตว์ผู้มีอวิชชา"


    ภิกษุทั้งหลาย !
    กัปหนึ่งนานแล มิใช่เรื่องง่ายจะนับกัปนั้นว่า
    เท่านี้ปี
    เท่านี้ร้อยปี เท่านี้พันปี หรือว่าเท่านี้แสนปี.

    ภิกษุทั้งหลาย !
    เหมือนอย่างว่า ภูเขาหินลูกใหญ่ ยาวโยชน์หนึ่ง
    กว้างโยชน์หนึ่ง สูงโยชน์หนึ่ง ไม่มีช่องไม่มีโพรง เป็นแท่งทึบ
    บุรุษพึงเอาผ้าแคว้นกาสีมาแล้วปัดภูเขานั้น ๑๐๐ ปีต่อครั้ง
    ภูเขาหินลูกใหญ่นั้น พึงถึงการหมดไปสิ้นไป เพราะความพยายามนี้
    ยังเร็วกว่าแลส่วนกัปหนึ่งยังไม่ถึงการหมดไปสิ้นไป กัปนานอย่างนี้ แล.

    บรรดากัปที่นานอย่างนี้พวกเธอท่องเที่ยวไปแล้ว
    มิใช่หนึ่งกัป มิใช่ร้อยกัป มิใช่พันกัป มิใช่แสนกัป.



    ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?
    เพราะว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้
    เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็น
    เครื่องผูก
    ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้น ย่อมไม่ปรากฏ.

    ภิกษุทั้งหลาย !
    ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอทีเดียวเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง
    พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น
    ดังนี้.

    ..............................
    นิทาน. สํ. ๑๖/๒๑๕/๔๒๙-๓๐.
     
  9. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    "สิ่งที่พระพุทธเจ้าถือว่าเป็นความอัศจรรย์"


    อานนท์ !
    เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ เธอพึงจำ สิ่งอันน่าอัศจรรย์
    ไม่เคยมีมาแต่ก่อนของตถาคต
    ข้อนี้ไว้.

    อานนท์ !
    ในกรณีนี้คือ

    เวทนา เป็นของแจ่มแจ้งแก่ตถาคต
    แล้วจึงเกิดขึ้น แล้วจึงตั้งอยู่ แล้วจึงดับไป

    สัญญา เป็นของแจ่มแจ้งแก่ตถาคต
    แล้วจึงเกิดขึ้น แล้วจึงตั้งอยู่ แล้วจึงดับไป

    วิตก เป็นของแจ่มแจ้งแก่ตถาคต
    แล้วจึงเกิดขึ้น แล้วจึงตั้งอยู่ แล้วจึงดับไป

    อานนท์ !
    เธอจงทรงจำสิ่งอันน่าอัศจรรย์ไม่เคยมีมาแต่ก่อน
    ของตถาคตข้อนี้แล.

    ..........................
    อุปริ. ม. ๑๔/๒๕๔/๓๗๙.
     
  10. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    "จิตอธิษฐานการงาน"

    อานนท์ !
    ฐานะที่ตั้งแห่งอนุสสติ มีเท่าไร ?

    “มี ๕ อย่าง พระเจ้าข้า !”

    ดีละ ดีละ อานนท์ ! ถ้าอย่างนั้น
    เธอจงทรงจำ ฐานะที่ตั้งแห่งอนุสสติที่ ๖ นี้ไว้

    คือ ภิกษุในกรณีนี้
    มีสติ ก้าวไป
    มีสติ ถอยกลับ
    มีสติ ยืนอยู่
    มีสติ นั่งอยู่
    มีสติ สำเร็จการนอนอยู่
    มีสติ อธิษฐานการงาน


    อานนท์ !
    นี้เป็นฐานะที่ตั้งแห่งอนุสสติ
    ซึ่งเมื่อบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้ว
    ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ.


    .......................
    ฉกฺก. อํ. ๒๒/๓๖๓/๓๐๐.





    "การตั้งจิตก่อนนอน"


    อานนท์ !
    ถ้าเมื่อภิกษุนั้น ... จิตน้อมไปเพื่อ การนอน
    เธอก็ นอนด้วยการตั้งใจว่า

    บาปอกุศลธรรมทั้งหลาย กล่าวคือ อภิชฌาและโทมนัส
    จักไม่ไหลไปตามเราผู้นอนอยู่ ด้วยอาการอย่างน
    ี้” ดังนี้

    ในกรณีอย่างนี้
    ภิกษุนั้น ชื่อว่า เป็นผู้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
    ในกรณีแห่งการนอนนั้น
    .

    .......................
    อุปริ. ม. ๑๔/๒๓๘/๓๔๘.
     
  11. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    อิมัส๎มิง สะติ อิทัง โหติ
    เมื่อสิ่งนี้ “มี” สิ่งนี้ ย่อมมี

    อิมัสสุปปาทา อิทัง อุปปัชชะติ
    เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น

    อิมัส๎มิง อะสะติ อิทัง นะ โหติ
    เมื่อสิ่งนี้ “ไม่มี” สิ่งนี้ ย่อมไม่มี

    อิมัสสะ นิโรธา อิทัง นิรุชฌะติ.
    เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป

    ...................
    นิทาน. สํ. ๑๖/๘๔/๑๕๔.
     
  12. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    "ความสำคัญของสมถะและวิปัสสนา"


    ภิกษุทั้งหลาย !
    ธรรม ๒ อย่างเหล่านี้ เป็นส่วนแห่งวิชชา (ความรู้แจ้ง).
    ๒ อย่าง อะไรเล่า ?
    ๒ อย่าง คือ สมถะ และ วิปัสสนา

    ภิกษุทั้งหลาย !
    สมถะ เมื่ออบรมแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร ?
    อบรมแล้ว จิตจะเจริญ
    จิตเจริญแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร ?
    เจริญแล้ว จะละราคะได้.

    ภิกษุทั้งหลาย !
    วิปัสสนาเล่า เมื่อเจริญแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร ?
    เจริญแล้ว ปัญญาจะเจริญ
    ปัญญาเจริญแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร ?
    เจริญแล้ว จะละอวิชชาได้ แล.


    .........................
    ทุก. อํ. ๒๐/๗๗/๒๕๗.
     
  13. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    "ให้ตั้งจิตในกายคตาสติ เสมือนบุรุษผู้ถือหม้อน้ำมัน"


    ภิกษุทั้งหลาย !
    เปรียบเหมือนหมู่มหาชนได้ทราบข่าวว่า
    มีนางงามในชนบท พึงประชุมกัน ก็นางงาม
    ในชนบทนั้น น่าดูอย่างยิ่งในการฟ้อนรำ น่าดูอย่างยิ่งใน
    การขับร้อง
    หมู่มหาชนได้ทราบข่าวว่า นางงามในชนบท
    จะฟ้อนรำขับร้อง พึงประชุมกันยิ่งขึ้นกว่าประมาณ
    ครั้งนั้น บุรุษผู้อยากเป็นอยู่ไม่อยากตาย ปรารถนาความสุข
    เกลียดทุกข์ พึงมากล่าวกับหมู่มหาชนนั้นอย่างนี้ว่า

    "บุรุษผู้เจริญ ! ท่านพึงนำภาชนะน้ำมันอันเต็มเปี่ยมนี้ไปใน
    ระหว่างที่ประชุมใหญ่กับนางงามในชนบท และจักมีบุรุษ
    เงื้อดาบตามบุรุษผู้นำหม้อน้ำมันนั้นไปข้างหลังๆ บอกว่า
    ท่านจักทำนำ้มันนั้นหกแม้หน่อยหนึ่งในที่ใด ศีรษะของท่าน
    จักขาดตกลงไปในที่นั้นทีเดียว"



    ภิกษุทั้งหลาย !
    เธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน ?
    บุรุษผู้นั้นจะไม่ใส่ใจภาชนะน้ำมันโน้น
    แล้วพึงประมาทในภายนอกเทียวหรือ ?


    “ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า !”


    ภิกษุทั้งหลาย !
    เราทำอุปมานี้ เพื่อให้เข้าใจ
    เนื้อความนี้ชัดขึ้น เนื้อความในข้อนี้มีอย่างนี้แล คำว่า
    ภาชนะน้ำมันอันเต็มเปี่ยม เป็นชื่อของกายคตาสติ.
    ภิกษุทั้งหลาย !
    เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลาย
    พึงศึกษาอย่างนี้ว่า กายคตาสติ จักเป็นของอันเราเจริญแล้ว
    กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นดังยานกระทำให้เป็นที่ตั้ง
    กระทำไม่หยุด สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว.

    ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ แล.

    ..............................
    มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๖๖/๗๖๓.
     
  14. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    "เธอทั้งหลายอย่าเป็นบุรุษพวกสุดท้ายของเราเลย"

    อานนท์ !
    ก็กัลยาณวัตรอันเราตั้งไว้ในกาลนี้
    ย่อมเป็นไป เพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว
    เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อความสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง
    เพื่อรู้พร้อม เพื่อนิพพาน.


    อานนท์ ! กัลยาณวัตรนี้ เป็นอย่างไรเล่า ?
    นี้คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ กล่าวคือ :-
    สัมมาทิฏฐิ
    สัมมาสังกัปปะ
    สัมมาวาจา 
    สัมมากัมมันตะ
    สัมมาอาชีวะ
    สัมมาวายามะ
    สัมมาสติ
    สัมมาสมาธิ.

    อานนท์ !
    เกี่ยวกับกัลยาณวัตรนั้น
    เราขอกล่าวกะเธอ โดยประการที่เธอทั้งหลาย
    จะพากันประพฤติตามกัลยาณวัตรที่เราตั้งไว้แล้วนี้ :
    เธอทั้งหลายอย่าเป็นบุรุษพวกสุดท้ายของเราเลย.

    อานนท์ !
    ความขาดสูญแห่งกัลยาณวัตรนี้มีในยุคแห่งบุรุษใด;
    บุรุษนั้นชื่อว่าบุรุษคนสุดท้ายแห่งบุรุษทั้งหลาย.

    อานนท์ !
    เกี่ยวกับกัลยาณวัตรนั้น
    เราขอกล่าว (ย้ำ) กับเธอ
    โดยประการที่เธอทั้งหลาย
    จะพากันประพฤติตามกัลยาณวัตรที่เราตั้งไว้แล้วนี้
    เธอทั้งหลายอย่าเป็นบุรุษพวกสุดท้ายของเราเลย.


    ........................
    ม. ม. ๑๓/๔๒๗/๔๖๓.
     
  15. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    อานนท์ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้

    พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่
    พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายเนืองๆ อยู่
    พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่
    พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายเนืองๆ อยู่
    มีความเพียรเผากิเลส
    มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
    มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.



    อานนท์ ! ภิกษุ อย่างนี้แล
    ชื่อว่ามีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ
    ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ
    มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ
    ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ เป็นอยู่.
     
  16. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    ภิกษุทั้งหลาย !
    ถ้าราคะในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ
    ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เป็นสิ่งที่ภิกษุ ละได้แล้ว.

    เพราะละราคะได้
    อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลง
    ที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี

    วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้น ก็ไม่งอกงาม
    หลุดพ้นไป เพราะไม่ถูกปรุงแต่ง
    เพราะหลุดพ้นไป ก็ตั้งมั่น
    เพราะตั้งมั่น ก็ยินดีในตนเอง
    เพราะยินดีในตนเอง ก็ไม่หวั่นไหว
    เมื่อไม่หวั่นไหว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน
    ย่อมรู้ชัดว่า
    ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
    กิจที่ควรทำได้สำเร็จแล้ว
    กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก ดังนี้.

    ........................
    ขนฺธ. สํ. ๑๗/๖๗-๖๘/๑๐๖-๑๐๗.
     
  17. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    "ทุกข์ ที่เคยประสบ"

    ภิกษุทั้งหลาย !
    สงสารนี้กำหนดที่สุด เบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้
    เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น
    มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้น
    ย่อมไม่ปรากฏ เธอทั้งหลายเห็นทุคตบุรุษผู้มีมือและเท้า
    ไม่สมประกอบ
    พึงลงสันนิษฐานในบุคคลนี้วา่ เราทั้งหลาย
    ก็เคยเสวยทุกข์เห็นปานนี้มาแล้ว โดยกาลนานนี้.

    ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
    เพราะเหตุวา่ สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้
    เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็น
    เครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ
    สัตว์เหล่านั้นได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ
    ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่าช้าตลอดกาลนานเหมือนฉะนั้น.


    ภิกษุทั้งหลาย !
    ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็พอแล้วเพื่อจะเบื่อหน่า่ยในสังขารทั้งปวง
    พอแล้ว เพื่อจะคลายกำหนัด
    พอแล้ว เพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้.


    .................................
    นิทาน. สํ. ๑๖/๒๒๑/๔๔๓.
     
  18. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    "เลือด ที่เคยสูญเสีย"


    ภิกษุทั้งหลาย !
    สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้
    เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น
    มีตัณหาเป็นเครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้น
    ย่อมไม่ปรากฏ เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
    โลหิตที่หลั่งไหลออกของพวกเธอผู้ท่องเที่ยวไปมาซึ่งถูก
    ตัดศีรษะโดยกาลนานนี้ กับน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ สิ่งไหน
    จะมากกว่ากัน.


    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !
    ข้าพระองค์ทั้งหลายย่อมทราบ
    ธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า โลหิตที่หลั่งไหลออก
    ของพวกข้าพระองค์ผู้ท่องเที่ยวไปมา ซึ่งถูกตัดศีรษะโดยกาลนาน
    นี้แหละมากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย ดังนี้.

    ภิกษุทั้งหลาย !
    สาธุ สาธุ พวกเธอทราบธรรม
    ที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ ถูกแล้ว โลหิตที่หลั่งไหลออกของ
    พวกเธอผู้ท่องเที่ยวไปมาซึ่งถูกตัดศีรษะโดยกาลนานนี้
    นี้แหละมากกวา่ ส่วนนํ้าในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่า่เลย

    เมื่อเธอทั้งหลายเกิดเป็นโค ซึ่งถูกตัดศีรษะตลอดกาลนาน
    โลหิตที่หลั่งไหลออกนั่นแหละมากกว่า่
    ส่วนนํ้าในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่า่เลย.

    เมื่อเธอทั้งหลายเกิดเป็นกระบือ ...
    เกิดเป็น แกะ
    เกิดเป็น แพะ
    เกิดเป็น เนื้อ
    เกิดเป็น สุกร
    เกิดเป็น ไก่
    ซึ่งถูกตัดศีรษะตลอดกาลนาน โลหิตที่หลั่งไหลออกนั่นแหละ
    มากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย

    เมื่อเธอทั้งหลายถูกจับตัดศีรษะโดยข้อหาว่า เป็นโจรฆ่าชาวบ้าน
    ถูกจับตัดศีรษะโดยข้อหาว่า เป็นโจรคิดปล้น
    ถูกจับตัดศีรษะโดยข้อหาว่า เป็นโจรประพฤติผิดในภรรยาของผู้อื่น
    ตลอดกาลนาน โลหิตที่หลั่งไหลออก
    นั่นแหละมากกวา่ ส่วนนํ้าในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่า่เลย.


    ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
    เพราะเหตุวา่ สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้
    เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็น
    เครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ
    สัตว์เหล่านั้นได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ
    ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่าช้าตลอดกาลนานเหมือนฉะนั้น.


    ภิกษุทั้งหลาย !
    ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็พอแล้วเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง
    พอแล้ว เพื่อจะคลายกำหนัด
    พอแล้ว เพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้.


    .................................
    นิทาน. สํ. ๑๖/๒๒๑-๒๒๓/๔๔๕-๔๔๙.
     
  19. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    "ความไม่แน่นอนของการได้อัตภาพ"


    ภิกษุทั้งหลาย !
    เปรียบเหมือนท่อนไม้อันบุคคลซัดขึ้นไปสู่อากาศ
    บางคราวตกเอาโคนลง
    บางคราวตกเอาตอนกลางลง
    บางคราวตกเอาปลายลง


    ข้อนี้ฉันใด
    ภิกษุทั้งหลาย !
    สัตว์ทั้งหลายผู้มีอวิชชาเป็น
    เครื่องกั้น มีตัณหาเป็น เครื่องผูก ท่ิองเที่ยวไปมาอยู่ ก็ฉันนั้น
    เหมือนกัน บางคราวแล่นไปจากโลกนี้สูโ่ลกอื่น บางคราว
    แล่นจากโลกอื่นสู่โลกนี้.


    ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
    เพราะเหตุว่า่ สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้
    เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็น
    เครื่องผูก ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ
    สัตว์เหล่านั้นได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ
    ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่าช้าตลอดกาลนานเหมือนฉะนั้น.

    ภิกษุทั้งหลาย !
    ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ก็พอแล้วเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง
    พอแล้ว เพื่อจะคลายกำหนัด
    พอแล้ว เพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้.


    ............................
    นิทาน. สํ. ๑๖/๒๑๙/๔๓๘-๔๓๙.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤษภาคม 2014
  20. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    ดูกรอานนท์
    อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากบาป
    มีการอยู่ร่วมเป็นสุข พวกคนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน
    ย่อมยินดียิ่งด้วยการอยู่ร่วมกัน เขาได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง
    ได้กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูตได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ
    ได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย เขาตายไปแล้วย่อมไปทางเจริญ
    ไม่ไปทางเสื่อม เป็นผู้ถึงทางเจริญ ไม่เป็นผู้ถึงทางเสื่อม

    ดูกรอานนท์
    พวกชนผู้ถือประมาณย่อมประมาณในเรื่องนั้นว่า ธรรมของ
    ชนแม้นี้ก็เหล่านั้นและธรรมของชนแม้อื่นก็เหล่านั้นแหละ
    เหตุไฉน บรรดาคน ๒ คนนั้น คนหนึ่งเลวคนหนึ่งดี
    ก็การประมาณของคนผู้ถือประมาณเหล่านั้น เป็นไปเพื่อมิใช่
    ประโยชน์เกื้อกูลเพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน

    ดูกรอานนท์
    ใน ๒ คนนั้น บุคคลใดเป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วมเป็นสุข
    พวกคนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกันย่อมยินดีด้วยการอยู่ร่วมกัน
    เขาได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ได้กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
    ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย

    ดูกรอานนท์
    บุคคลนี้ดีกว่า และประณีตกว่าบุคคลที่กล่าวข้างต้นโน้น ข้อนั้น
    เพราะเหตุไร เพราะกระแสแห่งธรรมย่อมถูกต้องบุคคลนี้
    ใครเล่านอกจากตถาคตจะพึงรู้เหตุนั้น เพราะเหตุนั้นแหละ
    เธอทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้ชอบประมาณในบุคคล และอย่าได้
    ถือประมาณในบุคคล เพราะผู้ถือประมาณในบุคคล
    ย่อมทำลายคุณวิเศษของตน เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือ
    ประมาณในบุคคลได้ ฯ



    ................................
     

แชร์หน้านี้

Loading...