หมดแล้ว ***แจ้งปิดกระทู้กฐินสามัคคีปี54***ตามรอยบาทพระราชพรหมยาน***

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย pom_chaovarit, 21 มิถุนายน 2011.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. pom_chaovarit

    pom_chaovarit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    3,805
    ค่าพลัง:
    +9,776
    "บุญผมสำเร็จแล้วครับ"
    ผมชอบคำๆนี้ ของคุณใจเบิกบาน มากๆเลยครับ
    สมดังเจตนาครับ...สาธุ
     
  2. dekpra

    dekpra เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,470
    ค่าพลัง:
    +2,484
    วันนี้มาเยี่ยมชมบารมี ท่านเจ้าของกระทู้ และนักบุญทุกท่านครับ โมทนาสาธุครับ
     
  3. บุญทรงพระเครื่อง

    บุญทรงพระเครื่อง ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    17,441
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +27,814
    วันนี้ผมได้โอนเงินทำบูญกฐิน วัดท่าซุง ณ บัญชีบุญกฐิน ปี ๕๔ วัดท่าซุง ธนาคารกสิกรไทย สาขา ซ.วิภาวดี รังสิต ๒ ชื่อบัญชีคณะตามรอยบาทพระราชพรหมยาน เวลา ๑๐:๒๐ จากบัญชีหมายเลข ที่ ๖๑๙-๐-๑๕๗๔๒-๔ เข้าบัญชี หมายเลขที่ 671-2-05166-1 จำนวนเงิน ๕๐๐ บาท ค่าธรรมเนียม ๒๕ บาท
    ขออนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านครับ
     
  4. pom_chaovarit

    pom_chaovarit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    3,805
    ค่าพลัง:
    +9,776
    [​IMG]
     
  5. pom_chaovarit

    pom_chaovarit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    3,805
    ค่าพลัง:
    +9,776
    [​IMG]
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. t_chakrapan

    t_chakrapan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2008
    โพสต์:
    816
    ค่าพลัง:
    +2,088
    ร่วมบุญกฐินปี 54 ถวายวัดท่าซุงจำนวน 150 บาทครับ

    305, 105, 279

    ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ร่วมบุญกฐินครั้งนี้ด้วยครับ
     
  7. pom_chaovarit

    pom_chaovarit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    3,805
    ค่าพลัง:
    +9,776
    [​IMG]
     
  8. pom_chaovarit

    pom_chaovarit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    3,805
    ค่าพลัง:
    +9,776
    [​IMG]
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. pom_chaovarit

    pom_chaovarit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    3,805
    ค่าพลัง:
    +9,776
    [​IMG]
    รวมทั้งหมด 5 องค์
    มอบพิเศษให้ท่านที่ถูกเลขท้ายสามตัว
    รางวัลที่หนึ่ง
     
  10. พรแม่ศรี

    พรแม่ศรี ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    18,789
    ค่าพลัง:
    +55,474
    ผมจะได้จำหน้าพี่ได้ถูกนะครับ พี่เดินทางจากภาคใต้ขึ้นมาเพชรบูรณ์เลยเหรอครับ ป้าดดดดดดดด:cool:
     
  11. pom_chaovarit

    pom_chaovarit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    3,805
    ค่าพลัง:
    +9,776
    เปล่าหรอกครับ ตอนนี้ผมประจำการอยู่กรุงเทพฯ แล้วครับผม:VO
     
  12. pom_chaovarit

    pom_chaovarit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    3,805
    ค่าพลัง:
    +9,776
    การกุศล 100%
    เพื่อบุญกฐิน ถวายวัดท่าซุง

    ร่วมบุญครั้งเดียว 50 บาท

    รับสิทธิ์เลือกหมายเลข 1 หมายเลข
    (เลขท้าย 3 ตัวตรง รางวัลที่1)

    1.รับสมเด็จองค์ปฐมรุ่นสามวัดท่าซุง
    2.รับสมเด็จองค์ปฐม วัดป่าพุทธโมกข์
    3.รับสมเด็จองค์ปฐมรุ่นแรก วัดศาลพันท้ายนรสิงห์
    4.รับเหรียญมหาลาภ วัดท่าซุง
    5.รับเหรียญที่ระลึกผูกพัทธสีมา วัดท่าซุง

    ร่วมบุญครั้งเดียว 50 บาท
    ลุ้นรับพระ ได้รวมทั้งหมด 7 ครั้ง
    (หรือจนกว่าจะมีผู้โชคดี)
    ตัวอย่าง สมมติเช่น
    งวดที่1-ไม่มีผู้ใดถูกรางวัล
    ก็สามารถลุ้นรับรางวัลในงวดที่2ต่อไปได้ครับ
    ตัวอย่าง สมมติเช่น
    งวดที่2 ถึง งวดที่6 - ก็ยังไม่มีผู้ถูกรางวัล
    ก็สามารถลุ้นรับรางวัลในงวดที่7ต่อไปได้ครับ
    (ยกเว้นว่า มีผู้โชคดีเลือกหมายเลขถูก ก็เป็นอันว่า ต้องมาเริ่มกันใหม่นะครับ)
    :VO"ขึ้นอยู่กับ ธรรมะจัดสรรนะครับ พี่น้องร่วมบุญทุกท่าน":VO


    กับอานิสงค์การร่วมบุญเพียงครั้งเดียวเท่านั้น

    "อยู่ที่พระท่านจะเลือกใคร นะครับ"

    ครั้งที่1. งวดประจำวันที่ 1 ก.ค.54
    ครั้งที่2. งวดประจำวันที่ 16 ก.ค.54
    ครั้งที่3. งวดประจำวันที่ 1 ส.ค.54
    ครั้งที่4. งวดประจำวันที่ 1ุ6 ส.ค.54
    ครั้งที่5. งวดประจำวันที่ 1 ก.ย.54
    ครั้งที่6. งวดประจำวันที่ 16 ก.ย.54
    ครั้งที่7. งวดประจำวันที่ 1 ต.ค.54

    [​IMG]
     
  13. pom_chaovarit

    pom_chaovarit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    3,805
    ค่าพลัง:
    +9,776
    [​IMG]
    ผาติกรรม
    สมเด็จองค์ปฐมสี่ศอก
    ทรงเครื่องจักรพรรดิ ประดับเพชร
    เพื่อเตรียมถวายวัดท่าซุง งานกฐินปีนี้
    [​IMG]
     
  14. pom_chaovarit

    pom_chaovarit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    3,805
    ค่าพลัง:
    +9,776
    ทุกบาท ทุกสตางค์ เพื่อบุญกฐินปี54

    สรรพสิ่งล้วนบังเกิดได้ด้วยเจตนา
    "ก่อนทำ ขณะทำ หลังทำ"
    [​IMG]
     
  15. pom_chaovarit

    pom_chaovarit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    3,805
    ค่าพลัง:
    +9,776
    <table border="1" cellpadding="2" cellspacing="2" width="90%"><tbody><tr><td align="center">อริยสัจ</td></tr><tr><td align="left"> อริยสัจ
    1) สำหรับการที่เราเจริญพระกรรมฐานก็ต้องใคร่ครวญอยู่เสมอว่า เราเจริญพระกรรมฐานเพื่อต้องการความรู้เป็นเครื่องพ้นจากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เพราะความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความเจ็บ ความตายเป็นทุกข์ ถ้าเรายังต้องเกิดแก่เจ็บตายอยู่อย่างนี้ เราก็มีแต่ความทุกข์ เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏฏะ การเจริญสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน เราทำเพื่อสิ้นความเกิด เพราะเราไม่ต้องการความทุกข์ต่อไป จงพิจารณาหาทุกข์ให้พบในอริยสัจ
    2) ให้พิจารณาเห็นว่า ทุกข์ทั้งหมดที่ได้รับเป็นประจำไม่ว่างเว้นนี้ เกิดมีขึ้นได้เพราะอาศัย ตัณหา ความทะยานอยาก 3 ประการ คือ อยากมีในสิ่งที่ไม่เคยมี อยากเป็นในสิ่งที่ไม่เคยเป็น อยากปฏิเสธในเมื่อความสลายตัวเกิดขึ้น ไม่อยากให้สลายตัว เจ้าความอยากทั้ง 3 นี้แหละ เป็นผู้สร้างความทุกข์ขึ้นมา ทุกข์นี้จะสิ้นไปได้ก็เพราะเข้าถึงจุดความดับ คือ นิโรธ เสียได้
    จุด ดับนั้นท่านวางมาตราฐานไว้ 3 ประการ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ที่ท่านเรียกว่า มรรค 8 ย่อมรรค 8ลงเหลือ 3 คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นี้ เพราะ อาศัยศีลบริบูรณ์ สมาธิเป็นฌาน ปัญญารู้เท่าทันสภาวะความเป็นจริง หมดความเมาในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และดับอารมณ์พอใจ ไม่พอใจเสียได้ ตัดอารมณ์พอใจในโลกีย์วิสัยได้ ตัดความกำหนัดยินดีเสียได้ ด้วยปัญญาวิปัสสนาญาณ ชื่อว่าเห็นในอริยสัจ 4 ทำอย่างนี้ คิดอย่างนี้ให้คล่อง จนจิตครอบงำ ความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความเมาในชีวิต เสียได้ ชื่อว่าท่านได้ วิปัสสนาญาณ 9 และอริยสัจ 4 แต่อย่าเพิ่งพอ หรือคิดว่าดีแล้ว ต้องฝึกฝนพิจารณาเรื่อยไป จนตัดสังโยชน์ ทั้ง 10 ประการได้แล้ว นั่นแหละ ชื่อว่าเอาตัวรอดได้แล้ว
    3) เราเกิดมาเพื่อประสบกับความทุกข์ คนที่เกิดมาแล้วทุกคนจะไม่มีทุกข์เป็นไม่มี ถ้าหากว่าเรายังยึดถือว่า ร่างกายเป็นของเรา ทรัพย์สินเป็นของเรา ญาติพี่น้องเพื่อนฝูงเป็นของเรา อารมณ์ทุกข์มันก็เกิด เกิดเพราะว่าเราเกาะ ที่เรียกว่า อุปาทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โลกธรรม 8 ประการ คือ มีลาภ ดีใจ ลาภสลายตัวไป เสียใจ มียศดีใจ ยศสลายตัวไป เสียใจ มีความสุขในกาม ดีใจ ความสุขหมดไป ร้อนใจ ได้รับคำนินทา เดือดร้อน ได้รับคำสรรเสริญ มีสุข องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแนะนำให้พวกเราใช้อารมณ์คิดอยู่เสมอว่า ทุกข์นี้เป็นกฎธรรมดาของโลก ทุกอย่างเราทำงานตามหน้าที่
    4) แล้วตัวสำคัญที่ร้ายที่สุดที่สร้างความทุกข์ ก็คือ อารมณ์ความรักในกามารมณ์
    นี่ ตัวสำคัญ เป็นตัวสร้างเหตุร้ายให้เกิดขึ้นกับจิต หรือเป็นเหตุให้เกิดขึ้นกับจิต หรือเป็นเหตุให้เกิดขึ้นกับกาย อาศัยความรักเป็นสำคัญ ที่เราจะต้องเศร้าโศกเสียใจ เพราะอาศัยของรักพลัดพรากไป ภัยอันตรายจะเกิดขึ้นกับเรา โทสะ ความพยาบาทมันจะเกิดขึ้น จะต้องประทุษร้ายซึ่งกันและกัน ก็เพราะว่าสิ่งที่เรารัก ความรักที่เนื่องด้วยกามารมณ์ไม่มีสำหรับเราแล้ว มันจะเป็นภัยอันตรายมาจากไหน จะมีความเศร้าโศกเสียใจมาจากไหน ตอนนี้เป็นอันว่า กิเลสหยาบหมดไป ที่องค์สมเด็จพระจอมไตรว่า อันนี้เป็น อธิจิตสิกขา ก็หมายความว่า ต้องทรงอารมณ์ในด้านความรู้สึกอย่างนี้เป็นปกติ มีความเข้มแข็งพอที่จะไม่ทำลายความดีส่วนนี้ไปจากจิต มันจะทรงอยู่ได้ทุกขณะจิต ที่ชีวิตเราทรงอยู่ตลอดไป
    5) เหตุของความทุกข์จริง ๆ คือ ตัณหา ได้แก่ ความทะยานอยาก เมื่อเรามีตัณหาขึ้นมาแล้วร่างกายมันจึงมี อารมณ์จิตเรามีตัณหา มันจึงมีร่างกาย ร่างกายเป็นจุดรับภาระของความทุกข์ทั้งหมด ขึ้นชื่อว่าทุกข์ทุกอย่างที่เราจะมีขึ้นมาได้ ก็อาศัยร่างกายเป็นสำคัญ ถ้าเราไม่มีร่างกายเราก็ หมดตัณหา ถ้าหมดทั้ง 2 อย่าง คือ หมดตัณหาก็ชื่อว่าหมดร่างกาย ถ้าเราไม่ติดอยู่ในร่างกายก็ชื่อว่าหมดตัณหา คำว่าไม่ติดในร่างกายก็หมายถึงว่า ไม่ติดอยู่ในร่างกายของเราด้วย และก็ไม่ติดอยู่ในร่างกายของบุคคลอื่นด้วย อารมณ์ไม่ติดอยู่ในวัตถุธาตุใด ๆ ด้วยโดยยอมรับนับถือกฎของธรรมดา ที่เราเรียกกันว่า วิปัสสนาญาณ ตัวสุดท้าย การยอมรับนับถือนี้ก็หมายถึง ว่าอารมณ์มัน เฉย คำว่าอารมณ์เฉย ไม่ได้หมายความว่า อารมณ์ไม่คิดตามที่เขาบอกว่าอารมณ์ว่าง ว่างโดยไม่คิดอะไรเลยนั้น ไม่มีในชีวิตของคน
    6) อริยสัจ เขาสอนสองอย่างเท่านั้น สำหรับอีกสองอย่าง ไม่มีใครเขาสอนหรอก อย่าง นิโรธะ แปลว่า ดับ อันนี้มันตัวผล ไม่ต้องสอน มันถึงเอง มรรค คือ ปฏิปทาเข้าถึงความดับทุกข์ มันก็ทรงอยู่แล้ว คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นี่ อริยสัจ เขาตัดสองตัว คือ ทุกข์ กับสมุทัยเท่านั้น

    </td></tr></tbody></table>
     
  16. pom_chaovarit

    pom_chaovarit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    3,805
    ค่าพลัง:
    +9,776
    <table border="1" cellpadding="2" cellspacing="2" width="90%"><tbody><tr><td align="center">อริยสัจ 4 (ตอนที่ 2)</td></tr><tr><td align="right">โดย พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน</td></tr><tr><td align="left"> เมื่อวานนี้พูดกันไปบ้างแล้ว เมื่อคืนนี้กลับไปที่กุฏิ ตอนหัวค่ำพระท่านมาบอกว่า การสอน ศีล สมาธิ ปัญญา บอกว่า ให้รู้จักเอาศีลขังตัณหา สมาธิกอดคอตัณหา ปัญญาห้ำหั่นตัณหา คือ ฟันเป็นท่อนเป็นตอน ท่านว่าอย่างนั้น นี่ผมก็ต้องเรียนมาเหมือนกันนะ คือ ถ้าเอาตามแบบผมละคุณเรียนไป 100 ปี ไม่ได้อะไรนะ เมื่อคืนนี้ท่านมาว่าอย่างนั้น
    พอตอนเช้ามืดท่านบอกอีกจุดหนึ่ง คนที่เห็นอริยสัจนี่ ถ้าเราพูดตามแบบก็เห็นยาก ให้หาจุดปลายทางจริง ๆ ก็คือ มรณานุสสติกรรมฐาน นึกถึงความตายเป็นอารมณ์ นี่ก็ไป ๆ มา ๆ เราก็ทิ้งสมถะไม่ได้ อริยสัจนี่เป็นวิปัสสนาญาณ ถ้าหากว่าเราทิ้งสมถะเสียแล้ววิปัสสนาญาณไม่มีผล ผมเคยบอกมาแล้ว สมถะมีความสำคัญมาก เป็นตัวกล่อมจิตให้ทรงตัวอยู่ ให้จิตมีกำลังและก็เป็นพื้นฐานของวิปัสสนาญาณ
    ฉะนั้น ถ้าบุคคลใดเก่งในสมถะ และมีความคล่องแคล่วในสมถะ สามารถจะเข้าฌานแต่ละระดับได้ตามปกติคำว่าปกติ ก็หมายความว่า คิดจะเข้าฌานเมื่อไรจิตเข้าเป็นฌานทันที ไม่ยอมเสียแม้แต่เวลาครึ่งของวินาที ครึ่งวินาทีนี่อย่านึกว่ามันเร็ว มันช้าไปนะ แม้แต่นิดหนึ่งของวินาที พอคิดว่าเราจะเข้าฌานจิตก็จะเข้าฌานเต็มที่ จะเข้าฌานไหนก็ได้ การทรงฌานจะเป็นการทรงแบบไหนก็ได้ เรียกว่าในกรรมฐาน 40 กอง กองใดกองหนึ่งก็ได้ตามอัธยาศัย นี่ถ้ากำลังจิตเราแบบนี้นะ ถ้าเป็นฌานในส่วนของรูปฌาน แต่นี่ผมมวยหมู่ล่อกรรมฐาน 40 ได้แบบนี้เข้าให้ กรรรมฐาน 40 นี่หมายถึงอรูปฌานด้วย ถ้าหากว่าเราสามารถทรงฌานในกรรมฐาน 40 ก็ได้อรูปฌานด้วย คล่องตามอัธยาศัย ตั้งใจเข้าเมื่อไรได้เมื่อนั้น นี่หากว่าเราใช้อรูปฌาน เป็นพื้นฐานของวิปัสสนาญาณ
    วิปัสสนาญาณนี่มีตัวเดียว ได้แก่ การพิจารณาขันธ์ 5 นี่ เราเรียนกันมาแล้ว เรื่องขันธ์ 5 ก็เรียนกันมา อายตนะนี่ก็คือขันธ์ 5 ใช่ไหม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกสูกกลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายสัมผัส ไอ้ใจนึกพลุ่งพล่านไปตามอารมณ์นี่มันก็ไปเจอะไปชนขันธ์ 5 ทีนี้มาถึงโพชฌงค์ 7 โพชฌงค์ 7 มีสติเป็นต้น ก็ไปชนขันธ์ 5 ไปนึกอะไรก็ไปใคร่ครวญขันธ์ 5 กัน
    ทีนี้มาถึง อริยสัจ ก็มาเล่นกับขันธ์ 5 อีก ไอ้ตัณหาตัวนี้ก็เข้าไปอยากได้ขันธ์ 5 นี่ ผมไม่เห็นมีอะไร ผมว่าง่ายจริง ๆ ไม่มีอะไรยาก มันไม่มีอะไรยากเลย เป็นอันว่า วิปัสสนาญาณมันมีตัวเดียวคือ พิจารณาขันธ์ 5
    ลีลา การแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า การสอนของพระพุทธเจ้าทรงมีความฉลาดมาก ใช้ระบบหลาย ๆ วิธี อัธยาศัยของคนนี้ไม่ตรงกับจุดนี้ก็ไปชนกับจุดนั้น เรียกว่าชนกันเป้าหนึ่ง ตั้งเป้าไว้หลาย ๆ เป้า ให้มันติด ๆกัน เรายกปืนขึ้นยิงไม่ถูกเป้านี้มันก็ถูกเป้านั้น เป้าใดเป็นหนึ่ง จะเป็นเป้าใดก็ตาม ตั้งแต่เราศึกษาขันธ์ 5 กันมา ถ้าเราเข้าถึงจริง ๆ เขาเป็นพระอรหันต์กันนับไม่ถ้วนนะขันธ์ 5 นี่ แล้วก็เวลาต่อมาเราก็มาเรียนอายตนะ หรือโพชฌงค์ ตัวโพชฌงค์นี่ก็ตัวบรรลุตัวอายตนะ นี่ก็ตัวบรรลุ
    ทีนี้มา ตัวอริยสัจ ก็ต้องพิจารณาขันธ์ 5 มันหนีกันไม่ได้ ทุกข์อะไรมันทุกข์ล่ะ เพราะเราใคร่ครวญ เราพอใจในขันธ์ 5 มันจึงทุกข์ ตัวทุกข์จริง ๆ มันอยู่ที่ใจ ที่เราทุกข์เพราะเราเอาจิตไปยึดไปถือ ถือว่าเป็นเราเป็นของเรา แล้วใจเราก็ไม่ยอมรับนับถือกฎของความเป็นจริง มันเกิดแล้วมันจะ แก่ เราก็ดันไปห้ามแก่ไว้ เกิดแล้วจะป่วยไข้ไม่สบาย จะไปห้ามได้อย่างไรล่ะ ห้ามไม่ได้ไอ้เราทำแบบนั้นมันทุกข์ ใจเราก็ทุกข์ ทุกข์เพราะร่างกาย ทรุดโทรม เราไม่อยากให้มันทรุดโทรม แล้วเราก็ไม่พยายามศึกษาหาความจริง ว่าร่างกายมันเกิดมาแล้วมันต้องทรุดโทรมเป็นปกติ เคลื่อนไปหาความพังทุกวินาที ความป่วยไข้ไม่สบายมันเกิดขึ้นเป็น ปกติ โรคแปลว่า เสียดแทง ไอ้การที่เราไม่สบายกายไม่สบายใจก็ชื่อว่าป่วย เรียกว่าโรค โรคทั้งนั้น ที่พูดว่า ชิคัจฉา ปรมา โรคา ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง อันนี้นาน ๆ หิว เช้ากินอิ่มแล้วมันก็พักเสียดแทงไปชั่วคราว ตอนกลางวันมันจะกินใหม่มันเริ่มหิว มันก็เสียดแทง แต่โรคเจ้าหนี้ทวงมันเสียดแทงทุกเวลา เจ้าหนี้ทวง หรือ ไม่ทวง ก็นึกอยู่เรื่อย กลัวเจ้าหนี้จะมา
    ทีนี้เรามาว่ากันถึง เรื่องทุกข์ ทุกข์เพราะตัณหาคือ ความอยาก นี่เมื่อคืนตอนเช้ามืด ท่านมาบอกว่า ถ้าจะพูดเรื่องอริยสัจ มันก็ไปชนกับขันธ์ 5 กับอายตนะ ชนกับโพชฌงค์ มันหนีกันไม่พ้น แต่ทว่าพูดไปเข้าใจยาก ท่านก็เลยบอกว่า ให้ทุกคนจับมรณานุสสติกรรมฐานเป็นอารมณ์ แล้วจะมีความรู้สึกง่าย
    มรณานุสสตินี่แปลว่าอะไรเล่า ความจริงตายนี่มันตายทุกวินาทีนะ จิตมันเคลื่อนไป ความเสื่อมโทรมของร่างกายเคลื่อนไป มรณานุสสติกรรมฐานนึกถึงความตายเป็นอารมณ์ ท่านบอกว่า ถ้าเราไปสอน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี่มันไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือ ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่มีในเรา เข้าใจยาก มันยากจริง ๆ ถ้าเรามาคิดกันตัวปลายสุด ไอ้ร่างกายของเรานี่มันตายแน่ นี่มันเห็นชัดดีนะ ก็จริงของท่าน เราก็ตายเขาก็ตาย ในเมื่อตายแล้วมีอะไรบ้างที่เราจะแบกไปได้ นี่เรามานั่งยึดถือว่านี่เป็นของเรา นั่นก็เป็นของเรา สิ่งที่ไม่มีอยากให้มีขึ้น ตัณหา แปลว่า ความอยาก
    กาม ตัณหานั้นอยากได้ในสิ่งที่ไม่พึงจะมี ไม่มีให้มันมีขึ้น มีอะไร อยากรัก ยังไม่มีเมียอยากมีเมีย ยังไม่มีผัวอยากมีผัว ยังไม่มีลูกอยากมีลูก อีตัวเริ่มอยากมีเมีย ยังไม่มีผัว อยากมีผัว ยังไม่มีลูกอยากมีลูก อีตัวเริ่มอยากเริ่มทุกข์แล้ว กลัวจะไม่สมความปรารถนา พอได้เริ่มทุกข์ เพราะว่างานมันเพิ่มขึ้น พอไอ้แอ๊วโผล่มายิ่งยุ่งใหญ่เลย นอนไม่หลับแล้ว หมอก็หมอเถอะ ไอ้ลูกป่วยขึ้นมานอนไม่หลับเหมือนกัน รักษาไม่ได้ไอ้ลูกอ่อน นี่เป็นหมอแค่ไหนก็ลูกอ่อนเหมือนกัน ดีไม่ดีหมอก็อุ้มลูกไปหาหมออื่นอีก นี่ความจริงเป็นอย่างนั้น นี่เราจะป้องกันความอยากกัน เรื่องอยากนี่เราพูดกันมาตั้งแต่เมื่อวาน
    ทีนี้พระพุทธเจ้าบอกว่า เรา จะต้องกัน เราจะต้องดับตัณหาจริง ๆ ให้หาตัวมรณานุสสติ ไอ้ตัวตายเข้ามาเป็นที่ตั้ง เป็นพื้นฐานว่านี่เราตายแล้ว เราแบกอะไรไปได้บ้าง ก่อนที่เราจะตายมันเต็มไปด้วยความทุกข์ ไอ้ตัวทุกข์นี่เราก็พูดกันมานานแล้ว ว่าทุกอย่างในโลกมันเป็นปัจจัยของความทุกข์ทั้งหมด ไม่ใช่ปัจจัยของความสุข เพราะมันเพิ่มภาระ และก็เพิ่มความห่วงใย อารมณ์จิตเข้าไปหน่วงเหนี่ยว คนก็ดี วัตถุก็ดี สัตว์ก็ดี ที่เป็นที่รักของเรา ถ้าบังเอิญตายไป หรือพังไป ใจเราก็ไม่สบาย เราไม่ต้องการให้มันเป็นอย่างนั้น นี่มันเป็นอาการของความทุกข์
    ทีนี้ท่านก็เลยบอกว่า ถ้า เราจะตัดตัณหาทุกอย่าง กามตัณหาก็ดี ที่เราคิดว่าของมันไม่มีอยากให้มีขึ้น ภวตัณหา ที่มีแล้วอยากให้มันทรงตัว วิภวตัณหา เมื่อสิ่งเหล่านั้นเคลื่อนไปตามสภาพของมัน ถือเป็นกฎของธรรมดา เราก็หาทางต้านทานว่า ร่างกายเราจงอย่าแก่เลย จงอย่าป่วยเลย จงอย่าไข้ไม่สบายเลย จงอย่าเป็นอย่างนั้นเลย จงอย่าเป็นอย่างนี้เลย มันห้ามไม่ได้ การห้ามไม่ได้มันก็เป็นทุกข์ ทีนี้ก็มานั่งพิจารณา ขันธ์ 5 ท่านบอกดูยาก เราก็นั่งนึกถึงตัวตายกัน นี่เราเกอดมาเพื่อตาย เราไม่ได้เกิดมาเพื่ออยู่ ไอ้สิ่งที่เราพึงหาโดยชอบธรรม และก็ไม่เป็นโทษ ยังมีถมไป
    ทีนี้ตัณหานี่ถ้าตัวต่ำนะ ท่านบอกให้ยับยั้งไว้อยากได้ในสิ่งที่ไม่มีโทษถือว่ายังมีความเบาอยู่ ใช้ได้ นี่ตัวต่ำ ถ้าตัวสูงขึ้นไปตั้งแต่อนาคามีขึ้นไปไม่ได้เลยอยากได้อะไรทั้งหมดในโลกถือ ว่าใช้ไม่ได้ อยากได้แล้วก็เกาะ ถ้าอยากได้มาแล้วไม่เกาะไม่เป็นไร อยากได้สิ่งนี้เพื่อความสะดวกในการเป็นอยู่แล้ว ก็คิดไว้ด้วยว่ามันจะได้มาหรือไม่ได้มาก็ช่างหัวมัน ถ้ามีโอกาสจะได้มาก็เอาเราจะใช้ ถ้าโอกาสที่จะพึงได้มาไม่มีก็ตามใจมัน เป็นเรื่องธรรมดา เราไม่ฝืนความสามารถและไม่ฝืนโอกาสแบบนี้ใจมันสบายตั้งแต่ก่อนจะได้
    ที นี้พอได้มาแล้วเราก็ทราบเลยว่า ไอ้ตัวเจ้าตัวนี้นะ มันไม่อยู่กับเรานาน มันอาจจะอยู่นาน แต่เราก็ไม่อยู่กับมัน ไม่มันกับเราสักวันหนึ่งจะต้องจากกันและก่อนที่จะจากกันมันจะทรงสภาพอย่าง เดิมอยู่ไม่ได้ มันจะมีสภาพเก่า ๆ ทรุดโทรมเปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา หาทางพัง มันไม่ได้เปลี่ยนไปหาทางดี เปลี่ยนไปหาทางพัง เมื่ออยากจะพังก็พัง แก้ไขไม่ได้ แก้ไขได้ก็แก้ไข แก้ไขไม่ได้ก็แล้วไป นี่ความสบายมันก็เกิดขึ้น เวลามันพังไม่ถือเป็นเรื่องหนักใจ เรารู้อยู่แล้ว แล้วจิตของเราพร้อมแล้ว ถ้ามันเป็นอย่างนั้นจริง ๆ เราจะถือว่าเป็นเรื่องปกติ นี่อาการอย่างนี้จะเกิดขึ้นได้จริง ๆ เราต้องมัดความตายเข้ามาเทียบ นี่เป็นสมถภาวนา ถ้าใครเขาบอกว่าสมถะ เก่งหรือวิปัสสนาเก่ง ต้องบอกต้องเก่งคู่กัน เก่งคนเดียวใช้ไม่ได้ เก่งสมถะเป็นโลกียฌาน เดี๋ยวเจ๊ง เก่งวิปัสสนาอย่างเดียวไม่มีสมถะ ไม่มีทางจะได้อะไรเลย
    ท่านบอกว่า ให้นึก ถึงความตายเป็นปกติ เรารู้อยู่ว่าเราจะตายเสียอย่างเดียว ถ้าเราไม่ลืมความตาย ความเมามันก็น้อย อารมณ์ที่จะเกิดตัณหาคือความอยากมันก็เบา มันอาจจะอยากอยู่บ้าง แต่ว่าอยากพร้อมกับปล่อยอยากได้มาพร้อมกับอารมณ์ปล่อย มันมีอยู่เสมอ จะได้มาหรือไม่ได้มาก็ไม่หนักใจ หรือโอกาสยังมาไม่ถึง เมื่อได้มาแล้วเราก็พร้อมใจรู้อยู่แล้วว่ามันจะพัง มันจะต้องเก่า มันจะต้องทรุดโทรม มันจะพังหรือมันจะไม่พังแต่ขโมยอาจเอาไปเสียก่อนก็ได้ ถ้าอาการอย่างใดอย่างหนึ่งปรากฏเราก็สบายใจ นี่ถือตัวมรณานุสสติกรรมฐานเป็นพื้นฐาน
    แต่ว่าไอ้ ตัวนี้ก่อนที่มันจะเกิด มันแย่เหมือนกันนา กว่าจะหาไอ้ตัวนี้ได้ต้องมีเครื่องมือเข้ามาช่วยมีเครื่องมืออันดับแรกหรือ ทั้ง 3 อันดับก็ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา อยู่แล้ว เราจะมานั่งพิจารณาแบบนี้หาความตายเป็นพื้นฐาน เอามาเปรียบเทียบกับอารมณ์ของวัตถุหรือบุคคลว่ามันเป็นไปตามกฎธรรมดา มันเป็นไปไม่ได้ อยู่ ๆ มันเกิดไม่ได้ มันก็ต้องมีพื้นฐาน คือ เครื่องมือสำหรับใช้ เรียกว่าจะขึ้นบันได จะขึ้นบ้านขึ้นตึกมัน ต้องมีบันได อยู่ ๆ กระโดดขึ้นไปบนหลังคาตึกน่ากลัวจะไม่สำเร็จ อันดับแรกเมื่อเรานึกถึงความตายเป็นอารมณ์ เมื่อนึกถึงความตายแล้วจิตมันก็ยังดิ้นอยู่ ไอ้ความทะเยอทะยานของจิต อยากได้โน่นอยากได้นี่ อยากให้มันทรงตัว อยากจะฝัน มันก็ทรงตัวอยู่ และคิดว่าถึงแม้ว่าเราจะตายแล้ว ลูกหลานก็ยังจะได้ใช้
    ทีนี้วิธีที่จะป้องกัน และจะทำลายทิพย์อำนาจของตัณหาอันดับแรก ตามที่พูดเมื่อวานนี้ ใช้ ศีลครอบมันเข้าไว้ เอาศีลเข้าไปขังตัณหาคือความอยาก เอาศีลทำลูกกรงครอบตัณหาเข้าไว้ มันอยากได้โน่นอยากได้นี่ ให้มันวิ่งคึ่กคั่ก ๆ เอาไว้ มันโผล่มากัดไม่ได้ อยู่ ๆ เป็นพระอยากจะมีเมียจะไปมีได้ที่ไหนก็ไม่ได้ ศีลมันค้ำอยู่นี่ ตัณหามันเกิดแล้ว แต่ว่าขังตัณหาไว้ด้วยอำนาจของศีล อยากรัก รักก็รักได้ แต่ก็รักแล้วอย่าไปยุ่งกับใครเขา รักแต่อยู่ในใจยุ่งเข้าก็อาบัติกินศีล ศีลบกพร่องไม่ได้ อันดับแรกศีลขังตัณหาเข้าไว้
    ที นี้พออยากจะรวย อยากไปค้าขายกับเขาบ้าง จะไปรับจ้างเขาบ้าง ศีลของพระมันบังคับนี่ ศีลบังคับให้พระประกอบอาชีพใด ๆ ไม่ได้ ผิด เป็นไง ขังไว้อีกตัวชิ ไอ้ตัณหาอยากรวยถูกขังไว้อีกแล้ว ดิ้นโครม ๆ
    ที นี้ตัณหาอีกตัวมา อยากจะฆ่าหมอนี่มันพูดไม่ถูกใจ ทำอะไรไม่ถูกใจ ฆ่ามันเสียเถอะ แหม….ฆ่าได้ที่ไหนศีลขาด นี่ศีลขังตัณหาเสียแล้ว ตัณหาคือ อยากฆ่านะ
    ทีนี้ตัณหาตัวหลง ไอ้โน่นก็ดี ไอ้นี่ก็ดี โน่นของกู นี่ก็ของกู ไอ้สิ่งที่ว่าเป็นของกูแบบนี้พระใช้ไม่ได้ ใช้เมื่อไรลงนรกเมื่อนั้น
    พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ อนิจจังหาความเที่ยงไม่ได้ ทุกขัง มีสภาพเป็นปัจจัยของความทุกข์ อนัตตา มันสลายตัว ในเมื่อมันจะพัง มันมีอะไรเป็นของเรา ทีนี้ไอ้ตัวความเมาของจิตก็ยังมีอยู่ ก็ดิ้นอยู่ในลูกกรง โผล่มาไม่ได้ก็ช่างมัน เก่งก็เก่งในลูกกรงนะ ไอ้เจ้าศีลตัวนี้ ถ้ามันขังไว้จริง ๆ คือว่าสิกขา 3 อธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา อธิปัญญาสิกขา นี่ก็บรรดาท่านพุทธบริษัทที่ประกาศตัวเป็นสาวกของพระพุทะเจ้าจริง ๆ ต้องทรงสิกขา 3 ประการให้ครบถ้วน ใช้คำว่า อธิ แปลว่า ยิ่ง คือ เอากันจริง ๆ ไม่ใช่ล้อเล่น หรือว่าหลอกเล่น อธิศีลสิกขา เราจะไม่ยอมให้สิกขาบทของศีลทุกสิกขาบท ถ้าเราเป็นฆราวาสก็ศีล 5 หรือว่าศีล 8 เป็นเณร ศีล 10 เป็นพระศีล 227 ทั้งหมดนี้เราจะรักษาศีลยิ่ง
    คำว่ายิ่ง เขาทำยังไง
    1.เราจะไม่ทำลายศีลด้วยตนเอง
    2.จะไม่ยุให้ใครทำลายศีล
    3.จะไม่ยินดีหรือไม่พอใจเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว
    นี่รวมความว่า ศีล ทั้งหมดที่เรามีอยู่ เราจะไม่ยอมให้มันบกพร่องแม้แต่ข้อเดียว ทำลายศีลเราก็ไม่ทำลาย ยุให้ใครทำลายก็ไม่ยุ ไม่ยินดี เมื่อทำลายแล้วก็ไม่ยินดี อย่างนี้เรียกว่ารักษาศีลยิ่ง ทีนี้ใน เมื่อจิตใจของเราอยู่ในขอบเขตของศีล ลองดูซิว่า ไอ้ตัณหา ความอยากมันจะอยากได้สักแค่ไหน คือว่ามันก็จะทรงตัวอยู่ ข้างในดิ้นคึ่กคั่ก ๆ มันก็จะดิ้นอยู่เฉย ๆ มันโดดมาทำร้ายใครเขาไม่ได้ ใช่ไหม มันจะมาอย่างไร รักก็รักได้ ในเมื่อเรามีศีลเขาห้ามก้าวก่ายกับความรัก มันก็นึกได้อย่างเดียว นึกรักแต่แสดงความรักกันจริง ๆ ไม่ได้ ในด้านกามารมณ์
    ทีนี้ความโลภ นึกอยากรวยได้ แต่ทำไม่ได้มันละเมิดศีล ใช่ไหม อยากจะฆ่าเขา นึกได้แต่ทำไม่ได้ ถ้าไปฆ่าเขาเดี๋ยวศีลขาด ไอ้ตัวหลงคือ โมหะ ว่านั่นเป็นของกู นี่เป็นของกู ก็นึกได้เหมือนกัน แต่สะสมจริง ๆ ไม่ได้ เพราะศีลบังคับอยู่
    นี่เป็นอันว่า อธิศีล สิกขา คือว่าสิกขาตัวต้น พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า เรามีศีลเพื่อขังตัณหา เรามีศีลตัวเดียวเราทำลายกิเลสตัณหาไม่ได้ แต่ว่าเราขังความชั่วคือตัณหาไว้ได้
    คำว่า ตัณหา นี่แปลว่า ใฝ่ต่ำ นะ อยากจะไปสวรรค์ ไปพรหม ไปนิพพาน อันนี้ท่านไม่เรียกว่า ตัณหานะ มันตัวอยากเหมือนกัน ท่านเรียกว่า ธรรมฉันทะ มีความพอใจในธรรม
    พวก คุณต้องรู้ไว้ด้วยนะ เดี๋ยวพวกคุณจะไม่เข้าใจถามว่าไอ้คำว่าอยากนี่มันเป็นตัณหา ทีนี้อยากไปสวรรค์ อยากไปพรหม อยากไปนิพพาน เป็นตัณหารึเปล่า ถ้าย่องไปตอบว่าเป็นตัณหาเข้านี่มันผิดจังหวะ ต้องระวังด้วยนะ ต้องว่าอยากดีไม่ใช่อยากเลว เราอยากไปสวรรค์นี่ คนที่อยากไปสวรรค์เป็นเทวดาได้ ต้องอย่าลืมคุณ… ต้องมีหิริและโอตตัปปะ อายความชั่ว เกรงกลัวผลของความชั่ว นี่มันดีหรือมันเลว อายความชั่วเราก็ไม่ทำชั่ว เกรงกลัวผลของความชั่วเราก็ไม่ทำชั่ว
    ที นี้จะถือว่าตัณหาเป็นกิเลสเลวไม่ได้ นี่เป็นตัวดี แต่เป็นตัวดีก้าวที่ 1 อย่าไปนึกว่าแค่สรรค์นี่เป็นกามาวจร ยังมีผัวมีเมีย มีผู้หญิงมีผู้ชาย อย่าลืมว่าสวรรค์เป็นก้าว ก้าวหนึ่งที่จะเข้าถึงพระนิพพาน ดีกว่าเราก้าวลงนรก
    ก้าว ที่สอง อยากไปพรหม ถามว่าเป็นตัณหาไหม ก็จะตอบว่าเป็นตัณหามันไม่ถูก พรหมน่ะเขาเป็นคนอยู่คนเดียวนะ เอกายโน อยัง ภิกขเว จริง ๆ คือ มีตัวผู้เดียว พรหมไม่มีคู่ แล้วพรหมก็ไม่มีเพศ นี่เรียกว่า มีสภาพใกล้พระนิพพานเข้าไป อย่างนี้ต้องเรียกว่า ธรรมฉันทะ ถ้าอยากไปนิพพานนี่เราไม่ต้องพูดกันเป็นธรรมดาจริงๆ ธรรมบริสุทธิ์ถึงแม้ว่าเป็นเทวดาก็ต้องบริสุทธิ์เบื้องต้น บริสุทธิ์คือเราไม่ทำความชั่ว คืออยากไปเป็นพรหม จิตเราระงับนิวรณ์ 5 ประการ จัดเป็น เนกขัมมบารมี นี่มันเลวที่ไหน ดีมาก สามารถกดคอกิเลสได้ไม่ให้มันโงไม่ได้ ความจริงเราไม่ได้ฆ่ามัน แต่กดคอมันไว้ แต่พอมันลุกมาได้เมื่อไหร่ มันล่อหงายท้อง หงายไปหลายองค์แล้ว พระได้ฌานสมาบัติทำหน้าทำตา ตั้งท่าหลับตาปี๋ ไม่กี่วันไป ถามใหม่สึกแล้วจะกดคอกิเลส หรือกิเลสมันกดคอเข้าไว้ก็ไม่รู้ ชักสงสัย
    นี่เป็นอันว่า ศีลที่เราทรงไว้ได้ก็ขังตัณหาไว้ได้ นี่ เรียกว่าใช้กำลังเบา ๆ มันเป็นกำลังเบาขังไว้ มันอยากจะดิ้นก็เชิญดิ้น มันจะดิ้นก็ดิ้นไป อออกมากัดใครเขาไม่ได้ มันจะเอะอะโวยวาย ก็แต่อยู่ในลูกกรง พระพุทธเจ้าจึงบอกว่า ในขั้นต้นต้องทำอธิศีลสิกขาให้ได้ และก็นึกถึงความตายไว้เป็นปกติพื้นฐาน ถ้าเรามีศีลบริสุทธิ์ ถึงแม้ว่าเราจะไปนิพพานไม่ได้ แต่เราก็ไม่ไปอบายภูมิ เราไม่เกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน เท่านี้พอใจรึยัง
    มีศีลชื่อว่าเราขังตัณหาไว้ได้ ความจริงเราขังไว้แล้วมันดิ้น มันดิ้นมันออกไม่ได้ หนัก ๆเข้ามันก็เพลียเหมือนกันนะ มันไม่มีอะไรกิน ปล่อยมันอดอยู่อย่างนั้น ใช่ไหม ใครเขามาก็ชะเง้ออยู่ข้างหน้าต่าง แต่งตัวสวย ๆ รูปร่างหล่อ ๆ มาก็นี่ลูกสาวใครหว่า นี่ตัณหารัก ตัณหาโลภ แหม…เขาขี่รถยนต์สวย ๆ มันโก้จริงนะ โผล่หัวไปไหนไม่ได้ ไอ้ตัณหาโกรธ คิดจะไปฆ่าใคร ไปไงล่ะ ปืนก็ไม่มี มีดก็ไม่มี มีดพับมีก็ต้องหักปลาย ก็ได้แต่ดิ้นอยู่ในลูกกรง ดินไปดิ้นมา ดิ้นมาดิ้นไป มันออกไม่ได้ เพลียหนัก ๆ เข้าดิ้นอะไรดิ้นไปก็ไปไม่ได้ นอนเฉย ๆ ดีกว่า อีตอนนอนบางทีไม่เฉยเหมือนกันนา บางทีนึกว่าดิ้นไม่โผล่หน้าต่าง แต่ใจนึกโผล่อีกทีน่ะซี แหม….ลูกสาวคนนั้นก็สวยดีนะ บ้านนี้ก็รวยดี ทองนี่มันสำคัญ แบ็งค์ก็ปึกใหญ่ ๆ มากท่าจะดีนะ มีความสุขถ้าเรามีได้ นี่เป็นอันว่ามันเป็นอารมณ์ที่มันดิ้นอยู่ข้างใน ถ้ามันดิ้นนาน ๆ มันก็ชักจะเพลียเหมือนกัน
    ทีนี้พอเราขังมันได้แล้วด้วยอำนาจของศีล ขังนะไม่ได้ฆ่า ต่อมาระดับที่สอง ท่านบอกว่า ตัณหาถ้าขังไว้เฉย ๆ ชักไว้ใจไม่ได้เหมือนกัน เพราะมันเป็นพิษร้าย ดีไม่ดีถ้ามันลอดหลุดออกมาเมื่อไร ฟัดไม่เลือกเลย ไอ้แบบพระบวชนาน ๆ นี่สึกไปเมากินเหล้าหัวโงขึ้นไม่ได้ ขังวตัณหาไว้
    มา อีกจุดหนึ่ง ในเมื่อเราขังมันได้ดีแล้ว ต้องขังให้ดีเสียก่อนนะ ถ้าเราขังไม่ดีละก้อเราทำลายไม่ได้ อย่าให้มันหลุดมาได้ มาอีกจุดหนึ่งท่านบอก กดคอตัณหาให้มันจมลง นี่ยังไม่ฆ่านะ เมื่อขังให้มันดิ้น ดิ้นไปดิ้นมา จนมันเพลียใกล้จะหมดแรง ทำท่าจะได้ท่าก็จับมันกดคอลงไปเลย กดคอให้มันนั่งเฉย ๆ เข้าไว้ อีตอนกดคอนี้ ทีเผลอมันก็โผล่มาเหมือนกัน นี่เป็นเรื่องธรรมดา ตอนกดคอตัณหานี่เขาทำอย่างไร ก็ทำสมาธิให้เกิด ตัวสมาธิเป็นการกดคอตัณหา เพราะอะไร เพราะว่าเราไม่ได้ฆ่ากิเลสเท่านั้น ขั้นสมาธิธรรมดาถ้าไม่ถึงความเป็นพระอริยเจ้า ท่านบอกว่าไว้ใจไม่ได้ กิเลสมันจะโผล่ขึ้นมาเมื่อไร ก็ได้เป็นแต่ระงับกิเลสเท่านั้น ถึงว่าจะเป็นการระงับ กดคอแล้วฆ่าไม่ได้ มันก็ยังเป็นคน เพราะจิตของเรานี่สามารถจะมีอารมณ์เป็นทิพย์ได้ มันก็ไม่เลวนะ เราสามารถจะเห็นผี เห็นเทวดา เห็นนรก เห็นสววรค์ ระลึกชาติได้ รู้ใจบุคคลอื่น มันเยอะ นี่กำลังสมาธิแคบ ถ้าเราได้อภิญญาสมาบัติ อภิญญาสมาบัตินี่ก็ได้ ขั้นสมาธิ ขั้นโลกีย์เหาะเหินเดินอากาศ เนรมิตอะไรได้ ไม่เห็นยากเลย ตัวสมาธิที่เราจะสร้างให้มันเกิด เราจะทำแบบไหน นี่เราก็ต้องไปย้อนไปถึงอารมณ์สมถะเดิม ใช่ไหมเห็นจะไม่ต้องอธิบายกันมาก
    ทีนี้มาย้อนถึงสมาธิ ไอ้ตอนที่จะปราบตัณหา ต้องปราบเป็นขั้น ๆ พระพุทะเจ้าท่าเทศน์ย้อนมาแบบนี้เราก็ต้องย้อนไป จะไปตัดของท่านเลยไปไม่ได้ วิธีทำสมาธิ กดคอตัณหาเขาทำอย่างไร เราก็ต้องไปนั่งคลำว่า ศัตรูของสมาธิเบื้องแรกมัน คือใคร ต้องหาศัตรู ไอ้ตัวไหนที่เราทำจิตเราไม่ให้เข้าถึงฌาน รู้จักหน้าไหม ตัวนิวรณ์ ถ้ามันเข้ามาถึงใจเรามันสร้างความวอน วอนอยู่เรื่อย วอนจะลงนรก ตัวสมาธิที่มันจะเป็นได้ก็ คือ เราต้องระงับนิวรณ์ 5
    เรา ต้องระงับความพอใจในรูปสวย เสียงเพาะ กลิ่นหอม รสอร่อย การสัมผัสตามความพอใจ และอารมณ์ที่เกลือกกลั้วกับกามารมณ์ นี่เป็นแค่ระงับชั่วคราวนะ ขณะที่เราต้องการจะให้จิตเป็นสมาธิ ต้องตัดมันได้ทันที ปั๊บเวลานี้เจ้านี่โผล่ไม่ได้ ฉันมีกำลังมากกว่าแก แกอย่าโผล่หัวขึ้นมานะ ฉันไม่ให้แกโผล่ มันต้องสงบ ฉันต้องเก่ง เราเป็นคนเก่ง
    ขันธ์ 5 รูป เสียง กลิ่น รส น่ะนะ ไอ้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ กามารมณ์ กามฉันทะ ตัวนี้เราจะระงับมันได้ด้วย อสุภ 10 และ กายคตานุสสติ ก่อน เข้าใจแล้วใช่ไหม พูดกันมาแล้ว เรา จะตัดตัวนี้ได้ก็อาศัยการพิจารณากายคตานุสสติกรรมฐานเป็นอารมณ์ จนกระทั่งขึ้นใจจิตเป็นยเอกัคคตารมณ์อย่างนี้เราจะระงับกามฉันทะได้อย่าง สบาย ๆ แต่อย่าเผลอนะ นี่กดคอกันเข้าไว้นะ ไม่ใช่ฆ่าให้ตาย
    ตอนนี้มาถึงด้านโทสะและความพยาบาท นี่เราก็ต้องดับเสียได้ด้วย พรหมวิหาร 4 ประจำใจ มี เมตตา ความรัก กรุณา ความสงสาร แล้วมีอารมณ์ไม่อิจฉาริษยา มีจิตวางเฉย ยอมรับกฎของกรรม ไอ้คนเราลงรักเสียแล้ว ลงสงสารเสียแล้ว มันจะไปฆ่าใครเขา ใช่ไหม มาอีก 4 อย่างก็คือ กสิณ 4 เขาเรียกว่า วรรณกสิณ ได้แก่ กสิณสีแดง กสิณสีเหลือง สีเขียว สีขาว อย่าง ใดอย่างหนึ่ง ทำให้เป็นฌานถึงฌาน 4 นี่พระพุทะเจ้ากำหนดว่า กสิณ 4 อย่างนี้ระงับโทสะได้ นี่อย่างเราชื่อว่ากดคอตัณหาไว้นะ ยังไม่ได้ตัดนะ แค่ระงับยับยั้งเท่านั้นนะ อีตัวระงับนี่จิตมันถึงปัสสัทธิ ปัสสัทธินี่เป็นตัวฌาน ผมลืมโพชฌงค์ไว้วันนั้น ผมมาใส่เสียวันนี้ ใครจะว่าไงก็ว่า ผมไม่เชื่อใครทั้งหมด เพราะเวลาจิตเข้าถึงฌาน อารมณ์มันสงัด สงัดเขาเรียกว่า ปัสสัทธิ จิตก็สงัด ความรักก็ไม่เกิด เห็นคนไหนเดินมาเน่าหมด เจริญอสุภกรรมฐานนี่ เห็นคนเดินผ่านไปผ่านมาเน่าหมดทุกคนนะ มันเน่าหมด เพราะใจเรามีความรู้สึกตามนั้น
    ถ้า เราพิจารณากายคตานุสสติกรรมฐาน เห็นคนเดินปั๊บมันไม่ติดอยู่แค่ผ้า มันทะลุเข้าไปในท้องเลย เห็นตับ ไต ไส้ พุง ปอด เลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง อุจจาระ ปัสสาวะ มันเลอะเทอะไปหมด แล้วมันจะเกิดราคะได้อย่างไร ทีนี้ไอ้ตัวตัณหาอยากรักสวยรักงาม มันก็หมดไป แต่ความจริงมันไม่หมด มันไปตั้งท่า เพราะเรากดคอมันเข้าไว้ ทีนี้มาด้านโทสะ เราก็ระงับมันด้วยพรหมวิหาร 4 หรือ กสิณ 4
    ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน นี่ต้องดูร่างกายด้วย ถ้ามันเกิดความง่วง แสดงว่าไม่ใช่ง่วงจริง ร่างกายของเราต้องการพักผ่อน อย่าไปฝืน ถ้าฝืนเป็น อัตตกิลมถานุโยค ไม่เป็นเรื่อง ใช้ไม่ได้ ไม่มีผล ถ้าหากว่าร่างกายเราปกติ ไม่อดหลับไม่อดนอน โรคภัยไข้เจ็บไม่เบียดเบียน พิจารณาแล้วทีนี้มันง่วงเฉย ๆ มันง่วงเพราะนิวรณ์เข้าทับ คือ ถีนมิทธะ พระพุทธเจ้าบอก ให้ลืมตากว้าง ๆ ไม่ต้องไปหาแม่แรงมาถ่างนะ ลืมตากว้าง ๆ เอาน้ำล้างหน้า ขยี้ตาหรือว่าเดินไปเดินมาเป็นระงับความง่วง ไอ้นี่เป็นเรื่องธรรมดา ๆ
    ที นี้ต่อไป อารมณ์ฟุ้งซ่าน นั่งไปแล้วตั้งใจจะจับลมหายใจเข้าออก ภาวนาอย่างนี้ พิจารณาว่าแบบนี้มันไม่เอาถ่าน มันวิ่งเข้าบ้านเข้าช่องใครเขาไป มันหาที่หยุดไม่ได้ อย่างนี้พระพุทธเจ้าให้ใช้ อานาปานุสสติ คือ กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก โดยไม่ต้องภาวนา
    ข้อที่ 5 ถ้ามีความสงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็จับจุดสั้น ๆ ว่าที่พระพุทธเจ้าบอกว่า คนเกิดมาแล้วมันแก่จริงไหม ถามใจดู ถ้าจริงบอกว่านี่แกสงสัยทำไม และเมื่อความป่วยไข้ไม่สบายมันปรากฎ ถามจริงไหม ถ้าจริงบอกว่า นี่แกสงสัยทำไม และเมื่อความป่วยไข้ไม่สบาย มันปรากฎ ถามจริงไหม ต่อไปทุกคนต้องตายหมด นี่พระพุทธเจ้าเทศน์แบบนี้ ถ้ามันเกิดความสงสัยก็นึกดูว่า ที่พระพุทธเจ้าเทศน์แบบนี้มันตรงกับความจริงไหม ถ้าตรงกับความจริง เราไปสงสัยทำไม นิวรณ์ 5 ประการนี่ถ้าเราสามารถป้องกันให้ไม่มายุ่งกับใจได้ ก็เป็นอันว่าจิตของเรามีสมาธิ แล้วก็สมาธิจุดนี้ก็ปฐมฌานเท่านั้น ไอ้ฌานชั้นสูง ต่อไปผมไม่พูด นี่ผมพูดมานานแล้ว ผมไม่ได้ม่นั่งสั่งสอนสมถะ นี่ แค่ปฐมฌานก็มีกำลังพอที่จะตัดกิเลสเป็นสมุทเฉทปหานได้ คนเราถ้าจิตไม่มีสมาธิถึงปฐมฌาน ให้นั่งพิจารณาวิปัสสนาญาณไปกี่แสนกัปก็ไม่เป็นผลเลย กำลังจิตที่ พิจารณาวิปัสสนาญาณไปด้วย รวบรวมกับกำลังใจด้านสมาธิไปด้วยพร้อม ๆกัน นี่ว่ากันถึงฝ่ายสุขวิปัสสโก และก็สุขวิปัสสโกเด็ก ๆ จิตต้องเข้าถึงอารมณ์ปฐมฌาน พอจิตเข้าถึงอารมณ์ปฐมฌานแล้ว จิตก็จะมีกำลังใช้กำลังวิปัสสนาญาณห้ำหั่นกิเลสให้เป็นสมุทเฉทปหานได้ ฆ่าให้ตายได้
    นี่ เพียงแต่เข้าถึงฌาน เรียกว่าเรากดคอตัณหาเข้าไว้ใช่ไหม แต่กดคอได้ถึงฌาน 4 จะมีกำลังใหญ่ แต่ปฐมฌานกดคอไว้บางทีเผลอ มันก็โผล่พรวดขึ้นมาโผล่ง่าย เพราะกำลังเรายังเด็ก ทางที่ดีใช้กำลังให้ถึงฌาน 4 แล้วก็ทรงฌาน 4 ไว้ให้ได้ จะเข้าฌานเมื่อไรก็ได้ จะกำหนดเวลาเพียงไหน ก็ทรงได้ตามกำหนดของเวลา อย่างนี้กำลังของตัณหาจะตกเพลียไปมาก ดีไม่ดีนึกว่าเราเป็นพระอรหันต์ เพราะอะไร เพราะจะหลับ เราก็ทรงฌาน ทรงฌานจนหลับ ถึงเวลาจะนอนก็นอน ตั้งอารมณ์จับจุดเป็นสมาธิ ทรงถึงระดับฌานหลับไปเลยระหว่างหลับเป็นฌาน เวลาพอตื่นขึ้นมาไม่ต้องไปเตือนมัน มันสตาร์ทเข้าฌานทันที
    ถ้า เราทรงฌานได้ถึงอย่างนี้วันทั้งวัน วันนั้นจะมีอารมณ์เป็นสุข นิวรณ์จะไม่รบกวนจิต จิตจะสะอาดตลอดเวลา นี่ไอ้ทรงฌาน 4 นี่บางคนคิดว่าตนเองเป็นพระอรหันต์กันมาเยอะ ต้องระวังให้ดี ต้องรู้ว่านี่เราทรงจิตขนาดไหนต้องรู้ แต่รู้แบบไหนล่ะ รู้แบบตำรา ตำราเขามีให้แล้วเป็นเครื่องวัด นี่เรียกว่าเรากดคอตัณหาลงไปได้ กดคอจนกระทั่งคล้าย ๆ มันหลับสนิทเลยนะ บางทีเราคิดว่าตาย นี่อย่าเผลอเชียวนะ ถ้าทำได้อย่างนี้จงอย่าเผลอ อย่าคิดว่าเราสำเร็จมรรคผลแล้ว ระมัดระวังให้มาก นี่เอาเสียเยอะแล้ว ทำตั้งท่าเป็นพระอรหันต์เข้าพัก ไป ๆ มา ๆ ที่ไหนได้ สึกเสียแล้วเผลอไปพ่อตัณหาโดดมาขี่คอเสียอีกแล้ว
    อัน นี้เมื่อเราทำอธิจิตสิกขาได้แล้ว เอาสมาธิเข้ากดคอตัณหา พอจิตมีอารมณ์ดีตั้งอารมณ์ให้ได้สักเวลาเท่าไหร่ก็ได้ นี่พูดถึงทรงฌาน 4 กันเสียเลย ว่าทรงฌาน 4 ได้แล้ว ตรงนี้เราก็ใช้วิปัสสนาเป็นอารมณ์ ตัดคอตัณหา ฟันมันเป็นท่อนเป็นตอนไปเลย ฟันให้แหลกให้รานไปไม่ยาก แบบไอ้เสือตายฟันตรงไหนก็ได้ เสือไม่ตายเราจับมัด ดิ้นไม่ได้แล้วฟันตรงไหนก็ฟันได้ จะฆ่าให้ตายเมื่อไหร่ก็ได้ นี่กำลังทรงฌาน 4 นะ แล้วก็สามารถทรงฌาน 4 ได้ตามอัธยาศัย พระพุทธเจ้าจึงได้บอกว่า คน ที่ทรงฌาน 4 ได้และรู้จักใช้อารมณ์ของฌาน 4 ควบคุมวิปัสสนาญาณได้ ถ้ามีบารมีแก่กล้าจะเป็นพระอรหันต์ภายใน 7 วัน ถ้ามีบารมีอย่างกลางจะเป็นพระอรหันต์ภายใน 7 เดือน ถ้าบารมีอย่างอ่อนจะเป็นพระอรหันต์ภายใน 7 ปี เห็นไหม ภายในนะ ไอ้บารมีผมเคยบอกแล้ว บารมี เขาแปลว่า กำลังใจ มีบารมีแก่กล้า คือ มีกำลังจิตเข้มแข็งนั่นเอง ต่อสู้ กับอารมณ์ที่เข้ามาต่อต้าน มีบารมีอย่างกลางอารมณ์มันเข้มข้นเหมือนกัน แต่ว่ามันเข้มบ้างไม่เข้มบ้าง เดี๋ยวก็จริงบ้างเดี๋ยวก็ไม่จริงบ้าง ย่อ ๆหย่อน ๆ ตึงบ้างหย่อนบ้าง เปาะแปะ ๆ ตามอัธยาศัย ถึงก็ช่าง ไม่ถึงก็ช่างปล่อยตามอารมณ์ อย่างนี้ไม่เกิน 4 ปี นี่ผมพูดถึงว่าคน ที่ทรงฌาน 4 ได้ และก็ฉลาดในการใช้ฌาน 4 ควบวิปัสสนาญาณ ถ้าโง่ละก้อดักดานอยู่นั่นแหละ กี่ชาติก็ไม่ได้เป็นพระอรหันต์
    ที นี้ต่อมาเมื่อทรงสมาธิได้แล้ว ก็ใช้ปัญญาเป็นเครื่องตัดกิเลส อันนี้ไม่ยาก ง่ายนิดเดียว นี่ง่ายมาก ถ้าทำถึงฌาน 4 ทรงฌาน 4 ได้แล้วของกล้วย ๆ กล้วยสุกไม่ใช่กล้วยดิบ ง่ายบอกไม่ถูก เราจะมีความรู้สึกเลย แหม…ทำถึงปฐมฌานนี่มันยากกว่าตัดกิเลสเป็นไหน ๆ อีตอนนี้ผมเคยพูดแล้วนะว่า ถ้า ใครสามารถทรงฌานได้ดี เวลาเจริญวิปัสสนาญาณนี่ มันรู้สึกว่าง่ายบอกไม่ถูก ใช้เวลาไม่ช้านิดหน่อย เพราะกำลังเราดีแล้ว เหมือนกับกิเลสทั้งหมดเราจับมัดเสียหมดแล้ว กระดิกกระเดี้ยไม่ได้ ดิ้นไม่ได้เลย ทีนี้เราจะสับฟันตรงไหนก็ได้ตามอารมณ์
    ตอน นี้เมื่อทรงฌาน 4 แล้วเราก็เข้าฌาน 4 เต็มอารมณ์ เราจะใช้วิปัสสนาญาณ เมื่อเข้าฌาน 4 เต็มอารมณ์แล้ว ก็ถอยหลังมาอุปจารสมาธิ เราจะตัดตัวไหนล่ะ ตัดราคะ ความรัก รักสวยรักงาม เราก็ยกอสุภกรรมฐานขึ้นมาเป็นเครื่องเปรียบ ยกกายคตานุสสติกรรมฐานขึ้นมาเป็นเครื่องเปรียบ เปรียบเทียบกันว่าไอ้สิ่งทีเรารักน่ะ มันสะอาดหรือมันสกปรก กำลังของฌาน 4 นี่เป็นกำลังที่กล้ามาก และปัญญามันเกิด พอถึงฌาน 4 ปัญญามันเกิดเอง เกิดชัด มีความหลักแหลมมาก คุณยังไม่ถึงยังไม่รู้ ผมพูดไว้เผื่อคุณจะทำถึง ประเดี๋ยวเดียวมันเห็นเหตุเห็นผลชัด พอมันตัดได้แล้วมันโผล่น่ะ เดินเห็นคนเน่าหมด ไม่เน่าอยู่คนเดียวเรา หรือไง แต่ความจริงมันเห็นเราเน่าก่อน มันเบื่อตัวเราก่อนแล้ว ก็ไปเบื่อคนอื่น รู้สภาพเรายอมรับนับถือสภาพความเป็นจริงทั้งหมด เห็นคนปั๊บไม่ต่างอะไรกับส้วมเดินได้ จะเอาเครื่องหุ้มห่อ สีสันวรรณะขนาดไหนก็ตาม มันบังปัญญาของพวกท่านพวกนี้ไม่ได้ นี่ไม่กี่วัน 2-3 วันเห็นชัด เห็นแล้วไม่ตกด้วยนะ
    พิจารณาขันธ์ 5 ว่าขันธ์ 5 เต็มไปด้วยความสกปรก ยกเอาอสุภกรรมฐานกับกายคตานุสสติกรรมฐานของสมถะเข้ามาควบ เอามาควบ คนที่ทำได้เขาเก่ง เขาเก่งกันแบบนั้นเขาต้องควบเก่ง
    มา ด้านโลภะ ความโลภ ไปนั่งนึกว่าไอ้คนมันเน่าแล้ว ไอ้เราก็ตาย เราก็เน่าจะไปโลภมันทำไม มีก็กิน ไม่มีก็แล้วไป มีเท่านี้ใช้เท่านี้ ใครเขาไม่ให้ต่อเราก็ใช้เท่านี้ หมดก็หมดไป จะตานเราก็เชิญตาย เราเป็นทาสของกิเลสตัณหามานาแล้ว ตายเมื่อไรสบายเมื่อนั้น แต่ฌาน 4 เฉย ๆ ไม่มีวิปัสสนาญาณ ก็ไปนอนตีเขลงเป็นพรหมดีกว่าเป็นคนตั้งเยอะ
    ที นี้มาว่าถึง โลภะ ตัดราคะได้ โลภะมันก็เจ๊ง ตัดโลภะ ราคะมันก็ไป ความจริงมันตัวเดียวกัน มันไม่ใช่สองตัว ผมพูดแยกเป็นสองส่งเดชไปอย่างนั้น ให้เข้าใจง่าย
    ตอนนี้พอมาตัด โทสะ มาตัดโทสะ ความจริงเราระงับมันได้ กดคอมันได้ตั้งแต่เจริญฌานแล้ว มันก็เป็นของไม่ยาก แล้ว ก็มาเปรียบเทียบกับขันธ์ 5 ร่างกายนี่มันจะตายอยู่แล้ว มันจะพัง ไปนั่งโกรธมันอยู่มีประโยชน์อะไร ไอ้คนที่มันชอบทำให้คนอื่นโกรธ มันเป็นคนจัญไร มันทำลายความดีตัว ทำลายความสุขของตัว คนประเภทนี้เป็นคนน่าสงสาร ไม่ใช่น่าโกรธ เพราะตัวเขาเองยังหาความสุขใจไม่ได้ ยังมีทุกข์ ตายแล้วก็ไปอบายภูมิ มันก็เกิดเป็น อภัยทาน ความโกรธมันก็หาย เมื่อถึงฌาน 4 แล้วมันกล้วยจริง ๆ วิปัสสนาญาณนี่ผมบอกให้นะ ทำฌาน 4 ก็ไม่ยากเดี๋ยวเดียวเท่านั้นก็ได้ ถ้ามันจะได้เสียอย่าง มันไม่ได้ก็แล้วไป ถ้าเราทำใจสบายเดี๋ยวมันก็ได้ ถ้าเราอยากได้มันจะไม่ได้ เพราะตัณหาเข้าไปขวางใจ
    ทีนี้มา โมหะ ความหลง มันไม่มีอะไร ถ้าตัดได้ตัวเดียว อีกสองตัวมันไม่มีเพื่อนแล้วไป ไอ้โต๊ะ 3 ขานี่หักเสียขาตั้งอยู่ได้ไหม ? พอตัดได้ตัวเดียวตัดราคะกับโลภะก็ตัวเดียวกัน พอตัดเจ้านี่ได้ตัวอีกสองตัวหมดแรงเลย ความจริงเรามัดมันแล้ว เรามัดมันไว้แล้ว แรงมันสู้เราไม่ได้ พอเอามีดฟันเข้ามันก็หมดสิ้นไม่มีทางดิ้น โมหะ ความหลง มันจะมาหลงยังไง คนก็เน่า สัตว์ก็เน่า เป็นของน่าเกลียด ทรัพย์สินต่าง ๆ ไม่สามารถทรงความสุขให้เกิดแก่เราได้เพราะเป็นปัจจัยของความทุกข์ อารมณ์มันเห็นแล้ว ถ้าเราจะโกรธ เราจะฆ่าเขา มันก็ไม่มีประโยชน์ เป็นการสร้างโทษให้เกิดแก่ตัว เป็นการทำลายความสุข นั่งเฉย ๆ ดีกว่า ไอ้คนที่เราจะฆ่ามัน เราไม่ต้องไปฆ่า ไม่ฆ่ามันก็ตายไม่ฆ่าดีกว่า เหนื่อย เราจะไปแกล้งเขามีความทุกข์มันเรื่องอะไร เราไม่แกล้งเขา เขาก็มีความทุกข์ เมื่อเราแกล้งเขาเขาก็มีความทุกข์ เราไม่ต้องแกล้งดีกว่า มันทุกข์ของมันอยู่แล้ว หมดเรื่อง
    ทีนี้หันเข้ามาหาตัว หันเข้ามาหาตัว อะไรที่เป็นการทรงตัว ที่เป็นเราเป็นของเรามีตรงไหน เรามีบ้าน ชาวบ้านเขาปลูกบ้านอย่างเรา บ้านมันพังไปกี่ร้อยหลัง แล้ว เรามีผัว มีเมีย มีลูก มีพี่ มีน้อง มีพ่อ มีแม่ ไอ้คนที่เขามีอย่างเราแล้ว มันตายไปในโลกมีประมาณเท่าไหร่ แล้วเราจะมาถือว่านี่พ่อของเรา แม่ของเรา อย่าอกตัญญูพ่อแม่เข้านะ ความดีของท่านข้ามไม่ได้น่ะ นี่หมายถึงร่างกาย ร่างกายของท่านจะทรงอยู่ตลอดไปมันจะเป็นไปได้อย่างไร มันเป็นไปไม่ได้ ในที่สุดท่านก็ต้องตาย เมื่อถึงเวลาที่ท่านจะตาย ก่อนที่ท่านจะตายเราก็ต้องทำความดีให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แก ไม่ต้องไปนั่งรำพันรำพึงว่า พ่อตายเสียแล้วยังไม่ได้สนองคุณ แม่ตายเสียแล้วยังไม่ได้สยองคุณ ไอ้แบบนี้มันคนจัญไร ไม่ใช่คนดี เวลาอยู่ไม่ให้ เวลาตายคิดถึง ใช้ไม่ได้ ยอดของคนเลว เราตั้งใจสนองคุณตามกำลังที่เราพึงสนองได้ ไม่ใช่ต้องไปกอบโกยกู้ยืมเขามา ไม่ใช่อย่างนั้น
    อันนี้เราต้องมานั่งคิด พ่อก็ต้องตาย แม่ก็ต้องตาย ลูกเราก็ต้องตาย เมียก็ต้องตาย ผัวก็ต้องตาย ญาติพี่น้องก็ต้องตาย ไอ้เราก็ต้องตาย เราเห็นตัวเราเองว่าจะตายเสียอย่าง คนอื่นทั้งหมดก็ไม่มีความหมาย ในเมื่อคนเลี้ยงตัวได้ยังต้องตาย ยังต้องพัง ทรัพย์สินทั้งหลายเหล่านี้จะทรงตัวอยู่ได้อย่างไร หากว่า เราจะยึดถือว่ามันเป็นเราเป็นของเรา อยู่เราจะเกิดมาอย่างนี้ มันเต็มไปด้วยความทุกข์ เกิดเป็นเด็กแล้วก็เป็นหนุ่มเป็นสาว แล้วก็แก่ ก็ตาย แล้วทรงความทุกข์ตลอดเวลา อันนี้จะเกิดประโยชน์อะไรมาจากไหน ใช่ไหมไม่มีอะไรเป็นประโยชน์ ผลที่สุดก็เห็นว่าโลกนี้ไม่มีอะไรเป็นของเราแม้แต่ร่างกายนี้มันก็ไม่ใช่เรา ถ้ามันเป็นเราจริง ๆ มันจะแก่ เราไม่ให้มันแก่ มันก็ต้องอย่าแก่ซิ เราไม่ให้มันตาย ไม่ให้มันป่วย มันก็ต้องไม่ป่วย เราไม่ให้มันตาย มันก็ต้องไม่ตาย นี่มันเชื่อเรารึเปล่า ร้อนจัด เราต้องการให้มันไม่ร้อน มันก็ร้อน หนาว เราไม่ต้องการให้มันหนาว มันก็หนาว เป็นอันว่าเราบังคับมันไม่ได้ ในที่สุดเราไม่ต้องการให้มันตาย มันก็ตาย เราจะไปนั่งรำพึงรำพันเพื่อประโยชน์อะไร ว่ามันเป็นเราเป็นของเรา และความปรารถนาในความเกิด เราจะต้องการมาเพื่ออะไร เราเกิดมาเพื่อทุกข์ เราทุกข์แค่นี้มันก็เหลือกำลังที่จะทน
    พระพุทธเจ้าบอกว่า ภารา หเว ปัญจักขันธา ขันธ์ 5 เป็นภาระอันหนัก อันนี้ในเมื่อมันหนัก เรารู้ว่าหนักแล้วเราจะต้องกลับมาแบกมันอีกหรือ เราก็โง่ซิ เราก็เลิก ไม่แบกทำยังไง ตอนนี้เราก็ใช้ ช่างมัน ใช่ไหม มันจะแก่ก็ช่าง ธรรมดาของมัน มันจะป่วยก็ช่าง มันจะตายก็ช่างมัน อีตอนที่มันจะเกิดนี่ไม่ช่างมันแล้วถ้าไม่เกิดอีก เพราะอะไร ข้าบังคับแกไม่ได้ เอ็งนี่มันหัวดื้อหัวด้าน อกตัญญูไม่รู้คุณเลี้ยงเท่าไร ๆ มันไม่จำ อยากจะกินเปรี้ยวหาเปรี้ยวให้ อยากจะกินเค็มหาเค็มให้ อยากกินหวานหาหวานให้ อยากจะแต่งตัวแบบไหนหาให้ อยากจะนั่งรถก็ซื้อให้ มันยังแก่ ยังป่วย ไอ้นี่เลิกคบไม่ได้ เลิกกัน เตสังโว วูปสโม สุโข นึกถึงความดีที่พระพุทธเจ้าทรงเตือนว่า การเข้าไปสงบกายนั้นชื่อว่าเป็นสุข เป็นอันว่าความปรารถนาในกาย ไม่มีสำหรับเรา นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป แล้วก็ใจทรงแบบนั้นเป็นเอกัคคตารมณ์ ความสุขความทุกข์ใด ๆ เกิดขึ้นถือว่าเป็นกฎของกรรมเป็นเรื่องธรรมดาเราจะต้องทนสู้ต่อไป ในระยะไม่ช้าเราก็จะมีความสุข ถ้าร่างกายนี้พัง
    แค่ นี้ก็จบแล้ว เป็นพระอรหันต์ อย่างนี้เป็นอารมณ์พระอรหันต์ พระอรหันต์นี่สังคมกับใครได้ทุกชั้น ทำตัวเสมอกัน แต่ถ้าจะให้อารมณ์ของท่านเข้าไปจับเฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ถือว่าเป็นเราเป็นของเราผูกมัดท่านไม่มีโอกาส เวลานี้มันจบแล้ว ชื่อว่า จบอริยสัจ เพียงแค่นี้นะ สวัสดี</td></tr></tbody></table>
     
  17. pom_chaovarit

    pom_chaovarit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    3,805
    ค่าพลัง:
    +9,776
    [​IMG]
     
  18. zaf

    zaf เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    477
    ค่าพลัง:
    +1,711
    ถ้าสมถะยังไม่คงตัวนานๆหรือเข้าออกคล่องตัวจริงๆ ไม่ควรข้ามขั้นไปวิปัสสนาใช่มั๊ยคะ แม้จะแว๊บๆไปพิจารณาขันธ์5ก็ไม่ควรหรือเปล่าคะ
     
  19. pom_chaovarit

    pom_chaovarit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    3,805
    ค่าพลัง:
    +9,776
    ไม่กล้าตอบครับ...ผมมีความรู้เพียงแค่หางอึ่งเท่านั้นเองครับ...แต่พระท่านว่าเราจะรู้ได้เองเมื่อเราปฏิบัติบูชา..ครับผม...ถึงจุดถึงเวลา ก็มาเองครับ....:cool:
     
  20. pom_chaovarit

    pom_chaovarit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    3,805
    ค่าพลัง:
    +9,776
    [​IMG]
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...