เรื่องเล่าของน้ำ(ประสบการณ์นางกวักหลวงตาปลอด นางกวักอันดับหนึ่งของภาคใต้ค่ะ)

ในห้อง 'ร้องเรียนและปัญหา' ตั้งกระทู้โดย น้ำดี1, 24 ธันวาคม 2010.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    ขอบคุณคุณน้ำมากๆ สำหรับคำชี้แนะ ผมเอาออกจากคอแล้วครับ

    ลองช่วยดู พระชัยวัฒน์ ร.ศ 118 ให้หน่อยได้ไหมครับ
    ดูพระปากน้ำรุ่น1 ให้ด้วยได้ไหมครับ
    ดูพระสมเด็จ หลวงปู่ภู แซยิดหักศอกได้ไหมครับ

    ขอบคุณมากๆ ครับ

    ตอบเมล์แล้วค่ะ ไม่ดีเลยสักองค์ค่ะ


     
  2. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    :42 AM):

    <DIR>
    ขอบคุณครับสำหรับข้อมูล ผมขอเบอร์โทรติดต่อคุณน้ำจะสะดวกไหมครับ ถ้ามีเรื่องปรึกษาและขอคำแนะนำ
     (ผมชื่อ .......... ชื่อเล่น ... ทำงานสำนัก......จังหวัดเชียงใหม่ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ชั้น 4 ถนนโชตนา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50300
    ถ้าคุณน้ำมีโอกาสมาเที่ยวเชียงใหม่ โทรมาบอกได้ครับ ยินดีที่ได้รู้จักครับ

    </DIR>
    น้ำเองค่ะ พูดว่า (10:43 AM):

    <DIR>
    น้ำจะย้ายไปขุนยวมเร็ว ๆ นี้ค่ะ
    เป็นคนตากค่ะ
    เบอร์โทรลองหาดูค่ะ ไม่ยากหรอก
    :45 AM):

    <DIR>
    วันนี้พอแค่นี้ก่อนครับ ขอบคุณมากครับ

    </DIR>
    น้ำเองค่ะ พูดว่า (10:46 AM):


    <DIR>
    ค่ะ

    </DIR>
    </DIR>
     
  3. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    ข่าวฝากคุณเรย์หน่อยค่ะ วันนี้จะไปรับลูกปิงปองนิตตากุ 3 ดาว จำนวน 2 โหลด้วยค่ะ ของที่สั่งจะมาถึงวันนี้ค่ะ
     
  4. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    Lashio จังหวัดรัฐฉาน
    ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของรัฐฉาน

    เป็นเมืองหลวงของรัฐฉานตั้งอยู่ทางทิศเหนือ เป็นนิคมหลักชายแดนรัฐฉานกับจีนติดกับจังหวัดยูนานของจีน ถนนที่มีชื่อเสียงของพม่าที่ถูกสร้างขึ้นโดยประเทศอังกฤษก่อนสงครามโลก คือ ถนน Ledo Road ที่น่าสนใจก็คือถนนสายนี้สามารถนำเข้าสู่จังหวัดยูนาน จุดสำคัญเกี่ยวกับเส้นทางสายนี้ คือความสนุกสนานที่น่าตื่นเต้นที่สุดของการท่องเที่ยวที่ราบสูง คือทางที่หักศอกคดเคี้ยวไปมาที่เต็มไปด้วยเนิน และยังมีทางรถไฟที่ซึ่งบิดเบี้ยวลดเลี้ยวไปมาบนภูเขาด้วย นอกจากนี้จะข้ามสะพานประวัติศาสตร์เป็นประสบการณ์ที่ไม่อาจลืมเลือนได้เช่นเดียวกัน มีบ่อแร่ธรรมชาติใกล้ ๆ กับเมือง Lashio ที่แออัดไปด้วยผู้คนเดินทางที่มาร่วมสนุกกับความอบอุ่นจากธรรมชาติ

    Thipaw (Hsipaw) จังหวัดรัฐฉาน


    เมือง Thipaw (Hsipaw) เป็นเมืองโบราณของรัฐฉาน เป็นเมืองที่มีตำนานมาช้านานตั้งแต่ปี 58 B.C. เชื่อกันว่าถูกค้นพบโดย Sao Hkun Hkam Saw ซึ่งเป็นบุตรชายคนที่ 4 ของ Sawbwa (Saohpa) ของเผ่า Mong Mao ที่ชื่อ Sao Hkun Lai ประชาชนชาวพม่าจะเรียกว่า Thibaw และเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของพม่า กษัตริย์ Thibaw ( ครองราชสมบัติเมื่อปี 1875 -1885 ) ซึ่งเป็นชื่อที่เขาได้รับ
    Hispaw มีตลาดที่ใหญ่ที่สุดตั้งอยู่ศูนย์กลางของเมือง มีโรงภาพยนต์มากมาย มีเกสเฮาส์เล็กๆ และภัตตาคารใกล้กับสถานีขนส่งโดยสาร
    Haw เป็นโบราณสถานที่เก่าแก่ซึ่งสร้างด้วยไม้ เป็นพระราชวังของกษัตริย์ Sawbwa ที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเมือง มีเจดีย์ใหญ่ตั้งอยู่ ชื่อ พระยามหามยาทมุนี ( Maha Myatmuni Phaya ) ตั้งอยู่ทางทิศใต้ ตามถนน นำตู หรือแม่น้ำโดกทะวดี ( Namtu or Dokhtawaddy River ) ซึ่งอยู่หลังเขาลูกนี้

    เมือง Muse จังหวัดรัฐฉาน
    ห่างจาก Lashio 190 กิโลเมตร

    ห่างจาก Lashio 190 กิโลเมตร เป็นเมืองเล็กๆของแม่น้ำชะเวไล ( Shweli River ) ซึ่งอยู่เขตชายแดนระหว่างพม่ากับยูนาน เป็นศูนย์กลางในการค้าขาย

    เมือง Tachileik จังหวัดรัฐฉาน
    ตั้งอยู่เขตชายแดนไทย- พม่าทางด้านทิศตะวันออกของรัฐฉาน

    ตั้งอยู่เขตชายแดนไทย- พม่าทางด้านทิศตะวันออกของรัฐฉาน ถูกยกระดับให้เป็นทางเข้าออกที่สำคัญในการเข้าสู่สามเหลี่ยมทองคำ มีสะพานมิตรภาพที่ข้ามแม่น้ำสายเล็กๆจากอำเภอแม่สาย มายังเมือง Tachileck ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือชายแดนไทยจากตัวเมืองแม่สาย พื้นที่ดังกล่าวกำลังพัฒนาให้เป็นที่ยอมรับในการท่องเที่ยวระหว่างชายแดนไทย-พม่า-จีน-ลาว สำหรับการเดินทางมายังเมืองนี้แล้วนั้น จะมีเที่ยวบินที่บินตรงมาจากเมืองย่างกุ้งซึ่งใช้เวลาเพียง 1 ชั่วโมง หรืออาจจะใช้เรือข้ามฟากจากท่าเรือ Wonpon ข้ามแม่น้ำโขงซึ่งกันชายแดนระหว่างชายแดนลาวกับพม่า มีระยะทาง 29 กิโลเมตร มายังเมือง Tachileck ท่าเรือนี้ยังดูแลสินค้าที่ขนส่งมาจากไทยและจีนด้วย

    เมือง Kyaing Tong จังหวัดรัฐฉาน
    เมือง Kyaing Tong ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของรัฐฉาน ห่างจากเมือง Taunggyi 452 กิโลเมตร และห่างจากเมือง Tachileck 176 กิโลเมตร

    เมือง Kyaing Tong ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของรัฐฉาน ห่างจากเมือง Taunggyi 452 กิโลเมตร และห่างจากเมือง Tachileck 176 กิโลเมตร รอบๆเมือง Kyaing Tong มีสถานที่ๆน่าสนใจหลายแห่ง อาทิเช่น บ่อน้ำแร่ ทะเลสาบ Tong Lake วัด Sunn Taung ตลาดศูนย์กลางและน้ำมันแลกเกอร์ธรรมชาติ ซึ่งใช้สำหรับใช้การถักทอผ้าในโรงงาน มีหมู่บ้านต่างๆมากมายที่แตกต่างกันทางด้านเชื้อชาติ อยู่รอบๆ เมือง Kyaing Tong

    เปรียบพม่าเป็นเหมือนบ้านหลังที่สอง
    น้ำตานองเมื่อได้ยินเรื่องร้าวฉาน
    อยากให้ไฟสงครามที่ยาวนาน
    ความร้าวฉานที่มีมาล้วนหมดไป

    สักวันหนึ่งจะกลับไปเยือนรัฐฉาน
    อีกไม่นานคงได้สมอารมณ์หมาย
    เอาหัวใจดวงน้อยน้อยและเรือนกาย
    สู่อ้อมชายคาขอบรัฐฉานเอย

    มอบหัวใจดวงนี้ไว้รัฐฉาน
    อีกไม่นานน้ำจะกลับไปตามฝัน
    แม้สงครามสู้รบอยู่ทุกวัน
    แต่ใจฉันนั้นยังมั่นไม่คลอนแคลน
     
  5. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    มาเยือนแม่ฮ่องสอนกันค่ะ

    สิ้นปีนี้หลายคนวางแผนไว้แล้วที่จะไปสัมผัสลมหนาวที่ภาคเหนือ บางคนก็ไปจังหวัดยอดฮิตอย่างเชียงใหม่ บางคนก็อยากไปไกลหน่อยถึงเชียงราย แต่สำหรับหลายคนคงไม่พลาดที่จะไป “แม่ฮ่องสอน” จังหวัดที่มาแรงที่สุดในหมู่นักท่องเที่ยวในเวลานี้ก็ว่าได้
    ด้วยความยากลำบากของเส้นทาง ถนนอันคดเคี้ยวกว่า 1,864 โค้ง ที่รอการท้าพิสูจน์จากบรรดานักขับรถจากทั่วทุกสารทิศ สถานที่เที่ยวตามธรรมชาติทั้งถ้ำ น้ำตก รวมทั้งวัดวาอารามต่างๆที่เชื่อแน่ว่ายังบริสุทธิ์ไม่แพ้ที่แห่งใดในประเทศไทย จุดหมายของบางคนอยู่ที่ปาย อ.เล็กๆ ที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวา ทุ่งดอกบัวตองที่บานสะพรั่งรอรับการมาเยือนของเหล่านักท่องเที่ยว หมู่บ้านกระเหรี่ยงคอยาวที่มีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมแปลกตาสำหรับคนเมือง หรือแม้กระทั่งตัวเมืองแม่ฮ่องสอนเองก็มีหลายคนสมัครใจที่จะมาหยุดอยู่ที่นี่
    แต่จะมีสักกี่คนที่สังเกตว่าระหว่างเส้นทางจากเชียงใหม่ ผ่านอ.ปาย อ.ปางมะผ้า ถึงตัวเมืองแม่ฮ่องสอนไม่ได้มีเพียงถ้ำหรือน้ำตกเท่านั้นที่น่าสนใจ จุดชมวิวที่บางคนเห็นแล้วก็ขับรถผ่านเลยไป บางคนไม่เพียงแม้แต่จะมองเพราะหลับตลอดทาง ล้วนมีความน่าสนใจเช่นกัน ทั้ง จุดชมวิวกิ่วลม อ.ปางมะผ้า และ จุดชมวิวลุกข้าวหลาม

    “จุดชมวิวกิ่วลม อ.ปางมะผ้า”
    อยู่ก่อนถึงถ้ำน้ำลอดไม่ไกล สามารถจอดรถเพื่อชมทิวทัศน์ทั้ง 2 ข้างทางได้ เมื่อเปิดประตูรถออก คุณจะได้พบกับลมหนาวที่มาปะทะหน้าขนาดทำให้แอร์ในรถต้องชิดซ้าย กลิ่นอากาศผสมออกซิเจนล้วนๆ ไม่ปนสารพิษลอยมาติดที่ปลายจมูก เราทุกคนพากันสูดเข้าไปลึกๆ เพราะอากาศแบบนี้ต่อให้มีเงินมากแค่ไหนก็หาซื้อไม่ได้ ทิวเขาที่ปรากฎเบื้องหน้ามีมากมายเกินจะนับได้ ที่อยู่ใกล้ก็เป็นสีเขียวสด สีเขียวแก่ ที่อยู่ไกลก็เป็นสีน้ำเงินเข้ม และที่อยู่ไกลลิบๆ นั่นก็ปรากฎเป็นภาพเลือนลางสีเทาจางๆ แต่มันกลับปรากฎชัดเจนในใจของเรา
    และเมื่อเลยมาจากถ้ำน้ำลอดไม่ไกลก็จะมาถึง “จุดชมวิวลุกข้าวหลาม” เราไปถึงจุดนี้ในเวลาประมาณบ่าย 3 โมง แต่ภาพที่เอามาอวดคนที่ไม่ได้ไปทุกคนต่างถามว่า “นี่ตอนเช้าใช่มั้ย” หรือไม่ก็ต้องถามว่า “นี่ใกล้พระอาทิตย์จะตกดินแล้วเหรอ” ถึงจะบอกความจริงไปก็ยากที่ใครจะเชื่อ ที่ริมถนนสายคดเคี้ยวสายหนึ่ง กับทางลาดเล็กน้อยพร้อมร้านค้าของเหล่าชาวเขาที่ขนเอาสินค้าฝีมือตัวเองออกมาเขย่าสายตานักท่องเที่ยว แนวรั้วไม้ที่เจ้าหน้าที่นำมากันนักท่องเที่ยวพลัดตก ต้นสนหลายต้นที่ขึ้นระเกะระกะและป้ายยินดีต้อนรับอันน้อย ทุกอย่างวางได้อย่างลงตัวพอเหมาะพอเจาะ ประกอบกับทิวทัศน์และบรรยากาศข้างหลังอุปกรณ์ตกแต่งพวกนี้ หรือข้างหน้าพวกเรามันก็งามเสียจนพูดไม่ออก ได้แต่เก็บไว้ในใจว่า “สวยจัง...หนาวด้วย
    กับทางแยกเล็กๆ ข้างหน้า เมื่อมาถึงแล้วก็ต้องตัดสินใจกันสักทีว่าจะเลี่ยง หรือ เสี่ยง หากเลี่ยงคุณก็แค่ผ่านเลยไปยังจุดหมายอื่นๆ ตามที่คุณกำหนดไว้ แต่หากคุณเสี่ยงที่จะเข้าไป สิ่งที่คุณได้จะเป็นอีกมุมหนึ่งของแม่ฮ่องสอนที่หลายคนไม่เคยมีโอกาสสัมผัส ขอบอกว่าไม่น่าเสียดายเวลาเพียงเล็กน้อยนั่นเลย เพราะ...จุดหมายไม่สำคัญเท่าระหว่างทาง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.jpg
      1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      8.9 KB
      เปิดดู:
      51
  6. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    บทความชิ้นนี้ดีมากค่ะ

    ยามมองดูแผนที่อย่างจริงจัง ข้าพเจ้ารู้สึกทุกครั้งว่าแม่น้ำใหญ่สองสายนั้นเป็นเหมือนแขนสองข้างของแผ่นดินไทย แม่น้ำโขงที่ไหลขนาบขอบแดนด้านตะวันออกตั้งแต่เหนือสุดไปจนสุดแดนอีสานเป็นแขนซ้าย และแม่น้ำสาละวินที่เลียบเข้ามาเฉียดพรมแดนด้านตะวันตกเพียงระยะทางสั้น ๆ นั้นเป็นแขนข้างขวา ผืนแผ่นดินรูปขวานโบราณหรือรูปต้นไม้-ตามแต่สายตาใครจะมอง ได้รับการโอบกอดและหล่อเลี้ยงโดยมหานทีสองสายนี้ รวมทั้งห้วยธารสาขาที่แตกแขนงไปในลุ่มน้ำ แต่ที่ผ่านมาดูเหมือนว่าคนไทยโดยทั่วไปจะรู้จักและรู้สึกมีเยื่อใยแต่กับแม่น้ำทางตะวันออก ส่วนกับมหาธารอีกสายดูจะตรงกันข้าม ข่าวสารเกี่ยวกับแม่น้ำสาละวินที่เรารู้ มักไม่พ้นเรื่องราวของสงคราม การเข่นฆ่า ป่าดงแดนกันดาร ความดิบเถื่อน และความขัดแย้งที่ยืดเยื้อมากว่าครึ่งศตวรรษ หรือใกล้เข้ามากว่านั้น เราก็คุ้นชื่อสาละวินในฐานะแหล่งซุงไม้สัก ป่าสาละวินเป็นถิ่นไม้เถื่อน เป็นทางผ่านของแรงงานเถื่อนที่ข้ามสายน้ำมาสู่ฝั่งไทย นานนักแล้วที่ความคลุมเครือแปลกหน้าและความไม่ไว้วางใจครอบคลุมลำน้ำและสองฟากฝั่ง จนปัจจุบันสาละวินจึงยังเป็นคล้ายแม่น้ำลึกลับ และอาจรวมความรู้สึกไปถึงการไม่เฉียดกราย ผู้คนในประเทศไทยส่วนใหญ่จึงไม่เคยรู้ว่าลุ่มน้ำสาละวินคือที่รวมความหลากหลายทางชีวพันธุ์ที่สำคัญของโลก เป็นแหล่งโบราณคดีที่เป็นต้นธารอารยธรรมของมนุษยชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยังคงมีชีวิตอยู่มากมายในลุ่มน้ำนั้นมาจนทุกวันนี้ สาละวินไม่ใช่แม่น้ำอาภัพกลางป่าเบญจพรรณแห้งแล้งที่ปราศจากผู้คน อย่างที่นักแสวงผลประโยชน์กล่าวอ้าง

    สาละวินรินไหลอยู่กลางป่าเขาห่างไกลและให้ความรู้สึกว่าเป็นแม่น้ำลี้ลับก็จริง แต่ความลึกลับนั้นก็เป็นเสน่ห์ที่น่าค้นหา-มิใช่หรือ ?

    ข่าวสารเกี่ยวกับแม่น้ำสาละวินที่เรารู้มักไม่พ้นเรื่องราวของสงคราม ความดิบเถื่อน และความขัดแย้งที่ยืดเยื้อมากว่าครึ่งศตวรรษ หรือใกล้เข้ามากว่านั้น เราก็คุ้นชื่อสาละวินในฐานะแหล่งซุงไม้สัก และเป็นทางผ่านของแรงงานเถื่อนที่ข้ามสายน้ำมาสู่ฝั่งไทย นานนักแล้วที่ความคลุมเครือแปลกหน้าและความไม่ไว้วางใจครอบคลุมลำน้ำและสองฟากฝั่ง จนปัจจุบันสาละวินจึงยังเป็นคล้ายสายน้ำลึกลับ

    ซุงสาละวินหลักฐานประกอบคำยืนยันของผู้เฒ่าที่บ้านท่าตาฝั่ง ที่แกบอกว่า “ใครว่าคนภูเขาเป็นตัวการทำลายป่า อยากให้มาดูของจริง” ชนเผ่าในหมู่บ้านริมฝั่งน้ำคงไม่มีกำลังความสามารถที่จะตัดและค้าซุงได้อย่างมโหฬารเช่นนี้

    โดยทางรถยนต์ มีทางสายเดียวที่สามารถไปถึงริมฝั่งสาละวิน คือเข้าไปตามทางหลวงหมายเลข ๑๑๙๔ ซึ่งมีต้นทางอยู่ที่อำเภอแม่สะเรียง (แม่ฮ่องสอน)

    แม่สะเรียงใน พ.ศ. นี้ ยังสงบและงดงามตามที่ควรจะเป็น ตัวอำเภอขนาดใหญ่แต่ไม่แออัดและยังไม่เป็นป่าคอนกรีต ตั้งอยู่ในแอ่งลุ่มน้ำยวม รายล้อมด้วยผืนนา และไกลออกไปคือทิวเทือกเขาสีครามที่ซับซ้อนเรียงรายอยู่ใต้แพรหมอกขาวฟุ้งเหมือนปุยเมฆ

    น้ำยวมไหลมาจากทางเหนือ เลียบแดนด้านตะวันตกของตัวเมืองแล้วไหลผ่านลงไปทางใต้ มองจากสิ่งปลูกสร้าง อาคาร วัดวาอาราม ผ่านเข้าไปในวิถีชีวิตของผู้คน ก็พอมองเห็นถึงรากฐานทางวัฒนธรรมที่ยาวนานของชุมชน และจนบัดนี้ก็ยังคงแน่นแฟ้น บรรยากาศของตลาดในตัวอำเภอยังไม่ห่างไกลจากหมู่บ้านตามชนบท ผู้คนรู้จักกันทั่วทั้งตลาด สินค้าอาหารที่นำมาซื้อขายกันส่วนใหญ่ผลิตขึ้นในท้องถิ่น ผักปลาพื้นบ้าน ดอกไม้พื้นเมือง ผู้เฒ่าในชุดเสื้อผ้าล้านนาสูบยาขี้โย เป็นภาพที่ยังมีให้เห็น เป็นแง่งามของอดีตที่ยังแจ่มชัดอยู่ในปัจจุบัน

    จากตัวตลาดข้ามไปอีกฟากหนึ่งของแม่น้ำยวม คือจุดเริ่มต้นของทางหลวงหมายเลข ๑๑๙๔ ตามถนนสายนี้ไปจนสุดสาย ระยะทางประมาณ ๔๖ กิโลเมตร ณ ที่นั่น สาละวินทอดขวางอยู่ข้างหน้า

    ทางลาดยางขนาดสองเลนนำผู้ที่สัญจรไปบนสันหลังของมันออกจากเมืองมุ่งหน้าไปทางตะวันตกเฉียงใต้ ฝ่าไปกลางที่ราบลุ่มที่ถูกแปลงเป็นทุ่งนา และกลายมาเป็นทุ่งเลี้ยงวัวในยามที่อยู่นอกฤดูกาลเพาะปลูก ตามเส้นทางมีชุมชนน้อยใหญ่ตั้งอยู่เป็นระยะ นับจากบ้านทุ่งแล้ง บ้านน้ำดิบ บ้านทุ่งแพม บ้านห้วยทราย บ้านห้วยสิงห์ บ้านแม่กองแป ไปจนถึงบ้านห้วยโผ อันเป็นช่องประตูเข้าไปสู่ดงภูเขา หมู่บ้านเหล่านี้เป็นชุมชนในลุ่มน้ำสาละวินทั้งหมด เลยจากบ้านห้วยโผเข้าไป ระยะทางที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งเป็นถนนบนภูเขา

    เหมือนกับเส้นทางภูเขาสายอื่น ๆ ถนนสู่สาสะวินครึ่งหลังทอดเลื้อยไปตามไหล่เขา ข้ามกิ่วดอย ทาบไปบนสันเขา เลียบริมเหวสูง คดโค้งไปตามสภาพภูมิประเทศ ถนนลาดยางดำเมื่อมเหมือนงูยักษ์เลื้อยไปกลางป่าดิบแล้ง แต่ความคอดโค้งอันอ่อนช้อยของมันทำให้เส้นทางกลางไพรดูงดงามน่ารักมากกว่าน่าเกลียดน่ากลัว

    ถนนทำให้ภูเขาเหวอะหวะ แต่ก็ด้วยบาดแผลเหล่านี้ที่เชื่อมร้อยโลกอันแตกต่างห่างไกลให้เข้าถึงกันได้

    สำหรับข้าพเจ้า การได้ท่องไปตามทางเปลี่ยวที่มีแต่ภูไพรอันไพศาลขนาบข้าง นับเป็นความรื่นรมย์ที่ไม่เคยน่าเบื่อหน่าย

    จากสันปันน้ำของเทือกเขาถนนธงชัยตะวันตก ลงมาทางฟากตะวันตกอันได้แก่พื้นที่ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ลงไปจนถึงอำเภอแม่สอดของจังหวัดตาก คือพื้นที่ของลุ่มน้ำสาละวิน อันมีน้ำปาย น้ำยวม น้ำแม่สะเรียง น้ำเงา น้ำเมย เป็นแม่น้ำสาขาที่สำคัญ ภูเขาในแถบนี้เป็นแดนของป่าเบญจพรรณที่มีไม้สักงอกงามอยู่ทั่วขุนเขา ข่าวคราวในอดีตร่ำลือกันว่าที่นี่คือแหล่งของไม้สักทองอันเลื่องชื่อ ไม้จำนวนมหาศาลถูกตัดโค่นและขนออกไปจากป่าอย่างครึกโครม

    ริมทางในเขตภูเขาไม่มีบ้านเรือนคน จะมีอยู่บ้างเพียงกระท่อมหลังน้อยของคนภูเขาที่จากหมู่บ้านมาเลี้ยงวัวหรือปลูกผักอยู่เพียงลำพัง ชีวิตอันโดดเดี่ยวตามซอกเขาหรือริมสายน้ำช่วยทำให้ทางป่าไม่เปลี่ยวร้างจนเกินไป

    คนนำทางของข้าพเจ้า-ผู้เคยไปเห็นสาละวินมาก่อนบอกว่า “สาละวินดูสงบแต่มีอำนาจ แม่น้ำไหลนิ่งแต่ดูลึกลับ ไม่มีใครหยั่งรู้ถึงความน่ากลัวของมัน” ข้าพเจ้าได้แต่จินตนาการตาม จนได้ไปเห็นด้วยตาตัวเองจึงเข้าใจ

    จู่ ๆ ปลายทางก็มาถึงจุดสิ้นสุดบนหน้าผาสูง ข้างล่างเป็นหุบกว้างและลึก โขดหินมหึมาเรียงรายสลอน ขุนเขาทึบทะมึนที่ขนาบข้างขับให้โตรกธารที่ไหลหลั่งอยู่กลางร่องหุบดูขรึมขลังน่ากลัวราวเป็นแม่น้ำของโลกดึกดำบรรพ์

    ข้าพเจ้ารู้ได้เองในนาทีนั้นว่า ที่นี่คือริมฝั่งสาละวิน

    เมื่อเข้าไปสัมผัสใกล้ ๆ ทุกอย่างยิ่งขยายใหญ่ขึ้น โขดหินใหญ่โตเป็นภูเขาลูกย่อม ๆ สายน้ำเหมือนร่างพญานาคที่เลื้อยไหลลงมาจากฟ้า แล้วซอกซอนหายเข้าไปในความลึกลับซับซ้อนของทิวเขาข้างหน้า

    แม่น้ำที่เคยเต็มฝั่งในหน้าฝนยอบตัวลงในฤดูแล้ง แต่ก็ยังดูกว้างใหญ่ ฝั่งตรงข้ามยังอยู่ไกลลิบ ผืนน้ำกว้างจนดูเคลื่อนไหลเอื่อยช้า อืดอาด เกลียวน้ำหมุนวน ซ่อนความเชี่ยวกล้าไว้ในความลึก ไร้เสียงหลั่งหลากซัดเซาะฝั่ง มีแต่ครืนคำรามครืดคราดที่ฟังแปลกประหลาดไม่เคยได้ยินจากแม่น้ำสายอื่นใด

    ตำรวจหนุ่มในหนังเรื่อง สาละวิน ของ ม.จ. ชาตรีเฉลิม ยุคล บรรยายถึงความรู้สึกของเขาต่อแม่น้ำสาละวินว่า “สาละวินไม่ใช่เป็นแต่เพียงแม่น้ำ แต่เป็นอะไรบางอย่างที่สามารถกลืนวิญญาณของคนที่อยู่ริมฝั่งทั้งสอง มันเป็นพลังดึงดูดที่ลึกลับและมีพลังมหาศาล”

    แต่ในเพลงทาของชนเผ่าปกากะญอ ผู้เป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิม บอกว่า สาละวินเป็นสายน้ำที่หลากไปบนผาหิน และความจริงก็ดูจะเป็นเช่นนั้น ตามริมฝั่งมีที่ราบน้อย ที่แม่สามแลบก็เช่นเดียวกัน ถนนสายเล็ก ๆ ในหมู่บ้านเลื้อยเลาะไปตามลาดเขา ด้านหนึ่งเป็นผาชัน อีกฟากหนึ่งเป็นเหวลึก บ้านเรือนของชาวบ้านปลูกเรียงรายต่อกันไปริมถนนด้านนี้

    บ้านส่วนใหญ่เป็นกระท่อมหลังคามุงตองตึง หน้าบ้านเกยอยู่บนไหลถนน ส่วนด้านหลังโล่งลิ่วอยู่เหนือเหวลึก เสาเรือนด้านนี้ยาวชะลูดเป็นสิบ ๆ เมตร หยั่งลงไปในความลาดลึกของเหวห้วย

    ทิวกระท่อมสีใบไม้แห้งที่เรียงรายอยู่ในหุบเขาสีน้ำเงิน ณ วันนี้ คือชุมชนของความหลากหลาย ทางชาติพันธุ์ ทั้งที่เพิ่งอพยพเข้ามาและที่อยู่ในเขตประเทศไทยมาแต่เดิม คนเหล่านี้เป็นพี่น้องเครือญาติกันมาก่อนที่แผ่นดินและสายน้ำจะมีเส้นพรมแดน

    โดยฐานะด้านการปกครอง แม่สามแลบเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน แต่โดยความสำคัญทางการค้า ปัจจุบันแม่สามแลบเป็นท่าเรือใหญ่สุดของชายแดนด้านตะวันตก ริมฝั่งน้ำคลาคล่ำด้วยเรือบรรทุกสินค้า ผลผลิตการเกษตร พริก ข้าว พืชไร่ รวมทั้งวัวควายที่ลำเลียงออกจากหมู่บ้าน ส่วนสินค้าหลักที่นำเข้าไปสู่หมู่บ้าน ได้แก่ น้ำมันพืช เสื่อ รองเท้า

    จากท่าแม่สามแลบสามารถหาเรือโดยสารล่องตามน้ำลงไปได้ถึงหมู่บ้านสบเมย หรือย้อนทวนแม่น้ำขึ้นไปได้จนถึงบ้านจอท่า อันเป็นช่วงที่แม่น้ำไหลเข้ามาแตะแผ่นดินไทย

    คนเดินทางผู้เดินไปก่อน เคยบันทึกถึงการสัญจรในช่วงนี้เอาไว้อย่างได้ความรู้สึกว่า “ท่องเรือหางยาวขึ้นไปยังจอท่า หรือล่องลงไปปากแม่น้ำเมย นั่นหมายความว่าเรากำลังลาดตระเวนไปตามชายขอบแนวรบด้านตะวันตก อยู่กลางสายน้ำอันรุนแรง มีหินผาและเทือกเขาสูงชันโอบกอดอยู่ใกล้ ๆ ถ้าเรามีความกล้าก็ไม่ยากเย็นอะไรที่จะเสาะหาเรือพร้อมทั้งนายท้ายที่กร้านแกร่งและเจนจัดสาละวิน แล้วเราจะไม่มีวันลืมการผ่านไปสู่แม่น้ำแห่งสงครามที่ไม่เคยสิ้นสุด...”

    คนปกากะญอในหมู่บ้านริมฝั่งสาละวินรุ่นเก่าก่อน เคยเดินทางขึ้นไปตามหาต้นน้ำ ห่อเสบียงข้าวปลาไปกินกันพร้อมสรรพ แต่เดินไปเท่าไรก็ไม่ถึงต้นน้ำสักที

    มันก็ควรจะเป็นอย่างนั้น เพราะมาถึงทุกวันนี้เป็นที่รู้กันชัดแจ้งแล้วว่า ต้นกำเนิดของสาละวินอยู่ไกลถึงประเทศทิเบต บนความสูงกว่า ๔,๐๐๐ เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (ม. รทก.) ไหลผ่านภูเขามานับร้อยพันเทือก เป็นระยะทางนับพันกิโลเมตร ลงมาอยู่ที่ความสูงไม่ถึง ๓๐๐ ม.รทก. จึงวกเข้ามาแตะแผ่นดินไทยที่ผาตั้ง ชายแดนด้านตะวันตกในอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน แล้วไหลเลียบเป็นเส้นพรมแดนประเทศไทย-พม่า เป็นระยะทางราว ๑๑๘ กิโลเมตร จนถึงบ้านสบเมย อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน อันเป็นจุดที่แม่น้ำเมยไหลลงมาบรรจบ จากนั้นแม่น้ำสาละวินก็วกเข้าสู่แผ่นดินของรัฐกะเหรี่ยง และเดินทางต่อไปอีก ๒๐๐ กิโลเมตร ก็ออกสู่ทะเลอันดามันที่อ่าวเมาะตะมะ เมืองมะละแหม่ง ในรัฐมอญ บริเวณนั้นเป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงในฤดูน้ำหลาก เนื้อที่หลายล้านไร่ เป็นเขตที่มีการตั้งชุมชนหนาแน่นที่สุดในลุ่มน้ำสาละวิน คนท้องถิ่นส่วนใหญ่ดำรงชีวิตด้วยอาชีพเกษตรกรรม โดยอาศัยปุ๋ยตามธรรมชาติที่พัดพามากับน้ำในหน้าน้ำหลาก และเป็นแหล่งปลาน้ำจืดที่อุดมสมบูรณ์ด้วย

    ตลอดระยะทาง ๒,๘๐๐ กิโลเมตรของความยาวแม่น้ำทั้งสาย สาละวินไหลผ่านชุมชนชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ไม่ต่ำกว่า ๑๓ เผ่าพันธุ์ อาทิ ไต (ไทใหญ่) คะเรนนี (กะเหรี่ยงแดง) กะเหรี่ยง ยะไข่ ปะโอ ปะหล่อง (ดาระอั้ง) ปะด่อง (กะเหรี่ยงคอยาว) อาข่า ลีซู ลัวะ (ละว้า) มอญ ยินตาเล ปกากะญอ

    เพลงทาปกากะญอร้องว่า สาละวินไหลหลั่งไปบนแผ่นหิน ด้วยทางน้ำหลั่งไหลไปกลางโตรกเขา ฟากฝั่งขนาบด้วยผาหิน ท้องน้ำเป็นร่องลึกเหมือนก้นกรวย บางช่วงร่องน้ำลึกจนไม่มีใครหยั่งถึง บางช่วงทางน้ำถูกบีบแคบเป็นระยะทางยาวนับสิบกิโลเมตรก่อนออกสู่วังน้ำวนที่พร้อมจะดูดกลืนทุกสิ่งลงสู่ก้นแม่น้ำ กระแสน้ำสาละวินจึงเชี่ยว กล้า น่ากลัว และด้วยทางผ่านที่เป็นผาหินเป็นส่วนใหญ่ ทำให้กระแสน้ำโดยเฉพาะในช่วงต้นน้ำไม่ขุ่นข้น แต่ออกเขียวใสและเยือกเย็น เพราะต้นกำเนิดน้ำมาจากการหลอมละลายของธารหิมะบนยอดเขาสูง

    โคโหล่โกล๊ะยวาลอเลอะเหล่อโข่

    สาละวินไหลหลั่งไปบนแผ่นหิน

    เพลงทาปกากะญอร้องถึงแม่น้ำที่ไม่เคยไปเห็นต้นน้ำ ขณะที่ผู้คนบนหลังคาโลก ถิ่นกำเนิดของแม่น้ำสายนี้ ก็เรียกต้นสายของสาละวินในภาษาทิเบตที่แปลได้ว่า Rock River (ธาราผาหิน) เมื่อผ่านเข้ามาสู่แผ่นดินยูนนาน ชาวจีนเรียก นูเจียง (แม่น้ำเกรี้ยวกราด) ตามลักษณะการหลากสายที่ดุดันของมัน จนผ่านมาถึงใจกลางของรัฐฉาน สู่รัฐคะยา รัฐกะเหรี่ยง รัฐมอญ รวมทั้งในล้านนาตะวันตกของประเทศไทย ผู้คนบนดินแดนเหล่านี้ต่างขานนามมันตรงกันว่า แม่น้ำคง มีเพียงชาวพม่าที่เรียก ตาลวิน แล้วคนอังกฤษมาออกเสียงเพี้ยนเป็น สาละวิน (Salween) แต่ก็ได้กลายมาเป็นชื่อหลักในปัจจุบัน

    ทุกวันนี้สองฟากฝั่งสาละวินตลอดทั้งสายยังไม่มีเมืองใหญ่หรือเขตอุตสาหกรรม แม่น้ำนานาชาติสายยาวติดอันดับ ๒๖ ของโลก จึงยังคงสภาพตามธรรมชาติอยู่มาก เป็นแขนข้างขวาที่แข็งแกร่งและอบอุ่นของผืนแผ่นดินรูปขวานโบราณ


    ในยุคที่แม่น้ำแทบทุกสายในเมืองไทยและอาจรวมถึงทั่วโลก กำลังถูกตัดฟันหั่นท่อนด้วยคมของคันเขื่อน สาละวินเป็นแม่น้ำใหญ่สายเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ยังได้ไหลอย่างเสรี--ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปากอ่าว-ยังไม่มีคันเขื่อนกั้นขวางทางน้ำ

    การที่แม่น้ำไม่ถูกปิดกั้นทำให้การเคลื่อนไหวแพร่พันธุ์ของพืชและสัตว์ดำเนินไปได้ตามธรรมชาติทั้งในลำน้ำและระหว่างฟากฝั่ง--แม้จะอยู่คนละรัฐชาติ แต่ในโลกธรรมชาตินั้นไม่เคยมีพรมแดน-ใช่ไหม ?

    ในแม่น้ำสาละวินและลำน้ำสาขาที่อยู่ในประเทศไทยอย่างน้ำปาย น้ำยวม น้ำเงา จึงพบปลาไหลหูดำหรือปลาตูหนา ซึ่งเป็นปลาที่วางไข่กลางทะเลลึก แล้วขึ้นมาเติบโตอาศัยในแม่น้ำ นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุ์ปลายังเชื่อว่า ตลอดระยะทางยาวไกลของแม่น้ำใหญ่อาจมีพันธุ์ปลาน้ำจืดมากถึง ๒๐๐ ชนิด และชาวบ้านที่ริมฝั่งน้ำยังเคยเห็นจระเข้ในแม่น้ำสาละวินช่วงเหนือขึ้นไปจากบ้านแม่สามแลบ

    ตลอดระยะทางยาวไกลตั้งแต่ยอดเขาหิมะจนถึงปากอ่าวอันดามัน สาละวินไหลผ่านภูมิอากาศที่แตกต่างกันมาก จากเขตแห้งแล้ง หนาวเย็น มีหิมะปกคลุมเกือบตลอดปีในแถบต้นน้ำ สู่เขตมรสุมที่มีป่าฝนเขตร้อนแบบต่าง ๆ ในช่วงกลางและปลายน้ำ

    ป่าสาละวินจึงมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงยิ่ง โดยเฉพาะในแถบที่ไหลผ่านชายแดนไทยนั้นถือเป็นแหล่งภูมิพฤกษ์แบบอินโดเบอร์มา (Indo-Burma) ซึ่งเป็นรอยต่อของระบบนิเวศวิทยาเขตชีวภูมิศาสตร์ย่อยอินโดจีน (Indo-Chinese Subregion) กับเขตชีวภูมิศาสตร์ย่อยสิโนหิมาลายัน (Sino-Himalayan Subregion) เนื่องจากป่าสาละวินได้รับอิทธิพลด้านการกระจายพันธุ์ของสัตว์และพืชมาจากเทือกเขาหิมาลัย ทำให้ป่าแห่งนี้มีสังคมพืชที่แตกต่างจากที่อื่น เป็นสังคมพืชผลัดใบในเขตมรสุม โดยเฉพาะป่าเบญจพรรณที่มีไม้สักเป็นไม้เด่น นักชีววิทยาให้การยอมรับว่าลุ่มน้ำสาละวินเป็นศูนย์กลางการกระจายพันธุ์ไม้สักของโลก และรัฐบาลไทยก็ได้มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๓ ประกาศให้ป่าสาละวินบริเวณพรมแดนประเทศไทย-พม่าเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ

    ในฐานะบ้านของสัตว์ป่า ป่าสาละวินเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์หายาก ๔๕ ชนิด อาทิ เสือโคร่ง เสือไฟ กวางผา กระทิง และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ อีกไม่ต่ำกว่า ๒๐ ชนิดที่มีการบันทึกไว้ใน “รายงานการจัดทำแผนปฏิบัติการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลุ่มน้ำสาละวิน” ของศูนย์วิจัยป่าไม้ รายงานฉบับเดียวกันระบุข้อมูลพันธุ์สัตว์ปีก ๑๒๒ ชนิด เป็นนกประจำถิ่น ๑๐๘ ชนิด ที่เหลือเป็นนกที่อพยพเข้ามาในช่วงฤดูหนาว และยังมีนกบางชนิดที่หาได้ยากในเมืองไทย แต่พบได้ในป่าสาละวิน ได้แก่ นกยูงไทย เหยี่ยวภูเขา รวมทั้งนกน้ำและนกที่ชอบหากินแถบใกล้ชายน้ำอย่างนกกาน้ำ นกอ้ายงั่ว และเป็ดหงส์ ส่วนสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกก็มีอยู่ไม่น้อยกว่า ๓๘ ชนิด รวมทั้งเขียดแลวหรือกบภูเขา ซึ่งเป็นสัตว์ในโครงการอนุรักษ์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

    สัตว์ไพรเหล่านี้อยู่ร่วมผืนดินเดียวกับผู้คนในลุ่มน้ำสาละวินมายาวนานนับหมื่นปีแล้ว

    ๑๐,๐๐๐ ปี

    ไม่ใช่ตัวเลขกล่าวอ้างอย่างเลื่อนลอย วันเวลายาวนานบนบรรทัดประวัติศาสตร์นี้เป็นข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้าทางมานุษยวิทยา กระทั่งพบว่าลุ่มน้ำสาละวินเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณของมนุษยชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีอายุเก่าแก่ ๑๒,๐๐๐-๘,๐๐๐ ปี รวมทั้งมีการสันนิษฐานว่าบริเวณนี้เป็นศูนย์กลางการดำเนินชีวิตแบบเกษตรกรรมยุคเริ่มแรกแห่งหนึ่งของโลก

    แหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีในแถบนี้ได้แก่ ถ้ำผี ซึ่งอยู่ในภูเขาซับซ้อนทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน ในเขตอำเภอแม่สะเรียง บริเวณที่เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสาละวินในปัจจุบัน

    โดยความจริงทางประวัติศาสตร์ ลุ่มน้ำสาละวินจึงไม่ใช่แค่แดนดิบเถื่อนไกลโพ้นที่ล้าหลัง ทว่าควรถือเป็นดินแดนสำคัญในฐานะต้นธารอารยธรรมของมนุษยชาติในระดับสากล


    มีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์อยู่มานับหมื่นปี แต่จนทุกวันนี้ลุ่มน้ำสาละวินยังไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก ชุมชนในเขตฝั่งไทยที่ส่วนใหญ่เป็นชนเผ่าปกากะญอ ยังคงวิถีของคนอยู่กับป่า กระท่อมหรือบ้านเรือนยังคงกลมกลืนอยู่กับป่าเขาธรรมชาติตามวิถีเดิม ถ้าล่องตามลำน้ำส่วนที่เป็นเส้นพรมแดนไล่ลงมาจากทางเหนือสุดก็จะเห็นบ้านแม่ดึ๊ บ้านท่าตาฝั่ง บ้านแม่สามแลบ และบ้านสบเมยเท่านั้น ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งน้ำทางตะวันออกหรือฝั่งซ้ายของแม่น้ำ แต่หากเดินลัดเลาะขึ้นไปตามลำห้วยสาขาสายน้อยใหญ่ ก็จะพบหมู่บ้านแฝงตัวอยู่ตามริมห้วย เชิงเขา อีกไม่น้อยกว่า ๕๐ แห่ง บางชุมชนมีอายุหลายสิบปีหรืออาจเป็นร้อยปี ขณะที่บางชุมชนเป็นหมู่บ้านที่ไม่ปรากฏอยู่บนแผนที่ประเทศไทย และคนทั้งชุมชนไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎรของทางราชการ ทั้งที่เกิด แก่ ตายกันอยู่ในถิ่นนั้นสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน

    ส่วนว่าผู้คนในลุ่มน้ำสาละวินเขาอยู่กินกันอย่างไร ให้เจ้าของถิ่นเขาเล่าเองคงจะน่าฟังกว่า

    “เราอยู่กันแบบเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวของในหลวงนั่นแหละ” พ่อหลวงนุ ชำนาญคีรีไพร ผู้ใหญ่บ้านแม่ก๋อน ตำบลแม่คง (อำเภอแม่สะเรียง) อธิบายถึงวิถีชีวิตที่เรียบง่ายของชนเผ่าปกากะญอให้ง่ายกับการเข้าใจของคนภายนอก

    ชีวิตคนปกากะญอนั้น แค่ให้มั่นใจว่ามีข้าวพอกินตลอดปีก็มีความสุขได้แล้ว การปลูกข้าวจึงเป็นการงานที่ถูกจัดวางความสำคัญไว้เป็นลำดับแรกสุด ปกากะญอในลุ่มน้ำสาละวินก็เช่นกัน

    “อาชีพหลักก็ทำนา ทำไร่ เลี้ยงควายเลี้ยงหมูบ้าง นอกนั้นก็ปลูกผักพวกพริก มะเขือ ถั่ว มัน ตามฤดูกาล” พ่อหลวงนุขยายความให้เห็นภาพเศรษฐกิจพอเพียงของคนในหุบเขา ต่อจากที่เกริ่นไว้ตอนต้น

    หมู่บ้านที่พอมีพื้นที่ราบลุ่มเล็ก ๆ ตามริมแม่น้ำพอบุกเบิกเป็นแปลงนาได้ ก็จะทำนากันเป็นหลัก นอกนั้นก็ปลูกข้าวไร่ ซึ่งหมิ่นเหม่ต่อข้อกล่าวหาตราบาปตลอดกาลว่าเป็นผู้ตัดไม้ทำลายป่า-ทำไร่เลื่อนลอย

    ไร่ข้าวบนภูเขาเลื่อนที่ไปทุกปีก็จริง แต่ไม่ใช่การทิ้งร้างอย่างเลื่อนลอยตามการให้ความหมายของทางราชการ หากเป็นการหมุนเวียนเปลี่ยนที่ไปอย่างมีระบบแบบแผน และมีการวนกลับมาใช้พื้นที่เก่าในช่วง ๕-๘ ปีหลังจากปล่อยให้ดินและป่าฟื้นตัวแล้ว คนภูเขาจึงเรียกไร่ข้าวของพวกเขาอย่างตรงไปตรงมาตามความเป็นจริงว่า ไร่หมุนเวียน

    นอกจากนี้การเข้าใช้พื้นที่ยังเต็มไปด้วยกฎเกณฑ์ความเชื่ออย่างเคารพนบนอบและสะท้อนถึงความเป็นผู้เข้าใจธรรมชาติ

    “ทำไร่มาแต่ดึกดำบรรพ์” พ่อเฒ่าจาอู ศรีมาลี ผู้อาวุโสของหมู่บ้านท่าตาฝั่ง ตำบลแม่ยวม (อำเภอแม่สะเรียง) บอกความยาวนานที่ไร่หมุนเวียนเกี่ยวพันอยู่กับชีวิตของชนเผ่าปกากะญอ

    พ่อเฒ่ามาอยู่ที่ท่าตาฝั่งตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ แต่หมู่บ้านมีมาก่อนหน้านั้น และเป็นหมู่บ้านสำคัญบนริมฝั่งสาละวินมาแต่โบราณ มีโรงพักมาตั้งเมื่อปี ๒๔๖๖ แต่ต่อมาได้ย้ายออกไปอยู่ที่บ้านห้วยโผ ริมทางสายแม่สะเรียง-แม่สามแลบ

    สายตาที่เห็นโลกมายาวนานของพ่อเฒ่า มองโลกและธรรมชาติอย่างรอบรู้และเข้าใจ

    “ตัดไม้ในไร่ ๑ ต้น แตกขึ้นใหม่ ๒ กิ่ง โตเป็นไม้ ๒ ต้น มันเป็นประโยชน์”

    เรื่องเล่าของพ่อเฒ่าจาอูยังอยู่กับเรื่องไร่หมุนเวียน บอกเพื่อเน้นย้ำว่าไร่หมุนเวียนไม่ใช่สาเหตุแห่งความย่อยยับของผืนป่า และคนปกากะญอก็ไม่ใช่อาชญากร

    “เขาว่าคนภูเขาเป็นตัวการทำลายป่า อยากให้มาดูของจริง จะรู้ว่าไม่ใช่”

    แล้วใครที่ทำลายป่า ?

    “เคยได้ยินข่าวใช่ไหม ? การทำไม้ทางฝั่งตะวันตกโน่น ที่จริงมันก็มีการตัดไม้จากฝั่งไทยด้วย เอาข้ามไปตีตราว่าเป็นไม้ฝั่งโน้น แล้วก็ขนกลับเข้ามาฝั่งไทย”

    แม่น้ำใหญ่ที่เขาใช้ขนซุงราคาเป็นล้าน ๆ นั้น เป็นเพียงที่หาปลาของชาวบ้าน ครั้นถึงหน้าน้ำลดถดลงจากฝั่ง หาดทรายที่ผุดโผล่ขึ้นตามริมฝั่งก็จะกลายเป็นสวนเกษตรของคนริมฝั่งน้ำ หาดทรายขาวสะอาดที่ดูไม่น่าจะมีธาตุอาหารใด ๆ นั้น แท้จริงแล้วคือแหล่งสะสมอินทรียวัตถุที่น้ำพัดพามาทับถมไว้ พอน้ำลด ชาวบ้านเพียงแต่นำเมล็ดพันธุ์พืชผักมาลงไว้ ก็รอเก็บผลผลิตโดยไม่ต้องรดน้ำพรวนดินหรือใส่สารเคมีใด ๆ

    เป็นวิถีชีวิตและภูมิปัญญาที่สืบต่อกันมายาวนานเท่าอายุการตั้งถิ่นฐาน โดยไม่มีการบันทึกอย่างเป็นระบบระเบียบ จนเมื่อไม่นานมานี้ ชาวปกากะญอเขตฝั่งไทย ๕๐ ชุมชนในพื้นที่อำเภอแม่สะเรียงและอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้ร่วมกันบันทึกภูมิปัญญาความรู้ในรูปของงานวิจัยชาวบ้านไว้อย่างเป็นเรื่องเป็นราว และมีการพิมพ์ออกเผยแพร่เมื่อปลายปี ๒๕๔๘

    วิถีแม่น้ำ วิถีป่า ของปกากญอสาละวิน งานวิจัยปกากญอ ให้ภาพสายน้ำสาละวินในช่วงที่ไหลกั้นพรมแดนประเทศไทย-พม่าไว้อย่างละเอียดแทบว่าจะทุกคุ้งโค้งที่สำคัญของแม่น้ำ

    ตลอดระยะทางราว ๑๑๘ กิโลเมตรในช่วงที่สาละวินไหลเป็นเส้นพรมแดน ประกอบด้วยระบบนิเวศแยกย่อยได้ ๑๘ ระบบ อาทิ เก (แก่ง)-เป็นบริเวณที่มีปลาชุกชุมที่สุดตลอดทุกฤดูกาล กุย (วังน้ำ)-บริเวณกระแสน้ำวนที่เกิดจากลำน้ำสาขาไหลลงมาบรรจบกับสาละวิน เป็นที่ดักข่ายหาปลาที่สำคัญของชาวประมง ทีลอจอ-ผาน้ำตกเล็กๆ ติดฝั่ง หน้าน้ำหลากจะจมอยู่ใต้น้ำ ถึงยามแล้งเป็นแหล่งที่นกได้อาศัยกินน้ำ แมหมื่อโข่ (หาดกรวดหิน)-ทางข้ามแม่น้ำของสัตว์ป่า แมวาโข่ (หาดทรายขาว)-แปลงปลูกผักของชาวบ้าน และที่วางไข่ของนกหลายชนิด โหน่ (หนองน้ำ)-ที่หาปลาของชาวบ้านยามสาละวินลดระดับลง เว่ยจี-วังน้ำวนใหญ่ ตากวิน (ตา-กวิน)-โค้งน้ำใหญ่ที่สาละวินไหลอ้อมเป็นครึ่งวงกลม ตั้งแต่ท่าเรือบ้านท่าตาฝั่ง ไปจนสุดโค้งน้ำหน้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติสาละวิน ยามสาละวินเต็มฝั่งสามารถเดินเรือลัดโค้งไปได้ ถึงหน้าน้ำลด หาดทรายที่ปรากฏตัวขึ้นกลายเป็นพื้นที่เกษตรกรรมริมฝั่งที่ให้ผลผลิตสูง

    สาละวินเป็นสายน้ำใหญ่ที่เชี่ยวกรากและเต็มด้วยหินผาตลอดลำน้ำ ทำให้ชนิดของปลาและวิธีการจับปลาของคนประมงมีความหลากหลายมากและเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากแม่น้ำสายอื่น

    การจับปลาในสาละวินมีการใช้เครื่องมือพื้นบ้านมากถึง ๑๙ ชนิด ตามสภาพพื้นที่ ชนิดของปลา และฤดูกาล เครื่องมือหาปลาบางชนิดอย่างตะแมที้ (จับปลาเล็กโดยใช้หนอนด้วงเป็นเหยื่อล่อ) คิดค้นโดยผู้หญิง และเฉพาะผู้หญิงเท่านั้นที่ใช้เครื่องมือชนิดนี้จับปลา

    ในด้านพันธุ์ปลา งานวิจัยปกากญอบันทึกว่า มีปลาที่ชาวบ้านจับได้ ๗๐ ชนิด เป็นปลาหนัง ๒๒ ชนิด ปลาเกล็ด ๔๘ ชนิด ชาวประมงในทีมวิจัยเล่าว่า ชาวบ้านเคยเห็นปลาตัวใหญ่ในสาละวินยาวเท่าลำเรือหางยาว แต่ตัวใหญ่สุดที่เคยจับได้น้ำหนัก ๑๐๐ กว่ากิโลกรัม โดยจุดที่จับปลาได้มากที่สุดในฤดูปลาอพยพขึ้นมาจากทางปลายน้ำได้แก่ที่ ซูแมท่า อันเป็นจุดที่แม่น้ำเมยไหลลงบรรจบกับสาละวิน


    ถัดขึ้นไปบนหาดทรายริมฝั่งน้ำ เป็นพื้นที่อันอุดมด้วยแร่ธาตุที่มากับน้ำ ซึ่งแต่ละปีจะเกิดขึ้นในแต่ละที่ไม่แน่นอน ชาวบ้านถือว่าเป็นที่เกิดจากผี หรือธรรมชาติให้มา จึงไม่มีการถือครองสิทธิ์ ใครก็สามารถมาทำการเพาะปลูกได้ ครอบครัวไหนมาก่อนก็จับจองพื้นที่ได้ก่อน ใครมาทีหลังหากที่ถูกจองหมดแล้ว ก็สามารถขอแบ่งปันกันได้ การเพาะปลูกจะเริ่มต้นตั้งแต่ราวเดือนตุลาคม ถั่วลิสง ถั่วเขียว ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วฝักยาว ยาสูบ มะเขือเทศ แตงกวา แตงโม ผักกาด ฟักทอง มันเทศ กระเจี๊ยบ เหล่านี้เป็นตัวอย่างพืชพันธุ์ในแปลงเกษตรริมฝั่งทราย พอน้ำลดระดับลงก็หยอดเมล็ดพันธุ์ลงหลุม ไล่ตามระดับน้ำมาเรื่อย โดยต้องปลูกในช่วงที่ดินและทรายยังชื้นเพื่อให้เมล็ดงอกโดยไม่ต้องรดน้ำ การเกษตรบนหาดทรายไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมี ไม่ว่าปุ๋ยหรือสารกำจัดศัตรูพืช จนกระทั่งถึงฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งจะเริ่มในช่วงต้นปีไปจนถึงเดือนมีนาคม แต่พืชบางชนิดอย่างแตงโม มันเทศ ยาสูบ จะให้ผลผลิตต่อไปจนถึงฤดูน้ำหลากอีกครั้ง

    สูงขึ้นไปในสวนบนตลิ่งที่น้ำท่วมไม่ถึง เป็นสวนพืชล้มลุกจำพวกข้าวโพด ฟัก เผือก มัน บวบ ฟักทอง หม่อน กล้วย มะเขือ และไม้ผลยืนต้น ปลูกตั้งแต่ฤดูฝน เก็บกินได้ตลอดทั้งปี ที่สวนริมน้ำเป็นกรรมสิทธิ์ส่วนตน แต่ไม่มีการซื้อขายกัน

    ลึกเข้าไปในดงดอย งานวิจัยปกากญอ ระบุว่า มาคึ-ไร่หมุนเวียน เป็นการผลิตที่สำคัญที่สุดของชุมชนในป่าสาละวิน ทุกครอบครัวใช้พื้นที่ราว ๕-๘ แปลง หมุนเวียนทำไร่ไปปีละแปลง และวนกลับมาซ้ำที่เก่าหลังปล่อยให้ดินฟื้นตัว ๕-๘ ปี แต่หลังการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติสาละวิน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสาละวิน ทับลงบนที่ทำกินและหมู่บ้าน พื้นที่ทำไร่ถูกจำกัดเขตแคบเข้า ทำให้ต้องใช้พื้นที่ซ้ำเร็วขึ้น ในไร่หมุนเวียนของปกากะญอลุ่มน้ำสาละวิน มีการใช้พันธุ์ข้าว ๕๒ ชนิด และมีการปลูกพืชอื่น ๆ แซมลงอีกถึง ๑๓๐ ชนิด โดยในปีหนึ่ง ๆ แต่ละครอบครัวจะปลูกข้าว ๒-๕ พันธุ์ซึ่งมีเวลาเก็บเกี่ยวไม่พร้อมกัน ทำให้เบาแรงในหน้าเกี่ยว หรือหากข้าวปีก่อนใกล้หมด ก็จะปลูกข้าวที่ได้เกี่ยวเร็วเพื่อให้ได้ข้าวกินก่อน

    ในป่าสาละวินมีพืชพรรณอยู่มากมายเท่าใด คงไม่มีใครระบุจำนวนที่แน่นอนได้ แต่ที่ชาวบ้านรู้จักและได้ใช้ประโยชน์ในการบริโภคมี ๑๓๙ ชนิด นำมาเป็นอาหาร ๓๙ ชนิด ใช้เป็นยาสมุนไพร ๗๗ ชนิด และเป็นทั้งอาหารและสมุนไพรอีก ๒๓ ชนิด

    ยามได้พูดคุยเมื่อพบหน้ากัน ผู้คนในลุ่มน้ำมักพูดว่าพวกเขาเป็นคนบ้านป่าที่ไม่มีความรู้ อยากให้คนที่มีการศึกษาสูง ๆ มาให้ความรู้ช่วยเหลือกันบ้าง แต่ งานวิจัยปกากญอ ที่พวกเขาลงแรงทำกันออกมา เป็นคำยืนยันอยู่โดยตัวมันเองว่า พวกเขาไม่ใช่คนป่าที่ไม่รู้อะไร หากแต่เป็นอารยชนที่เต็มไปด้วยความรู้ในชีวิตจริง

    เพียงแต่องค์ความรู้พื้นบ้านทั้งหลายนั้นไม่เคยได้ถูกยอมรับ และพวกเขาไม่เคยมีโอกาสได้ร่วมกำหนดความเป็นไปในถิ่นฐานและวิถีชีวิตของตัวเอง

    หญิงปกากะญอไร้สัญชาติที่หมู่บ้านแม่ดึ๊คนหนึ่งสะท้อนความในใจว่า “ตามวิถีเดิมเราพัฒนาไปเองได้แบบค่อยเป็นค่อยไป แต่การพัฒนาของรัฐที่เข้ามีแต่ทำให้ชาวบ้านกลัว ป่าไม้เข้ามาประกาศเขตอนุรักษ์ ก็รู้สึกกลัวเวลาทำไร่ เราไม่มีสิทธิบนแผ่นดินตัวเอง เราอยากให้เด็ก ๆ ได้สัญชาติไทยเพื่อให้สามารถเดินทางออกไปเรียนหนังสือข้างนอก และกลับมาพัฒนาบ้านของตัวเอง”

    สาละวินเป็นแม่น้ำใหญ่สายเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ยังได้ไหลอย่างเสรี ไม่ถูกปิดกั้นด้วยคันเขื่อน แต่นับจากนี้ยังไม่มีใครแน่ใจได้ว่าความบริสุทธิ์ของสายน้ำจะคงอยู่ได้อีกนานเท่าใด เพราะช่วงหลังมานี้ลุ่มน้ำสาละวินพลุกพล่านไปด้วยนักสร้างเขื่อน

    โครงการเขื่อนมากกว่า ๑๐ แห่งถูกกำหนดลงบนแม่น้ำสาละวิน (ยังไม่นับรวมอีก ๑๓ เขื่อนในเขตประเทศจีน) ที่มีข้อมูลเป็นที่ชัดเจนแน่นอนแล้วอย่างน้อย ๔ เขื่อน ได้แก่ เขื่อนท่าซาง เขื่อนสาละวินบนและล่าง และเขื่อนฮัตจี ไล่เรียงกันลงมาตั้งแต่ในเขตตอนใต้ของรัฐฉาน ชายแดนไทย-พม่า จนถึงในพื้นที่รัฐกะเหรี่ยง สถานการณ์ล่าสุดในบันทึกข้อตกลงเพื่อสร้างเขื่อนระหว่างบริษัทของไทยกับรัฐบาลพม่า เมื่อเดือนเมษายน ๒๕๔๙ ระบุว่า จะเริ่มจากเขื่อนฮัตจี ในรัฐกะเหรี่ยงเป็นลำดับแรก แต่เนื่องจากข้อมูลยังถูกปิดเป็นความลับ จึงไม่มีใครรู้รายละเอียดใด ๆ เกี่ยวกับโครงการนี้

    แต่ประเมินจากความคืบหน้าในการดำเนินงาน เขื่อนท่าซางในรัฐฉาน ดูจะมีความคืบหน้าไปมากกว่าโครงการอื่น ๆ ทั้งการออกแบบรายละเอียดและการเตรียมโครงสร้างพื้นฐานบริเวณหัวงานเขื่อน

    เขื่อนท่าซางจะใช้วงเงินลงทุนอย่างต่ำ ๒๒๘,๐๐๐ ล้านบาท สันเขื่อนขวางลำน้ำความสูง ๒๒๘ เมตร ระดับการเก็บกักน้ำสูงสุดที่ ๔๒๐ เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งจะทำให้เกิดอ่างเขื่อนขนาด ๘๗๐ ตารางกิโลเมตร (กว้างกว่าประเทศสิงคโปร์) จะเป็นเขื่อนใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในด้านความสูงและความจุน้ำ กำลังการผลิตไฟฟ้า ๗,๑๑๐ เมกะวัตต์ โดยส่วนใหญ่ประเทศไทยจะเป็นผู้รับซื้อ

    จุดสร้างเขื่อนท่าซางอยู่ห่างชายแดนไทยด้านเหนือของจังหวัดเชียงใหม่ ๑๓๐ กิโลเมตร และ เหนือขึ้นไป ๑๓ กิโลเมตรจากสะพานท่าซางที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างเมืองปั่นที่อยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ กับเมืองโต๋นที่อยู่อีกฟากฝั่ง เมืองทั้งสองอยู่ทางภาคใต้ของรัฐฉาน ซึ่งมีตองยีเป็นเมืองหลวง และมีสาละวินเป็นสายน้ำหลัก ไหลเลี้ยงประชากรราว ๑๐ ล้านคน

    เหนือขึ้นไปจากที่ตั้งเขื่อนราว ๘๐ กิโลเมตร เป็นบริเวณที่ปากแม่น้ำปางไหลลงสู่สาละวินทางฟากตะวันตก สาขาหลักของสาละวินสายนั้นเป็นแม่น้ำที่เต็มไปด้วยเกาะแก่งนับพันเกาะ ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยของปลา บริเวณสบน้ำเป็นที่ราบลุ่มที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะกับการเกษตรกรรม มีความสำคัญถึงขั้นถูกนับว่าเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของรัฐฉาน แถบนั้นเคยเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชุมชน ๒๘๐ แห่ง ประชากรราว ๖ หมื่นคน แต่ในปี ๒๕๓๙ ทหารพม่าได้ใช้นโยบายขุดรากถอนโคน บังคับรุกไล่ชาวบ้านแถบตอนกลางจนถึงตอนใต้ของรัฐฉานจำนวนราว ๓ แสนคนออกจากถิ่นฐานและที่ทำกินเดิมให้ไปอยู่ในเขตควบคุม เพื่อป้องกันการส่งเสบียงให้กองกำลังกู้ชาติไทใหญ่ ศัตรูของพม่า

    ปัจจุบันคาดการณ์ว่าประชาชนเกินครึ่งจากจำนวน ๖ หมื่นคนที่เคยอยู่แถบลุ่มน้ำปาง ได้อพยพเข้าสู่ประเทศไทย โดยหลบหนีอยู่ในหมู่บ้านตามแนวชายแดน เพราะเมืองไทยยังไม่อนุญาตให้มีการเปิดค่ายผู้ลี้ภัยชาวไทใหญ่ ส่วนที่เหลือ บ้างอยู่ในพื้นที่จัดสรร นอกจากนี้ยังมีชาวไทใหญ่อีกจำนวนหนึ่งราว ๗๕,๐๐๐ คน หลบซ่อนตัวอยู่ตามป่าริมฝั่งน้ำปาง อาศัยการเพาะปลูกหาเลี้ยงชีพ โดยต้องคอยหลบหนีการลาดตระเวนของทหารพม่าไปด้วยตลอดเวลา

    ผู้ลี้ภัยชาวไทใหญ่จากแม่น้ำปางคนหนึ่งเล่าถึงสภาพชีวิตในช่วงนั้นว่า “ผมจะตื่นตั้งแต่เช้ามืดและหุงอาหารสำหรับทั้งวัน เอาก้อนข้าวเหนียว ถั่วเหลือง เกลือ ไม้ขีดไฟ กระบอกน้ำ ใส่ไว้ในย่าม และเอามัดติดตัวไว้ด้วยตลอดเวลา ถ้าได้ยินเสียงทหารมาใกล้ ๆ ผมจะจับย่ามไว้แน่น และวิ่งหนีเข้าไปในป่า ถ้าไม่มีย่ามผมคงไม่อาจรอดชีวิตไปได้”

    หลังการลงนามในบันทึกข้อตกลง มีการขยายกองกำลังทหารเข้าไปในพื้นที่ก่อสร้างเพื่อมาตรการด้านความปลอดภัยและการทำไม้ในพื้นที่รอบโครงการ ขณะที่ชาวบ้านที่จะถูกน้ำท่วมไม่เคยได้รับข้อมูลแต่อย่างใด ส่วนอีกหลายพันหลายหมื่นคนที่หลบหนีความรุนแรงจากการกระทำของทหารพม่าก็จะไม่มีบ้านให้กลับอีกต่อไปหลังจากโครงการเขื่อนท่าซางเกิดขึ้นแล้ว ยิ่งกว่านั้นกองทัพพม่าจะยิ่งเข้มแข็งขึ้นด้วยรายได้จากโครงการนี้ และได้รับการสนับสนุนทางการเมืองทั้งจากรัฐบาลไทยและจีนมากขึ้นด้วย

    ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลพม่ากับกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศที่ยืดเยื้อมานานเกินครึ่งศตวรรษ ตั้งต้นมาจากการที่รัฐบาลพม่าไม่ทำตามสัญญาปางโหลงที่ตกลงกันไว้ว่าหลังได้รับเอกราชจากอังกฤษ (เมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๔๙๑) จะอยู่รวมกันในชื่อสหภาพพม่าเป็นเวลา ๑๐ ปี จากนั้นจะแยกตัวเป็นอิสระ แต่เมื่อครบกำหนดในปี ๒๕๐๑ นอกจากรัฐบาลพม่าจะไม่ปฏิบัติตามสัญญา ยังส่งกำลังทหารเข้าไปในพื้นที่ของชนชาติพันธุ์ แล้วหลังจากนั้นการทารุณกรรม เข่นฆ่า ข่มขืน ฯลฯ โดยทหารพม่าก็เริ่มต้นและดำเนินสืบมา จนผู้คนเหล่านั้นกลายเป็นผู้พลัดถิ่นในประเทศ (Internally Displaced Persons) ต้องทิ้งถิ่นฐานบ้านช่องไปหลบหนีอยู่ตามเพิงในป่าและเคลื่อนย้ายไปเรื่อยเมื่อรู้ว่ามีการเข้ามาของทหารพม่า

    จำนวนผู้พลัดถิ่นบนแผ่นดินของตัวเองและที่ต้องกลายเป็นผู้อพยพทะลักเข้าสู่แผ่นดินไทย จะทวีคูณขึ้นอีกมาก หากมีการสร้างเขื่อนระหว่างชายแดนประเทศไทย-พม่า

    ตามแผนการเขื่อนดังกล่าวจะตั้งอยู่ระหว่างพื้นที่อำเภอแม่สะเรียงกับรัฐกะเหรี่ยง มีชื่อเป็นทางการว่า โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำสาละวินชายแดนประเทศไทย-พม่า ประกอบด้วยเขื่อน ๒ แห่ง คือ เขื่อนสาละวินตอนบน (Upper Salween Dam) หรือเว่ยจี และเขื่อนสาละวินตอนล่าง (Lower Salween Dam) หรือตากวิน

    บริเวณที่ตั้งเขื่อนสาละวินตอนบน เป็นช่วงที่แม่น้ำสาละวินไหลผ่านหน้าผาแคบมาเป็นระยะทางนับสิบกิโลเมตร แล้วมาออกสู่เวิ้งน้ำกว้างใหญ่ที่ชาวบ้านเรียกว่า เว่ยจี (มีความหมายว่า วังน้ำใหญ่) ในฤดูน้ำหลาก ปริมาณน้ำจำนวนมหาศาลที่ถูกบีบจากโตรกเขาแคบมาเป็นระยะทางยาว เมื่อออกสู่เวิ้งน้ำก็เกิดเป็นวังน้ำวนเชี่ยวกล้าหนักหน่วง จนบางครั้งเกิดการระเบิดรุนแรงขึ้นมาจากใต้น้ำ

    ส่วนเขื่อนสาละวินตอนล่างตั้งอยู่ที่ตากวิน ท้ายหมู่บ้านท่าตาฝั่ง ห่างขึ้นมาจากท่าเรือแม่สามแลบราว ๑๕ กิโลเมตร ความสูงของสันเขื่อน ๔๙ เมตร พื้นที่อ่างเก็บน้ำยาวย้อนขึ้นไปตามลำน้ำประมาณ ๓๕ กิโลเมตร จดกับสันเขื่อนสาละวินตอนบนซึ่งทอดตัวขวางลำน้ำอยู่ที่ความสูง ๑๖๘ เมตร สูงกว่าสันเขื่อนภูมิพลที่เป็นเขื่อนใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และจะมีขนาดใหญ่กว่าถึง ๘ เท่า

    มันจึงเป็นความท้าทายที่หากจะนับว่าเป็นโครงการในฝันของนักสร้างเขื่อนก็คงว่าได้

    แม้แต่ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในเวลานั้น (สิทธิพร รัตโนภาส) ก็ยอมรับว่าในชีวิตเขาคงมีไม่กี่ครั้งที่จะมีโอกาสได้สัมผัสกับโครงการขนาดนี้

    “ผมจึงสัญญากับตัวเองว่า ถ้ามีโอกาสเป็นผู้ว่าการ กฟผ. ผมจะทำเรื่องสาละวินให้ได้”

    พื้นที่อ่างเก็บน้ำ ๙๖๐ ตารางกิโลเมตร (๖ แสนไร่) ของเขื่อนสาละวินตอนบนจะท่วมยาวขึ้นไปตามลำน้ำ ๓๘๐ กิโลเมตร แต่อยู่ในเขตชายแดนไทยแค่ ๕๖ กิโลเมตร ส่วนที่เหลืออีก ๓๒๔ กิโลเมตร เป็นพื้นที่ของรัฐกะเหรี่ยงต่อเนื่องไปถึงรัฐคะยา ข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่น้ำท่วมยังเป็นความลับ เฉพาะในส่วนของประเทศไทย กฟผ. ผู้ผลักดันโครงการ ให้ข้อมูลว่าจะท่วมประมาณ ๒ หมื่นไร่ ซึ่งถือเป็นเพียง ๓ เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่น้ำท่วมทั้งหมดที่ส่วนใหญ่อยู่ในรัฐคะยาและรัฐกะเหรี่ยง

    รัฐกะเหรี่ยงคือพื้นที่ตรงข้ามแนวชายแดนจังหวัดตาก ยาวขึ้นไปจนถึงอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน หลังจากกำลังทหารพม่าเข้ายึดมาเนอปลอ กองบัญชาการใหญ่ของกองกำลังกู้ชาติกะเหรี่ยง (เคเอ็นยู) ในปี ๒๕๓๘ ปีถัดมารัฐบาลก็ส่งกำลังทหารเสริมเข้ามายังรัฐกะเหรี่ยงถึง ๓๒ กองพัน การเข้ามาของทหารพม่าทำให้เกิดปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง ทั้งการเกณฑ์ชาวบ้านหาบเสบียงและอาวุธให้ทหารพม่า บังคับใช้แรงงานในค่ายทหาร รวมทั้งการทารุณกรรมในรูปแบบต่าง ๆ หากมีการสร้างเขื่อนสาละวิน ประชาชนในรัฐกะเหรี่ยงจะต้องเผชิญชะตากรรมที่เลวร้ายยิ่งขึ้น โดยเฉพาะชาวอำเภอพะปุนซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่ตั้งเขื่อนสาละวินล่าง ปัจจุบันมีถนนสองสายตัดจากพะปุนมายังเว่ยจีและตากวิน เพื่อส่งเสบียงไปให้ทหารพม่าที่ประจำการอยู่ในแนวหน้าแถบริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน

    เมื่อปี ๒๕๔๕ ชาวบ้านพะปุน ๓๗,๐๐๐ คน ใน ๖,๐๐๐ ครอบครัว ต้องอพยพหลบหนีการกวาดล้างของทหารพม่าเข้าไปอยู่ในป่า อีกกว่า ๑๒,๐๐๐ คน เข้าไปอยู่ในแปลงอพยพในเขตควบคุมของทหารพม่า

    เมื่อขับไล่ชาวบ้านออกจากหมู่บ้านแล้ว ทหารพม่าจะทำลายข้าวของและผลผลิตทุกอย่างจนสิ้น เพื่อไม่ให้ชาวบ้านกลับไปอยู่ในหมู่บ้านได้อีก ป้องกันการส่งเสบียงให้กองกำลังกู้ชาติเคเอ็นยู แต่เนื่องจากชีวิตในที่จัดสรรของรัฐบาลพม่าเต็มไปด้วยความยากลำบาก ชาวบ้านส่วนหนึ่งจึงเลือกที่จะหนีออกมาใช้ชีวิตหลบ ๆ ซ่อน ๆ ระหว่างหมู่บ้านเดิมกับป่า

    ในเขตรัฐกะเหรี่ยง คาดว่ามีผู้พลัดถิ่นในประเทศเกือบแสนคน และเข้ามาเป็นผู้ลี้ภัยในเขตประเทศไทยอีกมากกว่าแสนคน ซึ่งในจำนวนนี้มีชาวคะเรนนีรวมอยู่ด้วย หากมีการสร้างเขื่อน ตัวเลขผู้ลี้ภัยที่จะอพยพข้ามมาสู่ฝั่งไทยจะสูงขึ้นอีกมาก

    และสงครามกลางเมืองที่ดำเนินมาเกินครึ่งศตวรรษก็อาจถึงเวลาจบสิ้นลงด้วยการแตกพ่ายสิ้นเผ่าพันธุ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้เป็นเบี้ยล่างตลอดกาล

    พื้นที่อ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่ของเขื่อนสาละวินตอนบนอยู่ในรัฐคะยา ซึ่งที่นั่นสองฟากฝั่งสาละวินและลำน้ำสาขาสายสำคัญอย่างแม่น้ำปุ่นยังอุดมไปด้วยป่าธรรมชาติ โดยเฉพาะป่าสัก มีพืชสมุนไพรที่ชาวบ้านสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน และเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า อย่างเสือ ควายป่า วัวแดง หมี นกยูง กวาง ช้าง แรด จระเข้

    ผู้คนในรัฐคะยากลุ่มหลักประกอบไปด้วยชนชาวคะเรนนี ไทใหญ่ และยินตาเล ซึ่งชนกลุ่มหลังนี้มีประชากรราว ๑,๐๐๐ คน อยู่ในหมู่บ้านที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ถ้าต้องโยกย้ายออกไปจากถิ่นฐานเพราะถูกน้ำท่วม ก็จะไม่เหลือชุมชนดั้งเดิมของชนเผ่านี้อยู่ในโลกอีกต่อไป

    ปัจจุบันมีประชากรของรัฐคะยาถูกบังคับอพยพไปอยู่ในพื้นที่ควบคุมของทหารพม่าราว ๗,๐๐๐ คน เป็นผู้พลัดถิ่นอยู่ภายในประเทศอีกราว ๕,๐๐๐ คน คนเหล่านี้ดำรงชีพอยู่ด้วยทรัพยากรจากแม่น้ำสาละวินและแม่น้ำสาขา ถ้าอ่างเขื่อนท่วมป่า วิถีชีวิตที่พึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติก็จะสูญหายไปตลอดกาล

    และคงไม่เพียงผู้คนที่ได้รับผลกระทบโดยตรงเท่านั้นที่ต้องเป็นผู้ประสบภัย ชุมชนที่ตั้งอยู่ทางตอนล่างของเขื่อนลงไปจนถึงปากแม่น้ำสาละวินคงต้องเดือดร้อนไปด้วย เนื่องจากเขื่อนจะควบคุมการไหลของน้ำ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเกษตรริมน้ำ รวมทั้งระบบนิเวศของแม่น้ำที่จะส่งผลถึงการสูญเสียพันธุ์ปลาและการประมง

    ในประเทศไทย กฟผ. ระบุว่า พื้นที่น้ำท่วมทั้งหมดแค่ประมาณ ๒ หมื่นไร่ และ “บริเวณน้ำท่วมในประเทศไทยไม่มีประชาชนอยู่อาศัย เพราะพื้นที่สองฝั่งของสาละวินเป็นภูเขาสูงชัน แม้แต่สัตว์ป่าก็ไม่อยากอยู่เลย”

    แต่การปรากฏตัวของชาวบ้าน ๕๐ ชุมชนในทีมนักวิจัยปกากะญอก็เป็นที่ชัดเจนว่า “คน” ในลุ่มน้ำสาละวินมีตัวตนอยู่จริง

    “เราหวังว่าคนมีการศึกษาจะมาช่วยเหลือให้ความรู้กันบ้าง แต่เขากลับจะมาทำลาย” หนุ่มปกากะญอคนหนึ่งตัดพ้อ สีหน้าและน้ำเสียงราบเรียบเป็นปรกติ แต่ถ้อยคำบ่งความอัดอั้นอุกอั่งในใจ เขาชื่อ อำพล ไม่มีนามสกุล เพราะไม่มีสัญชาติไทย และยังไม่มีทะเบียนบ้าน ทั้งที่อยู่หมู่บ้านแม่ดึ๊มาตั้งแต่ปี ๒๕๑๘ “เราเป็นคนเหมือนกัน มีหน้าตา มือเท้าเหมือนกันทั้งนั้น แต่คนที่มีการศึกษาแทนที่จะมาช่วยเหลือกัน กลับจะมาทำร้าย”

    การเก็บกักน้ำที่ระดับ ๒๒๐ เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลางของเขื่อนสาละวินตอนบน นอกจากจะทำให้น้ำท่วมเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสาละวิน ท่วมหมู่บ้านถิ่นอาศัยของคนปกากะญอในฝั่งไทยนับหมื่นคน กระแสน้ำยังจะเอ่อท่วมเข้าไปตามลำน้ำสาขา

    แม่น้ำปาย น้ำจะท่วมย้อนขึ้นไปถึงอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน กินพื้นที่ราว ๓ หมื่นไร่ ใน ๑๘ หมู่บ้านดังต่อไปนี้ บ้านน้ำเพียงดิน บ้านห้วยจี้ บ้านห้วยโป่ง บ้านห้วยเดื่อ บ้านห้วยปูกอม บ้านป่าปุ๊ บ้านผาบ่อง บ้านแม่สะกึด บ้านท่าโป่งแดง และบ้านทุ่งไม้สักเลา ของตำบลผาป่อง บ้านห้วยผักมัน บ้านสบป่อง บ้านขุนกลาง บ้านทุ่งกองมู บ้านสบสอย บ้านปางหมู บ้านกุงไม้สัก บ้านแม่สะงา ในตำบลปางหมู กฟผ. เองก็รู้อยู่แก่ใจว่าต้องมีพื้นที่เมืองแม่ฮ่องสอนถูกน้ำท่วม แต่เลี่ยงที่จะพูดถึงชุมชนที่มีผู้คนอาศัย โดยการกลบเกลื่อนนำเสนอโครงการต่อเนื่องเกี่ยวกับการผันน้ำจากลุ่มน้ำสาละวินไปสู่เขื่อนภูมิพล รายละเอียดของโครงการระบุว่าจะมีการสร้างเขื่อนปิดปากน้ำปาย ป้องกันน้ำจากเขื่อนสาละวินตอนบนเอ่อย้อนขึ้นมา แต่ขณะเดียวกันน้ำปายก็ไม่สามารถระบายลงสาละวินได้ดังเดิม น้ำจำนวนดังกล่าวจะถูกผันไปสู่ลำน้ำแม่แจ่ม เพื่อเติมให้เขื่อนภูมิพลปีละ ๑,๐๐๐ ล้านลูกบาศก์เมตร

    แผนการผันน้ำจากลุ่มน้ำสาละวินมาสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ยังถูกวางลงบนลำน้ำสาขาของสาละวินอีกหลายสาย รวมทั้งแม่น้ำยวมและแม่น้ำเงา โดยจะมีการสร้างเขื่อนแม่ลามาหลวงกั้นน้ำยวม ก่อนไหลลงบรรจบน้ำเมยที่บ้านท่าเรือ อำเภอสบเมย จากนั้นจะสูบน้ำด้วยไฟฟ้าผ่านอุโมงค์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๘.๕ เมตร เป็นระยะทาง ๗ กิโลเมตรกว่า เพื่อไปเติมลงแม่น้ำเงา ซึ่งถูกกั้นเป็นอ่างเขื่อนอีกแห่งอยู่ทางเหนือ แม่น้ำเงาที่ไหลมาจากขุนน้ำในเขตอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ จะถูกบังคับให้ไหลย้อนกลับไปทางต้นน้ำ จากนั้นจะมีการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าเข้าอุโมงค์คอนกรีตรูปเกือกม้าลอดภูเขาไปอีกกว่า ๖๕ กิโลเมตร เพื่อผันน้ำจากลุ่มน้ำสาละวินไปสู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ไปลงลำห้วยแดงเพื่อส่งต่อไปยังเขื่อนภูมิพลที่จังหวัดตาก

    แต่โครงการนี้ถูกคนในถิ่นลุ่มน้ำยวมต่อต้านเพราะเล็งเห็นความวิบัติที่จะเกิดกับสิ่งแวดล้อม โครงการผันน้ำจึงถูกชะลอ แต่โครงการเขื่อนสาละวินยังคงดำเนินไป

    ถ้ามีวันที่ฝันของคนมีการศึกษาในหน่วยงาน กฟผ. เป็นความจริง มหานทีเพียงสายเดียวของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ยังคงรินไหลอย่างเสรีก็จะถึงคราวสิ้นอิสรภาพชั่วนิรันดร์

    หากสายน้ำถูกตัดขาด แผ่นดินบนแผนที่รูปขวานโบราณก็คงเหมือนถูกตัดแขน

    เป็นคนเรา...ถ้าขาดแขนไปจะโอบกอดใครได้

    แล้วแผ่นดินที่ขาดแม่น้ำเป็นอ้อมแขน จะเศร้าหมองปานใดกัน ?
     
  7. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    เมื่อวานน้ำได้ FW เมล์โดย copy ข้อความที่น้ำเขียนให้ลูกค้าของน้ำจากเว็บพันธ์ทิพย์ ซึ่งมีอยู่หลายร้อยท่านแล้วค่ะ คาดว่าพระเครื่องที่พี่ผู้ใจบุญจากอเมริกาส่งมาให้น้ำในครั้งนี้ อย่างดีไม่น่าเกินวันอังคารน่าจะมีผู้บูชาไปหมดอย่างแน่นอนค่ะ
     
  8. ki2518

    ki2518 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2006
    โพสต์:
    265
    ค่าพลัง:
    +760
    กลองชุดที่คุณน้ำขาย
    นอกจาก pearl แล้วมียี่ห้ออื่นไหมครับ
     
  9. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    มีค่ะ เด๋วพรุ่งนี้ไปดูที่สต๊อกก่อนนะค่ะว่ายี่ห้ออะไรบ้าง จำไม่ค่อยได้ค่ะ
     
  10. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    วันนี้ไปถ้ำค้างคาวที่ภูผาม่านมาค่ะ ว่าจะลงภาพให้ชม พอดีหาสายที่จะต่อลงคอมไม่เจอซะอีก เด๋วพรุ่งนี้จะหาใหม่ค่ะ แล้วจะมาลงให้ชม มีฝูงค้างคาวนับล้านตัวเลยทีเดียวค่ะ สวยงามมาก
     
  11. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    เด๋วมาเขียนต่อค่ะ ติดเอ็มเยอะเลยตอนนี้
     
  12. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    [​IMG]

    แผนที่ค่ะ อยากเชิญชวนไปเที่ยวกันเยอะ ๆ นะค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    เอาภาพสวย ๆ มาฝากค่ะ ภาพบ้านหลายพันหลังที่ทางการไทยจัดให้สำหรับผู้อพยพหนีภัยจากการสู้รบบริเวณ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก และภาพตัวเมืองแม่ฮ่องสอนค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.jpg
      1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      77.8 KB
      เปิดดู:
      47
    • 2.jpg
      2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      83.3 KB
      เปิดดู:
      52
    • 3.jpg
      3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      64.9 KB
      เปิดดู:
      71
  14. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    หากเราเดินทางจาก อ.แม่สอด จ.ตาก มายัง อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน เราจะเห็นบ้านเรือนของผู้หนีภัยจากการสู้รบเรียงรายตามข้างทางหลายกิโลเลยทีเดียว ในพื้นที่ จ.ตาก และ จ.แม่ฮ่องสอน มีศูนย์พักพิงผู้อพยพหนีภัยจากการสู้รบอยู่หลายแห่ง แน่นอนค่ะ การที่มีคนจำนวนมากหลบหนีภัยเข้ามา และมาอาศัยอยู่ในศูนย์พักพิงเหล่านี้ย่อมไม่ใช่เรื่องดีแน่นอน เพราะกำลัง จนท.ของไทยไม่สามารถที่จะดูแลได้อย่างทั่วถึง ผู้อพยพหลายต่อหลายคนมักลักลอบหนีออกจากศูนย์ ซึ่งมีหลายวิธีด้วยกัน สร้างปัญหาให้แก่ประเทศเราอย่างมาก ในศูนย์ผู้อพยพก็เช่นกัน ปัญหาใช่ว่าจะไม่มีเสียเลย ใครคิดว่าผู้อพยพที่หลบหนีเข้ามาเหล่านี้ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อประเทศเรา ต้องคิดใหม่แล้วค่ะ เพราะเราไม่สามารถที่จะแยกแยะได้ว่าผู้อพยพเหล่านี้เป็นผู้อพยพที่หลบหนีภัยเข้ามาจริง ๆ หรือว่ามีบางคนแฝงตัวเข้ามา ซึ่งลักษณะการแฝงตัวมีหลายรูปแบบค่ะ ไว้น้ำจะมาเขียนเล่าเมื่อถึงตอนนั้น การที่ผู้อพยพเข้ามาเป็นจำนวนมากเท่าที่น้ำวิเคราะห์ดูยังมองไม่เห็นสิ่งดีเท่าไร เพราะมีปัญหาตามมามากมาย ไว้จะเขียนเล่าให้ฟังค่ะว่าปัญหาอะไรบ้าง
     
  15. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    ในศูนย์ผู้อพยพจะมีการแยกเป็นหมวดหมู่เพื่อให้สะดวกแก่การควบคุมดูแล โดยมีการคัดเลือกผู้ที่จะทำหน้าที่ดูแลคนในหมู่ของตน เพราะลำพัง จนท.ของเราก็มีน้อยมาก ไม่มีทางที่จะดูแลคนได้ทั่วถึง แม้จะมีองค์กรเอกชน NGO เข้ามาให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ แต่บางครั้ง จนท.ขององค์กรนี่แระค่ะที่มีส่วนรู้เห็นเป็นใจในบางเรื่อง (จะเขียนถึงจุดนี้ภายหลังค่ะ) เมื่อเราสามารถคัดตัวแทนขึ้นมาดูแลคนในแต่ละกลุ่มเรียบร้อยแล้ว การจัดวางผังในแต่ละหมู่ก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งค่ะ หลายต่อหลายครั้งที่น้ำเข้าไปสัมผัส จะเห็นได้ชัดเจนว่าการจัดผังในแต่ละหมู่ไม่ค่อยเป็นระเบียบ ระบบเท่าที่ควร ทำให้บางครั้งต้องเสียเวลากับเรื่องไม่เป็นเรื่องไปพอสมควร
     
  16. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    ทีนี้มาถึงจุดไฮไลท์เลยละกันค่ะ เราจะมีวิธีการเช่นไรหากเราประกอบอาชีพค้าขาย แล้วสิ่งที่เราต้องการคือการขายของให้กับผู้อพยพเหล่านี้ เชื่อไหมค่ะ เมื่อก่อนมีศูนย์ผู้อพยพบ้านศาลา ซึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติสาละวิน การเดินทางเข้าไปในศูนย์บ้านศาลาต้องผ่านหน้าที่ว่าการอุทยานแห่งชาติสาละวิน โดยจะมีการแลกบัตรที่หน้าที่ทำการ หลังจากที่แลกบัตรเรียบร้อยแล้ว ทีนี้ก็เป็นการเดินทางค่ะ ระยะทางจากหน้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติสาละวินเข้าไปถึงศูนย์อพยพบ้านศาลาประมาณ 30 กม. ทางเป็นฝุ่นตลอดเส้นทาง ในหน้าฝนจะลำบากสุด ๆ เพราะทางจะเป็นโคลนเลนเลยทีเดียว ซึ่งรถขับเคลื่อนธรรมดาไม่สามารถผ่านเข้าไปได้ ต้องอาศัยรถขับเคลื่อนสี่ล้อ 4WD เส้นทางจากหน้าอุทยานแห่งชาติสาละวินไปจนถึงศูนย์บ้านศาลา จะมีหมู่บ้านแห่งหนึ่งตั้งอยู่กลางทางพอดี แต่ไม่ผ่านหน้าหมู่บ้านนะค่ะ เพราะต้องเข้าไปอีกไกลพอควร แต่เชื่อไหมค่ะ เส้นทางที่น้ำเขียนเล่าให้ฟังนี้ มีคนที่ประกอบอาชีพขายของไม่ว่าจะเป็นขายของชำ ขายปลา ขายอะไรต่ออะไร อาศัยเส้นทางนี้เข้าไปขายของไม่ขาดระยะในแต่ละวัน สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำเลยทีเดียวค่ะ แล้วเราจะมีวิธีการเช่นไรในการค้าขายกับกลุ่มผู้อพยพที่กระจัดกระจายอยู่ตามริมทางใน อ.ท่าสองยาง กัน และที่สำคัญเขามีวิธีการอย่างไรที่จะประสบผลสำเร็จในการค้ากับกลุ่มคนเหล่านี้ อยากรู้ น้ำยินดีบอกให้ค่ะ แต่ขอเป็นวันหลังนะค่ะ ไม่ใช่ว่าใครคิดอยากจะทำก็ทำเลย เห็นมามากแล้วค่ะ ทำแล้วไม่ประสบผลสำเร็จแต่อย่างใด เขาต้องมีวิธีค่ะ
     
  17. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    ปัจจุบันนี้ใน อ.สบเมย จะมีศูนย์ผู้อพยพหนีภัยจากการสู้รบที่บ้านแม่ลามาหลวงค่ะ (ย้ายศูนย์อพยพบ้านศาลาใน อ.แม่สะเรียง โดยเอาคนจากที่นั่นมาไว้ที่แห่งใหม่นี้ค่ะ) หมู่บ้านแม่ลามาหลวงเป็นหมู่บ้านใหญ่ และเป็นหมู่บ้านที่มีการจัดวางผังหมู่บ้านอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยค่ะ หากมีโอกาสสามารถเดินทางเข้าไปเที่ยวกันได้ แต่เส้นทางไปค่อนข้างโหดหินเอาการค่ะ ในบรรดาผู้อพยพหลายต่อหลายคนในนั้นแม้ตอนนี้ก็ยังมีการแฝงตัวของกลุ่มคนที่ไม่หวังดีอยู่พอสมควรค่ะ วันหลังน้ำจะมาเขียนเล่าให้ฟัง อาวุธสงครามที่ทะลักเข้ามายังแผ่นดินไทยของเรา และยาเสพติดจำนวนมากที่ผ่านเข้าออกมายังแผ่นดินของเรา เข้ามาตรงจุดไหน และเข้ามาได้อย่างไร แต่ตอนนี้อยากบอกว่า หากคุณเป็นคนหนึ่งที่คิดจะยึดอาชีพค้าขายตามแนวชายแดนแล้ว ศูนย์แม่ลามาหลวงแห่งนี้ คุณสามารถที่จะค้าขายได้กำไรงอกเงย เพียงไม่นานคุณก็จะสามารถมีเงินออมก้อนใหญ่ได้อย่างแน่นอนค่ะ
     
  18. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    น้ำเคยเขียนให้ฟังครั้งหนึ่ง ใน จ.แม่ฮ่องสอน อุดมไปด้วยทรัพยากรป่าไม้ โดยเฉพาะไม้สัก ซึ่งปัจจุบันปัญหาการลักลอบตัดไม้ใช่ว่าจะหมดจากพื้นที่ แต่กลับทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ค่ะ ไม่ว่าจะเป็นในพื้นที่แม่สะเรียง สบเมย ขุนยวม แม่ฮ่องสอน หรือแม้แต่ปางมะผ้าก็ตามที หากให้น้ำเขียนเส้นทางในการลักลอบลำเลียงไม้ออกจากพื้นที่ว่ามีกี่เส้นทางไม่ใช่เรื่องยากแต่อย่างใดค่ะ เพราะอยู่ในสมองหมด แต่ในที่นี้คงไม่เขียนให้อ่านละกัน แต่มีสิ่งหนึ่งที่อยากเขียนค่ะ ปัญหาการลักลอบตัดไม้ปัจจุบันเขาปรับเปลี่ยนวิธีการไปไม่เหมือนแต่เก่าก่อนค่ะ เรียกว่าฉีกหนีรูปแบบเดิมที่เคยทำมาเก่าก่อน แต่รูปแบบใหม่นี้จะทำกันเป็นขบวนการ ซึ่งมีวิธีการที่แยบยลเป็นอย่างยิ่งค่ะ อยากฟังรายละเอียดเรื่องนี้ติดตามในบล้อกน้ำในเว็บพันธ์ทิพย์แทนละกันค่ะ รับรองสนุกมาก ๆ
     
  19. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    ทุกวันนี้ปัญหายาเสพติดแพร่ระบาดเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่นับรวมปัญหาอาวุธสงครามอีก หลายคนมักมองว่ายาเสพติดส่วนใหญ่จะถูกลำเลียงมาจากทางภาคเหนือของไทย โดยเฉพาะ จ.เชียงราย และ จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีพรมแดนติดต่อกับประเทศพม่า แต่หลายคนคงไม่ทราบว่าในพื้นที่แม่ฮ่องสอนก็เป็นหนึ่งในจังหวัดที่ชนกลุ่มน้อยที่ผลิตยาเสพติดใช้เป็นช่องทางในการลำเลียงยาออกจากประเทศของตนมายังประเทศเพื่อนบ้าน แต่สืบเนื่องจาก จ.แม่ฮ่องสอน พื้นที่เป็นป่าเขาร้อยละ 90 เส้นทางในการนำยาออกนอกพื้นที่เป็นไปด้วยความยากลำบากมาก ๆ โดยเฉพาะในด้าน อ.ปางมะผ้า และ อ.เมือง ซึ่งมักตกเป็นข่าวบ่อยครั้งที่ จนท.ของเราจับยาเสพติดได้ครั้งละมาก ๆ แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าในแม่ฮ่องสอนแห่งนี้มีพรมแดนติดกับรัฐใดของพม่าบ้าง และจุดพักยาแหล่งใหญ่สุดอยู่ตรงไหน น้ำเชื่อว่าน้อยคนที่จะรู้เรื่องเหล่านี้ แต่อยากฟังสิ่งที่น้ำเขียนต้องติดตามผลงานการเขียนของน้ำในพันธ์ทิพย์แทนค่ะ จะได้อรรถรสเพิ่มมากขึ้น

    สำหรับปัญหาอาวุธสงครามไว้น้ำจะมาเขียนเล่าเมื่อถึงเวลาเขียนเรื่องนี้ให้ฟังกันค่ะ ยิ่งช่วงนี้นี่แระค่ะที่ทั้งพม่าและพวกชนกลุ่มน้อยต่างฝ่ายต่างเปิดศึกกัน ทั้งอาวุธสงครามและยาเสพติดจึงเป็นปัจจัยหลักที่ก่อผลกระทบโดยตรงต่อประเทศไทยเป็นอย่างยิ่งค่ะ
     
  20. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    วันนี้ขอตัวก่อนค่ะ ต้องคุยเอ็มกับเพื่อนต่างแดนอีกหลายคนต่อแล้วค่ะ ขี้เกียจเปิดเข้าเปิดออกค่ะ ราตรีสวัสดิ์ค่ะ
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...